1017 1523 1231 1420 1545 1464 1386 1153 1347 1135 1760 1678 1421 1739 1499 1190 1915 1488 1760 1180 1371 1232 1213 1869 1936 1570 1892 1191 1343 1249 1110 1359 1153 1170 1756 1218 1996 1886 1837 1770 1757 1468 1588 1961 1591 1774 1650 1727 1980 1716 1249 1863 1385 1454 1502 1995 1564 1908 1122 1084 1077 1416 1991 1530 1040 1706 1181 1535 1316 1788 1213 1077 1244 1930 1853 1081 1872 1657 1640 1832 1434 1971 1105 1181 1494 1239 1750 1484 1301 1361 1428 1083 1939 1161 1929 1259 1529 1978 1736 112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้ม "ทิวากร" คดีเสื้อหมดศรัทธา ก่อนพิพากษา | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

112 ALERT! ชวนเปิดแฟ้ม "ทิวากร" คดีเสื้อหมดศรัทธา ก่อนพิพากษา

หลังเกิดกรณีการอุ้มหาย “วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์” ในช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ประชาชนและนักกิจกรรมหลายกลุ่มออกมาเคลื่อนไหวแสดงออกในลักษณะต่างๆ เพื่อตอบโต้สถานการณ์ ทั้งแฟลชม็อบ #saveวันเฉลิม การยื่นหนังสือเรียกร้องให้รัฐบาลกัมพูชาติดตามหาผู้รับผิดชอบกรณีของวันเฉลิม ในขณะเดียวกันก็มีนักกิจกรรมกลุ่มหนึ่งที่ตั้งข้อสังเกตในลักษณะเชื่อมโยงการหายตัวของวันเฉลิมกับสถาบันพระมหากษัตริย์
 
“ทิวากร” หนึ่งในสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊ก Royalist Market Place - ตลาดหลวง ก็เป็นอีกคนที่ต้องการแสดงออกต่อกรณีการหายตัวของวันเฉลิมในแบบของเขาเอง โดยทิวากรได้โพสต์ภาพตัวเองสวมเสื้อยืดสีขาว สกรีนข้อความว่า #เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว
 
แต่ผลที่เกิดขึ้นคือ มีตำรวจมาหาทิวากรถึงบ้านเพื่อโน้มน้าวให้เลิกสวมเสื้อตัวดังกล่าว และต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2563 ทิวากรก็ถูกพาตัวไปเข้าโรงพยาบาลจิตเวช แต่ครั้งนั้นเขายังไม่ถูกดำเนินคดี  
 
ต่อมา ในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 คดีมาตรา 112 ของทิวากรเกิดขึ้นหลังเขาประกาศจะทำเสื้อสกรีนข้อความ “เราหมดศรัทธา...” ดังกล่าวออกขาย เพื่อตอบโต้กรณีที่นักเคลื่อนไหวหลายคนที่ถูกคุมขังด้วยมาตรา 112  โดยทิวากรถูกดำเนินคดีจากการกระทำ 3 กรรม กรรมแรกจากการโพสต์ภาพถ่ายที่เขาสวมเสื้อยืดตัวเดิมที่เขาโพสต์ไว้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ส่วนอีก 2 ข้อความ เป็นการโพสต์วิพากษ์วิจารณ์การใช้มาตรา 112 โดยมีบางส่วนที่วิจารณ์ไปถึงสถาบันพระมหากษัตริย์
 
ก่อนที่นาฬิกาจะเดินไปถึงเวลาอ่านคำพิพากษาในวันที่ 29 กันยายน 2565 ไอลอว์ชวนทุกคนทำความรู้จักคดีมาตรา 112 ของทิวากรให้มากขึ้น
 

(1) ทิวากรเป็นใคร? ทำไมโดนฟ้อง ม.112 ?

 

2603

 
ทิวากร วิถีตน เป็นอดีตวิศวกรชาวจังหวัดขอนแก่น หนึ่งในสมาชิกกลุ่ม Royalist Market Place ที่โพสต์ภาพตนเองสวมเสื้อสกรีนข้อความ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” เมื่อปี 2563 และเป็นเหตุให้ถูกนำตัวไปอยู่ที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์นานกว่าครึ่งเดือน
 
ทิวากรเริ่มสนใจประเด็นทางการเมืองในช่วงปี 2548 และเคยเข้าร่วมการชุมนุมเสื้อแดงมาบ้างในช่วงปี 2550 กับแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) ที่สนามหลวง และต่อมา ในปี 2552-53 เขาก็เคยไปร่วมชุมนุมกับกลุ่ม นปช. ด้วย
 
นอกจากนี้ ทิวากรยังสนใจการถกเถียงเรื่องการเมืองบนโลกออนไลน์ตั้งแต่สมัยบทสนทนาการเมืองเฟื่องฟูในเว็บบอร์ด จนถึงปัจจุบัน เขาก็มักใช้เฟซบุ๊กส่วนตัวที่เปิดเป็นสาธารณะวิจารณ์สถานการณ์ทางการเมือง ไปจนถึงประเด็นแวดล้อมสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เสมอๆ
 
ในปี 2564 ภายหลังสี่แกนนำราษฎรในคดีการชุมนุม 19 กันยาฯ ไม่ได้รับการประกันตัว ทิวาการตัดสินใจโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเตือน “ผู้มีอำนาจ” เรื่องผลเสียของการนำมาตรา 112 มาใช้ แต่ด้วยการใช้ภาษาที่ตรงไปตรงมา ข้อความบนเฟซบุ๊กของเขาก็กลายเป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 เสียเอง
 
มากไปกว่านั้น ทิวากรยังถูกดำเนินคดีมาตรา 116 อีกหนึ่งคดี จากการสร้างแคมเปญบนเว็บไซต์ change.org ชวนคนที่อยากให้มีการจัดทำประชามติว่าจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์มาร่วมลงชื่ออีกด้วย
 

(2) ไล่ไทม์ไลน์คดี เปิดคำฟ้อง-สืบพยาน

 

2602

 
โจกท์: พนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น
 
ลำดับเหตุการณ์
 
  • เดือนกรกฎาคม 2563 ทิวากรถูกตำรวจจับและส่งตัวไปที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ สืบเนื่องจากการโพสต์ภาพตนเองสวมเสื้อสกรีนคำว่า “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” โดยเขาถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 9-22 กรกฎาคม 2563 รวม 14 วัน
  • 4 มีนาคม 2564 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนฯ รายงานว่า เวลาประมาณ 7.00 น. ทิวากรถูกเจ้าหน้าที่กว่า 20 นาย เข้าจับกุมตัวจากบ้านพักในอำเภอเมืองขอนแก่น ไปยัง สภ.ท่าพระ ก่อนจะแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 112 มาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3) จากการโพสต์ 3 ข้อความ  
ต่อมา เวลา 13.30 น. พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอฝากขังทิวากรต่อศาลจังหวัดขอนแก่น แต่การขอฝากขังดังกล่าวไม่ใช่การพาไปที่ศาล เพราะตำรวจได้นำตัวเขาไปที่ทัณฑสถานบำบัดพิเศษขอนแก่นทันที และใช้ระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ในการขอฝากขัง กระทั่งเวลาประมาณ 14.19 น. ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยวางหลักทรัพย์ 150,000 บาท
 
o สำหรับรายละเอียดคำฟ้องทั้ง 3 ข้อหา มีดังต่อไปนี้
 
(1) ระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2563 - 27 กุมภาพันธ์ 2564 ทิวากรได้ดูหมิ่นรัชกาลที่ 10 ด้วยการโพสต์รูปตนเองสวมเสื้อคอกลมสีขาว มีข้อความสกรีนตัวหนังสือสีแดงว่า “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว”
 
อย่างไรก็ตาม จากโพสต์ดังกล่าว ศูนย์ทนายฯ รายงานว่าระหว่างการสืบพยาน พนักงานสอบสวนเบิกความว่าตนได้แจ้งข้อหา 116 แต่เพียงเท่านั้น ก่อนที่อัยการจะมีความเห็นสั่งฟ้องมาตรา 112 เพิ่มด้วย
 
(2) เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 ทิวากรได้หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ด้วยการโพสต์ข้อความวิพากษ์วิจารณ์ทำนองว่าหากพระมหากษัตริย์นำมาตรา 112 มาใช้กับประชาชนอาจทำให้เกิดความตึงเครียดและความขัดแย้งระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน
 
(3) เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ทิวากรได้หมิ่นประมาทรัชกาลที่ 10 ด้วยการโพสต์ข้อความเรียกร้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ปล่อยตัวผู้ที่ถูกคุมขังด้วยมาตรา 112
 
 
  • 24-27 พฤษภาคม 2565 สืบพยานรวม 4 วัน โดยโจทก์นำพยานเข้าเบิกความทั้งสิ้น 13 ปาก ทั้งนี้ วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ศูนย์ทนายฯ รายงานผ่านทวิตเตอร์ว่า ศาลสั่งห้ามผู้ร่วมสังเกตการณ์จดบันทึกโดยไม่แจ้งเหตุผล
 
วิไลวรรณ สมโสภณ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เชี่ยวชาญด้านภาษาไทย หนึ่งในพยานฝ่ายโจทก์ เบิกความส่วนหนึ่งว่า “ข้อความ ‘หากสถาบันกษัตริย์ไม่ระงับใช้ 112 โดยทันที ก็เท่ากับทำตัวเองเป็นศัตรูกับประชาชน หากสถาบันกษัตริย์เป็นศัตรูกับประชาชนจุดจบคือล่มสลายสถานเดียว’ มีความหมายโดยรวมในลักษณะข่มขู่สถาบันกษัตริย์ด้วย”
 
ด้าน อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ อาจารย์คณะสถิติประยุกต์ จาก NIDA เบิกความส่วนหนึ่งว่า “คําว่า ‘หมดศรัทธา’ หมายถึง เชื่อว่าสถาบันกษัตริย์ไม่ใช่สิ่งที่ดีงาม เลวทราม การที่บอกว่าไม่ศรัทธา แสดงว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่แย่มาก
 
ขณะที่ทิวากรชี้แจงว่า เจตนาของข้อความบนเสื้อนั้นต้องการแสดงความรู้สึกนึกคิดอันเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการพูดและการแสดงออก ซึ่งคําว่า “หมดศรัทธา” ไม่ได้เป็นการล้อเลียน ลบหลู่ หรือดูหมิ่น หมิ่นประมาท และข้อความดังกล่าวไม่ได้หยาบคาย หรือเป็นการอาฆาตมาดร้าย
 
 
o นัดฟังคำพิพากษาวันที่ 29 กันยายน 2565 โดยในวันที่ 23 กันยายน 2565 ทิวากรโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ข้อความส่วนหนึ่งว่า “ผมขอลาทุกท่านล่วงหน้านะครับ ในกรณีที่ผมถูกศาลชั้นต้นตัดสินว่าผิด ม.112 ในวันที่ 29 ก.ย. 65 ซึ่งผมจะขออุทธรณ์โดยไม่ขอประกันตัว”
 
ดูรายละเอียดคดีทั้งหมด
 

(3) เกิดอะไรขึ้นกับ “ทิวากร” ในโรงบาล’ จิตเวช ?

 

2601

 
9 กรกฎาคม 2563 ภายหลังการโพสต์ภาพตนเองสวมเสื้อ “เราหมดศรัทธาสถาบันกษัตริย์แล้ว” ได้มีจิตแพทย์จากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์และเจ้าหน้าที่ กอ.รมน. เข้ามาพูดคุยถึงบ้านพักของทิวากร หลังจากนั้นเขาก็หายตัวไปจากเฟซบุ๊ก
 
ต่อมา สังคมได้ทราบภายหลังว่า เขาถูกควบคุมตัวไว้ที่โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ตั้งแต่ 9-22 กรกฎาคม 2563 (รวม 14 วัน) โดยญาติของทิวากรเล่าว่า ตอนถูกพาตัวไป เจ้าหน้าที่ได้ทำการมัดมือ จากนั้น ทิวากรถูกควบคุมไว้ในห้องที่มีลูกกรงและยังต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินสภาพจิตใจโดยจิตแพทย์ ซึ่งเขาต้องตอบคำถามเพื่อประเมินสภาพจิตใจ
 
ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล การเยี่ยมทิวากรมีเงื่อนไขพิเศษคือต้องให้ตำรวจมาดูแลด้วย เนื่องจากทาง สภ.เมืองขอนแก่น ส่งตำรวจสองนายผลัดเวรกันมาเฝ้าทิวากรที่โรงพยาบาลตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือป้องกันผู้ป่วยทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเอง นอกจากนี้ ทางตำรวจยังได้ขอบัตรประชาชนของทุกคนที่มาเยี่ยมทิวากรไปตรวจสอบด้วย
 
“ตอนที่ถูกเอาตัวไปที่โรงพยาบาล ผมทั้งต้องกินยาแล้วก็ถูกฉีดยา ผมไม่รู้ว่ามันคือยาอะไรรู้แต่ว่าหลังตัวยาเข้าไปในร่างกายแล้วมันจะเบลอๆ มีสติไม่เต็มร้อย ผลข้างเคียงของยายังทำให้ผมรู้สึกเจ็บหน้าอกด้วย ตอนที่ต้องกินยาหรือฉีดยาผมรู้สึกว่าร่างกายตัวเองมันไม่ไหวเหมือนจะตายเอา”
 
“นอกจากการกินยา ผมยังต้องทำแบบทดสอบต่างๆ ทั้งทดสอบไอคิว ทดสอบบุคลิก แล้วก็จะมีทั้งจิตแพทย์และนักจิตวิทยามาคุยด้วย ปรากฏว่าผลการทดสอบออกมาค่อนข้างดี ผมพยายามต่อรองกับหมอว่าถ้าผมปกติดีก็ปล่อยผมออกไปได้ไหม”
 
“ตอนแรกหมอเหมือนจะยอม แต่ระหว่างที่ผมกำลังคุยกับหมอก็มีโทรศัพท์เข้ามาสายหนึ่ง ผมแอบเห็นชื่อคนที่โทรเข้ามาแวบหนึ่งก็พอจะจำได้ว่าเป็นชื่อคนที่ทำงานที่ศาลากลาง  หมอรับสายได้สักพักก็ทำหน้าเครียด ผมก็พอจะรู้ชะตากรรมว่าคงยังไม่ได้ออกจากโรงบาลแหงๆ สุดท้ายผมก็เลยพยายามต่อรองกับหมอว่า จะขังผมต่อก็ได้ แต่อย่างน้อยขอให้งดยาได้ไหม เพราะเมื่อผมไม่ป่วยก็ไม่ควรจะต้องกินยา”
 
ทิวากรให้สัมภาษณ์กับไอลอว์เมื่อสิงหาคม 2565 ถึงเหตุการณ์ขณะถูกคุมขังในโรงพยาบาลเมื่อปี 2563