1342 1995 1667 1738 1793 1960 1015 1439 1789 1631 1629 1964 1872 1393 1921 1111 1213 1505 1771 1613 1817 1378 1240 1760 1755 1201 1775 1459 1579 1354 1046 1763 1572 1139 1510 1907 1324 1159 1102 1595 1309 1241 1961 1730 1553 1039 1550 1858 1070 1464 1749 1908 1655 1638 1987 1615 1028 1379 1556 1530 1193 1707 1372 1866 1561 1023 1700 1383 2000 1112 1254 1282 1582 1272 1770 1246 1371 1708 1518 1187 1903 1389 1142 1959 1794 1128 1798 1331 1070 1518 1405 1805 1717 1520 1084 1313 1918 1591 1475 เส้นทางคดี “มานี-จินนี่” เรียกร้องสิทธิประกันตัว ศาลมอง "ใช้กฎหมู่" นอนเรือนจำ 10 วัน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เส้นทางคดี “มานี-จินนี่” เรียกร้องสิทธิประกันตัว ศาลมอง "ใช้กฎหมู่" นอนเรือนจำ 10 วัน

 

25 สิงหาคม 2565 เวลาประมาณ 19.20 น. ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า “มานี” เงินตรา คำแสน และ “จินนี่” จิรัชยา สกุลทอง สองนักกิจกรรมทางการเมืองถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบทั้งชายหญิงเข้าจับกุมตัว ตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ ในข้อหาร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา, ใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตและ "ดูหมิ่นศาล" โดยมีรองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้มอบอำนาจให้กล่าวหาทั้งสองคน ต่อมาทั้งสองคนถูกควบคุมตัวไปที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ภายในสโมสรตำรวจ
 
“ประมาณช่วงสองทุ่ม ตอนนั้นเรากำลังดูไลฟ์สดและกำลังไลฟ์สดอยู่ด้วย” จินนี่ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวราษฎรถึงช่วงที่ตนถูกจับ
 
“เรากำลังดูที่มานีไลฟ์ว่า โดนจับที่สโมสรตำรวจ ของมานีมีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 12 คน แต่ของเราน้อยกว่า มีประมาณ 7 คน เรากำลังไลฟ์สดว่าตอนนี้มีกลุ่มบุคคลแปลกหน้ามาอยู่หน้าบ้านของเรา ซึ่งซอยบ้านเราเป็นทางตัน บ้านเราเป็นหลังสุดท้าย ดังนั้นเมื่อมีคนมาลุ่มๆ ดอนๆ อยู่หน้าบ้านเราจึงเป็นเรื่องแปลกมาก เราเป็นคนไม่มีสามี ร้อยวันพันปีก็ไม่มีคนมาหา”
 
“เราไม่เปิดไฟหน้าบ้าน เพราะเรามีลางสังหรณ์ว่าเราต้องโดนตามตัวแน่ๆ เขามาเรียกเราในช่วงที่ฝนตกพอดี แจ้งหมายว่าเราโดนจับในวันนี้นะ เป็นหมายจับเลย เราก็เลยถามว่า ตามกฎกติกาต้องมีหมายเรียกก่อนสามครั้งไม่ใช่หรอ เขาบอกว่าผมก็ไม่รู้ แต่ผมมาตามหมายจับของศาลอาญากรุงเทพใต้ เราก็เลยไปกับเขา เรานั่งไปในรถจนถึงสโมสรตำรวจ ก็สังคยนาตำรวจไปมากมายตามที่เห็นในคลิป”
 
 
 
 
ด้านมานีบอกว่า ตำรวจมาล้อมจับตัวเองที่ลานจอดรถหอพัก “ตำรวจตามเรามาสามสี่วันแล้ว มันผิดสังเกตมาหลายวัน เป็นอาทิตย์แล้วล่ะ”
 
“พอวันที่โดนจับ มีตำรวจมาจับเรา ทั้งหมด 13 คน มีผู้หญิง 3 คน เขาก็บอกว่า อุ้มมันเลยๆ เราก็บอกว่า อุ้มทำไม เราทำอะไรผิด เขาก็อ่านหมายแล้วควบคุมตัวเราไป บช.ปส.”
 
 
 
 
2589
 
 
เวลา 21.20 น. ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเดินทางมาถึง บช.ปส. แต่ในช่วงแรกตำรวจไม่อนุญาตให้ทนายเข้าพบผู้ต้องหา ให้รอพนักงานสอบสวนจาก สน.ยานนาวา เดินทางมาถึงก่อน ต่อมาราว 22.00 น. จึงได้เข้าพบผู้ต้องหาและเริ่มการสอบสวนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยผู้ต้องหาทั้งสองทำหนังสือยื่นต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า ขอให้ทางตำรวจนำตัวผู้ต้องหาไป สน.ยานนาวา ซึ่งเป็นที่ทำการของพนักงานสอบสวนที่เกิดเหตุของคดีนี้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 83 และ 84 เนื่องจากสถานที่ที่ถูกนำตัวมาคือ บช.ปส. นั้น ไม่ใช่ท้องที่ที่ถูกจับกุมหรือที่ทำการของพนักงานสอบสวน แต่พนักงานสอบสวนยังคงยืนยันว่าจะทำการสอบสวนภายใน บช.ปส. ต่อไป
 
พ.ต.ท.คมสัน เลขาวิจิตร รองผู้กำกับสอบสวน สน.ยานนาวา แจ้งว่าในคดีนี้ นายสันติ ชูกิจทรัพย์ไพศาล รองอธิบดีศาลอาญากรุงเทพใต้ ได้มอบอำนาจให้ นายเนติพันธ์ สมจิตต์ นิติกรศาลอาญากรุงเทพใต้ มาร้องทุกข์กล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน สน.ยานนาวา ให้ดำเนินคดีกับมานีและจินนี่จากกรณีที่ทั้งสองคนใช้เครื่องขยายเสียงปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์กระบวนการพิจารณาคดีของผู้พิพากษาหรือศาลอาญากรุงเทพใต้ในการสั่งเรื่องประกันตัวคดีมาตรา 112 ของใบปอ-ณัฐนิชและบุ้ง-เนติพร ที่บริเวณหน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 
 
โดยกล่าวหาว่า ถ้อยคำปราศรัยบางส่วนของสองคนมีลักษณะเป็นการใส่ร้าย ดูหมิ่นผู้พิพากษาหรือศาล ทำให้ผู้พิพากษาหรือศาลได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง รวมทั้งมีการไลฟ์สดการปราศรัยผ่านช่องทางออนไลน์ที่เปิดเป็นสาธารณะให้คนทั่วไปรับชมได้
 
 
 
 
พนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อกล่าวหา 3 ข้อกล่าวหาต่อทั้งสองคน ได้แก่ ร่วมกันดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณหรือพิพากษาคดี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198, ร่วมกันหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 และใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 มาตรา 7 โดยทั้งคู่ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา และปฏิเสธการลงลายมือชื่อในบันทึกการจับกุมด้วย
 
ในวันถัดมา หรือ 26 สิงหาคม 2565 พนักงานสอบสวน สน.ยานนาวา ได้นำตัวมานีและจินนี่ไปขออำนาจศาลอาญากรุงเทพใต้ฝากขัง ด้วยเหตุผลว่าการสอบสวนยังไม่แล้วเสร็จ ต้องสอบคำให้การพยานเพิ่มอีก 3 ปากและรอผลการตรวจสอบประวัติอาชญกรรมจากการพิมพ์ลายนิ้วมือผู้ต้องหา พร้อมกับคัดค้านการประกันตัวด้วยเกรงว่าผู้ต้องหาจะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและก่อภยันตรายอื่น
 
ส่วนเหตุผลที่ต้องนำตัวผู้ต้องหาไปที่ บช.ปส. แทน สน.ยานนาวานั้น พนักงานสอบสวนอ้างว่าเป็นไปตามระเบียบปฏิบัติตามหนังสือของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ในเรื่องสถานที่ควบคุมตัวผู้ต้องหาในคดีเกี่ยวกับความมั่นคงระหว่างสอบสวนเป็นการชั่วคราว แต่ ข้อกล่าวหาฐาน "ดูหมิ่นศาล" ในคดีนี้ ไม่ใช่ความผิดในหมวดความมั่นคงของรัฐแต่อย่างใด จึงไม่ใช่กรณีที่ตำรวจจะสามารถนำตัวไปควบคุมไว้ที่ บช.ปส. แทน สน.ยานนาวาได้
 
ต่อมา ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวทั้งสองคน โดยระบุเหตุผลว่า ผู้ต้องหาทั้งสองต้องการใช้กฎหมู่เหนือกฎหมายในเรื่องการพิจารณาปล่อยตัวชั่วคราวของผู้ต้องหาในคดีอื่น ทำให้เห็นว่าผู้ต้องหาทั้งสองกระทำการโดยไม่เกรงกลัวกฎหมายบ้านเมือง บิดเบือนข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเกลียดชังศาลหรือผู้พิพากษา ถือเป็นภัยอันตรายอย่างร้ายแรงต่อศาลในการปฏิบัติหน้าที่และกระบวนการยุติธรรม หากปล่อยตัวไปเกรงว่าจะไปก่อภัยอันตรายหรือสร้างความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยตัวชั่วคราว
 
 
 
 
มานี และจินนี่ ถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำทัณฑสถานหญิงกลาง โดยถูกจองจำเป็นเวลานานถึง 10 วัน 9 คืน ก่อนศาลอุทธรณ์จะมีคำสั่งอนุญาตให้ประกันตัวเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565 ตามคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่ให้ประกันตัวที่ทนายผู้ต้องหาได้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 โดยศาลกำหนดหลักทรัพย์เป็นวงเงินคนละ 70,000 บาท และกำหนดเงื่อนไขห้ามผู้ต้องหาไปก่อเหตุอันตรายประการอื่นในลักษณะเดียวกันนี้อีก
 
“10 วัน 9 คืน” จินนี่เล่าถึงระยะเวลาที่ต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ “10 วันที่เหนื่อยที่สุด อิสรภาพของเราถูกจองจำกับการที่ทำอะไรไม่ได้เลย เราอยู่ในสายตาและมีกล้องวงจรปิดสอดส่องอยู่ตลอด รวมถึงอาหารก็แสนห่วยแตก เข้าห้องน้ำก็ถูกทุกคนเห็นในการขับถ่าย เวลาจะนั่งหรือจะทำอะไรก็ต้องทำตามกฎระเบียบทุกอย่าง“
 
“สิ่งที่เกิดก็คือ เรารู้สึกอัดมากเพราะว่ากฎกติกาในเรือนจำมีมากมาย ยิ่งอยู่บนเรือนขังก็มากแล้ว ถ้าเผื่อเราลงมาข้างล่างยิ่งหนักหนา จะไม่สามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้เลย อาบน้ำก็ต้องเป็นเวลา ทีละหนึ่ง สอง สาม ถึงสิบสอง ไม่ใช่ขันแต่เป็นฝักบัว บอกได้เลยอาหารเรือนจำเองก็แสนห่วย เหมือนอาหารหมู”
 
“นักกิจกรรมคนไหนที่ทำกิจกรรมแล้ว คำนึงถึงการเข้าคุกเข้าตารางด้วย” จินนี่วกกลับมาย้ำเตือนถึงความเสี่ยงของการทำกจิกรรม
 
“ต่อไปนี้พี่ขอบอกว่าการทำกิจกรรมของพี่จะฉลาดมากขึ้น การพูดของเราอาจจะไม่เจาะจง เราอาจจะพูดเลี่ยงๆ ไป เราจะไม่ตรงไปตรงมาอย่างที่เราเคยทำแล้ว เพราะว่านั่นหมายความว่าเราต้องพูดไปไม่กี่ประโยคและต้องมานั่งรับทุกขเวทนาในนี้ ไม่พอ นั่งร้องไห้ทุกวัน อากาศก็ร้อน กอดกันกับมานีร้องไห้กันสองคน เหมือนกับว่าไม่ไหวแล้ว”
 
“ดีอย่างเดียว คือเราเหมือนกับวีรสตรีในนั้น ทั้งผู้คุมและนักโทษโครตให้เกียรติเราเลย นักโทษที่มาจากคดีการเมือง เป็นคดีที่มีเกียรติมาก ขอบอกได้เลย เพื่อนๆ ในเรือนจำทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า พี่สู้ ๆ แม้แต่ผู้คุม ตอนที่สัมภาษณ์เรา สอบประวัติเรา ผู้คุมบอกว่า คุณจิรัชยา สู้ๆ นะ เราไม่สามารถพูดได้ แต่เราอยู่ข้างคุณ”
 
 
2588
 
 
ด้านมานีก็เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้จากการเข้าเรือนจำ “ผอมลงมาก เข้าไปน้ำหนัก 41 ตอนนี้เหลือ 38” 
 
“บรรยากาศข้างในก็สะอาดสะอ้านดี แต่ว่าอาหารการกินไม่สะดวกสบายเหมือนบ้านเรา อาบน้ำเป็นเวลา ขึ้นห้องเป็นเวลา เหมือนไปโรงเรียนในประจำ กับข้าวก็ไม่มีพริก ส่วนข้าวสวยไม่ต้องพูดถึง เข้าไปไม่กินข้าวเลย”
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชนิดบทความ: