1842 1349 1191 1512 1533 1472 1988 1487 1185 1996 1833 1325 1504 1269 1603 1811 1534 1302 1943 1806 1920 1058 1914 1992 1317 1457 1650 1086 1859 1942 1095 1906 1913 1354 1022 1330 1437 1850 1935 1451 1830 1400 1691 1632 1842 1010 1327 1567 1123 1094 1080 1088 1813 1870 1781 1998 1229 1088 1884 1469 1294 1664 1395 1861 1151 1665 1378 1751 1693 1939 1941 1083 1334 1089 1893 1944 1036 1809 1838 1951 1623 1221 1370 1192 1592 1536 1067 1702 1791 1620 1348 1870 1171 1818 1346 1999 1384 1971 1191 ศาลบันทึกคำเบิกความด้วยวิดีโอ ในคดีม.116 ของทิวากร ทนายชี้ทำให้รวดเร็วและบันทึกครบถ้วน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลบันทึกคำเบิกความด้วยวิดีโอ ในคดีม.116 ของทิวากร ทนายชี้ทำให้รวดเร็วและบันทึกครบถ้วน

ระหว่างวันที่ 23 - 26 สิงหาคม 2565 ศาลจังหวัดลำปางนัดสืบพยานโจทก์-จำเลยในคดีฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ของ ทิวากร ชาวจังหวัดขอนแก่นที่ถูกประชาชนชาวจังหวัดลำปางร้องทุกข์กล่าวโทษให้ตำรวจลำปางดำเนินคดี จากกรณีที่เขาเปิดแคมเปญบนเว็บไซต์ change.org
 เชิญชวนให้คนที่ต้องการให้มีการจัดการออกเสียงประชามติว่าจะคงไว้หรือยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์มาร่วมลงชื่อ 
 
ความน่าสนใจของคดีนี้อยู่ที่กระบวนการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้เป็นการพิจารณาตามปกติ ที่ผู้พิพากษาจะทำหน้าที่คอยสรุปคำเบิกความของพยานด้วยเครื่องบันทึกเสียงของศาลเพื่อให้เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์พิมพ์ถ้อยคำตามที่ผู้พิพากษาพูดออกมาเป็นเอกสารที่เรียกว่าบันทึกคำเบิกความพยาน แต่คดีนี้ใช้ระบบบันทึกกระบวนพิจารณาคดีทั้งหมดเป็นวิดีโอ ทำให้คำพูดทุกคำและท่าทางของพยานทุกคนถูกบันทึกไว้เป็นส่วนหนึ่งของสำนวน 
 
2561
 
ธีรพล คุ้มทรัพย์ ทนายความของทิวากรเปิดเผยหลังการพิจารณาคดีว่า รู้สึกพอใจกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีของศาลด้วยวิธีนี้ เพราะทำให้กระบวนพิจารณาคดีเป็นไปอย่างรวดเร็วและที่สำคัญคำพูดทุกคำของพยานจำเลย และประเด็นการต่อสู้ของฝ่ายจำเลยถูกบันทึกอย่างไม่ตกหล่น ซึ่งแตกต่างจากบางคดีที่ศาลมักใช้ดุลพินิจไม่บันทึกคำพยานเวลาทนายจำเลยต่อสู้ในประเด็นหลักการหรืออุดมการณ์ทางการเมืองที่จำเลยต้องการนำเสนอ โดยผู้พิพากษาหลายคนให้เหตุผลว่า ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี
+++เปิดข้อกำหนดประธานศาลฎีกา ให้บันทึกภาพและเสียงได้ ในคดีสำคัญ+++
กฎหมายที่เปิดให้ศาลใช้วิธีการบันทึกคำพยานด้วยระบบวิดีโอปรากฎอยู่ใน "ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาว่าด้วยการบันทึกคำเบิกความพยานในคดีอาญาโดยใช้วิธีการบันทึกลงในวัสดุซึ่งสามารถถ่ายทอดออกเป็นภาพและเสียงพ.ศ.2564" ลงนามโดย เมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกาเมื่อวันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2564 ก่อนที่จะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 และเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่ข้อกำหนดข้อ 3, 5 และ 7 ซึ่งกำหนดโดยสรุปได้ว่า
 
ข้อ 3. ไม่ว่าจะมีผู้ร้องหรือไม่ เมื่อศาลเห็นสมควรให้สั่งบันทึกคำเบิกความพยานเป็นภาพและเสียงได้ ในคดีที่มีความสำคัญเป็นพิเศษที่ต้องอาศัยความรู้เห็นของพยานบุคคล เช่น คดีความผิดเกี่ยวกับชีวิต คดีความผิดเกี่ยวกับเพศ และคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง คดีที่เป็นสนใจของประชาชน และคดีที่สมควรบันทึกคำเบิกความพยานไว้ด้วยวิธีการนี้ เช่นในกรณีที่มีความจำเป็นต้องสังเกตอากัปกิริยาขณะที่พยานเบิกความ หรือคดีที่ข้อเท็จจริงที่พยานเบิกความมีความยุ่งยากซับซ้อนหรือหรือพยานต้องเบิกความผ่านล่าม
    
ข้อ 5. กรณีที่ศาลจะสืบพยานด้วยวิธิการนี้ ให้ศาลแจ้งคู่ความและพยานล่วงหน้าก่อนนัดสืบพยานปากนั้น และ
 
ข้อ 7. ในการสืบพยานด้วยการบันทึกภาพและเสียง ศาลไม่ต้องบันทึกคำเบิกความพยานแบบเก็บใจความสำคัญอีก (การบันทึกคำเบิกความตามวิธีเดิม) และให้ถือว่าภาพและเสียงคำเบิกความพยานที่บันทึกไว้เป็นคำเบิกความของพยานโดยไม่ต้องจัดพิมพ์เป็นเอกสารเพื่ออ่านให้พยานหรือคู่ความฟัง โดยคู่ความหรือพยานสามารถขออนุญาตศาลตรวจดูบันทึกภาพและเสียงคำเบิกความได้ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ แต่ไม่สามารถบันทึกภาพและเสียงหรือทำสำเนาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวได้
 
ข้อกำหนดนี้ออกมาโดยอาศัยความในมาตรา 72 วรรคสี่และวรรคห้าของประมวลวิธีพิจารณาความอาญา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมปี 2551 ที่กำหนดให้ศาลสามารถบันทึกคำเบิกความพยานลงในวัสดุที่สามารถถ่ายทอดเป็นภาพและเสียงได้ และให้ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาสามารถนำบันทึกคำเบิกความดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาคดีได้ โดยให้ข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับได้ใช้หลังที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้ความเห็นชอบ
 
ดูข้อกำหนดประธานศาลฎีกาฉบับเต็ม

จากข้อกำหนดดังกล่าว ไม่ได้บังคับให้ศาลใดจะต้องบันทึกการสืบพยานด้วยวิดีโอเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับผู้พิพากษาในคดีนั้นจะเห็นสมควรว่าจะใช้วิธีการนี้หรือไม่ ซึ่งหากคู่ความต้องการให้บันทึกคำเบิกความด้วยวิดีโอก็สามารถร้องขอไปในคดีได้ โดยข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาเปิดกว้างไว้สำหรับ "คดีที่สมควร" โดยไม่ได้จำกัดว่าจะใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเข้ามาช่วยเฉพาะในคดีบางข้อหาเท่านั้น

พิจารณารวดเร็ว - คำเบิกความพยานถูกบันทึกครบถ้วน เสียงสะท้อนจากทนายจำเลยคดีทิวากร   

หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาคดีมาตรา 116 ของทิวากร ธีรพล คุ้มทรัพย์ระบุว่า จากประสบการณ์การว่าความในคดีนี้เขาเห็นว่าการสืบพยานด้วยวิธีบันทึกคำพยานด้วยระบบวิดีโอทำให้การสืบพยานเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ลดการเสียเวลาจากการที่พยานตอบไม่ตรงคำถามซึ่งมักเป็นสาเหตุที่ทำให้การพิจารณาคดีบางนัดล่าช้าเกินความจำเป็น ที่สำคัญการสืบพยานด้วยวิธีการนี้ในคดีของทิวากรยังทำให้ฝ่ายทนายจำเลยสามารถนำประเด็นต่างๆ เข้าสู่สำนวนได้อย่างครบถ้วน โดยที่ไม่ถูกตัดเหมือนการพิจารณาคดีแบบเดิมที่บางกรณีศาลอาจบันทึกคำเบิกความพยานไม่ครบทุกประเด็น โดยให้เหตุผลว่าประเด็นที่พยานเบิกความไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นแห่งคดี ซึ่งมักเป็นคำเบิกในประเด็นสิทธิหรือประเด็นหลักการทางการเมือง 
 
ทนายธีรพลระบุด้วยว่า การเบิกความด้วยวิธีนี้ยังช่วยให้ศาลทำงานง่ายขึ้นเนื่องจากประเด็นการเบิกความในคดีที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งการเมืองมักยาวและมีความซับซ้อน หากใช้วิธีการสืบพยานตามปกติศาลอาจต้องหยุดกระบวนการเบิกความพยานเพื่อสรุปคำเบิกความและบันทึกถ้อยคำในสำนวนเป็นระยะทำให้การพิจารณาคดีต้องยืดออกไป ทนายธีรพลระบุด้วยว่าเท่าที่เขาทราบมีคดีที่อยู่ในความดูแลของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนอย่างน้อยสามคดีที่ศาลดำเนินการสืบพยานด้วยการบันทึกวิดีโอ ได้แก่ คดี 116 ของทิวากรที่ศาลจังหวัดลำปางและคดีที่ศาลแขวงเชียงรายอีกสองคดี ได้แก่ คดีวิ่งไล่ลุงที่จังหวัดเชียงราย และคดีการชุมนุมปิดสวิตช์ส.ว.
ชนิดบทความ: