1041 1495 1999 1476 1645 1904 1574 1596 1628 1047 1843 1705 1567 1661 1630 1194 1606 1565 1406 1637 1475 1818 1313 1876 1988 1787 1268 1962 1064 1851 1320 1364 1734 1529 1971 1191 1708 1495 1422 1962 1292 1241 1240 1395 1825 1999 1290 1069 1291 1164 1766 1707 1364 1494 1571 1196 1204 1424 1640 1749 1064 1610 1109 1379 1279 1661 1899 1518 1569 1048 1467 1002 1683 1115 1246 1789 1611 1666 1078 1120 1588 1401 1148 1749 1931 1857 1043 1068 1286 1050 1048 1844 1237 1380 1554 1672 1281 1629 1993 27 วันของ "แซม ทะลุฟ้า" ในเรือนจำ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

27 วันของ "แซม ทะลุฟ้า" ในเรือนจำ

พรชัย ยวนยี หรือ "แซม ทะลุฟ้า" ถูกฝากขังในเรือนจำในคดีมาตรา 112 จากการเข้าร่วมการชุมนุม เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564 โดยตำรวจกล่าวหาว่า แซมร่วมกันวางแผนเพื่อปาระเบิดเพลิงใส่พระบรมฉายาลักษณ์ที่อยู่บนสะพานลอยหน้าโรงเรียนราชวินิตแต่ไม่ลุกไหม้ เพราะก่อนเกิดเหตุมีฝนตกหนักทำให้ซุ้มเปียกชื้น แซมมีแผนการเดินทางไปต่างประเทศ จึงไปรายงานตัวเพื่อ "เคลียร์" หมายจับสำหรับการเดินทาง และถูกแจ้งว่า มีหมายจับในคดีนี้ เขาถูกฝากขังในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นมา โดยศาลอาญาไม่อนุญาตให้ประกันตัว
 
2537
 
วันที่ 2 สิงหาคม 2565 ทนายความได้เข้าเยี่ยมแซม เพื่อปรึกษาเรื่องการยื่นคำร้องขอประกันตัว และได้อัพเดทการใช้ชีวิตของแซมในเรือนจำ ซึ่งทราบว่าแซมมีกำลังใจ และปรับตัวกับการใช้ชีวิตในเรือนจำได้ แซมเพิ่งครบเวลากักตัวดูอาการว่าติดโควิดหรือไม่ และถูกย้ายไปอยู่ที่แดน 4 ของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์จัดให้นอนห้องเดียวกันกับผู้ต้องขังในคดีทางการเมืองคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มทะลุแก๊ซรวม 13 คน แต่ไม่ได้อยู่ร่วมกันกับผู้ต้องขังที่มาจากกลุ่มทะลุฟ้า ในแดน 4 ยังมีเอกชัย หงส์กังวาน และสมบัติ ทองย้อยรวมอยู่ด้วย แต่เขาไม่มีโอกาสได้เจอสมบัติมากนัก เพราะสมบัติเป็นผู้ต้องขังตามคำพิพากษาต้องถูกจัดให้ไปทำงาน
 
แซมเล่าว่า ตารางเวลาในแต่ละวันของเขาเหมือนกัน คือ ต้องอยู่ในห้อง 15 ชั่วโมง และได้ลงมาเดินเล่นในแดน 8 ชั่วโมง กิจวัตรประจำวันของเขาคือการอ่านหนังสือในห้องสมุด ซึ่งมีหนังสือที่มีคุณภาพและน่าอ่านน้อยมาก แต่ก็ยังพอมี หนังสือเกี่ยวกับการเมืองที่เขาอ่านส่วนใหญ่เป็นหนังสือที่มีคนส่งเข้าไปให้กับเพนกวิน พริษฐ์ เมื่อครั้งที่เพนกวินถูกคุมขังอยู่ที่นี่ เพนกวินเขียนชื่อตัวเองไว้ทุกเล่ม แซมเห็นแล้วก็เอาหนังสือเหล่านั้นมาไล่อ่าน ซึ่งเป็นหนังสือที่มีประโยชน์
 
สำหรับสภาพความเป็นอยู่ของพวกเขา แซมบอกว่า อยู่ได้ ไม่แออัด บางห้องมีผู้ต้องขังอยู่รวมกันกว่าสามสิบคนซึ่งจะค่อนข้างอึดอัดมาก และเสี่ยงต่อการแพร่โรคระบาดมาก แต่ห้องที่แซมและผู้ต้องขังกลุ่มทะลุแก๊สอยู่ด้วยกันมีเพียงสิบกว่าคน จึงยังพอมีพื้นที่อยู่บ้าง พวกเขาอยู่กันด้วยระบบ "ผ้าห่มสามผืน" คือ มีผ้าแจกให้สำหรับปูนอนหนึ่งผืน พับเป็นหมอนหนุนหนึ่งผืน และห่มอีกหนึ่งผืน ทุกคนได้รับจัดสรรเหมือนกันไม่มีใครได้นอนฟูก และแซมได้พบว่าในเรือนจำมีผู้ต้องขังที่ยากจน ไม่มีญาติมาเยี่ยม และเดือดร้อนเยอะมาก ผู้ต้องขังเหล่านี้จะทำงานแทนผู้ต้องขังที่มีเงินและรับค่าตอบแทน เขาได้ตกลงให้ "จ้างซักผ้า" ในราคาเหมาเดือนละประมาณ 300 บาท ส่วนผ้าห่มสามผืนคิดราคาค่าจ้างซัก 50 บาท
 
การใช้ชีวิตในเรือนจำนั้น ไม่ได้มีเงินสดให้จ่ายมือต่อมือ แต่ผู้ต้องขังที่มีญาติฝากเงินให้จะซื้อของจากร้านค้าสวัสดิการ แล้วเอาของเหล่านั้นมาใช้จ่ายเป็นเงิน เช่น นมหนึ่งกล่อง คิดเป็นราคา 10 บาท กาแฟซองแพ็คละ 100 บาท ผู้ต้องขังที่ได้รับของไปสามารถเอาไปแลกกลับเป็นเงินที่ร้านค้าสวัสดิการได้ สำหรับอาหารถ้าจะกินของที่ "โรงเลี้ยง" จัดให้ก็พอกินได้ แต่ถ้าจะซื้อกินเองสามารถสั่งที่ร้านค้าได้ ราคาจานละ 40-50 บาท ถ้าอยู่อย่างสบายๆ ก็มีค่าใช้จ่ายวันละประมาณ 150 บาท
 
ล่าสุดทนายความของแซมยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อคัดค้านการฝากขัง เพราะตำรวจไม่มีเหตุต้องควบคุมตัวแซมไว้ในระหว่างการสอบสวนอีก เนื่องจากแซมไม่มีพฤติการณ์หลบหนี และไม่มีอิทธิพลจะไปขัดขวางกระบวการสอบสวนได้ ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องคัดค้านการฝากขังในวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เวลา 13.30 น. ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 4