1971 1213 1495 1361 1093 1816 1845 1366 1057 1027 1981 1438 1621 1113 1376 1188 1727 1994 1799 1360 1012 1018 1767 1567 1526 1294 1213 1055 1192 1238 1154 1914 1830 1103 1263 1520 1640 1132 1925 1231 1293 1958 1258 1340 1181 1018 1006 1216 1841 1465 1784 1380 1524 1831 1211 1899 1587 1011 1869 1296 1931 1386 1248 1774 1923 1194 1223 1130 1086 1195 1022 1803 1950 1456 1166 1869 1067 1033 1857 1406 1044 1486 1173 1014 1577 1558 1303 1210 1174 1071 1418 1437 1194 1802 1277 1831 1808 1589 1933 บินดูรอบโลก ตามรอยความเสียหายของสปายแวร์เพกาซัส | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

บินดูรอบโลก ตามรอยความเสียหายของสปายแวร์เพกาซัส

 
2499
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2564 เวลาเดียวกับที่แอปเปิลยื่นฟ้องบริษัทสัญชาติอิสราเอล NSO Group ในสหรัฐฯ บรรดานักกิจกรรม นักวิชาการ และนักสิทธิมนุษยชนในไทยผู้เห็นต่างจากรัฐและเรียกร้องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ ได้รับอีเมลแจ้งเตือนว่าตนอาจตกเป็นเป้าหมายของหน่วยโจมตีที่รัฐสนับสนุน (state-sponsored attackers) ซึ่งจากการตรวจสอบของไอลอว์และดิจิทัลรีช ร่วมกับภาคประชาสังคมด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลกแล้ว พบว่าเกิดจากสปายแวร์ที่ชื่อว่าเพกาซัส (Pegasus) นั่นเอง
 
ชวนมองเหตุการณ์รอบโลก ไล่ตามม้าบินเพกาซัสว่าเคยไปก่อความเสียหายไว้ที่ไหนแล้วบ้าง
 
สปายแวร์คืออะไร ทำไมต้องเพกาซัส?
 
สปายแวร์ (Spyware) หมายถึงโปรแกรมใด ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการจารกรรมข้อมูลผู้ใช้งานให้กับบุคคลที่สาม โดยมีทั้งสปายแวร์ที่ถูกกฎหมายแต่ส่วนมากผิดกฎหมาย สำหรับเพกาซัสมีผู้ให้บริการคือบริษัท NSO Group สัญชาติอิสราเอล จุดขายของมันคือสามารถทำสิ่งที่หน่วยงานข่าวกรองหลายแห่งก็ยังทำไม่ได้ คือการเจาะข้อมูลที่มีการเข้ารหัส (encrypted messages) ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในระบบปฏิบัติการโทรศัพท์รุ่นเก่า (สำหรับ iPhone คือก่อน iOS 15.2) ที่แอปเปิลไม่ทราบมาก่อนและผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับโปรแกรมนั้นเข้ามาเอง (Zero-day, Zero-click) ทำให้เหยื่อไม่มีทางป้องกันสปายแวร์ตัวนี้เองได้เลย
 
ความร้ายกาจนี้ทำให้ NSO Group จำเป็นต้องทำการตลาดอ้างว่าตนขายโปรแกรมดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อการปราบปรามการก่อการร้ายเท่านั้น โดยมีรัฐบาลอิสราเอลควบคุมการทำสัญญาซื้อขาย แต่ในช่วงกลางปี 2564 กลุ่มนักข่าวได้ตีแผ่ว่าได้มีการขายให้กับรัฐบาลหลายประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของรัฐบาล ซึ่งจากการสำรวจและสืบสวนในไทยร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรก็เชื่อว่าผู้เรียกร้องประชาธิปไตยในไทยได้ตกเป็นเหยื่อล่าสุดของดีลสุดลับนี้
 
ทั้งนี้ มีนับกรณีไม่ถ้วนที่รัฐบาลของประเทศประชาธิปไตยไม่เต็มใบนำเพกาซัสไปใช้เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของตนเอง ทั้งที่บริษัท NSO Group ได้ปฏิเสธมาตลอดว่าไม่มีการใช้เพกาซัสอย่างผิดวัตถุประสงค์ โดยมีผลลัพธ์ที่โหดร้ายต่างกันไป แต่ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเริ่มจากการใช้สปายแวร์ดังกล่าวทั้งสิ้น 
 
ซาอุดิอาระเบีย vs จามาล คาช็อกกี
 
ทั้งโลกต้องตะลึงเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2561 จามาล คาช็อกกี (Jamal Khashoggi) นักข่าวสำนักข่าววอชิงตันโพสต์และผู้ลี้ภัยจากซาอุอาระเบียในสหรัฐฯ ถูกฆาตกรรมหั่นศพอย่างโหดเหี้ยมภายในสถานกงสุลซาอุดิอาระเบียในกรุงอิสตันบูล หลังเข้าไปเพื่อติดต่อทำเอกสารหย่าเพื่อแต่งงานกับคู่หมั้น แต่หายตัวไปเป็นเวลากว่าสิบชั่วโมง ตำรวจตุรกีสันนิษฐานว่าถูกฆาตกรรมในสถานกงสุล ซึ่งทางการซาอุดิอาระเบียออกมาปฏิเสธเป็นเวลาสองสัปดาห์ แต่หลังถูกแรงกดดันจากสหรัฐฯและประชาคมโลก ก็ได้กลับลำโดยอ้างผลการสืบสวนของอัยการสูงสุดว่าคาช็อกกี ได้สำลักจนเสียชีวิตจากการขัดขืนการส่งตัวกลับประเทศเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมาย ทั้งนี้ หน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯหลายหน่วยเชื่อว่าเป็นฝีมือของหน่วยสังหารของมกุฏราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซาลมาน (Mohammad bin Salman) หรือที่รู้จักกันสั้น ๆ ว่า MBS เพื่อกำจัดศัตรูหลังขึ้นเถลิงอำนาจ
 
หลังจากการฆาตกรรม มีการสืบสวนจากหลายฝ่ายพบว่าทางการซาอุสามารถติดตามตัวคาช็อกกีได้จากโทรศัพท์ของโอมาร์ อับดุลลาซิซ (Omar Abdulaziz) นักกิจกรรมต่อต้านปฏิบัติการข่าวสาร (IO) และนักวิจารณ์รัฐบาลซาอุในประเทศแคนาดา ผู้ที่ได้ชวนคาช็อกกีมาร่วมงานด้วยซึ่งถูกโจมตีด้วยเพกาซัสหลายเดือนก่อนการฆาตกรรมดังกล่าว ทำให้รัฐบาลมีข้อมูลการสื่อสารระหว่างทั้งสองคน จนทราบแผนการเดินทางและส่งหน่วยสังหารไปดักรอได้ 
 
นอกจากนี้ การตรวจสอบโทรศัพท์ของคู่หมั้นของคาช็อกกีก็พบว่าติดเพกาซัสสี่วันหลังการฆาตกรรม และถูกเจาะอีกสองครั้งในเดือนเดียวกัน ส่วนภรรยาของคาช็อกกีได้รับข้อความจากแหล่งที่มีประวัติเชื่อมโยงกับเพกาซัสแต่ไม่สามารถยืนยันว่าถูกเจาะหรือไม่ และบุคคลอื่นเช่น นักกิจกรรมชาวซาอุในสหราชอาณาจักรคนสนิทที่ติดต่อกับคาช็อกกี ไม่นานก่อนถูกฆาตกรรม เพื่อนของคาช็อกกี ที่ปรึกษาระดับสูงของประธานาธิบดีตุรกี และผู้อำนวยการสำนักข่าว Al Jazeera ก็ตกเป็นเป้าโจมตีมาเรื่อย ๆ จนล่าสุดเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 นี้ การวิเคราะห์ที่ยืนยันว่ากลุ่มคนเหล่านี้ตกเป็นเหยื่อของเพกาซัสได้นำไปสู่แคมเปญการเรียกร้องความยุติธรรมให้คาช็อกกี และต้องการสอดแนมการสืบสวนของทางการตุรกีอีกด้วย โดยทางเลขาธิการ Amnesty International ได้ให้ความเห็นว่าทางการซาอุโจมตีบุคคลเหล่านี้โดยประสงค์สอดแนมความคิดของนักการเมืองตุรกีระดับสูงเพื่อใช้อิทธิพลอื่น ๆ ครอบงำต่อไป
 
ในเรื่องราวครึกโครมเกี่ยวกับคาช็อกกีนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าเพกาซัสเป็นตัวต่อชิ้นสำคัญที่ทำให้รัฐสามารถติดตามการทำงานและการสื่อสารของนักกิจกรรมขั้วศัตรูของรัฐ ทำให้ทราบแผนการทำงานและการเดินทาง นำไปสู่การส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษไปยังประเทศตุรกี และการฆ่าหั่นศพคาช็อกกีทั้งที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้มีการพบว่าถูกเพกาซัส โจมตีเองด้วย และหลังเผชิญแรงกดดันจากนานาประเทศ ก็ได้ใช้เพกาซัส ต่อเพื่อติดตามการสืบสวนของรัฐบาล สื่อมวลชน และภาคประชาสังคมในต่างประเทศ เพื่อดำเนินการใช้อิทธิพลกดดันต่อไป
 
เอลซัลวาดอร์ vs นักข่าวต่อต้านคอร์รัปชั่น
 
เอลซัลวาดอร์เป็นประเทศยากจนในภูมิภาคอเมริกากลาง เป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดไปยังอเมริกาเหนือ ทำให้มีกลุ่มอาชญากรขนาดใหญ่จำนวนมากที่ภาครัฐไม่สามารถปราบปรามได้ นำมาสู่การคอร์รัปชั่นอย่างรุนแรงจากการปะทะกันของกลุ่มอาชญากร ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องอพยพลี้ภัยไปยังสหรัฐอเมริกา
 
ในเดือนพฤศจิกายน 2564 รายงานของกลุ่มองค์กรสิทธิดิจิทัลได้ชี้ว่าสปายแวร์เพกาซัสของ NSO Group ได้ถูกใช้โจมตีโทรศัพท์มือถือ 37 เครื่องของนักข่าวและนักกิจกรรมรวม 35 ราย ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 และดำเนินต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 16 เดือน โดยเหยื่อมีที่มาจากหลากหลาย ตั้งแต่องค์กรสื่ออิสระ องค์กรไม่แสวงหากำไรและไม่ใช่รัฐ สมาชิกรัฐสภา ไปจนถึงองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
 
หนึ่งในเหยื่อของเพกาซัสเป็นของนักข่าวจากสำนักข่าวออนไลน์ El Faro ซึ่งได้ทำงานวิจารณ์ประเด็นการคอร์รัปชั่นของรัฐบาลมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเปิดโปงการฮั้วกันระหว่างประธานาธิบดีกับกลุ่มอาชญากร แต่สามวันก่อนการตีพิมพ์บทความ นักข่าวคนหนึ่งพบว่าเพื่อนร่วมงานของตนเองได้รับข้อความที่มีคลิปเสียงส่วนตัวการสนทนาของเขากับพี่ชาย การถูกแบล๊คเมล (Blackmail) เช่นนี้เริ่มทำให้เขาสงสัยว่าตนถูกสอดแนมอยู่หรือไม่ ซึ่งผลการตรวจสอบจาก Citizen Lab พบว่าเขาถูกเพกาซัสสอดแนมมากว่า 269 วันแล้ว แต่ NSO Group ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการให้บริการในเอลซัลวาดอร์
 
กรณีของเอลซัลวาดอร์ รายงานร่วมของ Citizen Lab และ Access Now ได้นำมาสู่ความพยายามไต่สวนการสอดแนมทางไซเบอร์จากหน่วยงานสิทธิมนุษยชนระดับภูมิภาคอย่างเช่น IACHR อีกด้วย
 
ไม่ใช่แค่นักข่าว แต่นักการเมืองก็โดนด้วย
 
เพกาซัสไม่ได้มีไว้เพื่อจัดการศัตรูของรัฐเช่นนักกิจกรรมที่ไร้ทางสู้เท่านั้น เพราะนอกจากนักการเมืองฝ่ายค้านระดับพระกาฬ ไม่ว่าจะเป็นราฮุล คานธีแห่งอินเดีย หรือเจ้าหญิงจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ก็แล้ว ประมุขของรัฐเองก็ยังไม่รอดจากเงื้อมมือของเพกาซัสด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม 2564 นักข่าวกลุ่มหนึ่งได้เข้าถึงลิสต์หมายเลขโทรศัพท์ที่ถูกนำเข้าระบบการใช้งานของเพกาซัสกว่า 50,000 หมายเลข ซึ่ง 14 หมายเลขได้รับการยืนยันจากแหล่งข่าวว่าเป็นของนักการเมืองคนสำคัญของรัฐ ได้แก่ประธานาธิบดีจากสามประเทศ นายกรัฐมนตรีสิบราย และกษัตริย์หนึ่งองค์
 
หนึ่งในคนที่น่าสนใจคือเอ็มมานูเอล มาครง ซึ่งมีการพบว่าเบอร์โทรศัพท์ไอโฟนของประธานาธิบดีฝรั่งเศสปรากฎอยู่บนลิสต์เดียวกับที่เต็มไปด้วยเป้าหมายในประเทศโมร็อกโกและแอลจีเรีย จากการวิเคราะห์ของเครือข่าย Pegasus Project พบว่ามาครงถูกโจมตีจากหน่วยงานความมั่นคงโมร็อกโกในช่วงเดือนมีนาคม 2562 พร้อม ๆ กับที่ปรึกษาอย่างน้อยสองคน ได้แก่รองเลขาและที่ปรึกษาด้านการแอฟริกา ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่มาครงมีกำหนดการเดินทางเยือนหลายประเทศแอฟริกา เช่น การประชุม G5 Sahel และการประชุมสุดยอดสหภาพแอฟริกา
 
อีกกรณีหนึ่งคือรวันดา รายงานร่วมกันของ Amnesty และ ForbiddenStories เผยว่ารัฐบาลได้เตรียมลิสต์ไว้รวม 3,500 เบอร์โทรศัพท์ของนักกิจกรรม นักการเมือง และนักข่าวทั้งในและนอกประเทศไม่จำกัดสัญชาติเพื่อโจมตีด้วยเพกาซัส ปากีสถานก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่พบการใช้เพกาซัส เบอร์โทรศัพท์ของอดีตนายกรัฐมนตรีปากีสถาน อิมราน ข่าน ปรากฎอยู่บนลิสต์เดียวกับที่มีเบอร์จากในประเทศอินเดียเป็นจำนวนมาก โดยมีข้อสงสัยว่าการโจมตีอาจมาจากรัฐบาลอินเดีย โดยสองประเทศนี้เคยทำสงครามกันถึงสี่ครั้ง และอินเดียเชื่อว่าปากีสถานมีส่วนรับผิดชอบเหตุการณ์ก่อการร้ายมุมไบในปี 2551 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 175 ราย
 
กรณีเหล่านี้ล้วนชี้ให้เห็นว่าเพกาซัสนั้นเป็นสปายแวร์ที่มีศักยภาพสูงมาก มีการใช้งานโดยหน่วยงานความมั่นคงทั่วโลกเพื่อการข่าวในหลากหลายรูปแบบ แต่หลายกรณีที่ผู้ซื้อบริการเพกาซัสเป็นรัฐบาลอำนาจนิยมมักนำไปใช้เพื่อปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยนำข้อมูลไม่ว่าข้อความ คลิปภาพหรือเสียง และรูปภาพที่จารกรรมมาได้มาคุกคาม ข่มขู่ หรือวางแผนฆาตกรรม
 
การนำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์มาใช้เพื่อการประทุษร้ายต่อชีวิตผู้คนด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง โดยที่การเข้ารหัสไม่สามารถป้องกันได้ทำให้หลายคนขนานนามเพกาซัสว่าเป็นอาวุธไซเบอร์ เนื่องจากอาจนำมาสู่อานุภาพการทำลายล้างเฉกเช่นทางทหารเลยก็ว่าได้ แต่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ยังไม่มีกฎหมายใดรับรองสถานะความเป็นอาวุธ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายหลายตัว เช่น กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ไม่สามารถทำได้หากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทางการทหารในภาวะสงคราม นำมาสู่ความพยายามผลักดันจารีตระหว่างประเทศในเวทีสหประชาชาติแต่ก็ยังมีความคืบหน้าไม่มาก ทำให้ข้อตกลงเรื่องความมั่นคงทางไซเบอร์มักจะขึ้นอยู่กับการเจรจาทวิภาคีระหว่างรัฐมากกว่า และมีการฉวยโอกาสช่องว่างทางกฎหมายระหว่างประเทศนี้ในการใช้สปายแวร์กับเป้าหมายทางการเมือง
 
อย่างไรก็ตาม การจารกรรมข้อมูลของประชาชนโดยรัฐที่ไม่เป็นธรรมและขัดต่อกฎหมายก็ควรถูกปราบปราม ประเทศที่มีสามัญสำนึกก็ย่อมต้องรักษาหลักการด้วนตนเองเท่าที่พอทำได้ ตัวอย่างเช่นการที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ขึ้นบัญชีดำ NSO Group ทำให้บริษัทไม่สามารถทำธุรกิจกับใครในสหรัฐฯ ได้อย่างถูกกฎหมาย นอกจากนี้ บริษัทแอปเปิล ซึ่งวางตัวเป็นแบรนด์ที่รักษาความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ได้ดำเนินการฟ้องขอคำสั่งศาลมิให้บริษัท NSO Group ใช้บริการใดๆบนแพลตฟอร์มของแอปเปิล โดยแรงกดดันต่อ NSO Group ของตัวแสดงเหล่านี้สร้างผลอย่างมากจนทำให้มีข่าวว่า NSO Group อาจจะต้องขายกิจการเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการคว่ำบาตร โดยมีบริษัทอเมริกันให้ความสนใจ แต่ท้ายที่สุดก็โดนรัฐบาลสหรัฐฯ กดดันจนต้องถอนข้อเสนอไปในที่สุด ทำให้ชะตากรรมของ NSO Group
 
แล้วประชาชนควรจะปกป้องตัวเองอย่างไร
 
ในระดับบุคคล ประชาชนทั่วไปสามารถเพิ่มความปลอดภัยไซเบอร์ให้กับตัวเองได้หากใส่ใจกับสิ่งง่าย ๆ เหล่านี้
 
1) ใช้ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์แท้ และอัพเดตระบบปฏิบัติการอยู่เสมอ
 
2) อัพเดตแอนตี้ไวรัส/แอนตี้มัลแวร์ 
 
3) ไม่เปิดลิงค์หรือข้อความที่น่าสงสัย
 
4) ใช้หลักการ zero-trust ล็อคอุปกรณ์ทุกครั้ง และใช้การยืนยันตัวตนหลายชั้น
 
5) เปลี่ยนรหัสผ่านบ่อย ๆ ให้คาดเดาไม่ได้ มากไปกว่านั้น จะปลอดภัยขึ้นหากหลีกเลี่ยงการใช้ไวไฟสาธารณะ และแบ็คอัพข้อมูลสม่ำเสมอ อย่างไรก็ดี หากท่านเป็นคนที่น่าสงสัยว่าอาจถูกโจมตีจากรัฐ ควรหาบริการการป้องกันไซเบอร์ขั้นสูงหรือติดต่อผู้เชี่ยวชาญไว้ ก็อาจมีโอกาสทุเลาความร้ายแรงของการสอดแนมลงได้บ้าง
ชนิดบทความ: