1437 1292 1122 1662 1292 1783 1891 1713 1580 1328 1763 1139 1781 1402 1154 1565 1794 1790 1761 1807 1147 1576 1759 1241 1155 1934 1845 1448 1483 1317 1988 1228 1739 1697 1471 1553 1093 1656 1418 1191 1468 1492 1197 1938 1790 1317 1136 1558 1564 1375 1759 1653 1058 1705 1206 1050 1021 1986 1483 1899 1177 1049 1763 1189 1863 1362 1493 1474 1323 1027 1076 1202 1621 1317 1110 1375 1432 1602 1032 1521 1354 1517 1898 1398 1171 1750 1504 1345 1140 1228 1878 1539 1028 1504 1931 1957 1909 1133 1466 เกือบ 6 ปีในเรือนจำ บุรินทร์กำลังจะกลับคืนสู่โลกภายนอก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เกือบ 6 ปีในเรือนจำ บุรินทร์กำลังจะกลับคืนสู่โลกภายนอก

23 มีนาคม 2565 บุรินทร์ อินติน นักโทษคดีมาตรา 112 ถูกปล่อยตัวออจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เขาเป็นนักโทษจากคดีความในยุคสมัยของ คสช. ที่เพิ่งรับโทษตามคำพิพากษาจนครบและได้ออกจากเรือนจำ หลังจากนี้บุรินทร์ยังตั้งใจมุ่งมั่นที่จะเข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางการเมืองต่อไป พร้อมกลับไปทำงานเพื่อเลี้ยงตัวเอง โดยเขายืนยันในอุดมการณ์ว่าคุกเปลี่ยนแปลงตัวเขาไม่ได้

บุรินทร์ ในวันนี้อายุ 34 ปี เขาเล่าเกี่ยวกับตัวเองว่า เป็นชาวจังหวัดพะเยาและเข้ามากรุงเทพเพื่อทำงานเป็นช่างเชื่อมที่โรงงานแห่งหนึ่ง และเริ่มเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองต่อต้านการรัฐประหารตั้งแต่ปี 2557 เขาถูกจับจากการไปร่วมทำกิจกรรม "ยืนเฉยๆ" ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2559 เพื่อประท้วงการที่ทหารใช้กำลังบุกจับแอดมินเพจ "เรารักพลเอกประยุทธ์" แปดคนในช่วงเช้าวันนั้น บุรินทร์และผู้เข้าร่วมกิจกรรม "ยืนเฉยๆ" ถูกจับพร้อมกัน 15 คน และถูกพาตัวไปที่สน.พญาไท เพื่อทำประวัติ สำหรับคนอื่นไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหาใด แต่กลับมีทหารมาพาตัวบุรินทร์แยกออกไปคนเดียวเป็นพิเศษ โดยบุรินทร์เล่าว่า เขาถูกพาไปที่พุทธมณฑล ก่อนจะวนรถกลับและเอาตัวมาไว้ที่ค่าย มทบ.11 ถนนนครไชยศรี

บุรินทร์ถูกควบคุมตัวไว้ในค่ายทหารด้วยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ระหว่างอยู่ในค่ายทหารเขาถูกทหารบังคับให้เซ็นเอกสารยอมรับสารภาพ แต่เขาไม่ยอมเซ็นและถูกตบหัว 4 ครั้ง จากนั้นถูกพาตัวไปนอนที่ สน.ทุ่งสองห้อง และถูกส่งเข้าเรือนจำตั้งแต่นั้นมา คดีของบุรินทร์ อยู่ในยุคสมัยที่ประชาชนต้องขึ้น "ศาลทหาร" ทนายความของบุรินทร์พยายามยื่นขออนุญาตประกันตัวหลายครั้งแต่ศาลทหารไม่เคยอนุญาต บุรินทร์เล่าด้วยว่า ขณะที่เขานั่งรถควบคุมตัวของทหารไปที่ศาลทหาร เคยได้ยินนายทหารรับโทรศัพท์จากใครบางคนและบอกว่า กรณีนี้ต้องไม่ให้ประกันตัว

 

2332

 

คดีมาตรา 112 ของบุรินทร์ มาจากการโพสข้อความบนเฟซบุ๊ก และการแชทคุยกันกับเพื่อนของเขาชื่อพัฒน์นรี หรือแม่ของจ่านิว ซึ่งต่อพัฒน์นรีตอบกลับมาว่า "จ้า" และถูกดำเนินคดีมาตรา 112 แยกต่างหาก แม้ศาลยกฟ้องในคดีส่วนของพัฒน์นรี แต่คดีของบุรินทร์นั้นศาลพิพากษาให้ลงโทษหนัก ศาลทหารพิพากษาว่าบุรินทร์มีความผิด 2 กรรม กรรมแรก คือ การคุยกันในกล่องสนทนา (Facebook Chat) ลงโทษจำคุก 7 ปี เนื่องจากบุรินทร์เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงให้เพิ่มโทษ 1 ใน 3 และเนื่องจากจำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 4 ปี 8 เดือน กรรมที่สอง จากการโพสต์บนเฟซบุ๊กของตัวเอง ลงโทษจำคุก 10 ปี เพิ่มโทษ 1 ใน 3 และลดโทษกึ่งหนึ่ง เหลือจำคุก 6 ปี 8 เดือน รวมทั้งสองกรรมแล้วบุรินทร์จะต้องรับโทษจำคุก 10 ปี 16 เดือน

 

เมื่อเราถามว่า รู้สึกอย่างไรที่ต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำด้วยคดีนี้ บุรินทร์ตอบสั้นๆ ว่า "ผมรู้สึกเฉยๆ นะ เพราะผมเคยผ่านเรือนจำแล้ว"

 

สำหรับชีวิตในเรือนจำ บุรินทร์เล่าว่า เมื่อเข้าไปใหม่จะมีคนข้างในพยายามมาดึงไปเข้ากลุ่มของตัวเอง แต่บุรินทร์เลือกที่จะไม่เข้ากลุ่มไหนและใช้ชีวิตอยู่ด้วยตัวเองในเรือนจำ หน้าที่ของเขาคือการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เรือนจำ โดยการเปิดปิดประตูทางขึ้นเรือนนอน โดยเขาอยู่อาศัยในแดนแปด ซึ่งเป็นแดนที่จะรับผิดชอบในการทำอาหารส่งให้แดนอื่นๆ ด้วยแต่บุรินทร์ไม่ได้มีหน้าที่โดยตรงในการทำอาหาร แค่พอทราบระบบการทำงานภายใน

"ผมพอรู้นิดหน่อย เราได้เห็นเอกสารเวลาสั่งของ เราจะรู้ว่ามันมีปริมาณมาอยู่แล้วว่าต้องใส่อะไรเท่าไรๆ ไก่ห้ากิโลนี่น่าจะเหลือจริงประมาณครึ่งกิโล เพราะเอาไปกินเล็กกินน้อยก่อน พวกทำครัวได้กินอาหารต่างหาก เพราะทำกินเองไม่ได้กินรวมกับพวกเรา"

 

ในเรือนจำบุรินทร์ได้พบกับนักโทษในคดีการเมืองคนอื่นๆ อีกหลายรุ่น ตั้งแต่คดีระเบิดหรือคดีจากการชุมนุมของคนเสื้อแดง คดีมาตรา 112 รวมทั้งพบปะนักเคลื่อนไหวรุ่นน้องจากกลุ่มทะลุแก๊ส แม้บุรินทร์จะได้รับผลจากการอภัยโทษในวาระสำคัญ 4 ครั้งทำให้ได้ลดโทษลงมาเหลือต้องอยู่ในเรือนจำจริงๆ ประมาณ 5 ปี 11 เดือน แต่ก็เป็นเวลานานพอที่จะเห็นนักเคลื่อนไหวของคนอื่นๆ ที่เข้าๆ ออกๆ อยู่หลายรอบ หลายคนเข้ามาทีหลังแต่ก็ได้ออกไปก่อนเขา หลายคนศาลวางกำหนดโทษให้สูงกว่าแต่ก็ยังได้ออกก่อนเขา แต่บุรินทร์ไม่ได้รู้สึกว่า การต้องอยู่นานกว่าเพื่อนจะเป็นปัญหาอะไร

"ยังไงก็ไม่สะทกสะท้านอยู่แล้ว จะให้ประกันตัวหรือไม่ก็ได้ ถ้ามึงขังกูได้ กูก็อยู่ได้"

"ความจริงยังไงก็ได้ออก ยังไงก็ไม่เกินสิบปีถ้าเราไม่ตาย ต่อให้ไม่มีอภัยโทษและถ้าเราไม่ทำผิดวินัย ยังไงก็ได้ออก"

"ผมอยากทำอะไรก็ทำครับ ผมจะไม่เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อใคร ผมจะเป็นผมยังงี้" บุรินทร์เล่า

 

เมื่อถามว่า กิจกรรมที่ชอบทำในเรือนจำ คืออะไร บุรินทร์ตอบทันทีว่า คือ การเล่นหมากรุก "เพราะเวลามันหมดไวนะ นั่งคิดนั่งอะไรมันนานครับ สองสามกระดานก็หมดเวลาหมดวันแล้ว"

โดยบุรินทร์เล่าด้วยว่า ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำเขาเคยเจอกับจตุภัทร์ หรือไผ่ ที่ถูกคุมขังเพราะไม่ได้ประกันตัวอยู่ช่วงเวลาหนึ่งและได้เล่นหมากรุกแล้วบุรินทร์แพ้ "ไปขอแก้ มันไม่ยอมให้แก้"

 

ระหว่างอยู่ในเรือนจำบุรินทร์ยังได้ติดตามข่าวสารบ้านเมืองบ้าง โดยได้รับหนังสือพิมพ์บ้าง จากการขอเจ้าหน้าที่ให้เอามาให้อ่านบ้าง และจากการ "ลักมาอ่าน" บ้าง ทำให้เขาทราบดีถึงความเคลื่อนไหวทางการเมือง และการผลักดันข้อเรียกร้องของคนรุ่นใหม่ เมื่อได้รับอิสรภาพออกจากเรือนจำบุรินทร์ได้กลับไปสมัครทำงานเป็นช่างเชื่อมที่โรงงานแห่งเดิม และเจ้าของก็ยังต้อนรับให้กลับมาทำงานอยู่ บุรินทร์ยังตั้งใจว่าจะยังคงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองต่อไปเท่าที่ตัวเองจะสามารถทำได้

"ถ้าว่างจากงานก็จะไปเคลื่อนไหว ถ้ามีการชุมนุมใหญ่จริงๆ ผมก็ไม่ไปทำงาน เมื่อก่อนเข้าคุกบางเดือนก็ไปทำงานไม่กี่วันเพราะไปเคลื่อนไหวอยู่ ถ้าเบื่อๆ ค่อยไปทำงาน"

 

เมื่อได้คืนสู่อิสรภาพมีเพื่อนใจดีพาบุรินทร์ไปหาที่พักเป็นการชั่วคราวก่อนได้เริ่มทำงานหาเลี้ยงตัวเองอีกครั้ง ระหว่างที่อยู่ในเรือนจำทุกคนต้องตื่นแต่เช้าพร้อมกันตอนตีห้า เมื่อออกมาข้างนอกได้บุรินทร์ก็ยังติดนิสัยการตื่นเช้าอยู่ และเริ่มตื่นสายขึ้นได้บ้างเล็กน้อย ในช่วงแปดวันแรกของการใช้ชีวิต บุรินทร์เล่าว่า ยังถือว่าเขาปรับตัวไม่ค่อยได้

"ไม่กล้าเดินไปนู่นไปนี่ เจอคนก็ไม่กล้าเดินไปหา เพราะตอนอยู่ในเรือนจำจะเดินเข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ เราก็เกร็ง แต่ก็โอเค ไม่มีปัญหา"

 

2333

 

2334

 

ดูรายละเอียดคดีมาตรา 112 ของบุรินทร์ ในฐานข้อมูลได้ คลิกที่นี่

 

 

 

ชนิดบทความ: