1376 1161 1030 1368 1089 1745 1326 1546 1620 1600 1811 1690 1827 1006 1220 1680 1076 1606 1641 1736 1357 1796 1055 1554 1526 1416 1351 1027 1127 1403 1961 1944 1924 1143 1523 1295 1360 1563 1432 1092 1271 1295 1614 1801 1357 1087 1286 1354 1580 1775 1377 1983 1161 1153 1663 1552 1754 1557 1169 1108 1561 1844 1227 1056 1695 1910 1902 1810 1438 1657 1207 1035 1055 1328 1950 1752 1632 1357 1794 1666 1245 1561 1468 1211 1332 1007 1076 1501 1636 1357 1266 1096 1706 1758 1867 1988 2000 1260 1919 ตำรวจดักปากซอย - แกล้งส่งหมายเรียกซ้ำ คุกคามสองนักกิจกรรม "ไอซ์-บุ้ง" จากการเข้าร่วม #โพลขบวนเสด็จ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ตำรวจดักปากซอย - แกล้งส่งหมายเรียกซ้ำ คุกคามสองนักกิจกรรม "ไอซ์-บุ้ง" จากการเข้าร่วม #โพลขบวนเสด็จ

17 มีนาคม 2565 เวลา 21.48 น. เพจ "ทะลุวัง – ThaluWang" โพสต์ข้อความเล่าถึงกรณีที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจปรากฏตัวที่บ้านพักของนักกิจกรรมสองคนซึ่งเป็นผู้ต้องหาในคดีมาตรา 112 จากการทำกิจกรรม “โพลขบวนเสด็จ” ที่ห้างสยามพารากอน เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 แม้ว่าผู้ต้องหาทุกคนจะได้เดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่ สน.ปทุมวัน เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ 10 มีนาคม 2565
 
2327
 

“เขาอ้างว่าเป็นผู้กำกับคนใหม่แวะมาตรวจตรา” - ไอซ์ นักกิจกรรมอิสระ อายุ 15 ปี

 
ไอซ์ เยาวชนอายุ 15 ปี หนึ่งในนักกิจกรรมที่ถูกคุกคามเล่าว่า เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบประมาณ 6 คน พร้อมรถกระบะมาหาที่บ้านพักเพื่อแนะนำตัวว่าเป็นผู้กำกับคนใหม่ พร้อมทำการถ่ายรูปบ้านพัก อีกทั้งยังพยายามเจรจาขอเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ส่งผลให้เพื่อนบ้านหลายคนเกิดความตกใจและมายืนมุงดู แต่เนื่องจากไอซ์ไม่ได้อยู่บ้านเวลาดังกล่าว ตำรวจจึงได้แจ้งกับทางครอบครัวว่าจะมาหาอีกครั้งในช่วงบ่าย
 
ต่อมา เมื่อทราบข้อมูลจากครอบครัว ไอซ์จึงตัดสินใจเดินไปดักรอที่หน้าปากซอยในเวลาประมาณ 13.00 น. เพื่อหวังพูดคุยด้วยตนเอง และได้พบกับตำรวจนอกเครื่องแบบที่ทราบภายหลังว่ามาจาก สน.บางมด กำลังนั่งอยู่ในรถ เขาจึงเข้าไปเคาะกระจกและขอให้ตำรวจลงมาพูดคุย โดยไอซ์เล่าว่า เจ้าหน้าที่อ้างว่าต้องการมาเพื่อสอบถามความเป็นอยู่ทั่วไป พร้อมกับพูดว่า “พรุ่งนี้ขอได้ไหม อย่าไปขบวนเสด็จ” ซึ่งไอซ์ตอบกลับไปว่า ตนไม่ได้มีแผนจะเดินทางไปอยู่แล้ว ก่อนที่ตำรวจจะเดินทางกลับไป
 
เมื่อถามจุดเริ่มต้นการของการเข้ามาทำกิจกรรมทางการเมือง ไอซ์เล่าว่าตนเองเข้าร่วมการชุมนุมในฐานะผู้ชุมนุมทั่วไปมาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ก่อนจะเริ่มเคลื่อนไหวครั้งแรกกับกลุ่ม “จะนะรักษ์ถิ่น” ในช่วงเดือนธันวาคม 2564 และถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ครั้งแรกจากการไปชูป้ายเรียกร้องให้ปล่อยนักกิจกรรมทางการเมือง เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 โดยที่เขาและเพื่อนอีกหนึ่งคนถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวก่อนการชูป้าย และพาขึ้นรถสายตรวจไปคุมขังที่กรมบัญชาการตำรวจนครบาล (บช.น.) ก่อนจะถูกนำตัวไปที่ สน.ดุสิต และย้ายไปสอบปากคำที่กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด (บช.ปส.) ต่อด้วยการแจ้งข้อกล่าวหา พร้อมฝากขังที่ บช.ปส. ในคืนเดียวกัน
 
ภายหลังได้รับการประกันตัวในเช้าวันถัดมา ไอซ์เริ่มรู้ตัวว่า ถูกเจ้าหน้าที่สอดส่องในชีวิตประจำวันมากขึ้น เช่น ในช่วงมกราคม 2565 เขาเคยถูกเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบเดินตามจากบริเวณหน้าปากซอยบ้านพัก จนกระทั่งเดินไปขึ้นรถเมล์ เจ้าหน้าที่จึงเลิกตาม
 
หมายเรียกมาตรา 112 ใบที่สองของไอซ์มาจากการทำกิจกรรมโพลขบวนเสด็จ ถูกส่งมาถึงที่พักในวันที่ 13 มีนาคม 2565 ไอซ์อธิบายว่าในวันทำกิจกรรม เขาไม่ได้เป็นผู้จัดและเพียงแค่ต้องการไปถ่ายรูปกิจกรรม แต่ในช่วงที่เกิดเหตุปะทะกันระหว่างผู้ที่ทำโพลกับเจ้าหน้าที่ตอนที่กำลังเดินไปใกล้ถึงที่วังสระประทุม เจ้าหน้าที่ได้ดันแผงเหล็กมาชนกล้องของไอซ์ ส่งผลทำให้เขามีปากเสียงเล็กน้อยกับตำรวจ ซึ่งไอซ์คาดการณ์ว่า นี่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เจ้าหน้าที่เข้าใจผิดว่า เขาเป็นหนึ่งในสมาชิกของกลุ่มทะลุวังด้วย
 
ภายหลังเหตุการณ์เยี่ยมบ้าน ไอซ์กล่าวว่า รู้สึกเครียด เนื่องจากถูกครอบครัวกดดัน และเขาอาจต้องทำเรื่องแต่งตั้งผู้ปกครอง ให้มีบุคคลอื่นภายนอกครอบครัวดำเนินเรื่องทางกฎหมายแทนในอนาคต เนื่องจากยังมีสถานะเป็นเยาวชน
 

“เราดูเจตนาออกว่าเขาต้องการจะคุกคามเราและคนรอบตัว” - บุ้ง สมาชิกกลุ่มทะลุวัง

 
บุ้ง นักกิจกรรมสังกัดกลุ่มทะลุวัง อายุ 26 ปี เล่าว่าเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 เวลาประมาณ 10.00 น. ได้มีตำรวจนอกเครื่องแบบจำนวน 2 คนมาหาที่หน้าบ้าน โดยอ้างว่าจะมาส่งหมายเรียก พร้อมพูดจาหว่านล้อมให้สมาชิกในบ้านออกมาเซ็นเอกสาร อีกทั้งพยายามที่จะขอเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง ซึ่งครอบครัวของบุ้งเลือกที่จะไม่ให้ความร่วมมือใดๆ และยืนยันที่จะไม่เซ็นเอกสาร อีกทั้งต้องขอกำลังเพื่อนบ้านให้มาช่วยไล่ตำรวจกลับไป โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจขู่ว่า หากไม่ยอมเซ็นจะทำการ "ออกหมายจับ" และได้ยืนเฝ้าที่หน้าบ้านของเธอเป็นเวลาเกือบหนึ่งชั่วโมงก่อนจะยอมถอนกำลังกลับไป
 
เมื่อถามถึงรายละเอียดของเอกสารที่ตำรวจต้องการให้เซ็น บุ้งเล่าว่า ตำรวจได้นำหมายเรียกในคดีเดียวกันที่เคยส่งมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 จากคดีการทำโพลขบวนเสด็จมาให้ ซึ่งในคดีนี้เธอไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สน.ปทุมวันมาแล้ว เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 และได้รับการประกันตัวพร้อมติดกำไล EM เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บุ้งจึงตั้งข้อสังเกตว่า การมาเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่ครั้งนี้เป็นการตั้งใจคุกคามเธอและคนในครอบครัวให้เกิดความหวาดกลัว
 
ในด้านบทบาทการเคลื่อนไหวทางการเมือง บุ้งเริ่มทำกิจกรรมทางการเมืองในฐานะ “คนเบื้องหลัง” มาตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม 2563 ทั้งประเด็นเรื่องระบบการศึกษา เพศ และแรงงาน โดยจุดเวลาที่เธอเริ่มรู้สึกตัวว่าภาครัฐกำลังเพ่งเล็งนั้นเกิดขึ้นจากกิจกรรมเรียกร้องวัคซีนไฟเซอร์จากภาครัฐในนามกลุ่ม “ไพร่ปากแจ๋ว” เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากวันดังกล่าว เธอได้มีส่วนร่วมในการปะทะวาจากับเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน และภายหลังกิจกรรมวันนั้น บุ้งเล่าว่าเธอเคยถูกเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาชี้ตัวระหว่างการจัดกิจกรรมพร้อมพูดว่า “ไปหามาว่าคนนี้คือใคร” รวมทั้งการเคลื่อนไหวในกิจกรรมโพลขบวนเสด็จ บุ้งยังถูกเจ้าหน้าที่เดินเข้ามาพูดขู่ในระยะประชิดว่า “ให้ระวังตัวไว้”
 
“เราเคยมีโอกาสได้คุยกับเจ้าหน้าที่บางคน เขาก็อ้างว่ายืนอยู่ฝั่งประชาธิปไตยเหมือนกันแต่ออกมาไม่ได้ เพราะจะกระทบกับหน้าที่การงาน เลยอยากจะบอกเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ยังอยู่ภายใต้คำสั่งของเผด็จการให้มาทำร้ายประชาชนว่า ทุกคนมีเรื่องที่ต้องสูญเสียกันทั้งนั้น บุ้งเองก็สูญเสียหลายอย่าง แต่บุ้งก็ยังเลือกที่จะแสดงจุดยืนว่าสิ่งที่ถูกต้องและสิ่งที่เราอยากเห็นในประเทศนี้คืออะไร ดังนั้นทุกคนมีเรื่องที่ต้องแลกด้วยกันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าคุณจะแสดงจุดยืนของตัวเองอยู่ที่ตรงไหน”
 
สำหรับคดีจากการทำกิจกรรมโพลขบวนเสด็จเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ห้างสยามพารากอน ผู้ต้องหาจำนวน 9 คน ถูกตั้งข้อหาจำนวน 4 ข้อ ได้แก่ หมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112, ยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, ต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน มาตรา 138 และไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน มาตรา 368 โดยภายหลังรายงานตัวในวันที่ 10 มีนาคม 2565 ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวด้วยวงเงินคนละ 200,000 บาท พร้อมเงื่อนไข 5 ข้อ ได้แก่ 1. ห้ามทำกิจกรรมหรือการกระทำใดที่อาจเสื่อมเสียต่อสถาบันกษัตริย์ 2. ห้ามโพสต์ปลุกปั่นยั่วยุชักจูงให้เข้าร่วมชุมนุมในสื่อโซเชียลมีเดีย 3. ห้ามร่วมชุมนุมที่อาจก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง 4. ห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร และ 5. ให้ติดอุปกรณ์กำไล EM

 

ชนิดบทความ: