- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ปริญญา ชีวินกุลปฐม
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ปริญญา ชีวินกุลปฐม หรือพอร์ท ไฟเย็น เป็นนักดนตรีซึ่งก่อตั้งตั้งแต่ปี 2554 โดยมีผลงานเพลงเกี่ยวกับการเมืองมากมาย พอร์ท เป็นคนสุดท้ายของวงไฟเย็นที่ยังอยู่ในประเทศไทย ในปัจจุบันสมาชิกอีกสามคนที่เหลือได้รับสถานะผู้ลี้ภัยที่ประเทศฝรั่งเศส
พอร์ทถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์จากการโพสต์เฟซบุ๊กสามข้อความระหว่างเดือนเมษายนถึงกรกฎาคม 2559 โดยถูกตำรวจจับในวันที่ 5 มีนาคม 2564
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญา รัชดา
ทนายจำเลยให้พ.ต.อ.โอฬารดูเอกสารซึ่งเป็นการให้ความหมายคำว่า "งมงาย" จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานและถามว่า อ่านแล้วมีความหมายตามเอกสารว่า หลงเชื่อโดยไม่มีเหตุผลใช่หรือไม่ พ.ต.อ.โอฬารรับว่า ใช่ ทนายจำเลยอ้างส่งเอกสารต่อศาล
ทนายจำเลยถามว่าข้อความที่บอกว่า ใครก็ตามที่ต่อต้านสิ่งงมงายแต่ไปแจ้งความตามมาตรา 112 นั้นเป็นคนตอแหล หมายถึงคนอื่นที่ไปแจ้งความใช่หรือไม่ พ.ต.อ.โอฬารรับว่า ใช่ ทนายจำเลยถามว่า ที่กล่าวหาว่าข้อความของจำเลยเป็นการใส่ร้ายว่า สถาบันฯเป็นสิ่งงมงายเป็นความเห็นของตัวพ.ต.อ.โอฬารใช่หรือไม่ พ.ต.อ.โอฬารรับว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่า ข้อความที่ปริญญาโพสต์ไม่มีข้อความทำนองว่า พระมหากษัตริย์รับรองการรัฐประหารใช่หรือไม่ พ.ต.อ.โอฬารตอบว่า ใช่
สำหรับโพสต์ที่สามเบิกความว่าเขาจำไม่ได้เพราะเคยให้ความเห็นไว้นานแล้ว ศาลจึงบอกกำธรว่า หากจำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อัยการจึงนำบันทึกคำให้การที่กำธรเคยให้ปากคำไว้กับพนักงานสอบสวนมาให้ดูเพื่อเบิกความรับรองเอกสาร จากนั้นอัยการจึงอ้างส่งเอกสารต่อศาล
ทนายจำเลยถามว่า กำธรเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ กำธรตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยถามว่า เมื่อกำธรอ่านข้อความที่เป็นเหตุแห่งคดีนี้แล้วยังเคารพในสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ กำธรตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยถามว่า หลังอ่านข้อความนี้กำธรไม่ได้อยากจะกระทำการที่ไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ใช่หรือไม่ กำธรตอบว่า ไม่ได้มีความรู้สึกอยากจะไปทำอะไรที่ไม่ดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ เพียงแต่อ่านแล้วเห็นเจตนาที่ไม่ดีของผู้เขียนที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
ทนายจำเลยถามว่า คำอธิบายที่กำธรกล่าวถึงเป็นการตีความของกำธรเองใช่หรือไม่ กำธรรับว่า ใช่
ทนายจำเลยถามว่า คำว่า "กะ" กับคำว่า "กาก" ออกเสียงเหมือนกันหรือไม่ กำธรบอกว่า ไม่เหมือนแค่คล้ายกัน
2 มิถุนายน 2565
พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชรเบิกความว่าโพสต์ทั้งสามไม่มีถ้อยคำว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ โพสต์แรกไม่มีถ้อยคำหยาบคาย ไม่มีการยืนยันข้อเท็จจริงถึงบุคคลใด และข้อความน่าจะหมายถึงผู้ที่ร้องทุกข์กล่าวโทษบุคคลอื่นด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ข้อความที่สองที่เป็นเนื้อเพลงไม่มีการกล่าวถึงบุคคลใด มีเพียงคำว่ากากสัส ไม่ได้เอ่ยถึงพระมหากษัตริย์หรือพระราชินี ส่วนข้อความที่สามเป็นการโพสต์ถึงการรัฐประหารในประเทศตุรกี ไม่มีคำด่าทอหรือหยาบคาย ส่วนข้อความที่เขียนก็เขียนด้วยประโยคบอกเล่า
พยานเบิกความว่า เนื่องจากในขณะที่ปริญญาถูกจับกุมตัวมีการออกคำสั่งให้โอนย้ายคดีของพลเรือนที่อยู่ในศาลทหารกลับมาให้ศาลยุติธรรมเป็นผู้พิจารณาคดี เขาจึงนำตัวปริญญาไปฝากขังที่ศาลอาญา จากนั้นจึงทำการตรวจสอบประวัติผู้ต้องหาและสรุปความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แต่สั่งฟ้องในความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
หลังสืบพยานปากนี้ อัยการแถลงหมดพยาน ส่วนทนายจำเลยแถลงว่าฝ่ายจำเลยไม่ประสงค์จะนำพยานเข้าสืบแต่ประสงค์จะส่งคำแถลงปิดคดี ศาลอนุญาตให้ส่งคำแถลงปิดคดีภายใน 30 วัน และนัดฟังคำพิพากษาวันที่ 15 สิงหาคม 2565
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น