- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ชูเกียรติ แสงวงศ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
วรรณวลี | ได้รับการประกันตัว |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
จักรพงษ์ กลิ่นแก้ว แกนนำ ศปปส. เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญาธนบุรี
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลอาญาธนบุรี No: 372 วันที่: 2021-04-27
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2563 เวลากลางวันถึงเวลากลางคืนหลังเที่ยง จำเลยที่ 1 คือ ชูเกียรติ กล่าวปราศรัยแก่ประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุม บริเวณวงเวียนใหญ่ ในประเด็น “ใครฆ่าพระเจ้าตาก...” มีการกล่าวถึงประเด็นการใช้มาตรา 112 กับประชาชน เพราะกลัวประชาชนเอาความจริงมาพูด และกล่าวถึงข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์
ผู้ต้องหาทั้งสองคนเข้ารายวานตัวตามหมายเรียกของพนักงานสอบสวนจึงไม่ถูกควบคุมตัว
กลุ่มราษฎรฝั่งธนบุรีนัดชุมนุมกันที่วงเวียนใหญ่ โดยมีกลุ่มการ์ดอาชีวะและกลุ่มฟันเฟืองธนบุรีนำรถกระบะบรรทุกเครื่องขยายเสียงจอดอยู่ริมถนนลาดหญ้า ลักษณะการชุมนุมคือมีเวทีปราศรัยในหัวข้อ ‘การสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช’ รวมทั้งการอุ้มหายของนักเคลื่อนไหวทางการเมือง พร้อมยืนยันสนับสนุน 3 ข้อเรียกร้องของคณราษฎร
เวลาประมาณ 17.20 น. กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ให้ออกจากลานอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน เนื่องจากกรุงเทพมหานครไม่อนุญาตให้เข้าทำกิจกรรมภายในพื้นที่ หากฝ่าฝืนจะเอาผิดผู็ชุมนุมฐานบุกรุก ทำให้กลุ่มผู้ชุมนุมย้ายกลับมาทำกิจกรรมบริเวณถนนลาดหญ้าดังเดิมโดยมีเวทีปราศรัยสลับกับทำกิจกรรม สักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชภายในลานอนุสาวรีย์ฯ
การชุมนุมยุติลงอย่างสงบเวลาประมาณ 22.00 น.
11 มกราคม 2564
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ชูเกียรติ วรรณวลี และธนกร เดินทางเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวนตามหมายเรียกโดยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
ธนกรถูกแยกดำเนินคดีเป็นอีกสำนวนหนึ่งเนื่องจากขณะเกิดเหตุ เขายังเป็นเยาวชน โดยจะต้องไปรายงานตัวที่สถานพินิจเยาวชนธนบุรีเพื่อสืบเสาะประวัติในภายหลัง
สำหรับชูเกียรติซึ่งถูกควบคุมตัวอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพในคดีอื่น และมีรายงานยืนยันว่าติดเชื้อโควิด 19 ไม่ได้ถูกนำตัวมาศาลในวันนี้ด้วย
3. จำเลยมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน ปัจจุบันจำเลยมีอายุ 21 ปี เป็นนักศึกษา ไม่ได้มีอิทธิพลหรือความสามารถที่จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน ประกอบกับพยานเอกสาร พยานวัตถุและพยานบุคคลก็อยู่ในความครอบครองของโจทก์ทั้งหมดแล้ว
4. จำเลยไม่มีพฤติการณ์ที่จะไปก่อเหตุอันตรายอื่นใด ทั้งจำเลยยังไม่เคยถูกดำเนินคดีมาก่อน ประกอบกับคดีนี้ยังมีการวางหลักประกันที่น่าเชื่อถือเป็นเงินสดตามเกณฑ์ของศาล ดังนั้น การปล่อยตัวชั่วคราวจึงไม่เป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการพิจารณาคดีของศาลแต่อย่างใด
ระหว่างที่วรรณวลีถูกคุมขังอยู่ท่ีทัณฑสถานหญิงธนบุรี ซึ่งเธอถูกแยกกักตัวอยู่ในห้องคนเดียว เนื่องจากเป็นผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด เพราะเธออยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมที่ตรวจพบผู้ติดเชื้อ วรรณวลีถูกเจ้าหน้าที่พาไปพบศาลผ่านทางวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ โดยไม่ได้แจ้งให้ทนายความทราบ และไม่มีทนายความอยู่ร่วมในกระบวนการด้วย
วรรณวลีเล่าให้ฟังว่า ศาลอ่านคำฟ้องให้เธอฟัง และถามเธอว่าจะให้การรับสารภาพหรือปฏิเสธเพื่อต่อสู้คดี ซึ่งเธอตอบว่า จะขอต่อสู้คดี หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็นำสำเนาคำฟ้องมาให้เธอเก็บไว้ โดยศาลแจ้งวันนัดครั้งต่อไป คือ นัดคุ้มครองสิทธิ วันที่ 25 พฤษภาคม และนัดตรวจพยานหลักฐาน 12 กรกฎาคม 2564
7 พฤษภาคม 2564
ทนายความยื่นคำร้องขอประกันตัววรรณวลี เป็นครั้งที่สองต่อศาลอาญาธนบุรี โดยในเวลาประมาณ 13.00 วรรณวลี ถูกเบิกตัวมาเข้ารับการไต่สวนผ่านทางระบบวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์
วรรณวลีแถลงรับเงื่อนไขในลักษณะเดียวกันกับจำเลยคดีมาตรา 112 จากการชุมนุม #19กันยาทวงอำนาจคืนราษฎร และได้ชี้แจงว่า ตัวเองมีที่อยู่เป็นหลักแหล่งและอัยการก็ไม่ได้คัดค้านการปล่อยตัวชั่วคราว
แต่อัยการได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่สน.บุปผารามว่า เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 เวลาประมาณ 17.00 ถึง 20.30 น. จำเลยที่ 2 ได้เข้าร่วมการชุมนุม “ราษฎรยืนยันดันเพดาน” ซึ่งเป็นการชุมนุมโดยไม่ได้ขออนุญาตจากสำนักงานเขตพื้นที่ มีการใช้เครื่องขยายเสียงโดยไม่ได้รับอนุญาต มีผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 700 คน การบริหารจัดการผู้ร่วมชุมนุมแออัดใกล้ชิด ทำให้เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค โดยวรรณวลีปราศรัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และกฎหมายมาตรา 112 อันเป็นการผิดเงื่อนไขการประกันตัว
อัยการจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล ขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยที่ 2 โดยอัยการได้ส่งบันทึกการถอดเทปคำปราศรัยในการชุมนุมวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งถอดโดย พ.ต.ท.ธนพล ติ้นหนู สารวัตรสอบสวน สน.ปทุมวัน ต่อศาลเพื่อประกอบการพิจารณา
หลังเสร็จขั้นตอนนี้ศาลไต่สวนคำร้องของอัยการ ที่ขอให้เพิกถอนสัญญาประกันของวรรณวลี