- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สมบัติ ทองย้อย
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สมบัติ ทองย้อย เป็นอดีตการ์ดคนเสื้อแดงและปฏิ
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 สมบัติเคยโพสต์ข้อความวิ
ศรายุทธ สังวาลย์ทอง
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้
วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ศรายุทธ สังวาลย์ทอง เข้ามาร้องทุกข์กล่าวโทษสมบัติ
สมบัติเข้ารายงานตัวตามหมายเรี
ในวันเดียวกันแต่ต่างเวลา สมบัติโพสต์ข้อความอีกข้อความหนึ่ง
วิพากษ์วิจารณ์กรณีที่พระมหากษั สำหรับกระบวนการแจ้งข้อกล่าวหา
สมบัติยังปฏิเสธที่
หลังเสร็จกระบวนการ สมบัติได้รั
หลังสมบัติถูกส่งตัวให้อัยการ อัยการนัดฟังคำสั่งคดีในเดือนมีนาคมแต่เมื่อถึงวันนัดก็เลื่อนออกไปเป็นวันที่ 22 เมษายน 2564 และในวันที่ 22 เมษายน 2564 อัยการก็เลื่อนนัดฟังคำสั่งคดีออกไปอีกครั้งเป็นวันที่ 19 พฤษภาคม 2564
เมื่อศาลขึ้นบัลลังก์ในเวลา 9.30 น. ผู้รับมอบอำนาจจากทนายจำเลยยื่
หลังผู้รั
เบื้องต้นผู้พิพากษาหารือกับผู้รั
ต่อมาเมื่อศาลกลับขึ้นบัลลังก์
แต่เนื่องจากในวันนี้
ศาลไม่อนุญาตเพราะเห็นว่าคดีนี้
แม้ทนายนรเศรษฐ์ซึ่งขณะนั้นยั
ในนัดนี้จำเลยจึงไม่มีทนายความอยู่
สืบพยานโจทก์ปากที่หนึ่ง ศรายุทธ สังวาลย์ทอง ผู้กล่าวหา
9 มีนาคม 2565
การสืบพยานในวันที่ 8 มีนาคม 2565 ศาลจึงให้อัยการถามคำถามพยานทั้งสองไปก่อนแล้วนัดให้พยานมาในวันนี้อีกครั้งเพื่อให้ทนายจำเลยได้ถามค้าน
แต่เขาเคยไปร่วมเวทีวิชาการนานาชาติที่ฮ่องกงโดยเขานำเสนอในประเด็นเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของไทย นอกจากนั้นเขายังเขียนบทความเรื่องนี้เผยแพร่ในหนังสือพิมพ์รายวันตามโอกาสด้วย
ฐิติวัฒน์เบิกความต่อว่าเขาออกมาสังเกตการณ์อยู่ครู่หนึ่งก่อนจะเดินกลับไปทำงานต่อเพราะเห็นว่าผู้ชุมนุมยังมาไม่มากนัก แต่ต่อมาได้ยินแม่ค้าบริเวณใกล้เคียงพูดทำนองว่า มากันเต็มเลย เขารู้สึกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ถูกต้อง รู้สึกว่าอยากทำอะไรบางอย่าง จึงนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์รัชกาลที่เก้า และสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่เก้าไปยืนถือท่ามกลางผู้ชุมนุมเพื่อแสดงออกว่าในประเทศนี้ยังมีคนอีกมากที่มีความจงรักภักดี
ส่วนข้อความที่พูดถึงการแจกลายเซ็น เขาทราบมาว่าขณะที่พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกที่หน้าพระบรมมหาราชวังและทรงมีพระราชปฏิสันถารกับผู้มารอรับเสด็จ พระองค์ได้พระราชทานพระราชทานลายพระอภิไธยบนพระบรมฉายาลักษณ์ที่มีประชาชนนนำมาถือระหว่างรอรับเสด็จด้วย
ส่วนการปฏิรูปการศึกษา กับปฏิรูปกองทัพจะหมายถึงอะไร เขาไม่ขอตอบ ในส่วนของการโพสต์ข้อความของสมบัติโดยเฉพาะประเด็นการพบปะประชาชน เขาทราบว่าพล.อ.ประยุทธ์และพล.อ.ประวิตรลงพื้นที่เยี่ยมเยียนประชาชนในช่วงไล่เลี่ยกับที่สมบัติโพสต์ข้อความดังกล่าว แต่เขาเชื่อว่าสมบัติหมายถึงพระเจ้าอยู่หัว
ข้อความที่ใช้คำว่าลดตัวลงมาใกล้ชิดกับประชาชน ภูกาญจน์เห็นว่าคำว่าลดตัวน่าจะเป็นคนที่ใช้กับบุคคลที่มีสถานะสูง ซึ่งไม่น่าหมายถึงนายกรัฐมนตรี ส่วนข้อความเรื่องการแจกลายเซ็น ภูกาญจน์ทราบว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานลายพระหัตถ์ในวันที่ 1 พฤจิกายน ขณะที่สมบัติโพสต์ข้อความในวันที่ 2 พฤศจิกายน จึงน่าจะมีความเชื่อมโยงกัน
เมื่อทนายจำเลยนำข้อความที่บันทึกมาจากหน้าเฟซบุ๊กของสมบัติ ซึ่งเป็นโพสต์ที่มีเนื้อหาทำนองว่าให้ไล่รัฐบาล ไล่ประยุทธ์ก่อน ส่วนข้อเรียกร้องของคณะราษฎรข้ออื่นๆให้เอาไว้ทีหลัง ภูกาญจน์ระบุว่าเขาไม่ทราบว่ามีการโพสต์เรื่องดังกล่าวเพราะเขาไม่ได้ดูข้อความที่สมบัติโพสต์ทั้งหมด ส่วนสมบัติจะเคยถูกดำเนินมาตรา 112 เพียงคดีเดียวคือคดีนี้หรือไม่ เขาไม่ทราบ
ทนายจึงแถลงเชิงตั้งคำถามว่าชายคนดังกล่าวมีพฤติการณ์ซักซ้อมพยานหรือไม่พร้อมระบุว่าพยานจะเบิกความอย่างไรก็ได้แต่ในห้องดังกล่าวน่าจะมีกล้องโทรทัศน์วงจรปิด ภูกาญจน์เบิกความว่าเขาไม่รู้จักกับชายคนดังกล่าว และเขาไปนั่งรอในห้องพักอัยการเพียงเพราะขณะนั้นห้องพิจารณาคดียังไม่เปิด ระหว่างที่นั่งอยู่ในห้องพิจารณาคดีด้วยกันเขาคุยกับชายคนที่สวมเสื้อเชิ้ตสีม่วงเล็กน้อยแต่เป็นการคุยเรื่องทั่วไปว่ากินข้าวหรือยังไม่ได้คุยกันเรื่องคดี
ทนายจำเลยยังถามด้วยว่าตอนที่เข้ามาในห้องพิจารณาคดีเขาไปนั่งใกล้กับชายดังกล่าวอีกใช่หรือไม่ ภูกาญจน์ตอบทนายว่าเมื่อเข้ามาในห้องพิจารณาคดีเขาไม่ทราบว่านั่งตรงไหนได้ จึงถามชายคนดังกล่าว ซึ่งได้ชี้ที่นั่งว่างใกล้ๆตัวเขา ขณะที่ชายที่สวมเสื้อสีม่วงยืนขึ้นแถลงต่อศาลว่าเขาเป็นเพียงประชาชนที่สนใจคดีนี้จึงมาร่วมฟังการพิจารณาและไม่ได้รู้จักกับภูกาญจน์มาก่อน
สำหรับกรณีที่ทนายจำเลยสอบถามชายสูงอายุที่เข้ามานั่งในห้องพิจารณาคดีตั้งแต่ช่วงเช้า ศาลได้บันทึกไว้นำรายงานกระบวนพิจารณาคดีด้วย
แต่ภายหลังกลุ่มผู้ชุมนุมมีการจัดตั้งทีมการ์ดรักษาความปลอดภัย ทำให้เจ้าหน้าที่ทำงานหาข่าวได้ลำบากมากขึ้น ผู้บังคับบัญชาจึงสั่งการให้เขาหาข่าวว่ามีบุคคลใดเป็นการ์ดของผู้ชุมนุมบ้าง ซึ่งจากการหาข่าวทำให้ทราบว่าสมบัติเป็นหนึ่งในกลุ่มการ์ดของผู้ชุมนุม โดยเคยโพสต์ข้อความชักชวนให้ประชาชนมาสมัครเป็นการ์ดอาสาก่อนการชุมนุมวันที่ 19 กันยายน 2563
สมบัติเบิกความโดยสรุปได้ว่า ตัวเขาเคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม กลุ่มเรียกร้องสิทธิความหลากหลายทางเพศ และกลุ่มนักเรียนเลว
ยิ่งชีพเบิกความต่อว่า เมื่อเทียบกับช่วงปี 2561 จนถึงต้นปี 2563 ไม่พบว่าผู้มีถูกดำเนินคดีด้วยประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกแถลงการณ์ความตอนหนึ่งระบุว่าจะนำกฎหมายทุกฉบับ ทุกมาตรามาใช้ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมทางการเมือง หลังจากนั้นจึงมีการนำมาตรา 112 มาใช้ดำเนินคดีกับประชาชน ทั้งที่ก่อนหน้านั้นช่วงเดือนมิถุนายน 2563 ได้แถลงข่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ช่วง2-3ปีที่ผ่านมาในหลวงรัชกาลที่ 10 มีพระเมตตาไม่ให้นำมาตรา 112 มาใช้
ยิ่งชีพเบิกความต่อว่า หลังจากที่พล.อ.ประยุทธ์แถลงว่าจะนำกฎหมายทุกหมวด ทุกมาตรามาดำเนินคดีกับผู้ชุมนุม ก็มีการทยอยนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มาดำเนินคดีกับผู้ที่ออกมาแสดงความคิดเห็นทางการเมืองในช่วงปี 2563 ทำให้สถิติผู้ถูกดำเนินคดีด้วยมาตรา 112 มีจำนวนเพิ่มขึ้น และเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ยิ่งชีพความว่า เขาทราบว่าในปี 2563 ในหลวงรัชกาลที่ 10 เป็นผู้พระราชทานปริญญาบัตรให้บัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ส่วนที่จำเลยโพสต์ข้อความ #กล้ามา#เก่งมาก#ขอบใจ ประกอบภาพจากสำนักข่าวมติชนที่มีเนื้อหาข่าวเกี่ยวกับการไม่เข้ารับปริญญาของบัณฑิตคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เขาไม่ทราบว่าข้อความที่จำเลยโพสต์หมายถึงบุคคลใด อาจหมายถึงฝ่ายความมั่นคง นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หรือบัณฑิตคณะที่จะไม่เข้าปริญญาก็ได้
ยิ่งชีพเบิกความด้วยว่า การวิพากษ์วิจารณ์บุคคลโดยสุจริต สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลใดก็ตาม ส่วนการล้อเลียนต้องแยกเป็นสองระดับ ถ้าเป็นการล้อเลียนเพื่อความสนุกสนาน เห็นว่าทำได้ แต่หากตั้งใจทำให้เกิดความเสียหายหรือเสื่อมเสีย ไม่ควรทำ และควรมีบทลงโทษที่เหมาะสม
พิมพ์สิริเบิกความว่า การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นไปตามบรรยากาศทางการเมือง ช่วงที่มีการชุมนุมแสดงออกทางการเมือง เช่น การชุมนุมของนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รวมถึงการชุมนุมในปี 2563 ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ถูกดำเนินคดีในข่วงดังกล่าวมีจำนวนสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น