- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
อานนท์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
พริษฐ์ | ได้รับการประกันตัว |
ปนัสยา | ได้รับการประกันตัว |
ภาณุพงศ์ | ได้รับการประกันตัว |
จตุภัทร์ | ได้รับการประกันตัว |
สมยศ | ได้รับการประกันตัว |
ปติวัฒน์ | ได้รับการประกันตัว |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
จำเลยคนอื่นๆอีก 15 คน ถูกฟ้องข้อหาอื่นๆรวมทั้งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เช่นเดียวกับกับจำเลยทั้งสามคน แต่ไม่ถูกฟ้องด้วยข้อหาตามมาตรา 112 หลังจำเลยทั้งหมดยื่นขอประกันตัวจำเลยที่ถูกฟ้องด้วยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ไม่ได้รับการประกันตัว ส่วนจำเลยที่เหลือได้รับการประกันตัวยกเว้นไชยอมรซึ่งถูกคุมขังในคดีอื่น
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สมยศ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลั
ก่อนหน้านี้ ในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2553 จากการชุมนุมทางการเมือง รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิ
ในปี 2556 สมยศถูกพิพากษาจำคุกในคดีมาตรา 112 จากกรณีที่เขาเป็นบรรณาธิ
อานนท์ นำภา จบการศึกษาปริญญาตรีจากคณะนิติ
ไมค์ ภาณุพงศ์ เป็นชาวจังหวัดระยอง ถูกดำเนินคดีครั้งแรกจากกรณีที่เขาทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ชูป้ายในจังหวัดระยองเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 ระหว่างที่พล.อ.ประยุทธ์ ลงพื้นที่จังหวัดระยองหลังเกิดกรณีทหารเรืออียิปต์ที่ติดเชื้อโควิด19 เข้าไปเที่ยวในพื้นที่
หลังถูกดำเนินคดีภาณุพงศ์เริ่มเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองระดับประเทศบ่อยครั้งขึ่้นโดยเข้าร่วมปราศรัยในการชุมนุมครั้งสำคัญตลอดปี 2563 หลายครั้ง เช่น การชุมนุมของกลุ่มเยาวชนปลดแอกในเดือนกรกฎาคม 2563 การชุมนุมธรรมศษสตร์จะไม่ทนในเดือนสิงหาคม 2564 และการชุมนุม 19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร โดยประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นหนึ่งในประเด็นที่ภาณุพงศ์มักหยิบยกมาปราศรัยจนเป็นเหตุให้เขาถูกดำเนินคดีมาตรา 112 หลายคดี
เบื้องต้นจตุภัทร์ให้การปฏิ
รุ้ง ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล เป็นนักศึกษาคณะสังคมวิ
ปฏิวัฒน์หรือหมอลำแบงค์ เคยเรี
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
มีหมายเรียก
-
ประเภทสื่อ
การพูด / ปราศรัย
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญา
ระหว่างที่อยู่สน.ลาดพร้าว ตำรวจได้นำหมายจับมาแสดงต่
แกนนำผู้ชุมนุมที่จัดการแถลงข่
ประชาไทรายงานว่า ผู้ชุมนุมทยอยเดินทางมาที่มหาวิ
แม้จะยังเข้าไปในมหาวิยาลัยไม่
จากนั้นก็มีแกนนำผู้ชุมนุมสลั
แต่ท้ายที่สุดแกนนำผู้ชุมนุมยิ
14 ตุลาคม 2563
จตุภัทร์ถูกนำตัวไปฝากขังต่
ศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ในเวลา 11.18 น. ระหว่างที่สมยศอยู่เป็นเพื่
คดีมีอัตราโทษสูง พฤติการณ์แห่งคดีเป็นเรื่องร้
ข่าวสดออนไลน์รายงานว่า ภาณุพงศ์ถูกนำตัวมาฝากขังที่
จากนั้นสยามรัฐออนไลน์รายงานว่
20 ตุลาคม 2563
ว๊อยซ์ทีวีออนไลน์รายงานว่า พริษฐ์และปนัสยาซึ่งได้รับอนุ
ศาลอุทธรณ์ระบุเหตุผลที่ให้
เมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนั
เมื่อพิจารณาคำคัดค้านของพนั
เนื้อหาการปราศรัยพาดพิ
หากผู้ต้องหาได้รับการประกันตั
เบื้องต้นทั้งสามจะถูกคุมตั
ขณะที่สถานการณ์หน้าสน.ประชาชื่
ไทยโพสต์ออนไลน์รายงานว่า ผู้ต้องหาทั้งสี่ทำหนังสือร้องขอความเป็นธรรมจากอัยการสูงสุด ให้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมได้แก่สุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ ส.ศิวรักษ์ และสมชาย หอมลออ ในประเด็นว่าการดำเนินคดีมาตรา 112 เป็นการขัดพระราชประสงค์ เป็นเครื่องมือทางการเมือง ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
ในเวลาประมาณ 14.00 น. ทวิตเตอร์ของศูนย์ทนายเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่า อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องทั้งสี่ ผู้สังเกตการณ์ของไอลอว์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า อัยการให้เหตุผลในการไม่เลื่อนฟ้องคดีว่าแม้สอบปากคำพยานเพิ่มเติมก็ไม่เปลี่ยนแปลงผลในการสั่งคดี
การกระทำตามฟ้องมีลักษณะเป็นการร่วมกันกระทำความผิดอันอาจก่อให้เกิดความเสียหายหรือวุ่นวายขี้นและส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
หากปล่อยตัวไปเกรงผู้ต้องหาจะหลบหนีหรือไปก่อภยันตรายอื่น ให้ยกคำร้อง
อัยการเลื่อนการสั่งคดีในส่วนของภาณุพงศ์ ปนัสยา และจตุภัทร์ออกไปเป็นวันที่ 8 มีนาคม 2564 โดยให้เหตุผลว่าเพิ่งได้รับสำนวนคดีจากพนักงานสอบสวนจึงยังไม่สามารถสั่งคดีในวันนี้ได้ ในวันเดียวกันทนายจำเลยยื่นคำร้องประกันตัวจำเลยสี่คนที่ถูกคุมขังอยู่ได้แก่อานนท์ สมยศ พริษฐ์และปติวัฒน์
เพจเฟซบุ๊กกองทุนราษฎรประสงค์ซึ่งให้ความช่วยเหลือด้านเงินประกันตัวผู้ต้องหาและจำเลยคดีการเมืองรายงานว่า ศาลอาญาให้เหตุผลว่าศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยไม่ให้ประกันตัวจำเลยและยังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม กองทุนราษฎรประสงค์ให้ข้อมูลว่าวงเงินรวมที่ใช้ประกันตัวผู้ต้องหาทั้งสี่คนคือ 1,200,000 บาท
คดีนี้ศาลชั้นต้นเเละศาลอุทธรณ์ แสดงเหตุผลไว้อย่างชัดเเจ้งเเล้ว หากปล่อยตัวไปอาจจะไปก่อเหตุในลักษณะเดียวกันกับกรณีที่ถูกฟ้องอยู่ จึงไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนเปลี่ยนคำสั่งเดิม
26 กุมภาพันธ์ 2564
บีบีซีไทยรายงานว่า ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องขอประกันตัวจำเลยทั้งสี่คนโดยให้เหตุผลว่า การที่ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวและได้ให้เหตุผลไว้แล้ว ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืน ย่อมเป็นการยุติแล้วว่าคำสั่งนั้นถูกต้องแล้ว หากไม่มีข้อเท็จจริงทางคดีที่เปลี่ยนไป ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลจะเปลี่ยนแปลงคำสั่ง
8 มีนาคม 2564
11 มีนาคม 2564
สำนักข่าวบีบีซีไทยรายงานว่า ศาลอาญามีคำสั่งไม่อนุญาตให้ประกันตัวจำเลยทั้งเจ้ดคนโดยให้เหตุผลว่ายังไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม ทั้งนี้ในส่วนของปนัสยาและพริษฐ์ซึ่งเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับจตุภัทร์ที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโทที่สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล จึงมีอาจารย์ของพวกเขามาเป็นนายประกันยื่นขอประกันตัวให้
หลังจากนั้นจึงกลับมาอีกด้วยกำลังที่มากขึ้นและมีการนำกระบองมาด้วยในเวลาประมาณ 23.45 น. 00.15 น. และ 02.30 น.ของวันที่ 16 มีนาคม โดยครั้งหลังสุดมีเจ้าหน้าที่สวมชุดน้ำเงินไม่ติดป้ายชื่อมาด้วยแจ้งว่าจะนำตัวพวกเขาไปตรวจโควิด19 ซึ่งพวกเขาไม่ยินยอมเพราะเห็นว่าเป็นเหตุผิดปกติ จึงขอให้ศาลได้โปรดช่วยชีวิตเขาและจำเลยคนอื่นๆด้วย
มีข้อมูลเพิ่มเติมในภายหลังจากเหตุการณ์เมื่อคืนว่าเมื่อผู้ต้องขังปฏิเสธที่จะออกจากห้องขังไม่ได้มีการใช้กำลังบังคับเอาตัวออกไปแต่อย่างใด หลังจากนั้นอานนท์และพวกจึงไปนั่งอยู่หน้ากล้องวงจรปิดทั้งคืน เหตุการณ์ดังกล่าวก็สร้างความกังวลในชีวิตให้ผู้ต้องขังคดีนี้เป็นเหตุให้อานนท์ยื่นคำร้องต่อศาล อย่างไรก็ตามในคำร้องไม่ได้ขอชัดเจนให้ศาลออกคำสั่งใด แต่จะเป็นหลักฐานติดอยู่ในสำนวนคดี คำร้องที่อานนท์ยื่นต่อศาลได้ถูกเผยแพร่บนเฟซบุ๊กส่วนตัวของอานนท์ด้วย
ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนยื่นคำร้องประกันตัวจำเลยทั้งสาม ศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนพร้อมกำหนดเงื่อนไขการประกันให้จำเลยทั้งสาม ซึ่งทั้งสามแถลงว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไข ศาลจึงนัดให้จำเลยทั้งสามมาฟังคำสั่งประกันในวันที่ 9 เมษายน 2564
จุดคัดกรองที่สามอยู่หน้าลิฟต์ ชั้นเจ็ดบริเวณทางเดินไปห้องพิจารณาคดีที่ 704 ซึ่งเป็นห้องพิจารณาคดีนี้ ญาติและประชาชนที่ให้ความสนใจคดีนี้สามารถผ่านได้เพียงจุดคัดกรองที่หนึ่ง
จำเลยที่ถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคดีนี้ได้แก่ อานนท์ที่นั่งกอดลูกสาวไว้ตลอดเวลา ชูเกียรติ จตุภัทร์ และสมยศ นั่งอยู่ฝั่งเดียวกัน พริษฐ์ที่อยู่ระหว่างการอดอาหารและนั่งรถเข็นมาที่ศาลพร้อมกับสายน้ำเกลือมีเจ้าหน้าที่พยาบาลดูแลอย่างใกล้ชิดเพราะนับถึงวันนี้เขาอดอาหารเป็นวันที่ 24 แล้ว นอกจากจำเลยข้างต้นแล้วก็ยังมีภาณุพงศ์ ปติวัฒน์ ไชยอมรและปนัสยาซึ่งอดอาหารวันนี้เป็นวันที่ 9
แม่ของจำเลย ได้แก่ แม่ของพริษฐ์ และแม่ของภาณุพงศ์ มานั่งรอที่หน้าอาคารศาลตั้งแต่เช้าแต่ขึ้นไปที่ชั้นเจ็ดซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องพิจารณาคดีไม่ได้ เจ้าหน้าที่ที่อยู่บริเวณจุดคัดกรองออกไป แม่ของจำเลยตัดสินใจขึ้นไปที่ชั้น 7 ของอาคารศาลแต่ก็ไม่สามารถเข้าไปที่หน้าห้องพิจารณาคดี 704 ได้ ต้องรออยู่ที่บริเวณหน้าลิฟท์
ในเวลา 15.45 น. ศาลอ่านคำสั่งให้ประกันตัวปติวัฒน์โดยกำหนดเงื่อนไข ห้ามไม่ให้กระทำการลักษณะเดียวกับที่ถูกกล่าวหาตามฟ้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือไปร่วมกิจกรรมที่อาจทำให้เสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากศาล ส่วนสมยศและจตุภัทร์ศาลยกคำร้อง ไม่อนุญาตให้ประกันตัว
แม้จตุภัทร์และสมยศจะเคยแถลงว่า หากศาลให้ประกันตัวโดยกำหนดเงื่อนไข ทั้งสองจะปฏิบัติตามเช่นเดียวกับปติวัฒน์ แต่ในวันที่ 8 เมษายน 2564 ระหว่างนัดสอบคำให้การ และตรวจพยานหลักฐาน รวมทั้งกำหนดวันนัดสืบพยานคดีนี้ จำเลยทั้งสองไม่ยอมลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคดี ทนายของจำเลยทั้งสองยังนำรายงานกระบวนพิจารณาไปเขียนเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยว่า
ทนายความของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 2 และจำเลยที่ 4 ถึงจำเลยที่ 22 ไม่ขอลงลายมือชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาคดีเนื่องจากไม่ยอมรับกระบวนพิจารณา รวมทั้งมีพฤติการณ์ขอถอนการเป็นทนายความและไม่ยอมไปกำหนดวันนัดพิจารณาคดีที่ศูนย์นัดความ ทำให้กระบวนการนัดความเกิดยากลำบาก เป็นอุปสรรคและความเสียหายต่อการพิจารณาคดี
คำแถลงของจำเลยทั้งสองที่ว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไขของศาลหากได้รับการประกันตัวจึงไม่น่าเชื่อถือ จึงให้ยกคำร้อง
23 เมษายน 2564
การไต่สวนคำร้องประกันตัวของสมยศและจตุภัทร์ในวันนี้ มีผู้มีส่วนเกี่ยวข้องห้าคนได้แก่จำเลยทั้งสองคน อาจารย์ชลิตา บัณฑุวงศ์ ซึ่งมาเบิกความต่อศาลในฐานะผู้รับรองความประพฤติของสมยศ อาจารย์พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ จากสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งเป็นอาจารย์ระดับปริญญาโทของไผ่จตุภัทร์มาเบิกความต่อศาลในฐานะผู้รับรองความประพฤติของไผ่จตุภัทร์ และเจ้าหน้าที่จากแดน 2 เรือนจำพิเศษกรุงเทพซึ่งเป็นแดนที่สมยศและไผ่จตุภัทร์ถูกคุมขังอยู่ ขึ้นเบิกความต่อศาล
กรณีจึงไม่มีเหตุผลเพียงพอว่าจะเป็นเหตุไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 108/1 จึงอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 และ 4 โดยกำหนดเงื่อนไข ห้ามมิให้จำเลยทั้งสองทำกิจกรรมที่จะกระทำความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร ให้จำเลยมาศาลตามนัด หากผิดสัญญาปรับคนละ 200,000 บาท
จากนั้นในเวลาประมาณ 17.30 สมยศและจตุภัทร์ได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำ
29 เมษายน 2564
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่าได้ยื่นคำร้องประกันตัวให้กับจำเลยสี่คนได้แก่ อานนท์ พริษฐ์ ปนัสยา และภาณุพงศ์ที่ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีด้วยหมายขังคดีนี้ โดยวางเงินประกันคนละ 200000 บาท ด้วยเงินจากกองทุนราษฎรประสงค์ โดยทั้งสี่แถลงด้วยว่าหากศาลกำหนดเงื่อนไขในการประกันก็จะปฏิบัติตาม
ในช่วงบ่ายวันเดียวกันแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมยังได้เชิญชวนประชาชนมาชุมนุมที่หน้าศาลอาญาเพื่อเรียกร้องสิทธิในการประกันตัวให้กับจำเลยโโยผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งเข้าไปชุมนุมในบริเวณหน้าทางเข้าศาลอาญา เบนจา จากแนวร่วมธรรมศษสตร์และการชุมนุมประกาศว่าจะปักหลักรอจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ประกันตัวจำเลย
ในเวลา 16.00 น. ศาลแจ้งว่าจะอ่านคำสั่งประกันตัวในวันที่ 30 เมษายน 2564 ผ่านระบบออนไลน์แทนเนื่องจากมีผู็ชุมนุมมาชุมนุมในบริเวณศาล ซึ่งผู้ชุมนุมและญาติประกาศว่าจะปักหลักรอจนกว่าศาลจะมีคำสั่ง
เวลา 18.00 น. ศาลอาญาอ่านคำสั่งไม่ให้ประกันตัวจำเลยทั้งสี่คนโดยอ้างเหตุผลว่า ศาลอาญาและศาลอุทธรณ์เคยสั่งไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยระบุเหตุผลไว้ชัดแจ้งแล้ว กรณีไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว ยกคำร้อง คำสั่งฉบับนี้ลงนามโดย เทวัญ รอดเจริญ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา
30 เมษายน 2564
เฟซบุ๊กเพจราษฎรแจ้งว่า แม่ของพริษฐ์จะเข้ายื่นคำร้องประกันตัวพริษฐ์อีกครั้งในเวลา 14.00 เพื่อให้พริษฐ์ได้ออกมาฟื้นฟูร่างกาย ระหว่างรอยื่นคำร้องประกันตัวแม่ของพริษฐ์ยังโกนหัวเพื่อประท้วงกระบวนการยุติธรรมกรณีศาลไม่ให้ประกันตัวพริษฐ์ในวันที่ 29 เมษายน 2564 แม้ว่าพริษฐ์จะแถลงว่าหากศาลจะกำหนดเงื่อนไขการประกันตัวก็จะยอมรับและปฏิบัติตาม
ทั้งนี้หลังโกนหัวแม่ของพริษฐ์กล่าวกับสื่อมวลชนว่า
“กวินก็รับรู้ว่าแม่พยายามช่วยกวินให้มากที่สุดเท่าที่แม่คนนี้จะทำได้
ขอให้ทุกท่านจงเป็นประจักษ์พยานสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ ขอให้ทั้งคนในประเทศไทยและคนต่างประเทศ คนทั่วโลก ดิฉันก็เป็นผู้หญิงคนหนึ่ง เป็นแม่ของคนคนหนึ่งที่รักลูกมาก ลูกดิฉันไม่ได้ทำอะไรผิด ลูกดิฉันแค่มีความเห็นต่าง ลูกดิฉันไม่มีอิสระภาพในการพูด ลูกดิฉันถูกจองจำอยู่ในเรือนจำโดยที่ยังไม่ได้รับการตัดสินว่าผิด ลูกดิฉันไม่ได้รับความยุติธรรมในการต่อสู้คดี ในขณะนี้ลูกดิฉันกำลังเจ็บป่วย นอกจากโควิทที่กำลังระบาดอย่างหนักมากฆ่าคนตายทุกวัน ด้วยความจบป่วยที่เนื่องจากการอดอาหาร ที่มีการขับถ่ายเป็นชิ้นเนื้อ ร่างกายอ่อนเพลียของลูก
ซึ่งวันนี้เพนกวินวันนี้อาจจะอยู่ไม่ได้แล้ว เพราะน้ำเกลือไม่อาจสามารถจะเข้าถึงตัวเพนกวินได้แล้ว เพนกวินได้ให้น้ำเกลือเมื่อวานแต่เนื่องจากเส้นของเพนกวินอักเสป ไม่สามารถให้นำ้เกลือได้อีก จึงต้องมีการถอนน้ำเกลือจากตัวเพนกวิน ตอนนี้เพนกวินอยู่ได้ด้วยตัวเขาและกำลังใจของเขา เขาไม่มีน้ำเกลือที่จะช่วยชีวิตเขาเพราะร่างกายเขารับไม่ได้ รับไม่ได้แล้ว
ขอให้ทุกคนจงจดจำแล้วก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เราต้องขยัดความอยุติธรรมออกไปจากสังคมของเรา อย่าให้ต้องมีใครต้องสูญเสียหรือเจ็บปวดเหมือนครอบครัวเราอีก ขอบคุณมากค่ะ”
สุวรรณา ตาลเหล็ก จำเลยที่ถูกดำเนินคดีร่วมกับจำเลยทั้งเจ็ดคนแต่ไม่ถูกดำเนินคดีมาตรา 112 ให้ข้อมูลว่า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์โทรมาแจ้งจำเลยในวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ว่าเนื่องจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด19 ศาลจึงจะเลื่อนการพิจารณาคดีที่เดิมนัดไว้วันนี้เป็นวันที่ 8 กรกฎาคม 2564
จากนั้นในวัน18 พฤษภาคม 2564 เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์โทรมาประสานจำเลยในช่วงเย็นว่า ศาลไม่ให้เลื่อนนัดและให้จำเลยมาศาลตามนัดเดิม อย่างไรก็ตามจำเลยหลายๆไม่สามารถมาศาลตามนัดได้เพราะบางส่วนอยู่ระหว่างการกักตัว 14 วัน และบางส่วนเข้าใจว่าศาลเลื่อนนัดแล้วจึงไปทำภารกิจอื่น ทนายจำเลยจึงแถลงเหตุจำเป็นต่อศาลแทนจำเลยที่ไม่ได้มาศาล จากนั้นศาลนัดวันพิจารณาคดีใหม่เป็นวันที่ 22 มิถุนายน 2564
21 พฤษภาคม 2564
ศาลอาญามีคำสั่งนัดไต่สวนคำร้องประกันตัวของอานนท์และภาณุพงศ์ในวันที่ 1 มิถุนายน 2564
ระหว่างนั้นแม่และพี่สาวของภาณุพงศ์ แม่ของอานนท์ รวมทั้งไชยอมรหรือแอมมีซึ่งเป็นจำเลยคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่ง ขึ้นไปที่ห้องพิจารณาคดี 912 แต่ทั้งหมดถูกเจ้าหน้าที่ศาลแจ้งว่าให้ลงมาที่ห้องพิจารณาคดี 703 เนื่องจากศาลจะดำเนินกระบวนการไต่สวนคำร้องประกันตัวของชูเกียรติหรือจัสติน ผู้ต้องหาคดีมาตรา 112 อีกคดีหนึ่งก่อน
เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการในเวลาประมาณ 11.20 น. ศาลจึงเริ่มกระบวนการไต่สวนอานนท์และภาณุพงศ์ โดยศาลเริ่มไต่สวนอานนท์ซึ่งอยู่ที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นคนแรก ตามด้วยสมชาย หอมลออ ซึ่งเป็นผู้ให้การรับรองอานนท์
ทนายจำเลยถามว่า สมชายจะช่วยดูแลให้อานนท์ปฏิบัติติตามเงื่อนไขของศาลได้หรือไม่ สมชายตอบว่าเขาในฐานะที่ปรึกษาสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเเละสมาชิกคนอื่นๆของสมาคมจะช่วยกันดูเเลและเเนะนำให้อานนท์ปฎิบัติตามข้อกำหนดที่ได้เเถลงต่อศาลไว้ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม อัยการไม่ถามค้าน
หลังไต่สวนอานนท์และสมชาย ศาลไต่ภาณุพงศ์ต่อ โดยภาณุพงศ์อยู่ในห้องผู้ป่วยของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติห้องเดียวกับอานนท์ระหว่างที่ศาลทำการไต่สวนผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์
ก่อนที่ศาลจะทำการไต่สวนมีเจ้าหน้าที่ศาลลงมาที่ห้องพิจารณาคดี 703 เพื่อเชิญแม่ของภาณุพงษ์ขึ้นไปที่ห้องพิจารณาคดี 912 ซึ่งเป็นห้องพิจารณาคดีหลัก
ภาณุพงศ์เบิกความตอบศาลว่าระหว่างเบิกความเขาศึกษาอยู่ที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงในชั้นปีที่สาม
ภาณุพงศ์เบิกความตอบทนายจำเลยว่า นอกจากการเรียนแล้ว เขาก็ทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วย โดยเขาเคยดำรงตำแหน่งคณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
เกี่ยวกับคดีนี้ภาณุพงศ์เบิกความว่า เขามารายงานตามนัดของอัยการด้วยตัวเอง ไม่เคยถูกจับกุมหรือมีพฤติการณ์หลบหนี พยานหลักฐานในคดีทั้งหมดอยู่ในชั้นพิจารณาคดีของศาลแล้ว และเขาเป็นเพียงนักศึกษา ไม่มีอำนาจที่จะเข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานได้
ทนายจำเลยถามภาณุพงศ์เกี่ยวกับการติดเชื้อโควิด19 ของเขา ภาณุพงศ์ตอบว่าเขาติดเชื้อโควิด19จากในเรือนจำ เขาเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ขณะนี้เขารับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้วและอยู่ในขั้นตอนการกักตัวเฝ้าระวังอาการจากแพทย์ผู้ทำการรักษา
ภาณุพงศ์ต่อว่าเรือนจำมีสภาพความเป็นอยู่แออัดและมีผู้ต้องขังติดเชื้อโควิด19 เป็นจำนวนมาก ทั้งผู้ต้องขังยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน หากไม่ได้รับการประกันตัวและต้องกลับไปอยู่ที่เรือนจำ เขาก็มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้ออีกครั้ง
ภาณุพงศ์เบิกความเขาว่าได้อ่านเอกสารบันทึกถ้อยคำประกอบคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวและลงชื่อกำกับไว้แล้ว สำหรับข้อกำหนดศาลเรื่องห้ามกระทำการใดๆที่ก่อให้เกิดความเสียหายกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามเข้าร่วมกิจกรรมที่อาจะก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตและให้มาศาลตามนัดทุกครั้ง เขาเป็นผู้แถลงยอมรับด้วยความสมัครใจ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
อัยการถามค้าน โดยกำชับให้ภาณุพงศ์ปฏิบัติตามข้อกำหนดของศาลอย่างเคร่งครัดและขอให้กลับไปเรียนหนังสือ
ศาลอนุญาตใหั้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยทั้งสอง ตีราคาประกันคนละ 200,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไข ห้ามกระทำการที่อาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ห้ามทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ห้ามเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาตเเละให้มาศาลตามนัดทุกครั้ง ให้ทนายสมชาย หอมลออ เป็นผู้กำกับดูเเลอานนท์เเละให้ ธนินท์ ศิริวรรณ เป็นผู้กำกับดูเเลภานุพงศ์ให้ปฎิบัติตามข้อกำหนดศาลโดยเคร่งครัด
จากนั้นศาลสอบถามผู้ดูแลของพริษฐ์ทั้งสามคนว่าอ่านข้อความที่พริษฐ์โพสต์แล้วหรือยัง เมื่อทั้งสามตอบว่าอ่านแล้ว ศาลจึงอ่านคำร้องขอให้ศาลยกเลิกสัญญาประกันซึ่ง สนธิญา สวัสดี ที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎรและอดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ เป็นผู้ยื่น
สนธิญาร้องว่าการที่พริษฐ์โพสต์ข้อความเรื่อง “สาส์นแรกแห่งอิสรภาพ” บนเฟสบุ๊กส่วนตัวอาจเข้าข่ายเป็นการผิดสัญญาประกัน จึงขอให้ศาลไต่สวนว่าการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่ จากนั้นศาลจึงถามความเห็นของผู้แดแลพริษฐ์ทั้งสามคน
คดีละเมิดอำนาจศาล ที่ผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการศาลอาญาเป็นผู้ร้อง
และอีกคดีหนึ่ง คือ คดีดูหมิ่นศาล และข่มขู่เจ้าพนักงาน ที่พนักงานสอบสวน สน.พหลโยธินเป็นผู้ดำเนินคดี ซึ่งศาลอาญาคดีทุจริตฯ ได้อนุญาตให้ชินวัตรปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างต่อสู้คดี
ที่จำเลยกระทำการละเมิดอำนาจศาลไม่ใช่การกระทำต่อกระบวนพิจารณาของศาลนี้ จึงถือไมได้ว่าจำเลยขัดขวางวิธีพิจารณาคดีของศาล และไม่ใช่การกระทำที่ถูกฟ้องร้อง อันมีลักษณะลักษณะเป็นการก่อเหตุร้ายอื่น กรณียังไม่มีเหตุให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว จึงอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อไป
แต่เห็นสมควรให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมโดยห้ามไม่ให้จำเลยเข้าร่วมชุมนุมในลักษณะที่เป็นการก่อความวุ่นวายและความไม่สงบในบ้านเมือง
ทนายจำเลยแถลงต่อศาลขอให้เลื่อนนั
ระหว่างกระบวนพิจารณาคดีในช่วงเช้าศาลเรียกณัฐชนนซึ่งถูกยื่นเพิกถอนสัญญาประกันจากกรณีที่เขาร่วมการชุมนุมที่หน้าศาลอาญาในวันที่ 29 และ 30 เมษายน 2564 ไปพูดคุยและแจ้งคำสั่งว่าเนื่องจากข้อเท็จจริงในกรณีของณัฐชนนเป็นข้อเท็จจริงเดียวกับกรณีของชินวัตรซึ่งมีการไต่สวนและศาลมีคำสั่งไปแล้ว จึงไม่ต้องไต่สวนอีก และศาลแจ้งคำสั่งกับณัฐชนนลักษณะเดียวกับชินวัตรคือไม่เพิกถอนสัญญาประกัน แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเรื่องห้าร่วมกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ศาลอ่านคำร้องให้สมยศฟังซึ่งสรุปได้ว่า พ.ต.ท.พิษณุ เกิดทอง รองผู้กำกับการสอบสวน สน.ชนะสงคราม เป็นผู้ยื่นคำร้อง ขอให้ศาลเพิกถอนสัญญาประกันของสมยศ เนื่องจากในวันที่ 30 เมษายน 2564 เขาร่วมการชุนนุมและปราศรัยที่หน้าศาลอาญา โดยที่การชุมนุมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการกระทำผิดต่อสัญญาประกันที่สมยศเคยทำไว้กับศาลอาญา
กระบวนการไต่สวนแล้วเสร็จในเวลาประมาณ 13.30 น. จากนั้นศาลสังพักการพิจารณา ก่อนจะอ่านคำสั่งในเวลา 15.35 น. ซึ่งพอสรุปได้ว่า
แม้ทางข้อเท็จจริงสมยศ จะเข้าร่วมการชุมนุมในวันที่ 30 เมษายน 2564 จริง แต่การปราศรัยและร่วมชุมนุมครั้งดังกล่าว จำเลยไม่มีการกระทำที่เป็นการผิดเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวทั้งทางทั่วไป และทั้งเงื่อนไขพิเศษตามที่ผู้ร้องได้ร้องเข้ามา จึงไม่มีเหตุเพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว
อย่างไรก็ดีเห็นควรให้กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมอีกข้อหนึ่ง ห้ามจำเลยเข้าร่วมการชุมนุมในลักษณะที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง
ก่อนเริ่มขั้นตอนการถามค้าน หนึ่งในทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่า ในการพิจารณาคดีนัดที่แล้วทนายจำเลยเคยยื่นคำร้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานเอกสารสำคัญไปยังศาลแพ่ง รัชดา, ศาลอุทธรณ์, สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, บริษัทการบินไทย รวมถึงสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แต่ศาลให้จำเลยไปหาหลักฐานมาก่อน
ทนายจำเลยจึงดำเนินการประสานงานเพื่อขอเอกสารจากหน่วยงานต่างๆ มีเพียงบางหน่วยงานที่ตอบกลับมาว่าต้องให้ทนายจำเลยนำหมายเรียกเอกสารจากศาลอาญามามอบให้ก่อนจึงจะส่งมอบเอกสารให้
อัยการแถลงชี้แจงทนายจำเลยว่าพยานปากนี้ไม่ได้เบิกความในประเด็นเกี่ยวกับการปราศรัยของจำเลย จึงยังไม่จำเป็นต้องใช้พยานเอกสารดังกล่าวมาถามความพยานปากนี้ แต่ทนายจำเลยโต้แย้งว่าพยานปากดังกล่าวเป็นผู้กำกับสน.ชนะสงคราม และเป็นคณะทำงานผู้พิจารณาแจ้งข้อหามาตรา 112 กับจำเลย พยานปากนี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องใช้พยานเอกสารดังกล่าวมาใช้ในการถามความพยานปากนี้
5 สิงหาคม 2565
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลอาญานัดสืบพยานในเวลา 9.00 น. สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยในนัดนี้มีตำรวจศาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยประมาณหกถึงแปดนายประจำการอยู่ด้านในห้องพิจารณาคดีเพื่อดูแลความเรียบร้อยในนัดนี้จำเลยมาศาลไม่ครบทุกคน จำเลยบางส่วนที่ได้รับอนุญาตจากศาลให้ดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังไม่ได้มาศาลขณะที่ชินวัตร จำเลยที่สิบในคดีนี้ซึ่งถูกฝากขังในคดีมาตรา 112 จากการชุมนุมที่หน้าศาลอาญากรุงเทพใต้ก็ไม่ได้ถูกเบิกตัวมาศาลในนัดนี้
ศาลเริ่มการพิจารณาคดีในเวลาประมาณ 10.30 น.
การออกหมายเรียกพยานเอกสารของศาลจึงไม่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารฯ หากจำเลยไม่ได้พยานเอกสารตามที่ทนายจำเลยขอให้ศาลออกหมายเรียก จำเลยก็ย่อมไม่ได้รับการโอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่
นอกจากนั้นก็จะยื่นคำร้องขอเอกสารทั้งสามฉบับจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณแผ่นดินฯ ผ่านทางคณะกรรมธิการพิจารณางบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร จึงขอให้ศาลเลื่อนนัดสืบพยานโจกท์ออกไปก่อนเพื่อที่ทนายจำเลยจะได้ยื่นเรื่องขอพยานเอกสารต่างๆ ตามที่ได้แถลงไป
ศาลระบุด้วยว่า ดุลยพินิจในการพิจารณาประเด็นแห่งคดีเป็นของศาล และหากทนายจำเลยไม่ประสงค์จะถามค้านจนกว่าจะได้รับเอกสารมาก็จะขอให้อัยการถามความพยานโจทก์ไปก่อนจนแล้วเสร็จเพื่อที่ทนายจำเลยจะได้ดำเนินการแสวงหาเอกสารหลักฐานในระหว่างนั้น และหากทนายจำเลยสามารถแสวงหาเอกสารได้ก็สามารถนำมาใช้ถามค้านพยานโจทก์ได้ในภายหลัง
หรือไม่เช่นนั้นก็ให้ถามค้านพยานโจทก์ไปโดยไม่ต้องใช้พยานเอกสารเหล่านั้น หากในอนาคตทนายจำเลยสามารถแสวงหาพยานเอกสารมาได้ก็สามารถนำเอกสารเข้าสู่สำนวนในขั้นตอนของการสืบพยานฝ่ายจำเลยได้ซึ่งศาลก็ต้องรับฟังคำพยานทั้งฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยอย่างเท่าเทียมกันอยู่แล้ว
สิ่งที่ฝ่ายจำเลยคาดหวังจากกระบวนการยุติธรรมคือความยุติธรรม ความยุติธรรมจะอำนวยได้ และเป็นที่ยอมรับได้จะต้องมีกระบวนการที่สง่างาม ซึ่งหมายถึงการที่หลักฐานของทั้งสองฝ่ายจะต้องได้รับการนำเสนอเข้าสู่ศาลอย่างเท่าเทียมกัน การสืบพยานโจกท์ต่อไปโดยไม่มีหลักฐานของฝ่ายจำเลยตั้งแต่แรก ย่อมเป็นเหมือนกับการมัดมือชกฝ่ายจำเลย
ศาลตอบกลับคำแถลงของสมยศว่า ขอให้สมยศไปปรึกษาประเด็นนี้กับทนายความเพราะสมยศอาจไม่มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการกฎหมายอย่างเพียงพอ
จึงเห็นควรให้โอกาสจำเลยติดตามพยานอีกครั้งหนึ่ง หากครั้งนี้ไม่สามารถติดตามพยานเอกสารมาได้ จะดำเนินกระบวนการพิจารณาต่อไป จากนั้นศาลนัดคู่ความสืบพยานนัดต่อไปวันที่ 20 กันยายน 2565 ศาลกำชับทนายจำเลยว่าให้เร่งรัดติดตามเอกสารหลักฐานให้มาพร้อมสืบในวันนัด และศาลจะไม่อนุญาตให้เลื่อนนัดพิจารณาคดีเพราะเหตุนี้อีก