- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ภัสราวลี
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา, มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
กรกช | ได้รับการประกันตัว |
ชนินทร์ | ได้รับการประกันตัว |
ชลธิศ | ได้รับการประกันตัว |
เบนจา | อื่นๆ (ถูกคุมขังระหว่างการพิจารณาคดีอื่น) |
วัชรากร | ได้รับการประกันตัว |
อัครพล | ได้รับการประกันตัว |
"โจเซฟ" | ได้รับการประกันตัว |
ณวรรษ | ได้รับการประกันตัว |
อรรถพล | ได้รับการประกันตัว |
รวิศรา | ได้รับการประกันตัว |
สุธินี | พนักงานสอบสวนไม่ฝากขังผู้ต้องหากับศาล |
"เอ" | พนักงานสอบสวนไม่ฝากขังผู้ต้องหากับศาล |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
วันที่ 26 ตุลาคม 2563 ผู้ชุมนุมกลุ่มราษฎรประกาศชุมนุมที่หน้าสถานทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย ผู้จัดนัดหมายผู้ชุมนุมที่หน้าห้างสามย่านมิดทาวน์ จากนั้นจึงเคลื่อนขบวนไปตามถนนพระรามสี่ก่อนจะเลี้ยวขวาที่ถนนสาธรเหนือ
เป้าหมายของผู้ชุมนุมในการชุมนุมคือการยื่นหนังสือต่อเอกอัคราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทยผ่านไปถึงรัฐบาลเยอรมันเพื่อให้ตรวจสอบการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ไทยในดินแดนเยอรมัน ตัวแทนผู้ชุมนุมยังได้อ่านแถลงการณ์ซึ่งมีสามภาษาคือภาษาไทย อังกฤษ และเยอรมัน
การชุมนุมในวันเกิดเหตุยุติลงโดยไม่มีเหตุการณ์รุนแรงวุ่นวายใดๆ แต่หลังจากนั้นมีผู้ชุมนุมถูกออกหมายเรียกมารับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116
ต่อมาเมื่อพล.อ.ประยุทธ์ประกาศว่าจะใช้กฎหมายทุกฉบับผู้ชุมนุม 13 คน จึงถูกออกหมายเรียกไปรับทราบข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
อัยการมีความเห็นสั่งฟ้องคดีนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ศาลอาญากรุงเทพใต้อนุญาตให้จำเลยทั้ง 13 คน ประกันตัว ตีราคาประกัน 200000 บาท แต่เนื่องจากมีนักวิชาการและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาใช้ตำแหน่งประกันตัวให้ผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ครบตามจำนวน จึงไม่ต้องวางเงินเป็นหลักประกันเพิ่มเติม
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท, สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ
-
ประเภทสื่อ
การพูด / ปราศรัย, การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญากรุงเทพใต้
ซึ่งแถลงการณ์ดังกล่าวมีข้อความเข้าข่ายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพพระมหากษัตริย์ ในลักษณะเพื่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อให้เกิดการล่วงละเมิดกฎหมาย และจะก่อความไม่สงบขึ้น
รวมทั้งแกนนำยังได้มีการปราศรัยหัวข้อว่า “ต้องการให้สถาบันกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี"
จึงถือได้ว่าการกระทำของภัสราวลีและพวก มีเจตนามุ่งหวังให้มวลชนที่มาร่วมชุมนุมได้ยินคำแถลงการณ์และคำปราศรัย ฝ่าฝืนหรือล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินที่บัญญัติไว้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ จนเป็นเหตุให้ประชาชนแบ่งเป็นฝักฝ่าย และจะก่อให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน จนถึงขนาดจะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักรได้
หลังพล.อ.ประยุทธ์ประกาศจะใช้กฎหมายทุกฉบับที่มีอยู่ดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 พนักงานสอบสวนสน.ทุ่งมหาเมฆแจ้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กับผู้ต้องหาทั้ง 13 คน เพิ่มเติมโดยระบุพฤติการณ์ซึ่งสรุปได้ว่า
“เนื้อหาบางช่วงบางตอนในคําแถลงการณ์ทุกฉบับและคําปราศรัยดังกล่าวเป็นการใส่ความพระมหากษัตริย์ ต่อผู้ร่วมชุมนุมและบุคคลที่อยู่ในบริเวณที่ชุมนุม เป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระองค์ ทําให้พระองค์เสื่อมพระเกียรติ เข้าองค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112”
ในวันนี้มีนักกิจกรรมเก้าจาก 13 คน เดินทางเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวน ได้แก่ ได้แก่ ภัสราวลี กรกช ชนินทร์ ชลธิศ เบนจา วัชรากร อัครพล และ "โจเซฟ" และ ณวรรษ เข้ารายงานตัวโดยผู้ต้องหาทุกคนยกเว้นณวรรษเข้ารายงานตัวในช่วงเช้าส่วนณวรรษเข้ารายงานตัวในช่วงบ่าย ขณะที่ผู้ต้องหาอีกสี่คนคืออรรถพล รวิศรา สุธินีและ "เอ" ขอเข้ารายงานตัวในวันถัดไป
"การยัดเยียด ม. 112 โดยเจ้าพนักงานไม่ใช้วิจารณญาณและไร้สำนึกนั่นแหละเป็นการยุยงให้ราษฎรอาฆาตมาดร้าย "สถาบัน" เจ้าพนักงานควรโดน ม.112 ไม่ใช่ "ราษฎร" "
รวมทั้งป้ายข้อความอื่นๆมาติดทั้งที่ตัวอาคารสถานีตำรวจ ป้ายสถานีตำรวจและรถตำรวจที่จอดอยู่บริเวณดังกล่าว
ในวันนี้ผู้ต้องหาทั้ง 13 คนจึงเพียงแต่ลงชื่อว่ามารายงานตัวตามนัด จากนั้นพนักงานสอบสวนนัดหมายผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ส่งตัวให้อัยการในวันที่ 22 มกราคม 2564