- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ชายห้าคน
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
รอลงอาญา
ข้อหา / คำสั่ง
อื่นๆ (มาตรา 309 ของประมวลกฎหมายอาญา)
เนื้อหาคดีโดยย่อ
วันที่ 5 สิงหาคม 2562 เอกชัย อิสระทะ ในฐานะเอ็นจีโอที่ทำงานติดตามผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำเหมืองแร่เดินทางไปเข้าร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นการประกอบกิจการเหมืองแร่ของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุง ปรากฏว่า เมื่อเข้าถึงเวทีรับฟังความคิดเห็นมีชายฉกรรจ์หลายคนเข้ามาล้อมเอกชัยและพาตัวเอกชัยไปไว้ที่รีสอร์ทแห่งหนึ่งเป็นเวลาประมาณสี่ห้าชั่วโมง จนกระทั่งเวทีรับฟังความคิดเห็นเสร็จสิ้นจึงปล่อยตัว ก่อนปล่อยได้ข่มขู่เอกชัยทำนองว่า หากไปบอกต่อสื่อมวลชนจะไม่รับรองความปลอดภัยในชีวิต
เอกชัยได้เข้าร้องทุกข์ต่อสำนักงานตำรวจภูธรภาค9 (จังหวัดสงขลา) นำไปสู่การจับกุมและดำเนินคดีฐานร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นต่อจำเลยทั้ง 5 คน ในนัดสอบคำให้การจำเลยทั้งห้าให้การปฏิเสธ ต่อมาจำเลยทั้งห้าได้เปลี่ยนแปลงคำให้การเป็นรับสารภาพ พร้อมจ่ายค่าสินไหมชดเชยให้แก่เอกชัยเป็นเงินจำนวน 250,000 บาท วันที่ 23 มีนาคม 2563 ศาลจังหวัดพัทลุงพิพากษาให้จำเลยที่หนึ่ง จำคุกหนึ่งปี จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือหกเดือน ปรับ 20,000 บาทลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 10,000 บาท และจำเลยที่สองถึงห้า จำคุกหนึ่งปี จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือหกเดือน ปรับ 10,000 บาทลดโทษกึ่งหนึ่งเหลือ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา
ภูมิหลังผู้ต้องหา
***ภูมิหลังของผู้เสียหาย***
เอกชัย อิสระทะ ผู้เสียหายในคดีนี้เป็นนักพัฒนาเอกชน ภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดสงขลา ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) ทั้งระดับภาค และระดับชาติ และยังเป็นนักปกป้องสิทธิชุมชนที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน และยังเป็นเกษตรกรทำงานร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ก่อนหน้านี้เอกชัยเข้าร่วมกิจกรรมคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่อ.เทพา จ.สงขลา และถูกดำเนินคดีฐานไม่แจ้งการชุมนุมสาธารณะก่อนการชุมนุมเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
เอกชัย อิสระทะ(ผู้เสียหาย)
ข้อกล่าวหา
อื่นๆ (มาตรา 309 ของประมวลกฎหมายอาญา)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
อื่นๆ
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
พัทลุง
-
ศาล
ศาลจังหวัดพัทลุง
ไม่มีการจับกุม
ณ มัสยิดแห่งหนึ่งของตำบลคลองใหญ่ อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นสถานที่จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ของบริษัท สิงห์ศิลาทอง จำกัด ที่จัดขึ้นโดยหน่วยงานรัฐตามกระบวนการภายใต้พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 มาตรา 56
พนักงานอัยการจังหวัดพัทลุงมีความเห็นสั่งฟ้องคดีนี้ต่อสมเพียรและพวกรวมห้าคน ในฐานความผิดร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้เกิดความกลัวว่า จะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพของผู้ถูกข่มขืนใจ โดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการนั้น โดยร่วมกันกระทำความผิดตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปและร่วมกันหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังผู้อื่นให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ...
นัดสอบคำให้การ
สอง รัฐบาลจะต้องติดตาม ตรวจสอบโครงการสัมปทานเหมืองแร่ในทุกภูมิภาคว่า มีการกระทำการในลักษณะข่มขู่ คุกคาม หรือสร้างความทุกข์ร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่อย่างไร พร้อมกับสร้างมาตรการป้องกันหรือป้องปรามการกระทำการดังกล่าวอย่างเข้มข้น
นัดฟังคำพิพากษา
อย่างไรก็ตามจำเลยทั้งหมดจ่ายค่าสินไหมทดแทนจากการได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกายชื่อเสียงเป็นจำนวน 250,000 บาท จึงให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้สองปี และคุมประพฤติจำเลยทั้งห้าคนหนึ่งปี