- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สมพงษ์ อมรวิวัฒน์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นสืบสวนสอบสวน
สถานะผู้ต้องหา
ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
ชลิตา บัณฑุวงศ์ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
สมพงษ์ สระกวี | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
สงคราม กิจเลิศไพโรจน์ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
มุข สุไลมาน | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
นิคม บุญวิเศษ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
รักชาติ สุวรรณ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
อสมา มังกรชัย | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
วันมูหะมัดนอร์ มะทา | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ธนาธรเคยเป็นผู้บริหารของกลุ่มบริษัทไทยซัมมิท ก่อนที่จะลาออกมาทำงานการเมืองในฐานะผู้ร่วมจัดตั้งและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ในปี 2561 และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อของพรรคอนาคตใหม่ในการลงเลือกตั้งครั้งแรก
เมื่อรัฐสภาลงคะแนนให้ความเห็นชอบบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีธนาธรได้รับการเสนอชื่อเป็นแคนดิเดทนายกรัฐมนตรีแข่งกับพล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชาแคนดิดเดทของพรรคพลังประชารัฐแต่ได้คะแนนน้อยกว่า
พล.ท.ภารดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)และสมาชิกพรรคเพื่อไทย
อสมา มังกรชัย เป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันมูหะมัดนอร์ มะทา หรือที่สื่อมวลชนมักเรียกย่อๆว่า วัน นอร์ เป็นหัวหน้าพรรคประชาชาติและเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อของพรรคประชาชาติเพียงหนึ่งเดียวในการเลือกตั้ง 2562
วันมูหะมัดนอร์เป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ เป็นนักวิชาการอิสระและเป็นผู้จัดรายการช่องว๊อยซ์ ทีวี
ข้อกล่าวหา
สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การพูด / ปราศรัย
-
จังหวัด
ปัตตานี
ยังไม่มีการออกหมายเรียกให้ผู้ต้องหาทั้งหมดไปรับทราบข้อกล่าวหา
สมพงษ์ระบุด้วยว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญสามารถหาเสียง (ระหว่างการออกเสียงประชามติ) อยู่ฝ่ายเดียว แต่ก็ได้คะแนนเสียงที่ให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเพียง 15 ล้านกว่าเสียงเท่านั้น
สงครามระบุด้วยว่ารัฐบาลพยายามทำให้คนเข้าใจผิดว่าเศรษฐกิจไม่ดีต้องแก้ไขเศรษฐกิจก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งที่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหารคือรัฐบาล ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติหรือส.ส.ซึ่งเป็นคนละส่วนกัน
ในส่วนของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 15 ปีที่ผ่านมา มีประชาชนกว่า 4000 คนเสียชีวิต ที่ผ่านมาสถานการณ์ก็ไม่ได้คลี่คลายไปในทางที่ดี มีประชาชนบางส่วนต้องการให้มีการปกครองแบบพิเศษ ซึ่งส่วนตัวเห็นว่าทุกจังหวัดมีความพิเศษ มีความหลากหลาย แต่รัฐที่แข็งทื่ออย่างรัฐไทย พยายามเอากฎกติกา ความคิด ความเชื่อแบบเดียวกันบีบบังคับให้คนต้องเชื่อซึ่งจุดนี้คือที่มาของปัญหา
ธนาธรระบุด้วยว่าหลังการรัฐประหารปี 57 มีแต่การใช้มาตรการด้านความมั่นคง มองประชาชนเป็นศัตรู ตราบใดที่ยังไม่มีความเป็นธรรมก็ยากที่จะมีสันติภาพและส่วนตัวเขาเห็นว่าจะไม่สามารถแก้ปัญหาเรื่องโครงสร้างอำนาจในสังคมไทยได้เลย หากอำนาจทุกอย่างรวมศูนย์อยู่ที่กรุงเทพ การแก้รัฐธรรมนูญจึงเป็นทางออกทางเดียวที่เหลืออยู่ในสังคมไทย
ชลิตาระบุด้วยว่า รัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาชายแดนใต้ได้ สาเหตุหลักเป็นมันคือผลพวงของความรู้สึกถึงความไม่ชอบธรรม การใช้กฎหมายพิเศษของรัฐ ที่ผ่านมารัฐมีแนวทางแก้ปัญหา คือ 1.การใช้กำลังทหารและตำรวจ ในการรักษาความมั่นคง 2.การพัฒนาพื้นที่คุณภาพชีวิต และ3.การส่งเสริมทางสังคมวัฒนธรรม ซึ่งเราพบว่าแนวทางดังกล่าวมีปัญหามาก
เพราะแนวทางเหล่านี้ล้วนอยู่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จของกองทัพ ซึ่งที่จริงไม่ควรเป็นงานด้านความมั่นคง แต่ทหารกลับมามีอำนาจ และมีบทบาทในทุกด้าน ชลิตราทิ้งท้ายว่าการแก้ปัญหาของประเทศไทย อาจไม่ต้องอยู่กันเป็นรัฐเดี่ยวหรือรวมศูนย์ก็ได้ การแก้รัฐธรรมนูญอาจแก้มาตรา 1 ด้วยก็ไม่เห็นจะแปลกอะไร
โดยในวันที่ 6 ตุลาคม พรรคร่วมฝ่ายค้านจะไปแจ้งความดำเนินคดีกับพล.ต.บุรินทร์รวมทั้งผู้บังคับบัญชาของเขา ในส่วนของการจัดเวทีสัญจรเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน อนุสรณ์ระบุว่าทางพรรคร่วมฝ่ายค้านจะยังคงดำเนินการต่อไป