- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
รังสิมันต์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
สิรวิชญ์ | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
อานนท์ | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
กาณฑ์ | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
ณัฏฐา | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
สุกฤษณ์ | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
ชลธิชา | อื่นๆ (ไม่อนุญาตให้ฝากขัง) |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
นอกจากนี้ เขายังเป็นทนายความให้กับจำเลยในคดีการเมืองและคดีมาตรา 112 เช่น คดีอากง เอสเอ็มเอส คดีสิรภพ และอีกหลายคดีอันเนื่องเกี่ยวกับความมั่นคงหลังรัฐประหาร 2557 อีกด้วย
สำหรับคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2561 อานนท์ถูกดำเนินคดีไปแล้วรวมสามคดี ได้แก่ คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพฯ คดีชุมนุมที่หน้ากองทัพบก รวมทั้งคดีนี้
สำหรับคดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2561 สิรวิชญ์ถูกดำเนินคดีไปแล้วรวมสี่คดี ได้แก่ คดีการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หอศิลป์กรุงเทพ ที่หน้ากองทัพบก และที่พัทยารวมทั้งคดีนี้
พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ
ข้อกล่าวหา
สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ, ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญา
รวมทั้งเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 พร้อมกับการชูสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนราชดำเนินอันเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
และเพื่อให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจว่า รัฐบาลและทหารจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบกับรัฐบาลและเป็นการยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐบาลจึงเป็นการร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย "
พนักงานสอบสวนขอให้ศาลอาญาอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาห้าคนคืออานนท์ สิรวิชญ์ สุกฤษณ์ ณัฏฐา และ ชลธิชา ซึ่งไม่มาเข้าพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 23 เมษายน 2561 แต่ผู้ต้องหาทั้งห้าคนไม่มาพบตามนัดเนื่องจากพนักงานสอบสวนมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงวันนัดจากเดิมที่ตกลงกันในวันที่ 11 มิถุนายน 2561 เป็นวันที่ 23 เมษายนในระยะกระชั้นชิด ผู้ต้องหาหลายคนจึงติดภารกิจ แต่ศาลยกคำร้องของพนักงานสอบสวนโดยเห็นว่าผู้ต้องหาบางคนมีเหตุอันควรที่ทำให้มาไม่ได้
สำหรับผู้ต้องหาอีกสองคนที่ไม่ถูกออกหมายจับคือกาณฑ์ซึ่งมาพบพนักงานสอบสวนในวันที่ 23 เมษายน 2561 และรังสิมันต์ซึ่งถูกฟ้องคดีแยกต่างหากไปแล้ว
แต่ผู้ต้องหาโดยเฉพาะกรณีของอานนท์ที่ติดว่าความที่ศาลทหารและกรณีของสุกฤษฎ์ที่ติดภารกิจอยู่ต่างประเทศก็มีเหตุอันควรที่ทำให้ไม่สามารถมาตามนัดได้อยู่บ้าง นอกจากนี้พนักงานสอบสวนเองก็แถลงว่าการนำตัวผู้ต้องหาทั้งหมดส่งให้อัยการพร้อมกันจะเป็นการสะดวกกว่า ซึ่งทนายของผู้ต้องหาก็ได้ประสานให้ทั้งหมดเข้าพบอัยการในวันที่ 9 พฤษภาคม 2561 จึงเห็นควรยกคำร้องออกหมายจับในชั้นนี้ไปก่อน
ตั้งแต่เวลา 8.30 น. เริ่มมีผู้มารอให้กำลังใจอยู่ที่ด้านหน้าอาคารศาลอาญาจำนวน 10 คน ขณะที่ผู้ต้องหาทั้ง 6 คนเริ่มทยอยเดินทางมาสมทบจนครบในเวลา 10.30 น. ต่อมาอัยการฯมีความเห็นสั่งฟ้องคดี โดยทั้งหมดถูกกล่าวหาว่า ยุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาและชุมนุมทางการเมืองตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการจัดชุมนุมบริเวณถนนราชดำเนินเรียกร้องการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 ภายใต้ชื่อกิจกรรมว่า "หยุดยื้อเลือกตั้ง หยุดสืบทอดอำนาจ” เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561
รายละเอียดคำฟ้องระบุว่า "เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 จำเลยทั้ง 6 คนและรังสิมันต์ โรมที่ถูกฟ้องต่อศาลแยกไปก่อนแล้ว รวมกับพวกอีก 42 คนที่ถูกฟ้องต่อศาลแขวงดุสิตได้ร่วมกันมั่วสุมและชุมนุมทางการเมือง และร่วมกันกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจาหนังสือและวิธีการอื่นใด และร่วมกันใช้รถยนต์ติดเครื่องขยายเสียงเป็นเวที ด้านข้างของตัวรถยนต์ได้ติดป้ายโจมตีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และได้ร่วมกันปราศรัยโจมตีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ คณะรัฐบาล คณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยผลัดเปลี่ยนกันขึ้นปราศรัย และร่วมกันปลุกระดมมวลชนให้เกิดการชุมนุมขับไล่รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
รวมทั้งเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 พร้อมกับการชูสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลางและนิ้วนาง) บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และถนนราชดำเนินอันเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ในทางการเมืองต่อต้านรัฐบาลที่บริหารประเทศอยู่ในขณะนั้นอันมิใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญหรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตเพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
และเพื่อให้ประชาชนที่พบเห็นเข้าใจว่า รัฐบาลและทหารจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งก่อให้เกิดภาพลักษณ์ในเชิงลบกับรัฐบาลและเป็นการยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชนที่เห็นต่างกับรัฐบาลจึงเป็นการร่วมกันมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองที่มีจำนวนตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปโดยไม่ได้รับอนุญาตจากหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือผู้ได้รับมอบหมายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย "
โดยอานนท์ สิรวิชญ์ ชลธิชาและสุกฤษณ์ยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวโดยใช้หลักทรัพย์คนละ 50,000 บาท ขณะที่กาณฑ์ยื่นคำร้องโดยไม่วางหลักทรัพย์ประกัน แต่ในคำร้องประกอบระบุว่า หากศาลเห็นควรให้วางหลักทรัพย์ประกันจะวางเงินไม่เกิน 50,000 บาท ด้านณัฏฐายื่นคำร้องโดยไม่วางหลักทรัพย์ประกัน
เวลา 17.00 น. มีรายงานว่า แกนนำ #RDN50 ทั้ง 6 คน ได้ประกันตัวโดยไม่ใช้หลักทรัพย์
นัดตรวจพยานหลักฐาน
เวลา 9.30 น.จำเลยทยอยมาถึงศาลอาญาตามที่ศาลนัดหมาย โดยคดีนี้เบื้องต้นมีการแยกฟ้องเป็นสองสำนวน สำนวนคดีแรกคือสำนวนคดีที่มีรังสิมันต์เป็นจำเลยเพียงคนเดียวส่วนสำนวนที่สองคือสำนวนคดีของจำเลยที่เหลืออีกหกคน ในช่วงก่อนการรวมคดีจึงมีการแยกนัดพิจารณาเป็นสองห้อง คดีของรังสิมันต์พิจารณาที่ห้อง 903 ส่วนคดีของจำเลยอีกหกคนพิจารณาที่ห้อง 703 ในวันนี้นอกจากจำเลยหกคนกับทีมทนายความแล้วก็มีประชาชนในกลุ่มคนอยากเลือกตั้งอีกส่วนหนึ่งมาให้กำลังใจด้วยและมีตัวแทนจากสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทยตามมาสังเกตการณ์ในเวลาประมาณ 11.00 น.ด้วย
สำหรับกระบวนการพิจารณา ทนายของรังสิมันต์ลุกขึ้นแถลงต่อศาลที่ห้องพิจารณา 903 ว่า เบื้องต้นคดีนี้มีการกำหนดวันนัดสืบพยานไว้แล้วแต่เนื่องจากคู่ความประสงค์จะรวมสำนวนคดีนี้เข้ากับสำนวนคดีของจำเลยอีกหกคน จึงขอให้ศาลดำเนินกระบวนการในส่วนของการรวมคดีก่อน ศาลจึงให้หน้าบันลังก์ประสานให้จำเลยที่เหลือซึ่งอยู่ที่ห้องพิจารณาคดี 703 ขึ้นมารวมที่ห้องพิจารณาคดี 903 เพื่อเริ่มกระบวนการ
เมื่อจำเลยจากห้องพิจารณาคดี 703 ขึ้นมาที่ห้องพิจารณาคดี 903 ศาลขานชื่อจำเลยทีละคน ในวันนี้มีจำเลยมาศาลทั้งหมดหกคน ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าสุกฤษณ์ จำเลยที่หกซึ่งไม่มาศาลเคยขออนุญาตให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาลับหลังเนื่องจากตัวเขาติดภารกิจศึกษาต่อในต่างประเทศและศาลก็อนุญาตแล้ว
ในส่วนของแนวทางการต่อสู้คดีของฝ่ายจำเลย ทนายจำเลยแถลงว่าจำเลยจะนำสืบว่าการกระทำของจำเลยไม่ได้เป็นการกระทำที่ไม่ได้เป็นไปตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญตามโจทก์ฟ้องหากแต่เป็นการกระทำที่ช่วยรักษาระบอบประชาธิปไตย และจะต่อสู้ด้วยว่าการปราศรัยวิพากษ์วิจารณ์พล.อ.ประยุทธ์และพล.อ.ประวิตร เป็นเพียงการวิพากษ์วิจารณ์ติชมโดยสุจริต ไม่ได้เป็นการยุยงปลุกปั่นประชาชน
ทนายจำเลยแลถงด้วยว่าเนื่องจากก่อนการรวมคดีคู่ความได้เคยกำหนดวันนัดสืบพยานคดีที่รังสิมันต์เป็นจำเลยเอาไว้แล้ว แต่เมื่อมีการรวมสำนวนคดีฝ่ายจำเลยก็มีพยานที่ต้องนำสืบเพิ่มเติมและวันนัดที่เคยกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ปรากฎว่ามีทนายจำเลยบางส่วนไม่ว่างจึงขอให้ศาลยกเลิกวันนัดเดิมและให้คู่ความกำหนดวันนัดใหม่ ศาลจึงสั่งยกเลิกวันนัดในส่วนของคดีรังสิมันต์เพื่อให้ทนายจำเลยของจำเลยที่เพิ่งถูกรวมคดีเข้ามาได้กำหนดวันนัดร่วมกัน
อัยการแถลงว่าจะนำพยานเข้าสืบรวม 13 ปาก เป็นพยานผู้เห็นเหตุการณ์และมีพนักงานสอบสวนสองปาก ส่วนจำเลยแถลงจะนำพยานเข้าสืบรวม 14 ปาก มีทั้งตัวจำเลยและพยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักวิชาการ ศาลกำหนดให้ใช้เวลาสืบพยานโจทก์ห้านัดส่วนพยานจำเลยสี่นัดรวมเก้านัด และสั่งให้คู่ความไปกำหนดวันนัดสืบพยานกันเอง
หลังเสร็จสิ้นกระบวนพิจารณาที่ห้องพิจารณา 903 จำเลยหกคนที่เพิ่งถูกรวมสำนวนคดีเข้ามากับสำนวนคดีของรังสิมันต์ได้กลับลงไปที่ห้องพิจารณา 703 เพื่อฟังรายงานกระบวนพิจารณาเรื่องการรวมคดี
หลังเสร็จสิ้นการพิจารณาอัยการและทนายจำเลยได้ไปกำหนดวันนัดพิจารณาคดีร่วมกันที่ศูนย์นัดความ ซึ่งคู่ความกำหนดวันนัดในวันที่ 1 - 2 6 - 9 และ 13 - 15 สิงหาคม 2562
นัดสืบพยานโจทก์
พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ ผู้กล่าวหา พยานโจทก์ปากที่หนึ่ง
2 สิงหาคม 2562
นัดสืบพยานโจทก์
อัยการถามว่า แล้ว จ.ส.อ.ไพรพนาทำอะไรบ้างในที่ชุมนุม จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่ได้ทำทั้งการบันทึกภาพ และบันทึกเสียง แต่มีคณะทำงานอื่นทำ แต่ได้ทำหน้าที่หลังวันเกิดเหตุในการถอดเทปคำปราศรัยของ รังสิมันต์, สิรวิชญ์, กาณฑ์, ณัฏฐา, อานนท์ และสุกฤษฎ์และได้ทำซีดีบันทึกภาพเคลื่อนไหวในวันเกิดเหตุ และรายชื่อผู้เข้าร่วมชุมนุม ตามพยานเอกสารของโจทก์ที่ยื่นเข้ามาในคดี อัยการถามว่า ซีดีรวมภาพเคลื่อนไหวในวันเกิดเหตุ จ.ส.อ.ไพรพนาเป็นคนทำในส่วนไหนบ้าง จ.ส.อ.ไพรพนา เบิกความให้การวกวน และตอบไม่ได้ว่าทำในส่วนไหนบ้าง อัยการพยายามถามนำว่า จำได้หรือไม่ว่าทำอะไรไปบ้าง แต่จ.ส.อ.ไพรพนาก็ตอบไม่ได้ จนผู้พิพากษาทักท้วงว่าหาก จ.ส.อ.ไพรพนาจำไม่ได้ว่าได้จัดทำข้อมูลในแผ่นซีดีหรือไม่ ก็ให้อัยการไปสืบพยานในปากอื่น เช่น พนักงานสอบสวนในคดี อัยการจึงเปลี่ยนคำถาม และถามต่อว่าหลังจากทำแผ่นซีดีแล้ว จ.ส.อ.ไพรพนาทำอะไรต่อ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ได้ไปให้การกับพนักงานสอบสวน ตามบันทึกคำให้การในชั้นสอบสวน และได้ลงลายมือชื่อไว้ด้วย
พยานไม่รู้จักจำเลย และไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยทั้งหกคนมาก่อน
ทนายจำเลยที่สามถามว่า จ.ส.อ.ไพรพนาเคยไปหาข่าวในการชุมนุมครั้งอื่นของคนอยากเลือกตั้งหรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่เคยไปงานอื่น เคยไปทำหน้าที่แค่งานเดียว ทนายจำเลยที่สามถามต่อว่า ที่จำเลยที่สามพูดประมาณว่า “การชุมนุมเราจุดติดแล้ว หมดเวลาคสช. ให้ไปเชิญชวนคนมาเป็นหมื่นเป็นแสนคน” แต่จำเลยที่สามได้พูดให้คนเอาอาวุธมาร่วมชุมนุมด้วยหรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่ได้ให้เอาอาวุธมาด้วย ทนายจำเลยที่สามถามต่อว่า เนื้อหาของการพูดปราศรัยส่วนใหญ่ เป็นการพูดว่าไม่ชอบรัฐบาลเผด็จการ จ.ส.อ.ไพรพนารับว่า ใช่
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า จ.ส.อ.ไพรพนาไม่ได้ให้การกับพนักงานสอบสวนว่า สิรวิชญ์ จำเลยที่หนึ่งปราศรัยทวงการเลือกตั้งจาก คสช. และตามเอกสารบันทึกคำให้การของ จ.ส.อ.ไพรพนากับพนักงานสอบสวน ไม่มีข้อความทั้งหมดที่จำเลยที่หนึ่งพูดปราศรัย ตามที่มีในบันทึกการถอดเทปของจำเลยที่หนึ่งใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนารับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ในการสืบสวนหาข่าวนั้น จ.ส.อ.ไพรพนาต้องรายงานในที่ประชุมของคณะทำงานสืบสวนหาข่าว โดยต้องแบ่งปันข้อมูล, ภาพนิ่ง หรือวีดีโอ ในที่ประชุมด้วยใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนารับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า การสืบสวนหาข่าวต้องทำตั้งแต่ก่อนวันชุมนุม คือเริ่มตั้งแต่ช่วงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 แล้วใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนารับว่าใช่ แต่คนอื่นเป็นคนทำ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ในการประชุมกับผู้บังคับบัญชา มีการพูดถึงจำเลยที่หนึ่งหรือไม่ อย่างเช่นว่า จำเลยที่หนึ่งจะทำอะไรบ้าง จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า จำไม่ได้
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ข้อเรียกร้องของผู้ร่วมชุมนุมกลุ่มคนอยากเลือกตั้งมีสามข้อคือ หนึ่ง ให้มีการเลือกตั้งภายในปี 2561 สอง เผด็จการจงพินาศ สาม ประชาธิปไตยจงเจริญ ใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า คือการชูสัญลักษณ์สามนิ้วใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่าใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า การชูสามนิ้วสามารถทำได้ เป็นเรื่องธรรมดาใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ใช่ ศาลติงทนายจำเลยที่หนึ่งว่าคำถามที่เป็นเรื่องความคิดเห็นให้เก็บเอาไว้ถามพยานที่เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตั้งข้อกล่าวหาในคดีดีกว่า ทนายจำเลยที่หนึ่งรับไว้ และถามค้านพยานต่อ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามคำถามสุดท้ายว่า ในพยานหลักฐานซีดีที่นำมาเป็นพยานหลักฐานในคดีนี้ที่ จ.ส.อ.ไพรพนาเบิกความว่าจำไม่ได้ว่าได้ทำหรือไม่นั้น ทราบหรือไม่ว่าเจ้าหน้าที่ทหารจะเป็นผู้บันทึกภาพเคลื่อนไหวในซีดีทั้งหมดอย่างตลอดต่อเนื่องหรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า ที่ไม่ทราบเพราะไม่ใช่คนบันทึกภาพเคลื่อนไหวใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนา รับว่า ใช่
ทนายจำเลยที่หกถามว่า ในวันที่ไปให้การกับตำรวจ จ.ส.อ.ไพรพนาเดินทางไปด้วยตัวเอง หรือผู้บังคับบัญชาสั่งให้ไป จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า เดินทางไปให้การกับตำรวจพร้อมกับผู้บังคับบัญชา ทนายจำเลยที่หกถามต่อว่า ก่อนที่ จ.ส.อ.ไพรพนาจะไปให้การกับตำรวจนั้น ได้มีการสอบถามไปยังผู้บังคับบัญชา เช่น พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หรือไม่ว่าคำปราศรัยในวันชุมนุมเป็นเรื่องจริงหรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่ได้สอบถาม ทนายจำเลยที่หกถามต่อว่า เรื่องการคอร์รัปชันในกองทัพ หรือการสืบทอดอำนาจ จ.ส.อ.ไพรพนาไม่ทราบข้อเท็จจริงใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หกถามต่อว่า ผู้บังคับบัญชา และพนักงานสอบสวน แจ้งให้จ.ส.อ.ไพรพนา ให้การตามที่อยู่ในบันทึกคำให้การชั้นสอบสวน ใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนารับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หกถามคำถามสุดท้ายว่า การชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 กลุ่มผู้ชุมนุมเลิกการชุมนุมเองใช่หรือไม่ จ.ส.อ.ไพรพนาตอบว่า ใช่
พ.ต.อ.สุรศักดิ์เบิกความว่า ปัจจุบันอายุ 51 ปี ขณะเกิดเหตุรับราชการตำรวจในตำแห่งรองผู้กำกับการกองกำกับการ 6 กองกำกับการตำรวจสันติบาล 1 ทำหน้าที่ในการสืบสวนหาข่าวในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพมหานคร ก่อนวันเกิดเหตุพบว่ามีการโพสต์เฟซบุ๊กของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย และกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา ประชาสัมพันธ์การชุมนุมเรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง โดยปกติจะทราบอยู่แล้วว่าเฟซบุ๊กของกลุ่มพลเมืองโต้กลับ เป็นของอานนท์ นำภา, กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย เป็นของรังสิมันต์ และกลุ่มประชาธิปไตยศึกษา เป็นของสิรวิชญ์ หลังจากนั้นในวันเกิดแหตุ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 จึงได้จัดเตรียมกำลังเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบประมาณสิบคน โดยเขาเป็นหัวหน้าชุด และได้รายงานกับผู้บังคับบัญชาแล้ว เพื่อลงพื้นที่สืบสวนหาข่าวในพื้นที่ชุมนุม
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามค้าน
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า จากการทำข้อมูล ทราบหรือไม่ว่าชลธิชา ได้มีการทำหนังสือแจ้งการชุมนุมแล้ว พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ เนื่องจากหากมีการชุมนุมจะมีการแจ้งการชุมนุมหรือไม่ก็ยังคงต้องมีการลงพื้นที่ปฏิบัติหน้าที่เหมือนเดิม ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า จากรายงานการสอบสวน พ.ต.อ.สุรศักดิ์ทราบข่าวล่วงหน้าก่อนแล้วใช่หรือไม่ว่าจะมีการชุมนุม พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า มีการประชุมเตรียมการล่วงหน้าของตำรวจสันติบาลหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่มีการประชุมเตรียมการใหญ่ มีเพียงการประชุมทีมของเขาที่จะลงพื้นที่ประมาณสิบคน ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า แล้วมีการประชุมเตรียมการร่วมกับหน่วยข่าวกรอง หรือฝ่ายทหารหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่มีการประชุมกับหน่วยงานอื่น ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า มีการประชุมกับตำรวจหน่วยอื่นหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่มีการประชุมเช่นกันทนายจำเลยที่หนึ่งถาม พ.ต.อ.สุรศักดิ์ว่า แล้วทราบหรือไม่ว่าผู้บังคับบัญชาจะไปประชุมร่วมใครบ้าง พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ โดย พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบเพิ่มเติมว่า ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามหน้าที่ของหน่วยตัวเองเท่านั้น ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับหน่วยงานอื่น ทนายจำเลยถามว่า ผู้บังคับบัญชาของ พ.ต.อ.สุรศักดิ์คือใคร พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ผู้บังคับบัญชาของเขาคือ ผู้กำกับการกองกำกับการหก กองกำกับการตำรวจสันติบาลหนึ่ง แต่ผู้บังคับบัญชาจะได้รับการบัญชาการจากใครนั้นไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า การชุมนุมแต่ละครั้งจะมีการแจ้งการชุมนุมหรือไม่ ชุดทำงานของตำรวจสันติบาลต้องทราบหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ต้องทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า แล้วทราบไหมว่าผู้ชุมนุมจะได้ขออนุญาตใช้เครื่องเสียงหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบเช่นกัน โดยตอบเพิ่มเติมว่า เนื่องจากมีหน้าที่เพียงสืบสวนหาข่าวเก็บข้อมูล ไม่มีอำนาจบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจนครบาล จึงไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ถ้ามีเหตุการณ์สำคัญเกิดเหตุไม่สงบ วุ่นวาย พ.ต.อ.สุรศักดิ์ต้องรายงานอย่างเร่งด่วนให้ผู้บังคับบัญชาทราบหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่จำเป็น ใช้การรายงานเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องเหมือนการทำงานปกติ เนื่องจากตามหน้าที่ไม่ได้มีอำนาจตัดสินใจในเรื่องเหล่านั้นได้
ทนายจำเลยที่สองถามต่อว่า พ.ต.อ.สุรศักดิ์ เคยพบ และรู้จักกับ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพมาก่อนหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า เคยพบ ทนายจำเลยที่สองถามต่อว่า ท่านเอาข้อมูลในคดีนี้ไปมอบให้กับ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพมาก่อนหน้านี้ใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่สองถามคำถามสุดท้ายว่า ข้อมูลที่ส่งให้ผู้บังคับบัญชา จะถึงมือของ พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่สี่ถามว่า ในวันเกิดเหตุเห็นณัฏฐา จำเลยที่สี่ขึ้นพูดหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์เห็นขึ้นพูด แต่ไม่ได้ฟังตั้งแต่ต้นจนจบ เนื่องจากต้องเดินไปมาทั่วพื้นที่การชุมนุม ทนายจำเลยที่สี่ถามต่อว่า จำเลยที่สี่เดินทางถึงที่ชุมนุมเวลาใด พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า จำไม่ได้ ทนายจำเลยที่สี่ถามต่อว่า จำเลยที่สี่ ได้มีการพูดปราศรัยใดที่ทำให้ประชาชนกระด้างกระเดื่อง และยุยงให้ประชาชนกระทำผิดกฎหมายหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ เพราะไม่ได้ฟังประติดประต่อกัน ทนายจำเลยที่สี่ถามว่า จากประสบการณ์การทำงานด้วนความมั่นคงของ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ที่ทำมาประมาณ 20 ปี มวลชนประมาณ 500 คนจะล้มล้างการปกครองได้หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ถ้าการชุมนุมจุดติดก็จะสามารถล้มล้างการปกครองได้ ถ้าจุดไม่ติดการชุมนุมก็หยุดไป ศาลได้สอบถามทนายจำเลยที่สี่ว่าจะให้ศาลบันทึกคำถามนี้หรือไม่ ให้ทนายจำเลยที่สี่ตัดสินใจอีกที ทนายจำเลยที่สี่ได้ปรึกษากับทีมทนายจำเลย และแถลงต่อศาลว่าขอยกเลิกคำถามที่ศาลทักท้วง ศาลไม่จดบันทึกคำถามและคำตอบนี้
จำเลยที่สี่เริ่มทำการสืบพยานต่อโดยถาม พ.ต.อ.สุรศักดิ์ว่า พ.ต.อ.สุรศักดิ์ไม่ได้มีการทำความเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมส่งให้กับผู้บังคับบัญชาใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ ตอบว่า ใช่ ไม่ได้ทำอะไรเกี่ยวกับความเห็นเลย ทนายจำเลยที่สี่ถามต่อว่า พ.ต.อ.สุรศักดิ์ไม่ได้มีส่วนร่วมในการสอบสวนคดีนี้ใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่าใช่ ทนายจำเลยที่สี่ถามคำถามสุดท้ายว่า พ.ต.อ.สุรศักดิ์ไม่มีส่วนร่วมในการสั่งฟ้องคดีด้วยใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่
ทนายจำเลยที่ห้าถามว่า ในการปราศรัยของสุกฤษฎ์ ไม่มีการพูดให้ผู้ชุมนุมใช้อาวุธ ทำร้ายเจ้าหน้าที่ หรือทำลายสถานที่ต่างๆ ใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หน้าถามต่อว่า ทั้งก่อนแหละหลังวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ไม่มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง ทั้ง พ.ร.บ.ฉุกเฉินฯ และกฎอัยการศึกใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่ห้าถามต่อว่า หลังจากวันเกิดเหตุ คสช. ยังทำงานต่อใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่ห้าถามคำถามสุดท้ายว่า การเลื่อนเลือกตั้งครั้งที่มีผลจากการเขียนกฎหมายเลือกตั้งที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้หลังกฎหมายออก 90 วัน กฎหมายฉบับดังกล่าวแตกต่างจากกฎหมายเลือกตั้งฉบับเดิมๆ อย่างไร พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่หกถามว่า พยานเอกสารประเมินข้อดี ข้อเสียของการฟ้องคดีแก่ผู้ชุมนุม พ.ต.อ.สุรศักดิ์เป็นผู้จัดทำหรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ได้ทำ ศาลปรามทนายจำเลยที่หกว่าพยานเอกสารฉบับนี้พยานตอบว่าไม่ได้ทำแล้ว ไม่ให้ถามในส่วนของพยานเอกสารฉบับนี้ให้ไปถามกับพยานที่เกี่ยวข้อง ทนายจำเลยที่หกตอบรับ และถามคำถามต่อไป
ทนายจำเลยที่หกถามว่า กลุ่มคนอยากเลือกตั้งถูกดำเนินคดีหลายครั้งเพื่อให้หยุดชุมนุม ตามที่บันทึกไว้ในพยานเอกสารที่เป็นความเห็นในการฟ้องคดีกับผู้ชุมนุมใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หกถามว่า ทราบหรือไม่ว่ามีคนในกลุ่มคนอยากเลือกตั้งถูกทำร้ายร่างกาย เช่นฟอร์ด เส้นทางสีแดง, เอกชัย หงส์กังวาน และสิรวิชญ์ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ทราบข่าวจากสื่อมวลชน ทนายจำเลยที่หกถามต่อว่า เป็นการทำร้ายกดดันไม่ให้เคลื่อนไหวในการทำกิจกรรมใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หกถามคำถามสุดท้ายว่า กลุ่มคนอยากเลือกตั้งมีข้อเรียกร้องคือ ไล่ คสช. ออกไป แต่ยังต้องการให้มีรัฐบาลอยู่เพื่อจัดการเลือกตั้ง ใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สุรศักดิ์รับว่าใช่
อัยการไม่ถามติง เสร็จสิ้นการสืบพยานในเวลาประมาณ 14.55 น. ทนายจำเลยแถลงต่อศาลขอยกเลิกนัดในวันที่ 9 สิงหาคมซึ่งเป็นวันนัดสืบพยานนัดแรก เพื่อนัดประชุมคดี และจัดทำคำเบิกความของจำเลยเป็นเอกสาร เพื่อให้กระบวนการรวดเร็ว เนื่องจากใช้ทนายความหลายทีม และจำเลยหลายคน ไม่มีเวลานัดเจอกับจำเลยอย่างพร้อมเพรียง อีกทั้งคิดว่าวันนัดสืบพยานจำเลยที่เหลือน่าจะเพียงพอ จึงขออนุญาตศาลให้งาวันนัดสืบพยานในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 อัยการไม่คัดค้าน ศาลพิเคราะห์แล้วอนุญาตให้งดวันนัดสืบพยานจำเลยวันแรกในวันที่ 9 สิงหาคม 2562 ได้
ศาลอ่านคำเบิกความของพยานผ่านไมโครโฟน และอ่านกระบวนพิจารณาคดีในวันนี้ และนัดหมายสืบพยานโจทก์นัดต่อไปในวันที่ 6 สิงหาคม 2562
นัดสืบพยานโจทก์
เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณาคดีที่ 811 ชลธิชา, กาณฑ์, ณัฏฐาและอานนท์ พร้อมด้วยทนายจำเลยทยอยเดินทางมารอการสืบพยานโจทก์ เวลา 9.35 น. ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์และอ่านคำพิพากษาในคดีอื่นก่อนสองคดี และเวลา 9.50 น.เริ่มการสืบพยานโจทก์ ศาลถามอัยการว่า วันนี้มีพยานนำสืบจำนวนกี่ปาก อัยการตอบว่า สามปากและขอนำพ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ ผู้กำกับการสน.นางเลิ้ง ขึ้นเบิกความก่อนเป็นปากแรก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 12.00 น. เริ่มมีกลุ่มมวลชนมายืนพักคอยในร้านแมคโดนัลด์ประมาณสิบคน ต่อมาเวลา 13.30 น. มีมวลชนเพิ่มขึ้นเป็น 50 คน มวลชนที่มีชื่อเสียงเช่น อนุรักษ์ เจนตวณิชย์ มีการพูดคุยเรื่องการชุมนุม พ.ต.อ.สมยศมองว่า ผู้ชุมนุมมีแนวโน้มจะเพิ่มจำนวนมากขึ้น จึงได้ปรึกษากับผู้บังคับบัญชาในการตั้งจุดคัดกรอง โดยขอกำลังตำรวจในเครื่องแบบมาดูแลจุดคัดกรอง เวลา 14.00 น. มีการจัดตั้งจุดคัดกรองผู้ที่เข้าออกเพื่อแยกระหว่างผู้ที่มาชุมนุมและผู้ที่มาใช้บริการร้านแมคโดนัลด์ เวลา 15.00 น. มีผู้ชุมนุมมาอยู่บริเวณร้านแมคโดนัลด์ประมาณ 150 คน โดยพวกเขาเริ่มแสดงท่าทีไม่พอใจตำรวจที่ตั้งจุดคัดกรองและตะโกนว่า อยากเลือกตั้ง เวลานั้นยังไม่มีแกนนำร่วมด้วย ตำรวจจึงเข้าไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องการตั้งจุดคัดกรอง เวลา 16.00 น. ชลธิชา เดินทางมาถึงหน้าร้านแมคโดนัลด์ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์เรื่องการตั้งจุดคัดกรอง แต่ชลธิชาแสดงท่าทีไม่พอใจและประกาศผ่านโทรโข่งต่อผู้ชุมนุมว่า ย้ายที่พักคอยไปฝั่งร้านสเต็กติดมัน ซึ่งตั้งอยู่บนถนนฝั่งซ้ายของร้านแมคโดนัลด์ เมื่อเคลื่อนย้ายไปแล้วผู้ชุมนุมยืนกันอยู่บนฟุตบาท หลังจากนั้นสุกฤษฎ์และชลธิชาได้สลับกันปราศรัยผ่านโทรโข่งขนาดเล็ก เนื้อหาการปราศรัยโจมตีการทำงานของรัฐบาลคสช.
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า พ.ต.อ.สมยศทราบหรือไม่ว่า บทบัญญัติใดที่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดเรื่องเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ 2560 จะถือบังคับไม่ได้ พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า จากที่เบิกความตอบอัยการไปว่า ชลธิชามีท่าทีไม่พอใจเรื่องการจุดคัดกรอง ท่านพอจะคำปราศรัยของชลธิชาในเรื่องที่ส่งผลดีต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและผู้ชุมนุมหรือไม่ พ.ต.อ.สมยศแสดงท่าทีจำไม่ได้ ทนายจำเลยที่หนึ่งจึงให้พ.ต.อ.สมยศอ่านถอดความคำปราศรัยโดยสรุปทำนองว่า ขอความร่วมมือผู้ชุมนุมไม่ให้ขัดขวางหรือละเมิดสิทธิคนอื่น ไม่ปิดกั้นและขวางทางจราจร ซึ่งภาพรวมของการปราศรัยเป็นอย่างสุภาพ ไม่ได้ปลุกระดมให้ประชาชนกระด้างกระเดื่อง พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ไม่มีคำพูดที่ยั่วยุ แต่อานนท์มีการโจมตีการทำงานของรัฐบาล การวิพากษณ์วิจารณ์ หากเป็นการติชมโดยสุจริตนั้นกระทำได้ แต่หากพูดในที่ชุมนุมก็อาจเกิดความวุ่นวาย
ทนายจำเลยที่สามถามค้าน
ทนายจำเลยที่สามถามว่า แต่ประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปสามารถแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สมยศตอบว่า เป็นเรื่องที่ประชาชนทั่วไปแสดงความเห็นได้โดยสุจริต สามารถติชมได้ ถ้าแสดงออกบนโลกออนไลน์ก็ไม่เป็นไร แต่เมื่อพูดในที่ชุมนุมมันมีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 อยู่ ทนายจำเลยที่สามถามต่อว่า หลังจากนั้นมีการประสานงานกับแกนนำอย่างไรบ้าง พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ทางตำรวจมีการประสานแกนนำคือ รังสิมันต์, สิรวิชญ์และอานนท์ เพื่อบอกให้ทราบว่า ทั้งสามคนมีหมายจับของสน.ปทุมวันอยู่ ทนายจำเลยที่สามถามว่า ในขณะควบคุมตัวนั้นทั้งามคนไม่ได้มีการต่อสู้ ขัดขวางการจับกุมและเดินไปขึ้นรถตู้โดยไม่มีการขัดขืนใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยที่ห้าถามค้าน
ทนายจำเลยที่หกถามว่า จุดคัดกรองไม่ได้ถูกบังคับให้มีตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯใช่หรือไม่ พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ใช่ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ทนายจำเลยที่หกถามว่า ตำรวจมีการดูแลการชุมนุมอย่างไร พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ตำรวจมีการประชุมร่วมกันทั้งสามสน.คือ สน.ชนะสงคราม, นางเลิ้งและสำราญราษฎร์เรื่องการดูแลการชุมนุม ส่วนการแจ้งความดำเนินคดีนั้นทราบว่า พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญเป็นผู้ร้องทุกข์ในข้อหามาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญา ทนายจำเลยที่หกให้พ.ต.อ.สมยศดูเอกสารมีเนื้อหาว่า การแจ้งความมุ่งหวังกดดัน สร้างความยุ่งยากให้แก่แกนนำ ไม่ได้มุ่งหวังให้ไปเรือนจำ ข้อความดังกล่าวเป็นของตำรวจหรือทหาร พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ไม่ใช่ความเห็นของพ.ต.อ.สมยศและในการประชุมร่วมทั้งสามสน. ไม่มีการพูดคุยเรื่องนี้ ทนายจำเลยที่หกถามว่า การปราศรัยเรื่องการเลือกตั้งและอุทยานราชภักดิ์เป็นการพูดคุยของคนในกระแสสังคม ไม่ได้กล่าวลอยๆ พ.ต.อ.สมยศรับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หกถามว่า หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแล้วไม่มีการชุมนุมต่อหรือไม่ พ.ต.อ.สมยศตอบว่า ใช่
ก่อนวันชุมนุมเขามีการติดตามข้อมูลของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งผ่านเฟซบุ๊กและได้โทรศัพท์ไปสอบถามรังสิมันต์ว่า มีการจัดการชุมนุมจริงแต่จำนวนไม่แน่นอน จึงยึดการดูแลการชุมนุมตามการชุมนุมในวันที่ 10 ธันวาคม 2560 ซึ่งมีการจุดเทียน ร้องเพลงและอ่านแถลงการณ์ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ส่วนจะมีการปราศรัยด้วยหรือไม่ จำไม่ได้ สน.สำราญราษฎร์มีการเตรียมอุปกรณ์และกำลังพลไว้รองรับการชุมนุม อุปกรณ์เช่นแผงเหล็ก,กรวยและพาหนะ เวลาประมาณ 11.10 น. ศาลขอให้พักการสืบพยานไว้ก่อนเพื่อที่จะอ่านคำเบิกความให้พ.ต.อ.สมยศ ฟังก่อนและให้พ.ต.ท.สันติไปพักกลางวัน โดยนัดให้กลับมาพิจารณาคดีอีกครั้งในเวลา 13.00 น. ศาลอ่านคำเบิกความของพ.ต.อ.สมยศ เสร็จสิ้นในเวลาประมาณ 11.30 น.
เวลา 13.00 น. เริ่มสืบพยานปากพ.ต.อ.สันติต่อจากช่วงเช้า พ.ต.ท.สันติเบิกความว่า วันเกิดเหตุเขาลงพื้นที่การชุมนุมในฐานะเจ้าหน้าที่สอบสวน ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถ่ายภาพนิ่งและวิดีโอ เวลา 13.30 น. มีกลุ่มผู้ชุมนุมทยอยเดินทางจุดชุมนุม สภาพรอบอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีตำรวจวางกำลังโดยรอบ มีการนำแผงเหล็กไปกั้นรอบอนุสารีย์ประชาธิปไตยและใช้แผงเหล็กกั้นระหว่างฟุตบาทและพื้นผิวจราจร ระหว่างนั้นผู้ชุมนุมก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จำนวนโดยเฉลี่ยตลอดการชุมนุมอยู่ที่ 200 คน ระหว่างการชุมนุมมีการจัดกิจกรรมปราศรัยเรื่องโครงการรัฐบาลว่า มีการทุจริต กระทำการโดยมิชอบ
ทนายจำเลยที่สองถามว่า พ.ต.ท.สันติทำหน้าที่ในการหาข่าว ความสนใจหลักอยู่ในเฟซบุ๊ก ซึ่งที่พ.ต.ท.สันติเบิกความไปว่า กลุ่มจำเลยมีการชักชวนประชาชนมาชุมนุมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 ไม่มีรายละเอียดการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ของกาณฑ์อยู่เลย ใช่หรือไม่ พร้อมให้ดูเอกสารประกอบ พ.ต.ท.สันติตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยที่สองถามว่า รายงานข้อมูลวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 ที่มีการพูดถึงการเฝ้าระวังและติดตามแกนนำหลักไม่ได้ปรากฏพฤติการณ์ของกาณฑ์เลยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สันติตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยที่สองถามว่า ชลธิชาทำหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับการสน.นางเลิ้งที่เป็นผู้ดูแลการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ มีมาตรการดูแลความปลอดภัยเพราะให้ความสำคัญใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สันติตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยที่สองให้พ.ต.ท.สันติดูเอกสารการรายงานบันทึกการพูดของณัฏฐาและชลธิชา ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 และถามว่า รายงานเป็นเนื้อหาการพูดคุยแต่ไม่มีพฤติการณ์ที่ผิดกฎหมายใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สันติตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยที่ห้าไม่ค้าน
ทนายจำเลยที่หกให้ดูเอกสารมีข้อความว่า การฟ้องคดีมุ่งหวังเพื่อกดดันและสร้างความยุ่งยากให้ฝ่ายแกนนำ ข้อความนี้เป็นความเห็นของฝ่ายตำรวจหรือไม่ พ.ต.ท.สันติตอบว่า ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ของเขาและไม่ใช่ของสน.สำราญราษฎร์
อัยการถามว่า ทำไมวันเกิดเหตุถึงไม่มีการจับกุม พ.ต.ท.สันติตอบว่า เขาได้รับมอบหมายให้สืบสวนหาข่าว จัดชุดรวบรวมข้อมูลถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว อัยการถามว่า การชุมนุมวันที่ 10 ธันวาคม 2560 และการชุมนุมในวันเกิดเหตุแตกต่างกันอย่างไร พ.ต.ท.สันติตอบว่า การชุมนุมวันที่ 10 ธันวาคม 2560 เป็นพิธีกรรมรำลึกถึงวันรัฐธรรมนูญ ไม่มีการปราศรัยเช่นวันเกิดเหตุที่เป็นการเรียกร้องให้เผด็จการพินาศไป ซึ่งประสงค์ให้ประชาชนรวมตัวกันมากขึ้นเพื่อขับไล่รัฐบาล
พ.ต.ท.สุทธิโรจน์ เบิกความว่า ปัจจุบันรับราชการตำรวจที่สน.นางเลิ้งในตำแหน่งรองผู้กำกับการ ฝ่ายสืบสวนมีหน้าที่สืบสวนจับกุมผู้กระทำความผิด เกี่ยวข้องกับเหตุในคดีนี้เนื่องจากได้รับมอบหมายจากพนักงานสอบสวนให้สอบสวนหาข่าวกลุ่มผู้ชุมนุมที่จะมาชุมนุมในวันที่ 10 จำเดือนไม่ได้ 2561 จากการสืบสวนพบว่า วันดังกล่าวมีการนัดชุมนุมโดยรังสิมันต์ โรมและสิรวิชญ์ที่ใช้เว็บไซต์นัดชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย วันที่มีการชุมนุมเขาไปสืบสวนหาข่าวที่ชุมนุม โดยแต่งตัวนอกเครื่องแบบเพราะเป็นฝ่ายสืบสวน โดยไปกับลูกน้องประมาณสี่ห้าคน เวลา 13.30 น. เขาประจำอยู่ที่ร้านสเต็กติดมัน เยื้องกับร้านแมคโดนัลด์ เวลาดังกล่าวมีผู้ชุมนุมรวมตัวอยู่ที่ร้านแมคโดนัลด์ประมาณ 50 คน ต่อมาเวลา 15.30 น. กลุ่มผู้ชุมนุมออกมาที่ทางเท้าแมคโดนัลด์แสดงท่าทีไม่พอใจที่ตำรวจใช้แผงเหล็กกั้นอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย จากนั้นชลธิชาจึงชวนกลุ่มผู้ชุมนุมข้ามไปที่ร้านสเต็กติดมัน
ต่อมากลุ่มผู้ชุมนุมปราศรัยที่บริเวณดังกล่าว ผลัดกันปราศรัยเจ็ดคนคือ ชลธิชา, ณัฏฐา, กาณฑ์, สุกฤษฎ์, รังสิมันต์, สิรวิชญ์ และอีกคนหนึ่ง พ.ต.ท.สุทธิโรจน์นึกอยู่สักพักหนึ่ง ทนายจำเลยจึงให้อัยการถามชื่อนำเลย อัยการจึงถามว่า อานนท์ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สุทธิโรจน์รับว่า ใช่ และเบิกความต่อว่า กาณฑ์ ทำหน้าที่เป็นโฆษกปราศรัยขับไล่คสช. เรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้ง เวลา 19.30 น. อานนท์ปราศรัยทำนองว่า การชุมนุมจุดติดแล้วและจะมีการชุมนุมต่อไป ขณะที่ณัฏฐาชวนร้องเพลง จากนั้นตำรวจสน.สำราญราษฎร์นำหมายจับของอานนท์, สิรวิชญ์และรังสิมันต์ที่ตำรวจสน.ปทุมวันขอศาลออกหมายจับในคดีการชุมนุมที่สกายวอล์ค ปทุมวัน หลังการชุมนุมจบมีการแจ้งข้อกล่าวหามาตรา 116 ตามประมวลกฎหมายอาญาและคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ต่อแกนนำการชุมนุม พ.ต.ท.สุทธิโรจน์กล่าวต่อว่า ไม่เคยรู้จักและมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยในคดีนี้มาก่อน
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ทราบหรือไม่ว่า ถนนราชดำเนินเคยมีการจัดรำลึกถึงผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 พ.ต.ท.สุทธิโรจน์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามต่อว่า ในยุคหนึ่งประชาชนจำนวนมากออกมาเดินให้รัฐบาลประกาศรัฐธรรมนูญ พ.ต.ท.สุทธิโรจน์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งแย้งว่า จะไม่ทราบได้อย่างไร อายุของพยานก็ร่วมสมัยกับเหตุการณ์ดังกล่าว พ.ต.ท.สุทธิโรจน์แก้ไขเป็นว่า ทันเหตุการณ์อยู่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า การแสดงออกที่กล่าวมาถือเป็นสิทธิของประชาชนใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สุทธิโรจน์ตอบว่า ไม่ทราบ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า การชุมนุมดังกล่าวคือ การเรียกร้องไม่ให้เลื่อนการเลือกตั้งออกไป ซึ่งการเลือกตั้งเป็นเรื่องของที่มีอยู่ในบทบัญญัติรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สุทธิโรจน์ตอบว่า ใช่ และรับว่า การได้อำนาจมาโดยการยึดอำนาจไม่ใช่วิถีทางตามรัฐธรรมนูญ
นัดสืบพยานโจทก์
เวลา 9.00 น. ที่ห้องพิจารณา 811 โจทก์และจำเลยสองคนคือ ณัฏฐาและชลธิชา มาพร้อมกันที่ศาล ต่อมาเวลา 9.30 น. ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์และสืบพยานโจทก์ต่อจากวันที่ 6 สิงหาคม 2562 โดยจะสืบพยานทั้งหมดหนึ่งปาก
หลังจากที่พ.อ.บุรินทร์ ร้องทุกข์ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานสืบสวนของกองบัญชาการตำรวจนครบาล ประชุมและมีความเห็นให้สั่งฟ้องแกนนำในข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 และขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และชุมนุมรัศมีไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานกับกลุ่มแกนนำและมีการแจ้งข้อหาขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 และชุมนุมรัศมีไม่เกิน 150 เมตรจากเขตพระราชฐานต่อผู้เข้าร่วมชุมนุม พ.ต.ท.สมัคร เบิกความเสริมว่า ในการชุมนุมที่สกายวอล์คมีการชักชวนให้ไปชุมนุมต่ออนุสาวรีย์ประชาธิปไตย
พ.ต.ท.สมัครไม่รู้จักกับจำเลยทั้งหกในคดีนี้และไม่มีสาเหตุโกรธเคืองมาก่อน
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า พ.ต.ท.สมัครได้ไปที่การชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลืออกตั้งที่ราชดำเนินที่เป็นเหตุในคดีนี้หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่า ไม่ได้ไป ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ดังนั้นผู้เข้าร่วมการชุมนุมจะมีจำนวนเท่าใด พ.ต.ท.สมัครก็ไม่ทราบใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ในตอนที่ไปให้ปากคำกับพ.ต.ท. ไพรัช ได้ถามเขาหรือไม่ว่า เขาอยู่ในเหตุการณ์หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่า ไม่ได้ถาม ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า รายชื่อผู้ร่วมชุมนุมจะเท็จจริง พ.ต.ท.สมัครทราบหรือไม่ พ.ต.ท.สมัคร ไม่ทราบและตอบคำถามไปตามที่พ.ต.ท.ไพรัชถามเท่านั้น
ทนายจำเลยที่สองถามว่า การชุมนุมที่สกายวอล์ค ปทุมวัน ไม่มีเหตุร้ายรุนแรงและชุมนุมโดยสงบใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครรับว่า ไม่มีเหตุร้ายรุนแรงแต่จะเป็นการชุมนุมโดยสงบหรือไม่ ไม่ทราบ
ทนายจำเลยที่หกให้พ.ต.ท.สมัครดูเอกสารที่ระบุว่า การฟ้องคดีมุ่งหวังเพื่อกดดันและสร้างความยุ่งยากให้ฝ่ายแกนนำ และถามว่า พ.ต.ท.สมัครเคยเห็นเอกสารนี้หรือไม่ พ.ต.ท.สมัครตอบว่า ไม่ทราบและเอกสารนี้ไม่ใช่ของคณะทำงานฯสน.ปทุมวัน
เวลา 11.00 น. เสร็จสิ้นการสืบพยานในวันนี้
นัดสืบพยานโจทก์
ทนายจำเลยที่สองถามว่า พ.ต.ท.หญิง สมรจบการศึกษาจากที่ใด พ.ต.ท.หญิง สมรตอบว่า จบการศึกษาในระดับชั้นปริญญาโท วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เคยผ่านการอบรม Digital Forensic การตรวจพิสูจน์หลักฐานดิจิทัล การอบรมเป็นการอบรมที่ทำงานในลักษณะการถ่ายทอดประสบการณ์จากผู้ที่ทำงานมาก่อน รวมทั้งยังเคยอบรมกับสถาบันระหว่างประเทศ ทนายจำเลยที่สองถามว่า ตอนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำของกลางมาให้ได้ระบุหรือไม่ว่า ของกลางหรือดีวีดีสี่แผ่นนี้เป็นวัตถุพยานในคดี พ.ต.ท.หญิง สมรตอบว่า ไม่ได้บอกว่า เป็นของกลางในคดีหรือวัตถุพยาน ทนายจำเลยที่สองถามว่า พ.ต.ท.หญิง สมรใช้วิธีการตรวจสอบอย่างไร พ.ต.ท.หญิง สมรตอบว่า ใช้วิธีการตรวจสอบทางดิจิทัลเฉพาะเรื่องการตัดต่อข้อมูลเท่านั้น ไม่ได้ตรวจเนื้อหาหรือกระบวนการบันทึกว่าได้มาอย่างไร พ.ต.ท.หญิง สมรกล่าวย้อนว่า มีการตรวจสอบเนื้อหาบ้างว่า เนื้อหามีการต่อเนื่องกันในไฟล์ดีวีดีแต่ละแผ่น
ทนายจำเลยที่สองถามว่า ดังนั้นจึงบอกไม่ได้ว่า ไฟล์วีดีโอดังกล่าวมาจากอุปกรณ์ชนิดใดและของใคร พ.ต.ท.หญิง สมรรับว่า กรณีนี้บอกไม่ได้ แต่บางกรณีจะมีการนำโทรศัพท์หรืออุปกรณ์ที่บันทึกมาพร้อมกัน ซึ่งตรงนี้ขอไม่ยืนยันเนื้อหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจมีการนำข้อมูลลงดีวีดีไปแล้ว ทนายจำเลยที่สองถามว่า พ.ต.ท.หญิง สมรทราบใช่หรือไม่ว่า พยานหลักฐานดิจิทัลตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กระบวนการรวบรวมต้องมีการทำต้นฉบับ พร้อมนำสำเนามาให้เทียบทุกครั้ง พ.ต.ท.หญิง สมรตอบว่า ตามปกติแล้วจะรับหลักฐานพร้อมอุปกรณ์และจะให้ทำสำเนาซ้ำอีกครั้งหนึ่งและรับว่า คดีนี้ไม่ได้มีการส่งต้นฉบับมาพร้อมอุปกรณ์
ทนายจำเลยที่สี่ถามว่า ดีวีดีสามารถเขียนข้อมูลทับซ้ำลงไปได้ พ.ต.ท.หญิง สมรตอบว่า ดีวีดีมีสองรูปแบบคือ แบบแรกเชียนซ้ำได้ จะสามารถบันทึกข้อมูลทับซ้ำได้ แบบที่สองคือ แบบอ่านอย่างเดียวจะไม่สามารถบันทึกข้อมูลซ้ำได้
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามส.ต.ท.ทรงฤทธิ์ว่า ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์ตอบว่า ไป ทนายจำเลยที่หนึ่งถามว่า ที่ไปเลือกตั้งเพราะเป็นหน้าที่ที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์มีทีท่าไม่ตอบ ศาลจึงปรึกษาว่า คำถามแบบนี้พยานโจทก์ตอบไปหลายปากแล้วและอยากให้ไปถามในส่วนของพยานจำเลยจะดีกว่า ทนายจำเลยที่หนึ่งรับคำและแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยที่หกถามว่า รังสิมันต์ได้ปราศรัยในทำนองที่ว่า ศัตรูของชาติมีแค่หนึ่งเดียวคือคสช. ซึ่งผู้ชุมนุมก็ตะโกนตามที่รังสิมันต์พูด ข้อเรียกร้องคือ ให้มีการเลือกตั้งภายในปีนี้ใช่หรือไม่ ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์ตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หกถามว่า คำปราศรัยของอานนท์ก็มีข้อเรียกร้องเดียวกันคือ ให้เลือกตั้งภายในปีนี้และสิรวิชญ์ก็กล่าวในลักษณะเดียวกัน ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์รับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่หกถามว่า จากที่เบิกความไปก่อนหน้านี้ว่า ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์ไปที่ชุมนุมตั้งแต่ตอนบ่าย ซึ่งชลธิชาก็มีการปราศรัยในลักษณะเดียวกันว่า ต้องการให้มีการเลือกตั้งภายในปี 2561 ด้วยเช่นกัน ส.ต.ท.ทรงฤทธิ์รับว่า ใช่ เสร็จสิ้นการสืบพยานในปากนี้ ศาลนัดสืบพยานต่อในเวลา 13.00 น.
ทนายจำเลยที่สองถามว่า ใครเป็นคนระบุว่า การกระทำของจำเลยทั้งหกคนเข้าข่ายการกระทำความผิดตามมาตรา 116 หรือพ.อ.บุรินทร์เป็นผู้ระบุแต่แรก พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า เป็นความคิดเห็นของคณะทำงานฯ ทนายจำเลยที่สองถามว่า ตลอดห้าปีที่ผ่านมาอยู่ภายใต้การบังคับของคสช.มาตลอด กลัวไหม พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า ไม่กลัว ทนายจำเลยที่สองถามว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้รับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายจำเลยเพิ่มเติม พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า จำเลยไม่ยอมให้การในชั้นสอบสวน ทนายจำเลยที่สองกล่าวว่า การสอบสวนตั้งแต่ต้นจนจบ มีพยานคนไหนบ้างที่ระบุพฤติการณ์ว่า จำเลยทั้งหมดกล่าวถ้อยคำรุนแรง ยุยงปลุกปั่นหรือเป็นการพิจารณาโดยรวม พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า ไม่มีพยานคนใดระบุชี้ชัด
ทนายจำเลยที่สามถามว่า แต่ไม่มีการกระทำรุนแรงผิดปกติ ไม่มีบุคคลใดล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินจากการปราศรัยของจำเลยทั้งหก พ.ต.ท.ไพรัชรับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่สามถามว่า การชุมนุมนของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งที่หน้ากองทัพบกหรือหน้าสหประชาชาติก็ดี เหตุการณ์ดังกล่าวมีผู้ชุมนุมไม่เกิน 1,000 คน พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า ใช่ ทนายจำเลยที่สามถามว่า มูลเหตุจูงใจในการชุมนุมของจำเลยเกิดจากคสช. เนื่องจากมีการเลื่อนเลือกตั้งหลายครั้งและมาจากการยึดอำนาจของคสช. พ.ต.ท.ไพรัชรับว่า ใช่
ทนายจำเลยที่สี่ถามว่า ในคำสั่งแต่งตั้งพนักงานสอบสวนระบุว่า เพื่อให้การสอบสวนดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว ละเอียดรอบคอบ ณัฏฐา ได้ขอให้มีการสอบปากคำพล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ไม่ได้สอบและไม่ได้มีการทำหนังสือแจ้งต่อณัฏฐาว่า ถ้าไม่นำพยานมาเองจะตัดพยาน เพราะถูกเร่งรัดให้ทำสำนวน พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า ระยะการสอบสวนกระชั้นชิด ทนายจำเลยที่สี่ถามว่า ณัฏฐาได้ทำหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการให้สอบ แต่ตนไม่ได้รับคำสั่งให้สอบพยานเพิ่มเติม
ทนายจำเลยที่ห้าถามว่า บริเวณที่ชุมนุมอยู่ในพื้นที่กทม. ซึ่งวันเกิดเหตุในคดีนี้พื้นที่กทม.ไม่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก พ.ร.ก.ฉุกเฉินหรือพ.ร.บ.ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ไพรัชรับว่า ใช่ ทนายจำเลยที่ห้าให้พ.ต.ท.ไพรัชดูเอกสารายชื่อผู้ที่เข้าร่วมการชุมนุมซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยกลางคน สามารถใช้สิทธิในการเลือกตั้งได้แล้ว พ.ต.ท.ไพรัชรับว่า ใช่ ในความคิดเห็นส่วนตัวสามารถคิดวิเคราะห์และเลือกเชื่อเองได้แล้ว
ทนายจำเลยที่หกถามว่า ตอนแรกพ.อ.บุรินทร์ไม่ได้มีการแจ้งความชลธิชา จำเลยที่หก พ.ต.ท.ไพรัชรับว่า ใช่ แต่ต่อมาเห็นว่าเป็นผู้แจ้งการชุมนุมจึงแจ้งความเพิ่มเติม ทนายจำเลยที่หกถามว่า หลังจากที่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งแล้วก็ไม่มีการชุมนุมอีกใช่หรือไม่ พ.ต.ท.ไพรัชตอบว่า ใช่
อัยการหมดคำถาม ทนายจำเลยที่สองขออนุญาตศาลถาม ศาลสอบถามว่า คำถามที่จะถามพยานเป็นคำถามอะไร ทนายจำเลยที่สองกล่าวว่า เกี่ยวกับความเห็นการสั่งฟ้องคดีนี้ อัยการแย้งว่า ไม่ใช่คำถามใหม่ ถ้าหากจะขออนุญาตศาลถามจะต้องเป็นคำถามใหม่ ศาลกล่าวว่า ศาลเห็นด้วยกับอัยการ แต่จะให้ถามและจะบันทึกคำคัดค้านของอัยการด้วย
นัดสืบพยานจำเลย
เกี่ยวกับเรื่องการเมืองการปกครอง ก่อนวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ 2550 มีรัฐบาลที่ทำหน้าที่บริหหารประเทศมาจากการเลือกตั้ง ต่อมาศาลรัฐธรรมนูฐได้วินิจฉัยให้ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นพ้นจากตำแหน่ง จึงทำหน้าที่รักษาการในรัฐบาลรักษาการแทน จนกระทั่งวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช. ได้ทำการยึดอำนาจ คณะดังกล่าวนำโดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช. ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ก่อนหน้าที่จะประกาศรัฐประหารพล.อ.ประยุทธ์ได้ทำการเชิญผู้นำทางการเมืองหลายฝ่าย ส.ส.และส.ว. รวมทั้งกกต.ไปประชุมที่หอประชุมกองทัพบก เมื่อตกลงกันไมได้จึงประกาศยึดอำนาจและควบคุมตัวผู้เข้าประชุมตามระยะเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง
ทนายจำเลยที่หนึ่งถาม
ทนายจำเลยที่สามถามติง
เสร็จสิ้นการสืบพยานในเวลาประมาณ 13.30 น. ศาลนัดสืบพยานอีกครั้งในเวลา 14.30 น.
ทนายจำเลยที่สองถาม
-
นัดสืบพยานจำเลย
พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร พยานจำเลยปากที่สี่
-
ชลธิชา จำเลยที่หก พยานจำเลยปากที่ห้า
-
15 สิงหาคม 2562
นัดสืบพยานจำเลย
สิรวิชญ์ พยานจำเลยปากที่หก
-
ทนายจำเลยที่สามถามอานนท์ว่า มีประเด็นใดที่อานนท์ต้องการเบิกความเพิ่มเติมจากคำเบิกความที่นำส่งต่อศาลไปก่อนแล้วหรือไม่ อย่างไร อานนท์ตอบว่า ร้องขอต่อศาลไม่ให้รับฟังพยานหลักฐานชิ้นนี้ ให้เหตุผลว่า เป็นเอกสารนอกสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ไม่ใช่ความคิดเห็นของพนักงานสอบสวน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความนี้เป็นบทความของหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ที่สนับสนุนเผด็จการ เป็นปฏิปักษ์ชัดแจ้งต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามรัฐธรรมนูญ ทนายจำเลยที่สามถามว่า ที่ผ่านมาอานนท์ทำกิจกรรมเคลื่อนไหวมีสาเหตุมาจากอะไร อานนท์ตอบว่า เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ อยากให้ประเทศไทยเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย ที่ผ่านมาถูกดำเนินคดีหลายคดีคือ คดีที่ศาลยุติธรรมหกคดี ศาลทหารสองคดี โดยทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น รวมโทษจำคุกทั้งหมดหลายสิบปี
ทนายจำเลยที่หนึ่งถาม
ทนายจำเลยที่หนึ่งถามถึงความคืบหน้าของคดี อานนต์ตอบว่า คดีที่ศาลทหารยกฟ้องทั้งสองคดี เพราะเป็นคดีตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ที่ยกเลิกไปแล้ว ไม่มีกฎหมายใดที่จะนำมาลงโทษได้ นอกนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณา
อัยการถามค้าน อัยการถามว่า ในฐานะที่อานนท์เป็นนักกฎหมาย มีกฎหมายใดห้ามอัยการนำส่งเอกสารนอกสำนวนการพิจารณาของพนักงานสอบสวน อานนท์ตอบว่า ไม่มีกฎหมายใดให้อำนาจ แต่หลักฐานนอกสำนวนที่นำมาเสนอต่อศาล ทำให้ตัวอัยการเองเป็นเจ้าหน้าที่รัฐหลายเป็นผู้ให้ความเห็นในคดีเสียเอง อัยการถามว่า การทำงานของอัยการจะมีการขัดข้องใด อานนท์ทราบหรือไม่ อานนท์รับว่า ไม่ทราบ ศาลถามอัยการว่า คดีนี้อัยการคณะนี้มารับคดีต่อจากอัยการคณะอื่นใช่หรือไม่ อัยการรับว่า ใช่
ทนายจำเลยถามติง
ทนายจำเลยที่สองถามติง
ทนายจำเลยที่สองถามว่า ตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญา อำนาจการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นของใคร อานนท์ตอบว่า ตามกฎหมายดังกล่าว อำนาจในการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นของพนักงานสอบสวน ถ้าเห็นว่า บกพร่อมสามารถสั่งให้พนักงานสอบสวนไปสอบเพิ่มได้
20 กันยายน 2562
นัดฟังคำพิพากษา
เวลา 9.00 น. ศาลอาญานัดฟังคำพิพากษาคดียุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ของหกผู้จัดการชุมนุมคนอยากเลือกตั้งที่ถนนราชดำเนิน บรรยากาศในนัดฟังคำพิพากษา ตั้งแต่เวลา 8.50 น. ที่ห้องพิจารณา 701 จำเลยทั้งหกคน และทนายจำเลยเริ่มทยอยกันมาพร้อมกัน รวมทั้งยังมีบรรดานักกิจกรรมทางการเมืองที่เคยเข้าร่วมชุมนุมทำกิจกรรมร่วมกันมาให้กำลังใจกว่า 30 คน นอกจากนี้ยังมีผู้แทนจากสถานทูตอเมริกา, ออสเตรีย, สวีเดน, แคนาดา,เยอรมนีและฝรั่งเศส และผู้แทนสหภาพยุโรป เข้าร่วมสังเกตการณ์ฟังคำพิพากษาอีกด้วย ด้านสำนักงานศาลยุติธรรมได้ส่งเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมาสังเกตการณ์โดยรอบห้องพิจารณาคดีประมาณห้าคน เวลา 9.50 น. ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์ เรียกชื่อจำเลยแต่ละคนจนครบและเริ่มอ่านคำพิพากษา พอสรุปความได้ดังนี้
โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
ข้อหาความผิดในคดีนี้เป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 ดังนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว อัยการย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และมาตรา 120 ไม่ต้องคำนึงว่า ผู้ร้องทุกข์คือใคร การรับมอบอำนาจของพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญจากคสช.เป็นไปการรับมอบอำนาจที่ชอบหรือไม่ก็ตาม
จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ก่อนการชุมนุมชลธิชา จำเลยที่หก มีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อสน.สำราญราษฎร์ แจ้งว่า ประสงค์จะจัดกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00-20.00 น. เพื่อเรียกร้องให้คสช.จัดการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทีได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อมาผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์ได้ทำหนังสือตอบกลับการชุมนุม แจ้งหน้าที่ในการดูแลการชุมนุมสาธารณะให้แก่ชลธิชา จำเลยที่หก
ปรากฏหลักฐานบันทึกการถอดเทปที่โจทก์ได้อ้างส่งเป็นหลักฐานในคดีนี้ว่า ชลธิชา จำเลยที่หกได้กล่าวกับผู้ชุมนุมในตอนต้นทำนองว่า การแสดงออกจะไม่มีการขัดขวาง ละเมิดสิทธิใคร ใช้สันติวิธี ไม่มีการปิดกั้นทางจราจร ไม่มีแอลกอฮอล์ จากนั้นพูดถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง ส่วนกาณฑ์ จำเลยที่สองกล่าวทำนองว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมสงบสันติ สร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายผู้ใด ต้องการการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ไม่ต้องการรอไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพราะผู้ชุมนุมไม่เชื่อถือคำพูดของคสช.อีกแล้ว
ส่วนอานนท์ จำเลยที่สาม ณัฏฐา จำเลยที่สี่ สุกฤษฎ์ จำเลยที่ห้า และรังสิมันต์ ได้กล่าวปราศรัยไม่มีลักษณะปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง ณัฏฐา กล่าวทำนองว่า ความขัดแย้งจะมีภาคจบที่ดี หยุดความเคยชินภาคจบแบบเดิมที่เมื่อมีความขัดแย้ง จะเกิดความสูญเสีย อานนท์กล่าวทำนองว่า วันนี้จุดติดแล้ว และแจ้งว่า การชุมนุมขอถึงเวลา 20.00 น. เรามีวินัย ไม่ให้ใครมาชี้หน้าเราได้ ซึ่งเมื่อหลังเสร็จสิ้นการชุมนุมในเวลา 19.30 น. สิรวิชญ์ อานนท์และรังสิมันต์ เข้ามอบตัวกับตำรวจ
เจตนาที่จำเลยพูดกับผู้ชุมนุมคือ ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ใช้ความสงบ ไม่ใช้ความรุนแรง ในการสืบพยานทหารที่ทำหน้าที่สืบสวนในที่ชุมนุม ผู้เป็นพยานโจทก์ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า ผู้ชุมนุมเดินทางมาเอง ไม่มีการขนคนมาชุมนุม แสดงว่า การชุมนุมเป็นไปโดยเปิดเผยไม่ใช่เป็นม็อบจัดตั้งเกณฑ์คนมาร่วมเพื่อหวังผลทางการเมือง ทหารและตำรวจทุกปากที่มาเบิกความก็ให้การตรงกันว่า การชุมนุมสงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง ไม่มีอาวุธ ไม่มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ และเลิกการชุมนุมด้วยความเรียบร้อย ฉะนั้นจึงเป็นการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีการใช้กำลังก่อความวุ่นวายเพื่อบังคับให้รัฐบาลกระทำตามข้อเรียกร้อง ศาลยังเห็นว่า จำเลยเป็นนิสิตนักศึกษา มีอุดมการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย
ในวันเกิดเหตุรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้แล้ว แต่คสช.ยังทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ จำเลยนำสืบว่า พล.อ.ประยุทธ์ประกาศให้มีการเลือกตั้ง พวกจำเลยเห็นว่า การเลือกตั้งสามารถจัดให้มีในปี 2561 ได้ หากพ.ร.ป.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาอย่างที่เคยมีมา แต่ครั้งนี้เป็นการบังคับใช้หลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา 90 วัน ทำให้ล่าช้าและเป็นการยืดเวลาให้คสช.ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหารมีอำนาจอยู่ต่อไป เมื่อพิจารณาคำพูด สัญลักษณ์และโปสเตอร์ ข้อความปราศัยที่พาดพิงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคสช. มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในปี 2561 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ ผู้กล่าวหา ตอบคำถามถามค้านว่า การปราศรัยไม่ได้มีถ้อยคำรุนแรง การเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องของจำเลยเป็นการกระทำตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ 2560
ส่วนเรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น ตำรวจ ผู้เป็นพยานโจทก์ที่ทำการเบิกความในคดีนี้ได้ตอบคำถามถามค้านว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมมีบุคคลบางส่วนเชื่อหรือบางส่วนไม่เชื่อ ด้านอานนท์ จำเลยที่สาม นำเรื่องนาฬิกามาพูดก็เพื่อยืนยันประกอบข้อเรียกร้องการจัดการเลือกตั้ง ถือเป็นการติชม เสนอข้อเรียกร้อง ส่วนที่กล่าวว่า จุดติดแล้ว พิจารณาประกอบข้อเท็จจริง จำเลยใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แสดงเจตนาในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เห็นว่า จำเลยทำไปเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งและเมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งก็ไม่ได้ออกมาชุมนุมอีก
พิเคราะห์แล้วว่า เท่าที่จำเลยทั้หกทำไปในคดีนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดความยุยงปลุกปั่นให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร แม้บางถ้อยคำไม่เหมาะสม ก้ำเกินไปบ้าง แต่เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ การกระทำของจำเลยเป็นการติชมตามหลักประชาธิปไตย ไม่ผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยกฟ้องจำเลยทั้งหก
คำพิพากษาพอสรุปความได้ดังนี้
ศาลพิเคราะห์ข้อเท็จจริงว่า ก่อนวันเกิดเหตุในคดีนี้มีการประกาศการชุมนุมผ่านทางเฟซบุ๊กเพจฟื้นฟูประชาธิปไตย, เฟซบุ๊กของรังสิมันต์ โรม เฟซบุ๊กเพจพลเมืองโต้กลับของสิรวิชญ์ จำเลยที่หนึ่งและเฟซบุ๊กของอานน์ จำเลยที่สาม สื่อมวลชนเรียกการชุมนุมครั้งนี้ว่า เป็นการชุมนุมของกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ในวันเกิดเหตุเวลา 14.00 น. ประชาชนได้ทยอยเดินทางมาที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย บริเวณดังกล่าวมีแผงเหล็กตั้งและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาการอยู่โดยรอบ ชลธิชา จำเลยที่หกได้ดูแลและพูดกับผู้ชุมนุม กาณฑ์ จำเลยที่สองทำหน้าที่เป็นพิธีกรและเชิญสิรวิชญ์ จำเลยที่หนึ่ง อานนท์ จำเลยที่สาม ณัฏฐา จำเลยที่สี่ และสุกฤษฎ์ จำเลยที่ห้า รวมทั้งรังสิมันต์ ขึ้นผลัดเปลี่ยนกันพูด เรียกร้องให้มีการเลือกตั้ง กล่าวถึงการทุจริต และมีการชูสามนิ้ว มีความหมายถึง การเลือกตั้งภายในปี 2561, เผด็จการจงพินาศและประชาธิปไตยจงเจริญ การชุมนุมเสร็จสิ้นในเวลา 19.30 น.คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยคือ
โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่
ข้อหาความผิดในคดีนี้เป็นอาญาแผ่นดิน พนักงานสอบสวนมีอำนาจดำเนินคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 ดังนั้นเมื่อพนักงานสอบสวนได้ทำการสอบสวนแล้ว อัยการย่อมมีอำนาจพิจารณาคดีตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 28(1) และมาตรา 120 ไม่ต้องคำนึงว่า ผู้ร้องทุกข์คือใคร การรับมอบอำนาจของพ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญจากคสช.เป็นไปการรับมอบอำนาจที่ชอบหรือไม่ก็ตาม
จำเลยกระทำความผิดหรือไม่
ก่อนการชุมนุมชลธิชา จำเลยที่หก มีหนังสือแจ้งการชุมนุมต่อสน.สำราญราษฎร์ แจ้งว่า ประสงค์จะจัดกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 16.00-20.00 น. เพื่อเรียกร้องให้คสช.จัดการเลือกตั้งภายในเดือนพฤศจิกายน 2561 เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพทีได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2560 ต่อมาผู้กำกับการสน.สำราญราษฎร์ได้ทำหนังสือตอบกลับการชุมนุม แจ้งหน้าที่ในการดูแลการชุมนุมสาธารณะให้แก่ชลธิชา จำเลยที่หก
ปรากฏหลักฐานบันทึกการถอดเทปที่โจทก์ได้อ้างส่งเป็นหลักฐานในคดีนี้ว่า ชลธิชา จำเลยที่หกได้กล่าวกับผู้ชุมนุมในตอนต้นทำนองว่า การแสดงออกจะไม่มีการขัดขวาง ละเมิดสิทธิใคร ใช้สันติวิธี ไม่มีการปิดกั้นทางจราจร ไม่มีแอลกอฮอล์ จากนั้นพูดถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง ส่วนกาณฑ์ จำเลยที่สองกล่าวทำนองว่า การชุมนุมครั้งนี้เป็นการชุมนุมสงบสันติ สร้างสรรค์ ไม่ให้ร้ายผู้ใด ต้องการการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2561 ไม่ต้องการรอไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562 เพราะผู้ชุมนุมไม่เชื่อถือคำพูดของคสช.อีกแล้ว
ส่วนอานนท์ จำเลยที่สาม ณัฏฐา จำเลยที่สี่ สุกฤษฎ์ จำเลยที่ห้า และรังสิมันต์ ได้กล่าวปราศรัยไม่มีลักษณะปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง ณัฏฐา กล่าวทำนองว่า ความขัดแย้งจะมีภาคจบที่ดี หยุดความเคยชินภาคจบแบบเดิมที่เมื่อมีความขัดแย้ง จะเกิดความสูญเสีย อานนท์กล่าวทำนองว่า วันนี้จุดติดแล้ว และแจ้งว่า การชุมนุมขอถึงเวลา 20.00 น. เรามีวินัย ไม่ให้ใครมาชี้หน้าเราได้ ซึ่งเมื่อหลังเสร็จสิ้นการชุมนุมในเวลา 19.30 น. สิรวิชญ์ อานนท์และรังสิมันต์ เข้ามอบตัวกับตำรวจ
เจตนาที่จำเลยพูดกับผู้ชุมนุมคือ ต้องการให้มีการเลือกตั้ง ใช้ความสงบ ไม่ใช้ความรุนแรง ในการสืบพยานทหารที่ทำหน้าที่สืบสวนในที่ชุมนุม ผู้เป็นพยานโจทก์ก็เบิกความตอบคำถามค้านของทนายจำเลยว่า ผู้ชุมนุมเดินทางมาเอง ไม่มีการขนคนมาชุมนุม แสดงว่า การชุมนุมเป็นไปโดยเปิดเผยไม่ใช่เป็นม็อบจัดตั้งเกณฑ์คนมาร่วมเพื่อหวังผลทางการเมือง ทหารและตำรวจทุกปากที่มาเบิกความก็ให้การตรงกันว่า การชุมนุมสงบเรียบร้อย ไม่มีความรุนแรง ไม่มีอาวุธ ไม่มีการทำร้ายเจ้าหน้าที่ และเลิกการชุมนุมด้วยความเรียบร้อย ฉะนั้นจึงเป็นการชุมนุมเป็นไปโดยสงบ ปราศจากอาวุธ ไม่มีการใช้กำลังก่อความวุ่นวายเพื่อบังคับให้รัฐบาลกระทำตามข้อเรียกร้อง ศาลยังเห็นว่า จำเลยเป็นนิสิตนักศึกษา มีอุดมการณ์เรียกร้องประชาธิปไตย
ในวันเกิดเหตุรัฐธรรมนูญ 2560 บังคับใช้แล้ว แต่คสช.ยังทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ จำเลยนำสืบว่า พล.อ.ประยุทธ์ประกาศให้มีการเลือกตั้ง พวกจำเลยเห็นว่า การเลือกตั้งสามารถจัดให้มีในปี 2561 ได้ หากพ.ร.ป.เลือกตั้งมีผลบังคับใช้ในวันที่ประกาศราชกิจจานุเบกษาอย่างที่เคยมีมา แต่ครั้งนี้เป็นการบังคับใช้หลังจากประกาศราชกิจจานุเบกษา 90 วัน ทำให้ล่าช้าและเป็นการยืดเวลาให้คสช.ที่ได้อำนาจมาจากการรัฐประหารมีอำนาจอยู่ต่อไป เมื่อพิจารณาคำพูด สัญลักษณ์และโปสเตอร์ ข้อความปราศัยที่พาดพิงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.และนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และคสช. มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้งในปี 2561 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ ผู้กล่าวหา ตอบคำถามถามค้านว่า การปราศรัยไม่ได้มีถ้อยคำรุนแรง การเลือกตั้งเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ การเรียกร้องของจำเลยเป็นการกระทำตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ 2560
ส่วนเรื่องนาฬิกาของพล.อ.ประวิตร ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีทรัพย์สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นั้น ตำรวจ ผู้เป็นพยานโจทก์ที่ทำการเบิกความในคดีนี้ได้ตอบคำถามถามค้านว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องที่รู้กันอยู่ทั่วไป ย่อมมีบุคคลบางส่วนเชื่อหรือบางส่วนไม่เชื่อ ด้านอานนท์ จำเลยที่สาม นำเรื่องนาฬิกามาพูดก็เพื่อยืนยันประกอบข้อเรียกร้องการจัดการเลือกตั้ง ถือเป็นการติชม เสนอข้อเรียกร้อง ส่วนที่กล่าวว่า จุดติดแล้ว พิจารณาประกอบข้อเท็จจริง จำเลยใช้เสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ แสดงเจตนาในการปฏิบัติตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เห็นว่า จำเลยทำไปเพื่อเรียกร้องการเลือกตั้งและเมื่อมีการประกาศพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งก็ไม่ได้ออกมาชุมนุมอีก
พิเคราะห์แล้วว่า เท่าที่จำเลยทั้หกทำไปในคดีนี้ไม่ได้เป็นไปเพื่อให้เกิดความยุยงปลุกปั่นให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร แม้บางถ้อยคำไม่เหมาะสม ก้ำเกินไปบ้าง แต่เมื่อพิจารณาสภาพการณ์ การกระทำของจำเลยเป็นการติชมตามหลักประชาธิปไตย ไม่ผิดฐานยุยงปลุกปั่นตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ยกฟ้องจำเลยทั้งหก