- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
มัทนา
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นอัยการ
สถานะผู้ต้องหา
สั่งไม่ฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
ประกาศ/คำสั่งคณะปฏิวัติ, พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
โชคชัย | สั่งไม่ฟ้อง |
พัฒน์นรี | สั่งไม่ฟ้อง |
เอกศักดิ์ | สั่งไม่ฟ้อง |
รักษิณี | สั่งไม่ฟ้อง |
จุฑามาศ | สั่งไม่ฟ้อง |
พรนิภา | สั่งไม่ฟ้อง |
กิตติธัช | สั่งไม่ฟ้อง |
สุดสงวน | สั่งไม่ฟ้อง |
กันต์ | สั่งไม่ฟ้อง |
นพพร | รอลงอาญา |
สุวัฒน์ | สั่งไม่ฟ้อง |
กมลวรรณ | สั่งไม่ฟ้อง |
นัตยา | สั่งไม่ฟ้อง |
อนุรักษ์ | สั่งไม่ฟ้อง |
ประนอม | สั่งไม่ฟ้อง |
สงวน | อื่นๆ () |
สุรศักดิ์ | สั่งไม่ฟ้อง |
พรวลัย | สั่งไม่ฟ้อง |
สุวรรณา | สั่งไม่ฟ้อง |
นภัสสร | สั่งไม่ฟ้อง |
อรัญญิกา | สั่งไม่ฟ้อง |
พรชัย | สั่งไม่ฟ้อง |
วรัญชัย | สั่งไม่ฟ้อง |
นพเก้า | รอลงอาญา |
คุณภัทร | สั่งไม่ฟ้อง |
สามารถ | สั่งไม่ฟ้อง |
อ้อมทิพย์ | สั่งไม่ฟ้อง |
วราวุธ | สั่งไม่ฟ้อง |
เดชรัตน์ | สั่งไม่ฟ้อง |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
กลุ่มประชาชนรวมตัวกันชุมนุมที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลปกรุงเทพฯในวันที่ 27 มกราคม 2561 เพื่อประท้วงกรณีที่สนช.กำหนดให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้งฯมีผลบังคับใช้ 90 วันหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาซึ่งอาจจะมีผลให้การเลือกตั้งล่าช้าไปถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2562
ระหว่างการชุมนุมเจ้าหน้าที่ไม่ได้ใช้กำลังยุติการชุมนุมแต่ในเวลาต่อมามีการตั้งข้อกล่าวหากับบุคคล 30 คนที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นผู้ร่วมการชุมนุมรวมสองข้อกล่าวหาได้แก่ ข้อหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 และข้อหาชุมนุมในสถานที่หวงห้ามตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้ต้องหา 29 คน เข้าพบพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ผู้ต้องหาทั้งหมดยกเว้นนพพรให้การปฏิเสธ หลังเสร็จขั้นตอนที่สน.ปทุมวันพนักงานสอบสวนนัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้งหมดไปพบที่ศาลแขวงปทุมวันในช่วงบ่ายเผื่อขอผัดฟ้อง หลังเสร็จกระบวนการที่ีศาลผู้ต้องหาทั้ง 28 คนที่ให้การปฏิเสธได้รับการปล่อยตัวกลับโดยไม่ต้องวางเงินประกัน ส่วนนพพรที่ให้การรับสารภาพ ศาลถามคำให้การอีกครั้งเมื่อนพพรยืนยันให้การรับสารภาพศาลนัดนพพรฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่ศาลนัดนพเก้า จำเลยในคดีอีกคนหนึ่งที่เข้าพบพนักงานสอบสวนก่อนหน้าผู้ต้องหาคนอื่นๆและให้การรับสารภาพ
ในวันที่ 8 มีนาคม 2561 ศาลแขวงปทุมวันพิพากษาจำคุกนพพรและนพเกล้าเป็นเวลา 6 วันและลงโทษปรับคนละ 3000 บาท แต่โทษจำคุกให้รอลงอาญาไว้หนึ่งปี จากนั้นในวันที่ 9 มีนาคม 2561 อัยการเจ้าของสำนวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาที่เหลืออีก 28 คน เพราะเห็นว่าการฟ้องคดีไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ แต่คำสั่งดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดเนื่องจากจะต้องให้อัยการสูงสุดพิจารณาอีกชั้นหนึ่งก่อน
นับจากวันที่ 19 เมษายน 2561 ที่อัยการเจ้าของสำนวนนัดหมายให้ผู้ต้องหาทั้ง 28 คนมาฟังคำสั่งอัยการสูงสุดเป็นครั้งแรกจนถึงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 ที่อัยการเจ้าของสำนวนแจ้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่าอัยการและทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติมีความเห็นตรงกันที่จะไม่ฟ้องคดีผู้ต้องหาทั้ง 28 คน ผู้ต้องหาต้องเดินทางไปลงชื่อรับทราบคำสั่งเลื่อนนัดกับอัยการอย่างน้อย 11 ครั้ง
ภูมิหลังผู้ต้องหา
2. โชคชัย นักกิจกรรมทางสังคม
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลแขวงปทุมวัน
ตามหมายเรียกของสน.ปทุมวัน บุคคลทั้ง 30 คน ชุมนุมร่วมกันที่บริเวณสกายวอล์กหน้าหอศิลป์กรุงเทพโดยที่บริเวณดังกล่าวอยู่ในรัศมี 150 เมตรจากพระราชวังหรืิอวังของเจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป จึงเป็นความผิดตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
ผู้ต้องหาในคดีนี้ทั้งสามสิบคนถูกออกหมายเรียกครั้งแรกในวันที่ 30 มกราคม 2561 โดยหมายเรียกฉบับที่ 1 ระบุข้อกล่าวหาชุมนุมห่างจากเขตพระราชฐานไม่เกิน 150 เมตร ตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ผู้ต้องหาในคดีนี้ประมาณ 20 คนเดินทางไปรับทราบข้อกล่าวหาที่สน.ปทุมวันตามนัด แต่เจ้าหน้าที่แจ้งกับทนายว่าเมื่อผู้ต้องหาทั้งหมดมารายงานตัวจะส่งตัวไปขออำนาจศาลฝากขังเลย ผู้ต้องหาทั้งหมดที่มาจึงขอให้ทนายไปเลื่อนนัดกับพนักงานสอบสวนเนื่องจากผู้ต้องหาบางคนยังไม่มีหลักทรัพย์ประกันตัว
ทนายของผู้ต้องหาทั้งหมดขอให้พนักงานสอบสวนเลื่อนนัดไปเป็นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 แต่พนักงานสอบสวนก้ไม่ตอบรับว่าจะอนุญาตหรือไม่ ผู้ต้องหาทั้งหมดจึงเดินทางกลับ
ในเวลาต่อมาพนักงานสอบสวนมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้ต้องหาเลื่อนนัดและออกหมายเรียกฉบับที่สองนัดให้ผู้ต้องหาทั้งหมดมารายงานตัวในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ แทน ในหมายเรียกฉบับที่สองเจ้าหน้าที่ยังเพิ่มข้อกล่าวหาชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนขึ้นไปตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 กับผู้ต้องหาทั้ง 30 คนด้วย
ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 ผู้ต้องหา 29 คนเข้าพบพนักงานสอบสวนตามนัดโดยนพเก้า หนึ่งในผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ข่าวสดแยกมารายงานตัวไปก่อนหน้านี้แล้ว หลังเข้าพบพนักงานสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดเดินเท้าไปพบพนักงานสอบสวนที่ศาลแขวงปทุมวันโดยไม่มีถุกควบคุมตัว เมื่อไปถึงศาลพนักงานสอบสวนขอศาลผัดฟ้องโดยไม่ขอฝากขัง ผู้ต้องหาทั้งหมดจึงกลับบ้านได้โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ
25 มกราคม 2561
เฟซบุ๊กเพจกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย โพสต์ภาพพร้อมข้อความประกาศเชิญชวนประชาชนร่วมทำกิจกรรมเชิญสัญลักษณ์ที่บริเวณสกายวอล์กสถานีรภไฟฟ้าบีทีเอสสนามกีฬาแห่งชาติ หน้าหอศิลปกรุงเทพฯเพื่อเรียกร้องให้มีการจัดการเลือกตั้งภายในปี 2561 และประท้วงการสืบทอดอำนาจของคสช.
26 มกราคม 2561
เฟซบุ๊กเพจ กลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตย โพสต์ภาพแสดงจุดนัดพบในการทำกิจกรรม พร้อมทั้งเชิญชวนให้ประชาชนมาร่วมกิจกรรม
27 มกราคม 2561
เดลินิวส์ออนไลน์รายงานว่า พล.ต.ปิยพงศ์ กลิ่นพันธุ์ ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 11 ในฐานะทีมโฆษกคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ถึงการทำกิจกรรมของกลุ่มฟื้นฟูประชาธิปไตยว่าเจ้าหน้าที่จะเฝ้าติดตามการทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิด โดยจะเน้นทำความเข้าใจและขอความร่วมมือไม่ให้มีการกระทำที่เกินกรอบของกฎหมาย
ในที่ชุมนุมยังมีผู้สื่อข่าวมารอทำข่าวอยู่เป็นจำนวนมากและมีเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบมาเฝ้าสังเกตการณ์ด้วย ระหว่างการจัดกิจกรรมเจ้าหน้าที่รถไฟฟ้าบีทีเอสเข้ามาพูดคุยกับณัฏฐา หนึ่งในผู้ร่วมจัดงานว่า ให้ย้ายไปทำกิจกรรมบริเวณจุดกึ่งกลางสกายวอล์คที่ตั้งอยู่พอดีกับเกาะกลางถนนแยกปทุมวัน
การทำกิจกรรมในวันนี้ยุติลงในเวลา 19.00 น. โดยไม่มีการจับกุมหรือตั้งข้อกล่าวหากับผู้ร่วมกิจกรรม
ภาพบรรยากาศกิจกรรมในวันที่ 27 มกราคม 2561
29 มกราคม 2561
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์รายงานว่า พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ระบุว่าได้มอบหมายให้รองผบ.ตร.ด้านความมั่นคงตรวจสอบเรื่องการชุมนุมในวันที่ 27 มกราคมแล้วว่าเข้าข่ายผิดกฎหมายใดหรือไม่
30 มกราคม 2561
บีบีซีไทยรายงานว่า ในวันที่ 29 มกราคม 2561 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ รับมอบอำนาจจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติเข้าพบพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันเพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษเจ็๋ดนักกิจกรรมที่ทำกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งในวันที่ 27 มกราคม 2561 ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง
นักกิจกรรมหเจ็ดคนที่ถูกเรียกตัวเข้ารับทราบข้อกล่าวหาได้แก่ รังสิมันต์ สิรวิชญ์ ณัฎฐา อานนท์ เอกชัย สุกฤษฎ์ และเนติวิทย์ โดยทางสน.ปทุมวันจะออกหมายเรียกให้บุคคลทั้งเจ็ดเข้ารับทราบข้อกล่าวหาในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 10.00 น.
30 มกราคม 2561
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์รายงานว่า พ.ต.ท.สมัคร ปัญญาวงค์ หัวหน้างานสอบสวนสน.ปทุมวันร้องทุกข์กล่าวโทษผู้ร่วมกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลป์กรุงเทพฯรวม 39 คนในข้อหาชุมนุมภายในรัศมี 150 เมตรจากพระราชวังของเจ้านายชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ตามมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ชุมนุม โดยมีผู้ต้องหาเจ็ดคนที่ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และคดีชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 (คดีรังสิมันต์: ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง #MBK39) ไปก่อนหน้านี้รวมอยู่ด้วย
ในวันเดียวกันหลังมีข่าวนักกิจกรรมและประชาชนที่มาร่วมกิจกรรมเรียกร้องการเลือกตั้งถูกดำเนินคดีในความผิดตามพ.ร.บ.ชุมนุมรวม 39 คน ณัฏฐา หนึ่งในเจ็ดผู้ต้องหาคดี รังสิมันต์: ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง #MBK39 โพสต์ภาพและข้อความบนเฟซบุ๊กส่วนตัวซึ่งตั้งค่าเป็นสาธารณะ ประกาศจะทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์เพื่อประณามและเรียกร้องให้ยุติการใช้กฎหมายปิดปากประชาชนในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561
1 กุมภาพันธ์ 2561
เวลาประมาณ 17.30 น. นัฎฐาและประชาชนส่วนหนึ่งที่ถูกดำเนินคดีนี้ร่วมทำกิจกรรมร้องเพลงชาติแห่งความเงียบที่บริเวณลานหน้าห้างสยามพารากอนท่ามกลางการจับตาโดยเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน
เจ้าหน้าที่ของห้างยังได้นำรั้วเหล็กติดข้อความสถานที่ส่วนบุคคล ห้ามจัดกิจกรรมก่อนได้รับอนุญาตจำนวนหนึ่งมาวางบริเวณลานหน้าห้างด้านที่ติดกับประตูทางเข้าห้างด้วย
เมื่อณัฏฐาเริ่มแถลงข่าวเจ้าหน้าที่ของห้างได้พยายามเข้ามาเจรจาเพื่อให้ยุติการทำกิจกรรมโดยชี้แจงว่าบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลแต่ณัฏฐาก็ยืนยันที่จะทำกิจกรรมต่อไป โดยตลอดเวลาที่มีการเจรจามีการผลักดันกันไปมาแต่ก็ไม่มีความรุนแรงใดๆเกิดขึ้น
ในเวลาประมาณ 18.00 ณัฏฐาและผู้ร่วมกิจกรรมอีกสามคนเอาเทปกาวปิดปากและยืนเงียบที่บริเวณบันไดหน้าห้างด้านที่มีน้ำพุ การยืนเงียบดำเนินไปถึงเวลา 18.30 น.ณัฏฐาจึงแถลงข่าวปิดท้ายกับผู้สื่อข่าวสั้นๆก่อนที่จะสลายตัว ซึ่งเมื่อณัฏฐายุติกิจกรรมแล้วเดินเข้าไปในห้างมีเจ้าหน้าที่ของห้างติดตามเข้าไปเพื่อสังเกตการณ์ว่าณัฏฐาจะทำกิจกรรมในห้างต่อหรือไม่ด้วย แต่ก็ไม่มีการทำกิจกรรมหรือการควบคุมตัวบุคคลใดเกิดขึ้นหลังจากนั้น
กิจกรรมร้องเพลงชาติแห่งความเงียบ
2 กุมภาพันธ์ 2561
นัดรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา
ผู้ถูกออกหมายเรียกในคดีนี้ประมาณ 20 คนเดินทางมาที่สน.ปทุมวันเพื่อรายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหา ขณะที่ผู้ต้องหาคดี รังสิมันต์: ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง #MBK39 ซึ่งเกิดจากเหตุการณ์เดียวกันและพนักงานสอบสวนนัดผู้ต้องหามาพบในวันและเวลาเดียวกันมีณัฏฐาคนเดียวที่มารายงาน
สำหรับผู้ต้องหาที่ไม่ได้มารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาในวันนี้ก็ให้ทนายมาขอเลื่อนนัดกับพนักงานสอบสวนโดยอ้างเหตุว่าติดภารกิจและพนักงานสอบสวนออกหมายเรียกอย่างกระชั้นชิด
ขณะเดียวกันทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็มีพล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร.ที่ดูแลงานด้านความมั่นคงมาดูแลการดำเนินการงานที่สน.ปทุมวันด้วยตัวเอง

หลังยื่นคำร้องผู้ต้องหาและทนายรอฟังคำสั่งจากเจ้าหน้าที่อยู่ประมาณสองถึงสามชั่วว่าจะให้เลื่อนหรือไม่ แต่เจ้าหน้าที่ก็ไม่มีคำสั่งลงมา ผู้ต้องหาทั้งหมดพร้อมทั้งทนายจึงเดินทางกลับ
พนักงานสอบสวนที่มาถึงยื่นคำร้องขอผัดฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล โดยไม่ได้ยื่นคำร้องขอฝากขัง เมื่อศาลขึ้นบัลลังก์ก็ได้เพียงอธิบายให้กับผู้ต้องหาฟังว่า คดีนี้ตำรวจไม่ได้ขอให้ควบคุมตัว ทุกคนจึงกลับบ้านได้และต้องมารายงานตัวต่อศาลตามวันเวลาที่นัดหมาย ซึ่งจะแจ้งให้ทราบภายหลัง
สำหรับนพพรผู้ต้องหาที่ให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวนได้ให้การรับสารภาพในชั้นศาลอีกครั้งหนึ่ง และศาลนัดให้มาฟังคำพิพากษาในวันที่ 8 มีนาคม 2561 พร้อมกับนพเก้า ผู้ต้องหาที่มารับทราบข้อกล่าวหาและให้การรับสารภาพไปก่อนหน้านี้แล้ว
ลงโทษจำคุกเป็นเวลา 12 วัน และปรับเป็นเงิน 6000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 6 วัน ปรับ 3000 บาท เนื่องจากนพเก้าไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อนโทษจำคุกจึงให้รอลงอาญาไว้มีกำหนดหนึ่งปี
สงวนโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า อัยการสูงสุดเลื่อนการสั่งคดีออกไปเป็นวันที่ 30 ตุลาคม 2562 เพราะยังทำสำนวนคดีไม่แล้วเสร็จ โดยสงวนระบุว่าคดีนี้มีการเลื่อนการสั่งคดีมาแล้ว 16 ครั้ง
เหตุแห่งคดีนี้คือเหตุการณ์การชุมนุมเดียวกับคดี รังสิมันต์: ชุมนุมเรียกร้องการเลือกตั้ง #MBK39 แต่เหตุที่มีการแยกฟ้องเป็นสองคดีเนื่องจากคดีนี้อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลแขวงปทุมวัน ขณะที่ผู้ถูกกล่าวหาเก้าคนที่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเป็นแกนนำในการชุมนุมถูกตั้งข้อกล่าวหาตามประมวลกฎหมายอาญา 116 ด้วยซึ่งข้อกล่าวหาดังกล่าวมีโทษสูงทำให้คดีไปอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอาญากรุงเทพใต้
นพเก้าและนพพรผู้ต้องหาสองคนที่ให้การรับสารภาพทั้งในชั้นสอบสวนและชั้นศาลถูกฟ้องแยกเป็นอีกสองคดี
คดีของนพเก้าเป็นคดีหมายเลขดำเลขที่ อ.129/2561
คดีของนพพรเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.134/2561