- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
เอกชัย
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ 2558, อื่นๆ (พ.ร.บ.ทางหลวงฯ มาตรา 38, พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 108,ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 และ 371)
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
ปาฏิหาริย์ | ได้รับการประกันตัว |
ดิเรก | ได้รับการประกันตัว |
รุ่งเรือง | ได้รับการประกันตัว |
อัยโยบ | ได้รับการประกันตัว |
อานัส | ได้รับการประกันตัว |
อามีน | ได้รับการประกันตัว |
เนติพงษ์ | ได้รับการประกันตัว |
เจะอาแซ | ได้รับการประกันตัว |
สรวิชญ์ | ได้รับการประกันตัว |
วิรพงษ์ | ได้รับการประกันตัว |
อิสดาเรส | ได้รับการประกันตัว |
สมบูรณ์ | ได้รับการประกันตัว |
สมาน | ได้รับการประกันตัว |
ยิ่งยศ | ได้รับการประกันตัว |
ฮานาฟี | ได้รับการประกันตัว |
มุสตารซีดีน | ได้รับการประกันตัว |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินทำกิจกรรมเดินเท้าเป็นเวลา 4 วัน จากอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาไปที่อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะและยื่นหนังสือต่อพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคสช.ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 แต่เมื่อถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เจ้าหน้าที่ได้เข้าสลายการชุมนุมและจับกุมตัวชาวบ้าน 16 คน ที่ร่วมในกิจกรรม หนึ่งในนั้นมีเยาวชนอายุ 16 ปี และแจ้งข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะฯ พ.ร.บ.จราจรฯ และข้อหาพกพาอาวุธและต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ภูมิหลังผู้ต้องหา
เอกชัย จำเลยที่หนึ่ง
รุ่งเรือง จำเลยที่สอง
ปาฏิหาริย์ จำเลยที่สาม
ดิเรก จำเลยที่สี่ ผู้ประสานงานเครือข่ายคนสงขลาปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน เขาเป็นชาวเทพา จังหวัดสงขลาโดยกำเนิด จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อมาเข้าทำงานเป็นอาจารย์ที่คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี หลังจากมีโครงการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ดิเรกลาออกจากงานมาเพื่อทำงานต่อสู้คัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหิน
อิสดาเรส จำเลยที่ห้า
สมบูรณ์ จำเลยที่หก อดีตเลขาธิการคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคใต้ (กป.อพช.ใต้)
ยิ่งยศ จำเลยที่เจ็ด
เนติพงษ์ จำเลยที่แปด
อามีน จำเลยที่เก้า
วีระพงษ์ จำเลยที่สิบ
เจะอาเเซ จำเลยที่ 11
สรวิชญ์ จำเลยที่ 12
สมาน จำเลยที่ 13
อัยโยบ จำเลยที่ 14
อานัส จำเลยที่ 15
มุสตารซีดีน จำเลยที่ 16
ฮานาฟี จำเลยที่ 17
พนักงานอัยการจังหวัดสงขลา
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย, อื่นๆ (ร่วมกันเดินหรือเดินแห่อันเป็นการกีดขวางการจราจร,ปิดกั้นทางหลวง,ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายเจ้าหน้าที่และพกพาอาวุธหรือไม้แหลมไปในเมืองหรือทางสาธารณะ)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
สงขลา
-
ศาล
ศาลจังหวัดสงขลา
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลจังหวัดสงขลา/Songkhla provincial court No: อ.115/2561 วันที่: 2018-01-12
ตามเอกสารหัวเรื่อง พลตำรวจเอกศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผบ.ตร. เร่งรัดการดำเนินคดีกลุ่มผู้ชุมนุม กีดขวางการจราจร ขัดขวางการจับกุมและทำร้ายเจ้าพนักงานระบุว่า วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลาประมาณ 14.00-16.30น. ระหว่างการเดินทางมาถึงบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาได้หยุดขบวนและมีการนอนขวางเส้นทางการจราจร ทำให้จราจรติดขัด ตำรวจจึงขอให้ผู้ชุมนุมออกจากพื้นผิวถนน แต่ผู้ชุมนุมไม่ยินยอม ตำรวจจึงทำการจับกุมผู้ชุมนุม 16 คนและกล่าวหาว่า ร่วมกันเดินหรือเดินแห่ อันเป็นการกีดขวางการจราจร ปิดกั้นทางหลวงหรือกระทำด้วยประการใดๆบนถนนหลวงในลักษณะที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายแก่ยานพาหนะหรือบุคคล, ต่อสู้หรือขัดขวางการจับกุมและทำร้ายร่างกายเจ้าพนักงาน โดยใช้กำลังประทุษร้าย และพาอาวุธ(ไม้คันธงปลายแหลม)ไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันควร
ต่อมาในชั้นศาลได้เพิ่มเติมข้อกล่าวหาตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ เข้ามา โดยตามคำบรรยายฟ้องระบุว่า วันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 จำเลยทั้ง 17 คนได้ร่วมกันกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันดังนี้
หนึ่ง เอกชัย รุ่งเรือง ปาฏิหาริย์และดิเรก ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะได้ร่วมกันไม่แจ้งการชุมนุมต่อผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรสงขลา ผู้รับแจ้งตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมงและไม่แจ้งการชุมนุมพร้อมคำขอผ่อนผันกำหนดเวลาต่อผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาก่อนเริ่มการชุมนุม
สอง จำเลยทั้ง 17 คนได้พกพาไม้ยาวประมาณหนึ่งเมตร เส้นผ่านศูนย์กลางยาวสองเซนติเมตรจำนวนหลายด้าม ซึ่งติดธงแผ่นผ้าและมีปลายแหลม ไปในเมือง หมู่บ้านและทางสาธารณะ ซึ่งไม้ดังกล่าวจำเลยได้ใช้และเจตนาจะใช้ทำร้ายร่างกายให้เป็นอันตราย
สาม เอกชัย รุ่งเรือง ปาฏิหาริย์และดิเรก ผู้จัดการชุมนุมสาธารณะไม่ดูแลการชุมนุมไม่ให้เกิดการขัดขวางอย่างเกินสมควรต่อประชาชนที่ใช้ทางสาธารณะและดูแลรับผิดชอบผู้ร่วมชุมนุมให้ปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้งไม่ให้ความร่วมมือกับตำรวจ ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานผู้ดูแลการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ และจำเลยทั้ง 17 คนได้ร่วมกันสร้างความไม่สะดวกแก่ประชาชนที่ใช้ช่องทางการจราจรบนถนนสายสงขลา-นาทวีและพกพาอาวุธตามข้อสองเข้าไปในพื้นที่ชุมนุมโดยไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งขัดขวางหรือกระทำการที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ดูแลการชุมนุมตามพ.ร.บ.ชุมนุมฯ
สี่ จำเลยทั้ง 17 คนได้ร่วมกันปิดถนนสายดังกล่าวด้วยการชุมนุมและเคลื่อนย้ายผู้ชุมนุมล้ำไปในช่องทางการจราจร มีการนั่ง นอนลงบนถนนสายดังกล่าวที่อาจเกิดอันตรายหรือเสียหายต่อยานพาหนะโดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าพนักงานการจราจร ห้า จำเลยทั้ง 17 คนได้ร่วมกันต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานที่ได้รับคำสั่งให้ดูแลการชุมนุมสาธารณะ
27 พฤศจิกายน 2560 ระหว่างที่เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเดินเท้ามาถึง อ.เมือง จ.สงขลา ขณะเดินผ่านบริเวณหน้ามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ตำรวจได้เข้ามาห้ามการเดินขบวนต่อ แต่ทางชาวบ้านยืนยันว่า มีนัดหมายที่จะมาพักกินข้าวบริเวณหน้าโรงพยาบาลจิตเวช และได้ยืนยันที่จะเดินต่อมาเพื่อจะพักกินข้าว
เวลาประมาณ 15.00 น ขณะที่ชาวบ้านกำลังพักกินข้าว มีกำลังเจ้าหน้าที่เข้าควบคุมพื้นที่อยู่จำนวนมาก และมีทหารบุกเข้ามาเพื่อขอเจรจากับแกนนำ ระหว่างนั้นชาวบ้านเห็นว่า การเจรจาไม่ได้ดำเนินไปได้ด้วยดี และทหารมีแนวโน้มที่จะสั่งสลายการเดินขบวน ชาวบ้านจึงวิ่งออกมาทางพื้นที่ริมทะเลใกล้ชุมชนเก้าเส้ง เพื่อให้พ้นวงล้อมของเจ้าหน้าที่ ระหว่างนั้นทหารจึงมีคำสั่งให้จับกุมทุกคนที่ถือธงสีเขียว หรือสัญลักษณ์ของการเดินครั้งนี้
มีรายงานว่า ตำรวจใช้กำลังเข้าจับกุม ทำให้ชาวบ้านได้รับบาดเจ็บหลายคน และมีผู้ถูกควบคุมตัวขึ้นรถตำรวจไปยัง สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา อย่างน้อย 16 คน
ชาวบ้านออกเดินจากบ้านกรงอิตำ อำเภอเทพา มุ่งหน้าสู่บ้านปากบางสะกอม อำเภอจะนะ เพื่อพูดคุยกับชาวจะนะ จากบทเรียนการต่อสู้ของพี่น้องจะนะในโครงการโรงแยกก๊าซไทย-มาเลเซีย และโรงไฟฟ้าจะนะ วันเดียวกันสถานีตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาออกประกาศเจ้าพนักงานดูแลการชุมนุมสาธารณะที่ 891/2560 เรื่อง ให้ยกเลิกการชุมนุมสาธารณะ ระบุว่า ตามหนังสือแจ้งขอผ่อนผันการชุมนุมสาธารณะ ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560 ที่มีเอกชัย เป็นผู้แจ้งการชุมนุม เมื่อพิจารณาแล้วการชุมนุมไม่ชอบด้วยกฎหมาย กล่าวคือ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เอกชัยได้จัดการชุมนุมที่ขัดต่อพ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะฯ โดยไม่ได้แจ้งต่อเจ้าพนักงานก่อนล่วงหน้า 24 ชั่วโมง จึงขอให้ผู้ชุมนุมยกเลิกการชุมนุมภายในเวลา 18.00 น.ของวันนี้
เครือข่ายฯ ออกเดินจากบ้านสวนกง ถึงอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยวันนี้จะพูดคุยเพื่อนัดหมายเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมการเพื่อยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรีในวันถัดมา ระหว่างทางมีเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่น้อยกว่า 50 นายตรึงกำลังอยู่ พร้อมด้วยทหารที่เข้ามาสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด ในเวลาประมาณ 13.00 น. ตำรวจจากกองร้อยปราบฝูงชนตั้งแถวด้านข้างมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ถนนสงขลา-นาทวี หันหน้าไปยังอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา กินพื้นที่ถนนเลนซ้ายสุด โดยรถยนต์สามารถเคลื่อนตัวผ่านได้ในเลนขวา
ต่อมาผู้ชุมนุมได้เดินทางมุ่งหน้าและหยุดลงบริเวณแถวของเจ้าหน้าที่ ทิ้งระยะห่างประมาณห้าเมตร เอกชัย หนึ่งในผู้ชุมนุมได้เจรจากับพันตำรวจเอกประพัตร์ ศรีอนันต์ รองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสงขลาและพันเอกอุทิศ อนันตนานนท์ รองผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 โดยพันตำรวจเอกประพัตร์ได้บอกต่อเอกชัยว่า ให้กลับไปที่กศน.และจะจัดอาหารไปให้ บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีบุคคลพิเศษเข้ามาอาจเกิดความวุ่นวายได้ จึงไม่ให้ผู้ชุมนุมผ่านไป เอกชัยตอบกลับว่า ขอดูคำสั่งที่ประกาศเป็นพื้นที่พิเศษได้หรือไม่ มีคำตอบจากพันเอกอุทิศว่า ท่านใช้มาตรา 44 เอกชัยกล่าวต่อว่า พวกผมของปรึกษากันก่อนและขอกินข้าวที่โรงพยาบาลจิตเวช แต่พันตำรวจเอกประพัตร์ก็ไม่อนุญาตให้ผ่านไปกินข้าวที่โรงพยาบาลจิตเวช
ต่อมาเวลา 16.00 น. เจ้าหน้าที่กองร้อยควบคุมฝูงชนได้วางแนวกั้นที่บริเวณโค้งเก้าเส้ง ถนนชลาทัศน์ ก่อนจะควบคุมตัวผู้ชุมนุมไป 16 คน หนึ่งในนั้นเป็นเยาวชนชายวัย 16 ปี นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบยังได้ถ่ายภาพของผู้ที่ถ่ายทอดสดเหตุการณ์ผ่านเฟซบุ๊กอีกด้วย มีรายงานเพิ่มเติมจากเครือข่ายฯว่า ระหว่างที่เกิดเหตุการณ์ปะทะกันมุสตาร์ซีดีน วาบา หรือ "แบร์มุส" หนึ่งในผู้ชุมนุมถูกตำรวจควบคุมตัวไป แต่ไม่พบตัวที่สถานีตำรวจและไม่สามารถติดต่อทางโทรศัพท์ได้ อย่างไรก็ดีในช่วงดึกของคืนดังกล่าวมีรายงานว่า เขาปลอดภัยแล้ว ไม่ได้ถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวไป
ผู้ถูกจับกุมทั้ง 16 คน ถูกพาตัวไปที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา ตำรวจได้สอบประวัติ และคุมขังทุกคนไว้ที่สถานีตำรวจเป็นเวลา 1 คืน โดยมีชาวบ้านจำนวนมากมานั่งและนอนรอให้กำลังใจบริเวณสถานีตำรวจ
ทั้งยังได้กำชับให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ชุมนุมทั้ง 16 คนไม่เว้นแม้แต่เยาวชนชายอายุ 16 ปี โดยทั้งหมดให้การปฏิเสธตลอดทุกข้อกล่าวและจะยื่นคำให้การเป็นลายลักษณ์อักษรในภายหลัง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์รายงานว่า ชาญวิทย์ อร่ามฤทธิ์ ทนายความยื่นคำร้องขอปล่อยตัวชั่วคราวอีกครั้ง โดยใช้ตำแหน่งราชการของนักวิชาการจากมหาวิทยาลับสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยทักษิณเป็นหลักทรัพย์แทนเงินประกันตัว ต่อมาเวลาประมาณ 11.00 น. ศาลจังหวัดสงขลาไม่อนุญาตให้ประกันตัวเนื่องจากมีเงื่อนไขกำหนดว่า หากใช้ตำแหน่งประกันตัวจะต้องเป็นของผู้ต้องหาเท่านั้น ส่งผลให้เครือข่ายฯและอาจารย์มหาวิทยาลัยต้องเปิดบัญชีธนาคารขอระดมเงินจากคนทั่วไป
ในช่วงบ่ายทนายความลองยื่นคำร้องโดยช้ำตำแหน่งราชการอีกครั้ง ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว โดยเวลา 21.00 น. ชาวบ้านทั้ง 15 คนได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำสงขลา มีครอบครัวและเครือข่ายฯมาให้กำลังใจจำนวนมาก
นัดสืบพยานโจทก์
พล.ต.ต.ปรีดาเบิกความต่อว่าในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 มีการรวมตัวของกลุ่มผู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา เมื่อเขาได้รับแจ้งจากผู้บังคับการสถานีตำรวจภูธรเทพา จังหวัดสงขลาว่า จะมีการเดินทางมายื่นหนังสือคัดค้านกับพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคสช. จึงสั่งการให้ชุดสืบสวนและสถานีตำรวจภูธรเทพาออกทำการสืบสวนติดตามความเคลื่อนไหวของชาวบ้านและให้รายงานให้สถานีตำรวจภูธรสงขลาทราบทุกระยะ
นัดสืบพยานโจทก์
พ.ต.ท.สุทธิรักษ์ ทองมาก สารวัตรสืบสวนสถานีตำรวจภูธรเทพา
นัดสืบพยานโจทก์
ร.ต.อ.ธนศักดิ์เบิกความถึงเหตุปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้ชุมนุมว่า ขณะเกิดเหตุเขายืนอยู่แถวที่ห้าหรือแถวที่หก ซึ่งไม่ห่างจากผู้ชุมนุมมาก โดยการตั้งแถวดันเจ้าหน้าที่จะวางร่างกายแนบประชิดกันในแต่ละแถว ตัวของร.ต.อ.ธนศักดิ์สามารถมองทะลุไปด้านหน้าได้และเห็นว่า มีไม้ฟาดมาจากทางด้านหน้าและมีการชกเจ้าหน้าที่ด้วย แต่ไม่เห็นหน้าบุคคลที่กระทำการดังกล่าว หลังจากนั้นผู้ชุมนุมฝ่าแนวกั้นไปได้
อัยการให้ร.ต.อ.ธนศักดิ์ หันไปดูจำเลยและถามว่า จำหน้าและชื่อใครได้บ้าง ร.ต.อ.ธนศักดิ์ หันไปชี้เอกชัย จำเลยที่หนึ่งว่า เป็นบุคคลที่เข้าไปเจรจากับพ.ต.อ. ประพัตร์ ในช่วงบ่ายและชี้มุสตาร์ซีดีน จำเลยที่ 16 แต่ร.ต.อ.ธนศักดิ์ ไม่แน่ใจว่า เขาทำหน้าที่อะไรในการชุมนุม
การสืบพยานในวันนี้แล้วเสร็จในเวลา 16.00 น. ศาลสั่งให้เลื่อนการสืบพยานที่เหลืออีกสองปากซึ่งนัดมาวันนี้ไปสืบต่อในวันที่ 12 กรกฎาคม เนื่องจากหมดเวลาทำการ
นัดสืบพยานโจทก์
ร.ต.อ.นรินทร์ โสตถิยาภัย เจ้าหน้าที่ควบคุมฝูงชน
ร.ต.อ.พิเชฐ ธรรมเดโช เจ้าหน้าที่ปราบจลาจล พยานผู้เห็นเหตุการณ์
หลังการพูดคุยดำเนินไปได้ครู่หนึ่งผู้ชุมนุมก็เดินไปตามทางเท้าผ่านจุดที่ร.ต.อ.พิเชฐกับพวกตั้งแถวมุ่งหน้าไปยังชุมชนเก้าเส้ง ร.ต.อ.พิเชฐเบิกความต่อว่าตัวเขาได้เดินตามกลุ่มผู้ชุมนุมไปโดยผู้ชุมนุมวิ่งนำหน้าร.ต.อ.พิเชฐ ประมาณสองถึง 300 เมตรเมื่อไปถึงถนนชลาทัศน์ ร.ต.อ.พิเชฐ ทราบว่ามีผู้ชุมนุมส่วนหนึ่งถูกจับกุมตัวแล้ว
-
นัดสืบพยานโจทก์
นัดสืบพยานโจทก์
พ.ต.ท.วันกิตติ เบิกความว่าเขารับราชการตำแหน่งสารวัตรสอบสวนที่สถานีตำรวจภูธรสงขลา มีหน้าที่สอบสวนและจับกุมผู้กระทำความผิดในคดีอาญา เกี่ยวกับคดีนี้ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เขาได้รับคำสั่งจาก พ.ต.ต.ปรีดา เปี่ยมวารี ผู้บังคับบัญชา ระบุรายละเอียดว่า จะมีผู้ชุมนุมเดินทางจากอำเภอเทพา จังหวัดสงขลามายังอำเภอเมืองจังหวัดสงขลา ต่อมาในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2560 เขาได้รับรายงานว่าผู้ชุมนุมเดินทางมาพักค้างคืนที่มัสยิดบ้านบ่ออิฐ ตำบลเกาะแต้ว อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08:00 น. เขาได้เดินทางไปพูดคุยกับแกนนำผู้ชุมนุมที่มัสยิดบ้านบ่ออิฐ ได้แก่เอกชัย ดิเรกและปาฏิหาริย์ อัยการถามพ.ต.ท.วันกิตติ ว่าบุคคลทั้งสามคน ถ้าเห็นอีกครั้งจำได้หรือไม่ พ.ต.ท.วันกิตติ ตอบว่า จำได้ หันไปชี้เอกชัยและดิเรกถูกต้อง แต่ชี้ตัวปาฏิหาริย์ไม่ถูกต้อง
นัดสืบพยานโจทก์
-
นัดสืบพยานโจทก์
-
ราชิต สุดพุ่ม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
นัดสืบพยานโจทก์
-
พ.ท.อุทิศเบิกความต่อว่า หลังการเจรจาไม่เป็นผลเขาและพล.ต.วรพลเดินติดตามผู้ชุมนุมไปตามถนนเก้าแสน ผู้ชุมนุมเดินกันไปแบบกระจัดกระจาย ส่วนเจ้าหน้าที่รวมทั้งตัวเขาและพล.ต.วรพลก็เดินไปพร้อมพร้อมกับผู้ชุมนุม เมื่อเดินไปถึงหัวโค้งเข้าสู่ถนนชลาทัศน์ ก็เห็นกลุ่มผู้ชุมนุมชุลมุนอยู่กับเจ้าหน้าที่ซึ่งตั้งแถวสกัดอยู่ พ.ท.อุทิศเบิกความต่อว่าเจ้าหน้าที่ได้ทำการจับกุมผู้ชุมนุมบางส่วนที่เจ้าหน้าที่เห็นว่ามีบทบาทในการนำการชุมนุม หลังจับกุมก็นำตัวขึ้นรถไปที่สถานีตำรวจภูธรเมืองสงขลา สำหรับผู้ชุมนุมที่ไม่ถูกจับก็กระจัดกระจายอยู่ตามถนนชลาทัศน์
ระหว่างที่เขารับราชการเป็นรองผู้บัญชามณฑลทหารบกที่ 42 อดีตผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 42 เคยทำหนังสือไปถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์กล่าวถึงพฤติการณ์การสนับสนุนการคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินของนักวิชาการของมหาวิทยาลัย จนนำไปสู่การประท้วงและยื่นหนังสือที่มทบ. 42 พล.ต.วรพลเบิกความยอมรับว่า ในตอนนั้นเขาเป็นผู้รับหนังสือและพูดคุยกับผู้ชุมนุม แต่ไม่ได้บอกให้ผู้ยื่นหนังสือคัดค้านหรือสนับสนุน เพียงแต่บอกต่อผู้ชุมนุมว่า ให้คิดว่า สิ่งใดดีหรือไม่ดีต่อประเทศชาติ เขาอยากเห็นประเทศชาติพัฒนาแต่ไม่มีหน้าที่ไปสนับสนุนโครงการหรือนโยบายของรัฐบาล รวมถึงโรงไฟฟ้าถ่านหิน
-
รุ่งเรืองเบิกความว่าเมื่อเขาเดินไปถึงโค้งเก้าเส้ง เขาถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัวโดยที่ตอนนั้นไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาใดๆ ระหว่างนั้นมีผู้หญิงคนหนึ่งวิ่งเข้ามากอดเขาไว้พร้อมบอกว่าไม่ให้เจ้าหน้าที่จับกุมตัวเขา เจ้าหน้าที่ก็หิ้วตัวผู้หญิงคนดังกล่าวไปโยนกระแทกกับกำแพง รุ่งเรืองเบิกความยืนยันว่าผู้หญิงคนดังกล่าวบาดเจ็บจากการถูกกระแทกเป็นเวลาสามวัน
อานัส จำเลยที่ 15 เบิกความอ้างตัวเองเป็นพยาน
เกี่ยวกับวันเกิดเหตุ ฮานาฟีเบิกความว่าในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เขาร่วมเดินจากบ้านปากบางไปจนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา ขณะที่เกิดการปะทะระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ เขาอยู่ด้านหน้าสุด ตอนนั้นตัวเขาไม่ได้ถือไม้พลองหรืออุปกรณ์ใดในมือเลย ระหว่างปะทะเจ้าหน้าที่ลากตัวเขาไปที่หลังกระบะและทำร้ายเขา ฮานาฟีเบิกความต่อว่าระหว่างที่เจ้าหน้าที่พยายามควบคุมตัวเขา เขาได้ยินเสียงเจ้าหน้าที่พูดว่า จะจับเขาขึ้นรถตู้ ฮานาฟีเบิกความต่อว่าระหว่างที่เจ้าหน้าที่พยายามควบคุมตัวเขา เขาได้ตะโกนเรียกให้ชาวบ้านมาช่วยจึงสามารถหลุดออกจากความควบคุมของเจ้าหน้าที่มาได้ หลังจากนั้นเขาร่วมเดินกับขบวนต่อจนถึงที่โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาและพักกินข้าว หลังจากนั้นก็เดินต่อจนกระทั่งมาถูกจับกุมที่โค้งเก้าเส้ง
เกี่ยวกับการทำกิจกรรม ดิเรกเบิกความว่าเขาและชาวบ้านเทพาเริ่มออกเดินในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 จากบ้านบางหลิง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการเดินจะเดินอยู่บนไหล่ทางของทางหลวงมาโดยตลอดและมีการตักเตือนกันไม่ให้กระทำการออกนอกกรอบ ในช่วงเย็นวันเดียวกันมีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาชี้แจงว่า การเดินเท้าเข้าข่ายการชุมนุมและจะต้องแจ้งการชุมนุม เอกชัยและปาฏิหาริย์จึงทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเรื่องแจ้งการชุมนุมและขอผ่อนผันการแจ้งการชุมนุม หลังจากนั้นในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เขาทราบว่า มีนายอำเภอมาพูดคุยกับเอกชัยที่กองร้อยอาสารักษาดินแดนจังหวัดสงขลาที่ 1แต่เขาไม่ได้เข้าร่วมด้วยแต่ได้เดินร่วมกับขบวนต่อไปจนถึงมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา จึงเห็นว่ามีตำรวจตั้งแถวปิดกั้น มีการวางกรวยที่ถนนช่องทางซ้ายสุด เมื่อไม่สามารถเดินต่อไปได้ ชาวบ้านบางคนจึงล้มตัวลงนอนบนพื้นผิวถนนช่องทางด้านในสุด
นัดสืบพยานจำเลย
-
นัดสืบพยานจำเลย
-
นัดสืบพยานจำเลย
-