- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สมลักษณ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา, อื่นๆ (ดูหมิ่นซึ่งหน้า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393)
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเหมืองแร่และผลิตทองคำและเงิน ซึ่งได้ประทานบัตรอนุญาตให้ประกอบกิจการเหมืองแร่ทองคำและเงินในพื้นที่จังหวัดพิจิตร
บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มีกรรมการห้าคน คือ นายรอส โดนัลด์ สมิธ-เคิร์ก นายปีเตอร์ วิลเลี่ยม วอร์เรน นายรอส อเล็กซานเดอร์ คอยล์ นายพอล แอชลีย์ เมสัน และนายเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาท, เผยแพร่ส่งต่อข้อความละเมิดกฏหมาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
พิจิตร
-
ศาล
ศาลจังหวัดพิจิตร
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลจังหวัดพิจิตร No: อ.2377/2559 วันที่: 2016-12-09
คำพิพากษาศาลชั้นต้น
บริษัทอัครา รีซอร์สเซส จำกัด(มหาชน) เป็นโจทก์ฟ้องสมลักษณ์ หุตานุวัตร จำเลย กรณีที่จำเลยแชร์ข่าวที่โจทก์ได้เตรียมดำเนินการยื่นขอต่อใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมหรือใบอนุญาตโรงแต่งแร่ทองคำต่อกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยในลิงค์ข่าวนั้นมีภาพของเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ปรากฏอยู่ด้วย และเขียนข้อความประกอบว่า ความเลวร้ายของทุนสามานย์ คือ ความไร้สำนึก ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ทำทุกอย่างเพื่อสนองความโลภไม่มีขีดจำกัด ไม่เลือกกาลเทศะ ไม่ตระหนักถึงความเป็นชาติ ทุนสามานย์คิดเพียงเกิดมาเพื่อเสพสูงสุดตราบที่กฎหมายล่าตัวไม่ได้และใช้ทุนกับช่องว่างของกฎหมายเป็นเครื่องมือล่าฝ่ายต่อต้านที่ขัดขวางผลประโยชน์ เพื่อสถาปนาอาณานิคมด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ไม่ยี่หระต่อขอบขัณฑสีมาดินแดนบ้านเกิด เป็นนักล่าเท่านั้น
ในทางนำสืบโจทก์ว่า เดิมโจทก์ใช้ชื่อบริษัทว่า บริษัทอัคราไมนิ่ง จำกัด บุคคลทั่วไปเรียกว่า เหมืองทองพิจิตรหรือเหมืองแร่ทองคำชาตรี ดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำถูกต้องตามกฎหมาย ตามหลักวิชาการมาตรฐานสากล ภายใต้การควมคุมของหน่วยงานราชการ ใบอนุญาตประกอบโลหะกรรมหรือใบอนุญาตแต่งแร่ทองคำของโจทก์จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2559 ซึ่งจะต้องยื่นขอต่ออายุภายใน 60 วันก่อนใบอนุญาตเดิมหมดอายุ มีการเสนอข่าวของโจทก์ตามสื่อสาธารณะ
แต่จำเลยได้หมิ่นประมาทและดูหมิ่นโจทก์ด้วยการโฆษณาตามข้อความที่ระบุข้างต้น ข้อกล่าวหาดังกล่าวไม่ตรงกับความเป็นจริงที่ว่า โจทก์จดทะเบียนขออนุญาตและประกอบกิจการอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้การควบคุมจากภาครัฐ เสียภาษีรายได้ ค่าภาคหลวงมาโดยตลอด ไม่เคยใช้อำนาจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดำเนินการกับบุคลที่ต่อต้านการทำเหมืองแร่ทองคำ โจทก์อยู่ร่วมกับชุมชนมาเป็นระยะเวลา 15 ปี มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมาโดยตลอด
จำเลยนำสืบว่า จำเลยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการสิทธิมนุษยนชนแห่งชาติ เป็นคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ และคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหาข้อขัดแน้ง ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นอกจากนี้ยังเป็นคณะทำงานตรวจสอบและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการดำเนินกิจการเหมืองแร่ทองคำอีกด้วย
โพสต์ดังกล่าวเป็นข้อความที่ปรากฏตามสื่อออนไลน์ และข้อความเกี่ยวกับทุนสามานย์เป็นการเขียนตามหลักวิชาการ เป็นการติชมโดยบริสุทธิ์ใจตามหลักวิชาการ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับบริษัทของโจทก์หรือบุคคลภายในบริษัทของโจทก์ จำเลยไม่มีเจตนาในการหมิ่นประมาทโจทก์เพราะถ้าจำเลยมีเจตนาดังกล่าว จำเลยสามารถลงชื่อโจทก์ในข้อความดังกล่าวได้
พิเคราะห์ว่า ถ้าหากอ่านเฉพาะข้อความตามที่จำเลยเขียนประกอบนั้นไม่มีส่วนใดที่เกี่ยวข้องกับโจทก์ การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง อันเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา 326 และ 328 นั้นจะต้องได้ความว่า การใส่ความดังกล่าวได้ระบุถึงตัวตนผู้ถูกใส่ความเป็นการยืนยันรู้ได้แน่นอนว่า เป็นใครหรือหากไม่ระบุถึงผู้ที่ถูกใส่ความโดยตรง การใส่ความนั้นก็จะต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่ออ่านข้อความแล้วไม่มีตอนใดระบุว่า เป็นโจทก์ ประกอบกับเชิดศักดิ์ อรรถอารุณ ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ได้ตอบคำถามทนายจำเลยว่า ข้อความดังกล่าวไม่มีเนื้อความใดที่ระบุว่า เป็นบริษัทของโจทก์
ดังนั้นการที่โจทก์อ่านข้อความประกอบโพสต์ของจำเลยและมารวมกับรูปภาพของเชิดศักิด์ที่อยู่ในลิงค์ข่าวด้านล่างและสรุปว่า เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์นั้นเป็นเพียงความเข้าใจของโจทก์เท่านั้น หาใช่ความเข้าใจของบุคคลทั่วไป ที่อ่านข้อความแล้วไม่ทราบหรือเข้าใจได้ว่า ข้อความที่จำเลยเขียนหมายถึงผู้ใด หากต้องการรู้ต้องไปสอบถามเพิ่มเติม ซึ่งไม่แน่ว่าสืบเสาะแล้วจะหมายถึงโจทก์หรือไม่ ดังนั้นเมื่อโจทก์ยึดถือความรู้สึกนึกคิดของตนเองเป็นสำคัญ ทั้งที่บุคคลทั่วไปไม่ได้มีการรับรู้หรือเข้าใจว่า ข้อความดังลก่าวหมายถึงโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโจทก์และไม่เป็นการดูหมิ่นโจทก์ตามฟ้อง
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์