- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
"อนุวัฒน์"
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(รอการกำหนดโทษ)
ข้อหา / คำสั่ง
อื่นๆ (ประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 31)
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
“เบญจมาศ” | อื่นๆ (รอการกำหนดโทษ) |
ณรงค์ฤทธิ์ | อื่นๆ (รอการกำหนดโทษ) |
ภานุพงศ์ | อื่นๆ (รอการกำหนดโทษ) |
อาคม | อื่นๆ (รอการกำหนดโทษ) |
พายุ | อื่นๆ (รอการกำหนดโทษ) |
สิรวิชญ์ | รอลงอาญา |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
หลังเสร็จกระบวนการสอบคำให้การซึ่งศาลสั่งพิจารณาคดีลับ กลุ่มนักกิจกรรมรวมตัวที่ป้ายหน้าศาลจังหวัดขอนแก่นทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์แสดงออกถึงความไม่เป็นธรรม ภายหลังศาลจังหวัดขอนแก่นออกหมายเรียกให้นักกิจกรรมรวมเจ็ดคนมาไต่สวนในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2560 ศาลมีคำสั่งว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล และสั่งให้รอการกำหนดโทษของผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่งถึงที่หก ส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่เจ็ดสั่งให้จำคุกหกเดือนแต่ให้รอลงอาญาโทษจำคุกไว้เป็นเวลาหนึ่งปี
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดขอนแก่น
ข้อกล่าวหา
อื่นๆ (ละเมิดอำนาจศาล)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
ขอนแก่น
-
ศาล
ศาลจังหวัดขอนแก่น
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: ลม.2/2560 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: ลม.1/2560
อุปกรณ์ประกอบกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ที่หน้าศาลจังหวัดขอนแก่น 10 กุมภาพันธ์ 2560
17 มีนาคม 2560
ข่าวสดออนไลน์อ้างรายงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า มีนักกิจกรรมอีกสามคนได้แก่สิรวิชญ์ ภานุพงศ์และ "อนุวัฒน์” ได้รับหมายเรียกจากศาลจังหวัดขอนแก่นให้ไปรายงานตัวในวันที่ 24 เมษายน 2560 เพื่อไต่สวนในกรณีละเมิดอำนาจศาลจากการทำกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 เช่นเดียวกัน ทำให้มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการทำกิจกรรมดังกล่าวรวมทั้งสิ้นเจ็ดคน
สำหรับคดีละเมิดอำนาจศาลนี้มีผู้ถูกดำเนินคดีทั้งสิ้นเจ็ดคน ประกอบด้วยนักกิจกรรมดาวดินห้าคนที่เดินเท้ามาศาลในช่วงเช้า และนักกิจกรรมอีกสองคนได้แก่ ณรงค์ฤทธิ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นจากกลุ่มพลเมืองคนรุ่นใหม่ซึ่งตามมาสมทบที่ศาลในภายหลังและ สิรวิชญ์หรือ นิว นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ไม่ได้มาศาลในวันนี้
กระบวนการไต่สวนเริ่มในเวลาประมาณ 10.00 น. ศาลเรียกชื่อผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดและให้ยืนแสดงตัว เมื่อถึงชื่อ สิรวิชญ์ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนลุกขึ้นแถลงว่า เป็นผู้รับมอบอำนาจจากสิรวิชญ์มาแถลงขอเลื่อนคดีเนื่องจากติดเรียนในวันนี้ ต่อมาศาลเริ่มกระบวนการโดยให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกคนที่มาศาลยืนยันภาพถ่ายในวันเกิดเหตุว่าแต่ละคนมีตัวอยู่หรือไม่ ทั้งหกดูภาพถ่ายและยืนยันว่าตนเองปรากฏอยู่ในภาพถ่ายจริง ศาลอ่านข้อกล่าวหาให้ทั้งหกฟังว่า ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2560 มีกลุ่มบุคคลกล่าวปราศรัย แสดงท่าทาง ร้องเพลง พร้อมนำอุปกรณ์มาตั้งเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการพิจารณาคดีของศาล ที่บริเวณหน้าศาลจังหวัดขอนแก่น เข้าข่ายเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
หลังจากนั้นศาลแจ้งสิทธิให้ทั้งหกฟังว่า ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกมีสิทธิที่จะมีทนายความ มีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การ ผู้ถูกกล่าวหาลุกขึ้นแถลงว่าประสงค์จะถอนทนายที่เคยแต่งตั้งก่อนหน้านี้ โดยจะขอเข้ารับการไต่สวนและถามคำถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยตัวเอง หลังจากนั้นศาลถามว่าทั้งหกจะให้การเลยหรือรอให้การพร้อมสิรวิชญ์ ทั้งหกตอบว่า จะขอให้การวันนี้เลย
ศาลแนะนำผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดว่า การตั้งทนายมาสู้คดีน่าจะเป็นประโยชน์กับตัวผู้ถูกกล่าวหามากกว่า พร้อมทั้งถาม "เบญจมาศ" ว่าเข้าใจข้อกล่าวหาของตัวเองหรือไม่ "เบญจมาศ" ทวนข้อกล่าวหาให้ศาลฟัง ศาลบอกว่า"เบญจมาศ" ทวนข้อกล่าวหาไม่ครบ "เบญจมาศ" ตอบศาลว่า ที่จำได้ไม่หมดเป็นเพราะยังไม่เคยได้รับเอกสารคดี จากการที่ตนไม่ได้รับอนุญาตให้คัดถ่ายเอกสาร ศาลถามผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดว่าทราบหรือไม่ว่าถูกตั้งข้อกล่าวหาวันไหน ผู้ถูกกล่าวหาระบุวันที่ได้รับหมายจากศาล แต่ศาลกล่าวว่าทั้งหกเพิ่งได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาในวันนี้ ก่อนหน้านี้ทั้งหกยังไม่ถือว่าเป็นผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่มีสิทธิเข้าถึงเอกสาร แต่ขณะนี้ทั้งหกได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาแล้วจากนี้ไปจะมีสิทธิเข้าถึงเอกสารคดี จากนั้นศาลถามผู้ถูกกล่าวหาทีละคนว่ามีทนายความแล้วหรือยังและประสงค์จะหาทนายเองหรือให้ศาลแต่งตั้งให้ ทั้งหกยืนยันเหมือนเดิมว่าไม่ประสงค์จะมีทนาย
หลังจากนั้นศาลถามผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดอีกครั้งว่า จะให้การเลยหรือไม่ ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดกล่าวว่าจะให้การเลยแต่ขอให้ศาลอ่านทวนข้อกล่าวหาให้ฟังอีกหนึ่งครั้ง ศาลจึงอ่านตามคำขอและถามคำให้การ ทั้งหมดให้การปฏิเสธ ศาลสั่งว่าเนื่องจากสิรวิชญ์ยังไม่มาในวันนี้ จึงยังไม่มีการไต่สวนในวันนี้ แต่ให้ทั้งหมดไปทำคำให้การพร้อมบรรยายเหตุผลประกอบการกระทำเป็นลายลักษณ์อักษรนำส่งศาลภายใน 15 วัน หลังจากนั้นศาลถามนักกิจกรรมทั้งหกว่าจะให้ใช้ชื่อใครเป็นผู้ถูกกล่าวหาคนแรกซึ่งชื่อจะปรากฏในเอกสารศาล ทั้งหกขอศาลตกลงกันเองโดยขอใช้ชื่อ "อนุวัฒน์" เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่ง
ต่อมาศาลจึงถามผู้ต้องหาทั้งหมดว่ามีบิดามารดาหรือญาติมาด้วยหรือไม่เพราะจะวางหลักประกันในการปล่อยตัวระหว่างการพิจารณา ทั้งหกตอบว่าไม่มีบิดามารดาหรือญาติมาด้วย แต่มีอาจารย์สองคนมาเป็นนายประกัน ศาลขอให้อาจารย์ทั้งสองยืนขึ้นและถามความเกี่ยวข้องกับนักกิจกรรมทั้งเจ็ด อาจารย์คนที่หนึ่งตอบศาลว่า ไม่ได้เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ทั้งหกศึกษาอยู่ แต่รู้จักทั้งหกจากการทำกิจกรรมฝึกอบรม ขณะที่อาจารย์คนที่สองตอบศาลว่า รู้จักทั้งหกเพราะเคยสอนบางวิชา ศาลแจ้งกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกว่า โดยปกติการใช้บุคคลเข้าประกันจะต้องเป็นญาติหรือคนรู้จักใกล้ชิด ซึ่งอาจารย์ทั้งสองอาจจะไม่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว จากนั้นในเวลาประมาณ 11.30 น. ศาลขอพักการพิจารณาสิบนาที
ในเวลาประมาณ 12.30 น. ศาลกลับมาขึ้นบัลลังก์อีกครั้งและแจ้งกับผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกว่าเพื่อความสะดวกในการดำเนินการพิจารณา ให้เรียก "อนุวัฒน์", "เบญจมาศ", ณรงค์ฤทธิ์, ภานุพงศ์, ฉัตรมงคล, พายุ เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่งถึงหกตามลำดับ และกำหนดวันนัดใหม่กับผู้ต้องหาทั้งหก โดยเบื้องต้นศาลจะนัดไต่สวนอีกครั้งในวันที่ 19 พฤษภาคม 2560 แต่ทั้งหกติดสอบจึงแถลงขอให้ศาลนัดวันใหม่เป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 ศาลกำชับให้ทนายที่มาเป็นตัวแทนสิรวิชญ์ไปกำชับให้สิรวิชญ์มาศาลในวันนัดด้วย หลังจากนั้นศาลแจ้งผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดว่าอนุญาตให้อาจารย์ใช้ตำแหน่งประกันได้โดยตีราคาประกันคนละ 50,000 บาท และให้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดรอคำสั่งประกันที่ห้องพิจารณาคดีโดยนักกิจกรรมทั้งหกได้รับการปล่อยตัวจากศาลในช่วงบ่ายก่อนเวลา 14.00 น.
การกระทำในวันเกิดเหตุเป็นเพียงการใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและแสดงออกโดยสุจริต เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของนักศึกษาและเยาวชนต่อกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น และไม่ได้เป็นการขัดขวางการอำนวยความยุติธรรมของศาลแต่อย่างใด
นอกจากนั้นการแสดงความคิดเห็นของผู้ถูกกล่าวหาทั้งหกที่แสดงต่อกระบวนการยุติธรรมไม่อาจมีอิทธิพลเหนือความคิดของบุคคลอื่นได้ เนื่องจากประชาชนทุกคนมีเสรีภาพทางความคิดและเสรีภาพทางความเชื่อ สามารถใช้วิจารณญาณของตนได้อยู่แล้ว
31 พฤษภาคม 2560
นัดไต่สวนละเมิดอำนาจศาล
นัดไต่สวนพยาน
ในช่วงเช้าเป็นการไต่สวนส.ต.ธนากร น้อยสุขหัวหน้าหน่วยรักษาความปลอดภัยศาลจังหวัดขอนแก่นผู้ทำบันทึกข้อความถึงผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดขอนแก่น ให้ตั้งเรื่องให้มีการไต่สวนว่ามีการละเมิดอำนาจศาลเกิดขึ้นหรือไม่ โดยพยานปากนี้เป็นพยานฝ่ายผู้กล่าวหาคนสุดท้าย ต่อมาในช่วงบ่ายเป็นการไต่สวน "เบญจมาศ" หนึ่งในนักกิจกรรมที่ถูกกล่าวหาในคดีนี้เป็นพยานฝ่ายผู้ถูกกล่าวหาปากแรก
ส.ต.ธนากรเบิกความว่าในวันเกิดเหตุตนเองดูแลความเรียบร้อยในบริเวณอาคารศาลแต่ไม่ได้อยู่ในห้องพิจารณาคดีของจตุภัทร์ ต่อมาเมื่อประชาชนออกจากห้องพิจารณาคดีได้เดินไปที่ศาลาที่พักประชาชนซึ่งอยู่ใกล้ทางออกประตูใหญ่ศาลจึงตามไปด้วย เมื่อไปถึงพบว่ามีประชาชนร้องเพลง ส.ต.ธนากรเบิกความด้วยว่าได้ห้ามผู้หญิงมีอายุคนหนึ่งซึ่งกำลังจะเดินไปร่วมกิจกรรมบริเวณนั้น
ต่อมาเมื่อนักกิจกรรมและประชาชนเดินไปที่หน้าศาลก็ได้ตามไปด้วยโดยไปยืนบริเวณฝั่งตรงข้ามป้ายศาลจังหวัดขอนแก่นและสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาถ่ายวิดีโอการทำกิจกรรมไว้โดยเป็นการสั่งการด้วยตัวเองไม่ใช่การรับคำสั่งจากผอ.ศาลฯ
เมื่อทนายถามว่าส.ต.ธนากรเคยผ่านการอบรมเรื่องกฎหมายละเมิดอำนาจศาลว่ามีขอบเขตอย่างไรหรือไม่ ส.ต.ธนากรตอบว่าไม่ทราบแต่การตั้งเรื่องให้ดำเนินคดีเกิดจากการที่นักกิจกรรมมีการไปแสดงออกบริเวณหน้าป้ายศาลและมีการทำสัญลักษณ์ตราชั่งเอียงพร้อมรองเท้าบุ๊ททหาร
ส.ต.ระบุด้วยว่าการทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในบริเวณศาลทำไม่ได้ส่วนด้านนอกศาลไม่รู้ว่าทำตรงไหนได้แต่จะทำบริเวณป้ายศาลไม่ได้
หลังไต่สวนพยานปากนี้เสร็จใกล้เวลา 12.00 น. ศาลสั่งพักการพิจารณาคดีและนัดไต่สวนต่อช่วงบ่ายในเวลา 14.00 น.
ไต่สวนพยานผู้ถูกกล่าวหาปากที่หนึ่ง "เบญจมาศ"ผู้ถูกกล่าวหาที่สอง
เกี่ยวกับกิจกรรมในวันเกิดเหตุ "เบญจมาศ"กับพวกกลุ่มดาวดินนัดหมายมาที่ศาลเพื่อให้กำลังใจจตุภัทร์ ซึ่งในวันเดียวกันมีประชาชนกลุ่มอื่นมาให้กำลังใจด้วยประมาณ 30 - 40 คน แต่ไม่ทราบว่าในบรรดาคนที่มาในวันเกิดเหตุจะมีใครมาที่ศาลในวันนี้หรือไม่เนื่องจากไม่ได้สนใจ
เกี่ยวกับความหมายของอุปกรณ์ที่นำมาติดตั้ง "เบญจมาศ" เบิกความว่าอุปกรณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นเป็นรูปตราชั่งเอียง ข้างหนึ่งมีรองเท้าทหาร อีกข้างหนึ่งมีนกกระดาษเป็นสัญลักษณ์แทนสิทธิเสรีภาพของประชาชนที่ถูกจำกัดโดยทหาร
สำหรับเนื้อหาของกิจกรรม "เบญจมาศ" เบิกความว่ามีทั้งการอ่านแถลงการณ์ ร้องเพลงและอ่านกวี ซึ่งทั้งหมดมีเนื้อหาเป็นการให้กำลังใจจตุภัทร์ในการสู้คดีและให้เชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ไม่มีข้อความหยาบคายหรือว่าร้ายศาล การทำกิจกรรมใช้เวลาประมาณ 10 นาทีหลังจากนั้นทางกลุ่มก็แยกย้ายกันเก็บขยะและแยกย้ายกันกลับ
สำหรับภาพถ่ายตราชั่งเอียงที่ไม่มีคนอยู่ในภาพและมีรองเท้าแตะใส่อยู่ในกระป๋องซึ่งแขวนอยู่ตรงข้ามกับรองเท้าบู้ท เบญจมาศเบิกความว่าไม่ทราบว่าใครเป็นผู้นำมาใส่ไว้ ส่วนภาพกลุ่มบุคคลทำกิจกรรมอีกภาพที่ทนายให้ดูก็ไม่เคยเห็นและไม่ทราบว่าเป็นคนกลุ่มไหนแต่ไม่เกี่ยวข้องกับทางกลุ่มเพราะในวันนั้นกลุ่มดาวดินและเพื่อนๆแต่งตัวด้วยชุดนักศึกษาและไม่มีการทำกิจกรรมใส่หน้ากาก
ระหว่างการไต่สวนพยานปาก "เบญจมาศ" บรรยากาศในห้องพิจารณาเกิดความตึงเครียด เนื่องจากตอนที่ "เบญมาศ" ตอบศาลว่าไม่มีบุคคลที่ร่วมทำกิจกรรมในวันที่ 10 กุมภาพันธ์อยู่ในห้องพิจารณาในวันนี้ ศาลก็แจ้งกับผู้เข้าฟังการพิจารณาว่าอาจจะต้องขอถ่ายสำเนาบัตรประชาชนของผู้ร่วมฟังพิจารณาคดีทุกคนไว้เพื่อตรวจสอบ อย่างไรก็ตามเมื่อทนายทักท้วงและ "เบญมาศ" แถลงต่อศาลว่าในวันเกิดเหตุตนไม่ทราบว่าจะมีบุคคลในห้องพิจารณานี้ร่วมอยู่ในเหตุการณ์หรือไม่เพราะไม่ได้สนใจ ศาลก็ไม่สั่งให้มีการถ่ายสำเนาบัตรประชาชนของผู้เข้าร่วมฟังการพิจารณา
นัดไต่สวนพยาน
เมื่อทราบจากทนายของจตุภัทร์ว่า ศาลสั่งพิจารณาคดีลับจึงเดินลงมาจากอาคารศาล เห็นเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบถ่ายรูปประชาชนบริเวณศาลา โดยไม่มีเหตุขัดแย้ง ประชาชนให้ความร่วมมืออย่างดี
ภานุพงศ์เบิกความว่าเวลาเจ้าหน้าที่เข้ามาห้ามทำกิจกรรมมักยกเหตุผลด้านความมั่นคง นอกจากนี้การทำกิจกรรมยังทำให้เจ้าหน้าที่ไปคุกคามครอบครัวของเขาที่บ้านในจังหวัดสุรินทร์ด้วยซึ่งนั่นทำให้ตัวเขารู้สึกอึดอัดและไม่ปลอดภัย
ศาลถามสิรวิชญ์ว่า สามารถหาหลักฐานมายืนยันเรื่องการเดินทางไปพูดคุยกับชาวต่างชาติเรื่องการศึกษาต่อเมื่อวันที่ 27 กันยายน จนทำให้ไม่ได้มาศาลตามนัดได้หรือไม่และชี้แจงว่าหากสิรวิชญ์ไม่นำหลักฐานมายื่นศาลอาจถือว่ามีการผิดสัญญาประกันเกิดขึ้นและต้องยึดเงินประกันของนายประกัน
สิรวิชญ์ยื่นคำร้องประกอบเหตุผลต่อศาลว่า ได้พยายามหาหลักฐานมายื่นต่อศาลเพื่อแสดงว่า ในวันดังกล่าวได้ไปติดต่อเรื่องการเตรียมศึกษาต่อจริง แต่ไม่สามารถหาเอกสารมายืนยันได้ ขณะที่อาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เป็นนายประกันก็แถลงว่าเชื่อว่าสิรวิชญ์ไปพูดคุยเรื่องการศึกษาต่อจริง
หลังฟังสิรวิชญ์และอาจารย์ที่เป็นนายประกันแถลงศาลก็มีคำสั่งว่าไม่มีเหตุให้ริบเงินประกันเนื่องจากในนัดที่สิรวิชญ์ไม่มาศาลไม่มีผลกระทบต่อกระบวนพิจารณาและในนัดต่อมาสิรวิชญ์ก็มาศาลตามนัดไม่ได้มีพฤติการณ์หลบหนี
เอกสารของ"เบญจมาศ" ผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่ง ส่วนที่เป็นประวัติส่วนตัวระบุว่าเธอไม่เคยมีประวัติถูกดำเนินคดี แต่ในเอกสารส่วนที่เป็นพฤติการณ์การกระทำความผิดระบุว่า "เบญจมาศ" มีพฤติการณ์เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองและถูกดำเนินคดีหลายครั้ง
ขณะที่กรณีของภาณุพงศ์ เอกสารส่วนที่เป็นพฤติการณ์การกระทำความผิดระบุว่าเขาเคยเป็นแกนนำชุมนุมคัดค้านการนิรโทษกรรมแต่ภานุพงศ์ระบุว่าเขาเข้าร่วมการชุมนุมหลังการรัฐประหารเท่านั้น ศาลจึงสั่งให้พักการพิจารณาในช่วงเช้าและสั่งให้เรียกพนักงานคุมประพฤติมาชี้แจงก่อนอ่านคำสั่งศาลในช่วงบ่าย
หลังตรวจทานเอกสารร่วมกัน ศาลแจ้งให้พนักงานคุมประพฤติตัดเอกสารส่วนที่เป็นพฤติการณ์การกระทำความผิดซึ่งเป็นจุดที่ผู้ถูกกล่าวหาทุกคนทักท้วงว่าคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริงออก
ศาลย้ำว่าเอกสารการสืบเสาะของพนักงานคุมประพฤติศาลเพียงแต่นำมาประกอบการใช้ดุลพินิจในการทำคำสั่งหรือคำพิพากษาเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเชื่อตาม เพราะบางกรณีพนักงานคุมประพฤติอาจแนะนำว่าไม่ควรรอลงอาญาโทษจำคุกแต่ระหว่างการสืบพยานหากศาลเห็นว่าจำเลยหรือผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสกลับตัวศาลก็อาจรอลงอาญาโทษจำคุกให้ได้
ศาลยังแนะนำพนักงานคุมประพฤติด้วยว่าในอนาคตควรแยกเอกสารส่วนที่เป็นประวัติหรือความประพฤติทั่วไปของผู้ถูกสืบเสาะออกจากเอกสารส่วนที่เป็นความเห็นหรือพฤติการณ์การกระทำความผิดเพื่อป้องกันไม่ให้เอกสารที่เป็นความลับระหว่างศาลกับพนักงานคุมประพฤติรั่วไหลออกไปภายนอกอีก
อีกทั้งความผิดในคดีนี้ก็เป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาลซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการชุมนุมทางการเมือง ศาลชี้แจงกับทนายว่าไม่ควรก้าวล่วงความเห็นของพนักงานคุมประพฤติและความเห็นดังกล่าวก็ไม่ได้มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด การมีคำสั่งบังคับใดๆเป็นดุลพินิจของศาล หลังจากนั้นศาลสั่งให้พนักงานคุมประพฤตินำรายงานการสืบเสาะไปแก้ไขและนัดให้มาส่งในเวลา 16.00 น.และสั่งพักการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อน
ในส่วนของผู้ถูกกล่าวหาที่หนึ่งถึงหก เห็นว่ายังเป็นนักศึกษา ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมของศาล จึงอาจถูกบุคคลอื่นชักจูงให้เข้าใจศาลไปในทางที่ผิด จึงให้รอการกำหนดโทษไว้เป็นเวลาสองปี และให้ทำการคุมประพฤติเป็นเวลาหนึ่งปี โดยให้ให้เข้ารายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติหกครั้งในหนึ่งปีและบำเพ็ญประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติกำหนดเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และห้ามคบค้าสมาคม หรือจัดกิจกรรม หรือรวมตัวกันในลักษณะที่อาจนำไปสู่การกระทำความผิดในทำนองเดียวกันนี้อีก
แต่ในชั้นของการถามค้านพยานคนเดียวกันกลับตอบว่าได้ยินถ้อยคำที่กลุ่มคนที่ทำกิจกรรมพูดไม่ชัดเจน แต่เท่าที่ได้ยินไม่มีการพูดถึงศาลจังหวัดขอนแก่น พยานคนเดียวกันยังยืนยันด้วยว่าหลังทำกิจกรรมแล้วเสร็จผู้ทำกิจกรรมก็เก็บของกลับไปโดยไม่มีความวุ่นวาย
และจากการสอบถามพยานผู้กล่าวหาที่เป็นผู้อำนวยการ สำนักอำนวยการศาลจังหวัดขอนแก่นก็ได้ความว่า มีการประสานให้เจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาดูแลความเรียบร้อย ให้ตรวจสอบบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีของจตุภัทร์ ทั้งการสอบถามชื่อที่อยู่ โดยที่คดีอื่นจะไม่มีการดำเนินการลักษณะดังกล่าว การนำรองเท้าบูทมาแขวนที่สัญลักษณ์ตราชูเอียงจึงเป็นการแสดงออกถึงการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของทหารที่กระทบสิทธิผู้มาให้กำลังใจจตุภัทร์เกินสมควร
และหลังวันเกิดเหตุเมื่อศาลออกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัวและข้อห้ามที่ปฏิบัติไม่ได้ ผู้ถูกกล่าวหาก็ไม่มีการจัดกิจกรรมในลักษณะดังกล่าวอีก และ พยานผู้กล่าวหาเองก็เบิกความว่าแม้จะมีผู้มาสนับสนุนจตุภัทร์จำนวนมากแต่ก็ไม่มีการขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของศาล
ในวันนี้พ่อและแม่ของจตุภัทร์หรือ "ไผ่ ดาวดิน" เดินทางร่วมฟังคำสั่งศาลด้วย ขณะที่บรรยากาศที่หน้าห้องพิจารณาคดีก็มีเจ้าหน้าที่สารมาตั้งโต๊ะรับฝากโทรศัพท์มือถือซึ่งห้องพิจารณาคดีที่อยู่ติดกันอีกสองห้องก็มีการพิจารณาคดีอยู่แต่ไม่มีการดำเนินการในลักษณะดังกล่าว
เวลาประมาณ 10.30 น. ศาลอ่านคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 4 ซึ่งมีมีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นว่าการกระทำของผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล
เนื่องจากคดีนี้ผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดเพียงแต่ใช้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ไม่ได้มีพฤติการณ์รุนแรงหรือก่อภยันตรายต่อสังคม อันจะเป็นเหตุให้ศาลกำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติ ห้ามไม่ให้ทั้งเจ็ดคบค้าสมาคมได้ นอกจากนั้นศาลก็ไม่ได้กำหนดเวลา สถานที่ และตัวบุคคลให้ชัดเจน ผู้ถูกกล่าวหาจึงไม่อาจทราบว่า การรวมตัวแบบใดที่เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการคุมประพฤติของศาล การกำหนดเงื่อนไขการคุมประพฤติที่กว้างจึงเป็นการกระทบต่อการใช้เสรีภาพการแสดงออกของผู้ถูกกล่าวหาทั้งเจ็ดเกินสมควร