- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
บัณฑิต อาร์ณีญาญ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
"คุณค่าแห่งความเป็นคน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยทั้งแผ่นดิน จะต้องสูงกว่าฝุ่นละอองที่ติดอยู่ที่ฝ่าเท้าของคนบางคน"
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การพูด / ปราศรัย
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
บัณฑิต ไปแสดงความคิดเห็นหลังการเสวนาเรื่อง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จัดโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ ที่คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2558 โดยเขาเสนอความเห็นให้บัญญัติเรื่องที่เขาเห็นว่าสำคัญ 5 เรื่องไว้ในรัฐธรรมนูญ และข้อหนึ่งในนั้นระบุถึงเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันโดยเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่ามีส่วนที่พาดพิงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ฯ หลังจบการเสวนา ตำรวจ สน.ชนะสงครามที่มาสังเกตการณ์การจัดเสวนาได้เชิญตัวเขาไปโรงพักเพื่อทำการตักเตือนและให้ลงนามในข้อตกลงว่าจะไม่แสดงความเห็นลักษณะนี้อีก โดยไม่ได้ดำเนินคดีแต่อย่างใด กระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจออกหมายจับเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 ที่นำมาซึ่งการจับกุมในคดีนี้
15 พฤศจิกายน 2559 บัณฑิตถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม แสดงหมายจับและจับกุมตัวไปจากห้องพักย่านหนองแขมและนำตัวไปที่สน.ชนะสงคราม
ประชาไทรายงานว่า บัณฑิต ถูกตำรวจจับกุมตัวตามหมายจับที่ออกเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2559 ที่ห้องพักย่านหนองแขมแล้วนำตัวไปรับทราบข้อกล่าวหาความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ที่สน.ชนะสงคราม เขาให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหาและถูกควบคุมตัว 1 คืนก่อนพนักงานสอบสวนจะนำตัวมาฝากขังยังศาลทหาร ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2559
ประชาไทรายงานว่า หลังพนักงานสอบสวนนำตัวบัณฑิตไปศาลทหารเพื่อขออำนาจศาลฝากขังผัดแรก 12 วันเเล้ว ทางทนายขอยื่นประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์เป็นเงินสด 300,000 บาท แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยระบุเหตุผลว่า ในขณะพิจารณาคำร้อง พนักงานสอบสวนไม่ได้อยู่ที่ศาลและไม่สามารถติดต่อได้จึงได้งดการถาม ตรวจสำนวนฝากขังและคำร้องขอปล่อยชั่วคราวแล้วเห็นว่าพนักงานสอบสวนคัดค้านการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาเนื่องจากเป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ประกอบกับพิจารณาหลักประกันที่ผู้ร้องยื่นมายังไม่เพียงพอที่ศาลใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ในชั้นนี้จึงไม่อนุญาต ให้ยกคำร้อง โดยหลังศาลมีคำสั่งอนุมัติฝากขังเจ้าหน้าที่ได้นำตัวนายบัณฑิตไปคุมขังยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ โดยทันที
17 พฤศจิกายน 2559
25 มิถุนายน 2561
นัดสืบพยานโจทก์ พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์
ศาลนัดสืบพยานเวลา 8.30 น. เวลาประมาณ 9.44 ศาลนั่งบัลลังก์ ในห้องพิจารณานอกจากบัณฑิตแล้ว มีผู้สังเกตการณ์จากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
สืบพยานต่อจากวันนัดพิจารณาคดีคราวก่อน
ทนายจำเลยถามค้านต่อจากคราวก่อน ทนายให้พยานดูเอกสาร (เป็นเอกสารที่เป็นหนังสือเพื่อส่งให้กองบังคับการนครบาล1และผู้บัญชาการนครบาล1จะส่งให้ผู้บัญชาการนครบาล) และในเอกสารมีความว่า กองบังคับการนครบาล1ให้ความเห็นว่ากรณีนี้เข้าข่ายการทำผิดม.112 ประมวลกฎหมายอาญาและให้ต้องคณะกรรมการสืบสวนสอบสวน
พยานตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถาม พ.ต.อ.สมยศ การมีหนังสือดังกล่าวมานี้ที่มีความว่าจำเลยอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดตามม.112 ประมวลกฎหมายอาญา ทำให้พยานไปแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ม.112 ประมวลกฎหมายอาญา แต่ในเอกสารดังกล่าวไม่ได้แจ้งให้พยาน เป็นผู้ไปร้องทุกข์กล่าวโทษ และศาลถามแทรกอีกว่า เมื่อมีการตั้งคณะกรรมการพนักงานสอบสวนก็มีคำสั่งให้พยานไปร้องทุกข์กล่าวโทษ ใช่หรือไม่
พยาน ตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยถาม สน.ชนะสงครามได้ทำการสอบสวนพยานบุคคลจนได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนแล้วใช่ไหม พ.ต.อ.สมยศ ตอบว่า ใช่ สน.ชนะสงครามสอบพยานครบแล้วและพยานไปร้องทุกข์กล่าวโทษ
ศาลถาม ตามเอกสารดังกล่าวต้องผ่านคณะกรรมการคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพก่อนจะตั้งคณะกรรมการพนักงานสืบสวนสอบสวนใช่หรือไม่ พยาน ตอบว่า ใช่
แต่พยานไม่ได้เป็นคณะกรรมการพนักงานสืบสวนสอบสวน
ทนายจำเลยอีกว่าถาม เหตุที่พยานแจ้งความเพราะคำสั่งของกองบังคับการนครบาล1ใช่หรือไม่ " เป็นความเห็นของสน.ชนะสงคราม ซึ่งเป็นกระบวนการทางราชการเพราะสน.ชนะสงครามได้สืบพยานครบแล้ว จึงเป็นความเห็นของพนักงานสอบสวน สน.ชนะสงคราม"พยานตอบ
จากนั้นเป็นคำถามเกี่ยวกับ พนักงานสอบสวนให้พยานมาร้องทุกข์กล่าวโทษและพยานก็ไปร้องทุกข์กล่าวโทษในวันที่ 20 ตุลาคม 2559 ซึ่งตัวพยานได้ให้การกับพนักงานสอบสวนเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 และ 14 กรกฎาคม 2559 และ 20 ตุลาคม 2559 โดยพยานให้การว่า ข้อความดังกล่าวไม่ผิด ม.112 ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา และต่อมา คำพูดของจำเลยมีความหมิ่นเหม่ต่อความผิดม.112 ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาใช่ไหม พยานตอบว่า ใช่
และพบานรับว่าใช่เมื่อ ทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารที่มีคำให้การที่เขียนว่า การกระทำหมิ่นเหม่ และถามว่า ไม่มีการเขียนว่าจำเลยทำผิดตามม.112
อัยการทหารถามติง
อัยการให้พยานยืนยันคำให้การที่ให้ไว้ในวันที่ 16 กันยายน 2558 พยานยืนยันคำให้การและเบิกความว่าการพิจารณาทำคนเดียวไม่ได้ต้องมีบุคคลหลายฝ่ายจึงบอกไปว่าจำเลยยังไม่ได้กระทำความผิด และส่วนคำเบิกความในวันที่ 20 ตุลาคม 2559 หลังจากที่บุคคลหลายฝ่ายให้ความเห็นแล้วยืนยันว่ามีความผิดจึงให้การในฐานะผู้กล่าวหาแล้วไปกล่าวโทษ
สืบพยานปาก ร.ต.อ.สิทธิชัย เคียงสูงเนิน
เริ่มสืบพยานในเวลาประมาณ 10.37 น.
ทนายจำเลยถามค้านต่อจากคราวก่อน พยานเบิกความว่า จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหงและรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจมา 32 ปี ซึ่งพยานไม่เคยเป็นพนักงานสอบสวนมาก่อน แต่มีความรู้ด้านกฎหมายดี เพราะจบนิติศาสตร์
ทนายจำเลยถาม พยานอยู่ในห้องหรือนอกห้องเสวนาในวันเกิดเหตุ พยานตอบ อยู่ในห้องตรงที่ควบคุมกล้อง วีดีโอ ทนายจำเลยถาม ในวันเกิดเหตุมีกล้องวีดีโอของนักข่าวด้วยหลายตัวใช่ไหม พยานตอบว่า ใช่
ทนายจำเลยถาม พยานอยู่ในห้องแล้วพ.ต.อ.สมยศ อยู่ในห้องไหม พยานตอบว่า เข้าๆออกๆ
ทนายจำเลยถาม ในห้องเสวนามีเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาด้วยหรือไม่ พยานตอบ ไม่ทราบ
ทนายจำเลยถาม ที่พยานเบิกความนัดก่อนว่า ได้รับคำสั่งพ.ต.อ.สมยศให้ติดตามจำเลยและควบคุมตัว(เชิญตัว)พยานใช้อำนาจอะไร พยานตอบ ตอนนั้นยังไม่ทราบว่าจำเลยกระทำความผิดทางอาญาหรือไม่
ส่วนวันที่ควบคุมตัวไป สน.ชนะสงคราม นั้นพยานไม่ได้เป็นคนปรับทัศนคติแค่ส่งตัวจำเลยให้ พ.ต.อ.สมยศ และพยานก็เดินเข้าๆออกๆในห้องนั้นไม่ได้อยู่ตลอด
จากนั้นทนายให้พยานดูเอกสาร ซึ่งเป็นคำพูดที่จำเลยพูดในห้องเสวนาจำเลยพูดว่า “ขอบคุณมากครับผมเสนอในปี 2540 ให้บัญญัติในรัฐธรรมนูญ5ข้อดังต่อไปนี้......” พยานคิดว่าอย่างไรที่จำเลยเคยพูดมาแล้วก่อนในปี2540แล้วใช่หรือไม่
พยานตอบ คิดว่าพยานพูดอย่างนั้นเพื่อเข้าข้างตัวเองแต่เข้าใจได้ว่าพูดเช่นนั้นจริง
ทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารอีกครั้ง เป็นข้อความการปรับทัศนคติซึ่งพยานเป็นผู้ควบคุมการพิมพ์ ในฐานะพยานเป็นคนพิมพ์แม้ว่าจะให้ลูกน้องพิมพ์ให้ก็ตาม แต่พยานจะเห็นได้ว่าไม่มีข้อความว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
พยานตอบ ใช่ เป็นการหมิ่นเหม่ไม่ใช่การกระทำความผิดตามม.112 ประมวลกฎหมายอาญา
ทนายจำเลยถาม คำว่าหมิ่นเหม่หมายความว่าใกล้ เกือบ แต่ไม่ใช่การกระทำความผิด
พยานตอบ ใช่ ประมาณนั้น
ทนายจำเลยถามอีกว่า วันที่ 16 กันยายน 2558 พยานให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนพยานว่า กรณีดังกล่าวไม่ใช้คำราชาศัพท์และไม่ระบุเจาะจงถึงใคร ต่อมา 14 กรกฎาคม 2559 พยานให้ปากคำเพิ่มเติมและยืนยันคำให้การในวันที่ 16 กันยายน 2558 และพยานตอบ ยืนยันตามนี้
ทนายถามว่า ต่อมาภายหลัง พยานทราบว่ามีคำสั่งให้ดำเนินคดีกับจำเลยโดยให้ พ.ต.ท.สมยศ (ในเวลานั้น) เป็นคนกล่าวโทษใช่หรือไม่ พยาน ตอบใช่
ทนายจำเลยถามว่า วันที่ 20 ตุลาคม 2559 พยานให้การเป็นพยานว่า การพูดทำให้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสื่อมเสียพระเกียรติ และขอเอาคำให้การเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2558 และ 14 กรกฎาคม 2559 รวมอยู่ในคำให้การนี้ด้วยใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ใช่ จากนั้นทนายจำเลยหมดคำถามค้าน
อัยการโจทก์ไม่ถามติง
28 มกราคม 2563
นัดพร้อม
ศาลนัดสืบพยานที่เหลือในวันที่ 19 20 และ 24 พฤศจิกายน 2563
24 พฤศจิกายน 2563
นัดสืบพยานโจทก์จำเลย
สืบพยานโจทก์ปาก พ.ต.ท.หญิงชมพูนุช อนันตญากุล พนักงานสอบสวนในคดี
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิกความว่า ปัจจุบันรับราชการอยู่ที่ สภ.ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต แต่ขณะเกิดเหตุคดีนี้รั
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิกความต่อว่
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิกความต่อว่า หลังการเสวนาเจ้าหน้าที่ได้เชิ
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิกความต่อว่า ในการดำเนินการทางคดี พนักงานสืบสวนจัดทำแผ่นบันทึ
พ.ต.ท.ชมพูนุชยังได้เรียกพยานบุ
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิกความต่อว่า หลังจำเลยถูกจับกุมตัว พนักงานสอบสวนแจ้งข้อกล่
ตอบทนายจำเลยถามค้าน
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิ
ทนายจำเลยถามถึงรายละเอี
ทนายจำเลยถามต่อไปว่า หลังมีการร้องทุกข์กล่าวโทษแล้
พ.ต.ท.ชมพูนุชเบิ
ทนายจำเลยถามต่อว่าระเบียบสำนั
ทนายจำเลยถามว่าการตีความคำพู
ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ตอบอัยการถามติง
พ.ต.ท.ชมพูนุชตอบคำถามอัยการว่า ที่คิดว่าถ้อยคำตามฟ้
อัยการแถลงหมดคำถาม
หลังเสร็จการสืบพยานปาก พ.ต.ท.ชมพูนุช อัยการแถลงหมดพยาน ทนายจำเลยแถลงขอพัก 5 นาทีเพื่อให้จำเลยเข้าห้องน้ำ จากนั้นศาลจึงให้
สืบพยานจำเลย
สืบพยานจำเลยปากที่หนึ่ง บัณฑิต-จำเลยเบิกความเป็
บัณฑิตเบิกความว่าเขาเป็นชาวจี
ทนายจำเลยถามบัณฑิตว่า ศาลฎีกาเคยมีคำวินิจฉัยว่าเขาป่
เกี่ยวกับคดีนี้บัณฑิตเบิ
ทนายจำเลยถามต่อว่า หลังบัณฑิตพูดประโยคตามฟ้
ทนายจำเลยถามบัณฑิตว่าเขาถู
ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ตอบอัยการถามค้าน
อัยการถามว่าตอนที่บัณฑิตเสนอ 5 ข้อเสนอรวมทั้งข้อที่ 3 ซึ่งเป็นมูลเหตุคดีนี้ ตั้งใจให้ไปอยู่ในหมวดไหนของรั
บัณฑิตเบิกความต่อว่า สิ่งที่เขาพูดเขาเชื่อว่าไม่ผิ
บัณฑิตเบิกความตอบอัยการต่อว่
บัณฑิตเบิกความต่อว่าที่เขาพู
อัยการแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยไม่ถามติ
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลทหารกรุงเทพว่า ในวันที่12 กันยายน 2558 มีงานเสวนาเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.? ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดโดยขบวนการประชาธิปไตยใหม่ มีประชาชนเข้าร่วมอยู่ในงานหลายคน
จำเลยซึ่งอยู่ในงานเสวนาด้วยได้แสดงความคิดเห็นในงานเสวนาโดยกล่าวว่า
"คุณค่าแห่งความเป็นคน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยทั้งแผ่นดิน จะต้องสูงกว่าฝุ่นละอองที่ติดอยู่ที่ฝ่าเท้าของคนบางคน"
โดยคำว่าฝุ่นที่เกาะอยู่ใต้ฝ่าเท้าของคนบางคนมาจากคำว่าใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทซึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นการดูหมิ่น หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้าซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์ในขณะนั้น โดยประการที่น่าจะทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ถูกดูหมิ่น และเกลียดชัง จำเลยให้การปฏิเสธ
ระหว่างที่คดีมีการพิจารณาในศาลทหาร ระหว่างการพิจารณาคดีในเดือนกรกฎาคมปี 2562 มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 9/2562 ให้โอนย้ายคดีของพลเรือนที่อยู่ในการพิจารณาของศาลทหารมาพิจารณาต่อที่ศาลยุติธรรม คดีของจำเลยถูกโอนมาที่ศาลนี้และศาลได้สอบคำให้การอีกครั้งและจำเลยยืนยันให้การปฏิเสธ
ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้ว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุ มีการเสวนาในหัวข้อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.? มีพ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ และร.ต.อ.สิทธิชัย เคียงสูงเนินจาก สน.ชนะสงคราม พยานโจทก์ เบิกความตรงกันว่า ในวันเกิดเหตุมีการเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศษสตร์ มีนักการเมืองและนักวิชาการเช่น รังสิมันต์ โรม จาตุรนต์ ฉายแสง และปิยบุตร แสงกนกกุล ร่วมการเสวนา เมื่อผู้ดำเนินรายการเปิดให้ผู้ร่วมงานร่วมแสดงความคิดเห็น จำเลยยกมือและกล่าวตอนหนึ่งว่า
"คุณค่าแห่งความเป็นคน และศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ของคนไทยทั้งแผ่นดิน จะต้องสูงกว่าฝุ่นละอองที่ติดอยู่ที่ฝ่าเท้าของคนบางคน"
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่
โจทก์มีพ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ และร.ต.อ.สิทธิชัย เคียงสูงเนินเบิกความเป็นพยานตรงกันว่า จำเลยไปเข้าร่วมงานเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และได้แสดงความคิดเห็นตอนหนึ่งตามฟ้อง ระหว่างนั้นพ.ต.อ.สมยศบันทึกภาพ เสียง การเสวนาและได้ถ่ายภาพนิ่งของจำเลยไว้ จากนั้นได้เชิญตัวจำเลยไปทำประวัติที่สถานีตำรวจนครบาลชนะสงคราม และได้ทำบันทึกการปรับทัศนคติจำเลยไว้
และโจทก์มีปิยะพร หาดทราย จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เบิกความตอบโจทก์ว่าเมื่ออ่านคำตามฟ้องของจำเลยเข้าใจว่าผู้พุดหมายถึงพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า พระมหากษัตริย์ไทยในขณะนั้น เพราะถ้อยคำตามฟ้องไปพ้องกับคำราชาศัพท์ว่า ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ซึ่งเป็นคำที่ใช้เฉพาะกับพระมหากษัตริย์ แต่ต่อมาพยานปากปิยะพรเบิกความตอบทนายจำเลยว่า คำว่าฝุ่นละอองเป็นคำทั่วไป และคำว่าคนบางคนก็ไม่ได้หมายถึงบุคคลใด ตัวประโยคเป็นคำพูดทั่วๆไป คำให้การพยานปากนี้มีลักษณะกลับไปกลับมา
ทั้งได้ความว่าพยานปาก พ.ต.อ.สมยศและร.ต.อ.สิทธิชัย เคยให้การเป็นพยานกับพนักงานสอบสวนรวมสามครั้ง ครั้งแรกให้การว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดเพราะไม่ได้ใช้คำราชาศัพท์ ไม่ได้เอ่ยนามบุคคลใด จึงใหม่ใช่การหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อมาพยานทั้งสองให้การในครั้งที่สองว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองมีลักษระเป็นการหมิ่นเหม่ และครั้งที่สามจึงมาให้การว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดเพราะเป็นการให้ความเห็นเชิงเปรียบเปรย
พยานโจทก์ทั้งสองคนเป็นพยานคนเดิม ให้การเกี่ยวกับประโยคเดิม ในสถานที่เดิมคือสน.ชนะสงครามแต่ให้ความคิดเห็นไปในลักษณะแตกต่างกัน ข้อความตามฟ้องของจำเลยเป็นข้อความที่ต้องอาศัยการตีความซึ่งวิญญูชนอาจตีความแตกต่างกันได้
จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าตนเองอพยพมาจากประเทศจีนมาอาศัยอยู่ที่ประเทศไทย และจำเลยเคยอ่านหนังสือของเดือน บุนนาค ที่กล่าวว่า คนจีนเป็นคนเห็นแก่ตัว เวลาจะเอาประโยชน์จากใครก็เรียกนายเท้าใต้เท้า ที่จำเลยพูดประโยคตามฟ้องมีเจตนาต้องการสื่อว่าต้องยกคุณค่าและศักดิศรีความเป็นมหนุษย์ของคนไทยให้สูงขึ้น
พิจารณาแล้วพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีข้อน่าสงสัยตามสมควร ต้องยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย พิพากษายกฟ้อง