- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สามารถ
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ศาลไม่รับฟ้อง
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61
เนื้อหาคดีโดยย่อ
สามารถ จัดทำใบปลิวข้อความว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ 7 ส.ค. VOTE NO” ในลักษณะเอกสารใบปลิว และนำไปเสียบไว้บริเวณที่ปัดน้ำฝนรถยนต์ที่จอดอยู่ภายในลานจอดรถของห้างพันธ์ทิพย์พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเจ้าหน้าที่ได้จับกุมและดำเนินคดีสามารถฐานผิดพ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 วรรคสอง
สามารถถูกควบคุมตัวอยู่ควม 11 วันก่อนได้ประกันตัว ในชั้นศาลผู้ต้องหายอมรับว่าเป็นคนไปแจกใบปลิวจริง แต่ทำไปโดยจิตใจบริสุทธิ์ เชื่อว่าสิ่งที่ทำไม่เป็นความผิด จึงต่อสู้คดี ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากข้อความในใบปลิวไม่อาจโยงถึงร่างรัฐธรรมนูญได้
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สามารถ อายุ 63 ปี ขณะถูกจับกุม เรียนจบจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบอาชีพช่วยครอบครัวขายภาพโมเสคที่ร้านค้าในจังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลจากเพื่อน ระบุว่าสามารถเข้าร่วมเคลื่อนไหวกับกลุ่มคนเสื้อแดงในฐานะมวลชนอิสระ เป็นพยาบาลอาสาในการชุมนุมใหญ่ของคนเสื้อแดงที่ราชประสงค์เมื่อปี 2553
ด้านสุขภาพสามารถมีโรคประจำตัวคือเบาหวานและความดัน ต้องทานยาเป็นประจำเพื่อดูแลเรื่องอาการเบาหวาน ทำให้อาจประสบความยากลำบากในการดูแลโรคประจำตัวขณะถูกคุมขัง
อ่านชีวิตของสามารถต่อได้จาก เรื่อง 'ลมหายใจยังไม่แพ้' ของ 'น็อตตัวเล็กๆ' ที่ยึดสู้สร้างบรรทัดฐานคดีพ.ร.บ.ประชามติฯ ได้คลิกที่
ข้อกล่าวหา
ก่อความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
เชียงใหม่
-
ศาล
ศาลจังหวัดเชียงใหม่
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลจังหวัดเชียงใหม่ No: อ.3542/2559
ตามบรรยายฟ้องระบุว่า 20 กรกฎาคม 2559 สามารถ แพร่ข้อความ รูปภาพในกระดาษแผ่นพับ มีข้อความว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ 7 ส.ค. VOTE NO” เป็นข้อความลักษณะรุนแรง ปลุกระดม ให้ประชาชน เข้าใจผิด ว่าร่างรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเผด็จการ โดยหวังให้ประชาชนไปลงมติไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ และประเด็นเพิ่มเติมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในวันลงประชามติ 7 สิงหาคม 2559 ถือว่าก่อความวุ่นวาย เพื่อให้ออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย
วันที่ 23 กรกฎาคม 2559 เวลาก่อน 8.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มณฑลทหารบกที่ 33 และฝ่ายปกครองราว 60 นาย อาศัยอำนาจตาม มาตราที่ 44 เข้าทำการตรวจค้นและจับกุม สามารถ ตามหมายจับศาลจังหวัดเชียงใหม่ ที่บ้านของสามารถ
พร้อมตรวจยึดของกลางคือ แผ่นปลิวจำนวน 405 ใบ ระบุข้อความว่า “เผด็จการจงพินาศ ประชาธิปไตยจงเจริญ 7 ส.ค. Vote No” กระเป๋าเป้ รถจักรยานยนต์ จำนวน 1 คัน เสื้อผ้า รองเท้า รวมของกลางจำนวน 6 รายการ
24 เมษายน 2560
ศาลจังหวัดเชียงใหม่ นัดฟังคำพิพากษาในเวลา 9.00 น. จำเลยและทนายจำเลยมาศาล แต่อัยการโจทก์ไม่มา โดยจำเลยมีเพื่อนมาฟังคำพิพากษาด้วย 3-4 คน
เจ้าหน้าที่แจ้งให้ย้ายการฟังคำพิพากษาจากห้องพิจารณาคดีที่ 19 ซึ่งเป็นห้องที่ใช้พิจารณาคดีมาตลอด ไปเป็นห้องพิจารณาคดีที่ 21 เนื่องจากตุลาการที่พิจารณาคดีนี้ได้ย้ายไปแล้ว จะเป็นตุลาการท่านอื่นเป็นผู้อ่านคำพิพากษาแทน
ศาลขึ้นบัลลังก์เวลาประมาณ 9.30 และอ่านคำพิพากษาให้ยกฟ้องจำเลย
หลังฟังคำพิพากษา จำเลยกล่าวว่า ต้องขอขอบคุณทุกคนที่มีส่วนร่วมในการช่วยเหลือตนเองในคดีนี้ รวมทั้งทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เมื่อฟังคำพิพากษาแล้วด้านหนึ่งก็รู้สึกว่า ความเป็นธรรมยังหาได้ในประเทศนี้ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับคนที่จะหยิบยื่นให้ ท่านผู้พิพากษาในคดีนี้มีใจเป็นธรรม การต่อสู้คดีนี้อย่างน้อยก็เกิดบรรทัดฐานหรือจุดประกายเล็กๆ ว่าประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการต่อสู้ให้ได้มา ไม่ใช่การร้องขอ ชัยชนะในคดีนี้ไม่ใช่ของตนเอง เพราะตนเองไม่มีอะไรเลยเพียงแค่ไปแสดงออกเฉยๆ แต่เป็นชัยชนะของประเทศและประชาชนทุกคน
คำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า การกระทำอันจะถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61 ต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อยสี่ประการ คือ 1) ก่อความวุ่นวายเพื่อให้การลงประชามติไม่เป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย 2) ตามวรรคสอง ระบุว่า ต้องมีการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ซึ่งข้อความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ 3) ผู้กระทำต้องมีเจตนาตามธรรมดาที่จะเผยแพร่ข้อความนั้น 4) ผู้กระทำต้องมีเจตนาพิเศษ มุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง