- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ปกรณ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
พ.ร.บ.ประชามติฯ มาตรา 61, อื่นๆ (ขัดขืนไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ อันเป็นความผิดตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอัมีพระมหากษั)
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
ทวีศักดิ์ | ยกฟ้อง |
อนันต์ | ยกฟ้อง |
อนุชา | ยกฟ้อง |
ภานุวัฒน์ | ยกฟ้อง |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พนักงานสอบสวนสภ.บ้านโป่ง
ข้อกล่าวหา
ก่อความวุ่นวายในการออกเสียงประชามติ
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
ราชบุรี
-
ศาล
ศาลจังหวัดราชบุรี
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลจังหวัดราชบุรี No: 2418/2559 วันที่: 2016-08-26 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: 225/2561 วันที่: 2018-01-29
29 สิงหาคม 2559
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าเขารั
หลังการยึดรถได้มีการติ
ทนายจำเลยถามต่อว่า ข้อความคำพูดของพลเอกประยุทธ์ เป็นการปลุกระดม เป็นการโน้มน้าวให้ไปรับร่างรั
ส่วนสติ๊กเกอร์โหวตโน เป็นการรณรงค์จูงใจให้ผู้
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่หนึ่ง พ.ต.ท.เนรมิต งามขำ เจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม (สืบต่อจากนัดวันที่ 21 มีนาคม 2560)
ตอบทนายจำเลยถามค้าน
ศาลจังหวัดราชบุรีสืบพยานต่อโดยเป็นการถามค้านของทนายจำเลยต่อ พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความตอบทนายจำเลยต่อว่า ข้อความในสติกเกอร์บนอกเสื้อของบริบูรณ์ ที่เขียนว่า "7 สิงหา ร่วมกันโหวตโนไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" นั้นจะเป็นการปลุกระดมตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณ หากพบมากกว่า 50 แผ่นขึ้นไปอาจถือได้ว่าเป็นการปลุกระดม
ทนายจำเลยอ่านคำถามพ่วงให้พ.ต.ท.เนรมิตฟังว่า 'ให้ที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา' แล้วถามว่า พ.ต.ท.เนรมิตเข้าใจความหมายของที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาหรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าทราบ พ.ต.ท.เนรมิตได้ศึกษาและทราบมาว่าที่ประชุมร่วมหมายถึงสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สำหรับสมาชิกวุฒิสภาจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และวุฒิสภาจะลงคะแนนส่วนหนึ่งเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี
ทนายจำเลยถามพ.ต.ท.เนรมิตต่อว่า ที่เบิกความข้างต้นว่า สมาชิกวุฒิสภาไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้นจะมีความหมายไปในทางเดียวกันกับข้อความในสติ๊กเกอร์ที่ว่า "ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่า ใช่
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความต่อว่า จากข้อมูลที่ได้รับแจ้งมาจากสายลับ ไม่มีข้อมูลว่าจำเลยที่หนึ่งมีส่วนร่วมในการนัดประชุมหรือตกลงในการแจกจ่ายเอกสารหรือสติ๊กเกอร์แต่อย่างใด
ทนายจำเลยถามว่าพ.ต.ท.เนรมิตทราบหรือไม่ว่า สำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเคยเรียกร้องขอให้ประเทศไทยยกเลิกข้อกล่าวหาทั้งหมดที่มีต่อนักกิจกรรมการเมืองและนักปกป้องสิทธิมนุษยชน พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าเคยได้ยินแต่จำรายละเอียดไม่ได้
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าเหตุที่จำเลยถูกฟ้องเป็นคดีนี้ เนื่องจากมีการแจกจ่ายเอกสารที่เป็นสติ๊กเกอร์เพียงอย่างเดียว สำหรับทรัพย์รายการอื่นที่เจ้าพนักงานได้ตรวจยึด ถึงแม้มีการแจกจ่ายแล้วก็ไม่มีความผิด
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความยอมรับว่า ตอนนี่เจ้าหน้าที่ตรวจยึดของกลางและทำบันทึกการตรวจยึด พ.ต.ท.เนรมิตไม่ได้ลงมือชื่อไว้ด้วย ตามที่ปรากฎในเอกสารหลักฐาน และภาพถ่ายของบริบูรณ์ที่มีกลุ่มบุคคลมาให้กำลังใจที่โจทก์ส่งเป็นหลักฐาน พ.ต.ท.เนรมิตก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ และสายลับก็ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความต่อว่า ลายมือชื่อของพนักงานสอบสวนที่ปรากฎในเอกสารหลักฐาน จะเป็นการลงลายมือชื่อในวันเวลาเดียวกับที่มีการสอบสวนหรือไม่พ.ต.ท.เนรมิตไม่ทราบ ทราบแต่ว่าในขณะเกิดเหตุพ.ต.ท.เนรมิตได้ไปให้ถ้อยคำแก่ร้อยตำรวจเอกยุทธนา ภูเก้าแก้ว แต่เหตุใดลายมือชื่อของพนักงานสอบสวนจะลงยศพันตำรวจโท พ.ต.ท.เนรมิตนไม่ทราบ
เนื่องจากการสืบพยานดำเนินมาถึงในเวลาเกือบ 12.00 น. ทนายจำเลยจึงขอเลื่อนไปถามค้านพยานโจกท์ปากนี้ต่อในช่วงบ่าย อัยการไม่คัดค้าน ศาลจึงให้ไปสืบพยานต่อในช่วงบ่าย
ทนายจำเลยถามคำถามต่อในช่วงบ่ายว่า เอกสารหลักฐานของโจทก์ที่มีการทำเครื่องหมายดอกจันสีแดง พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าไม่ทราบว่าเครื่องหมายดังกล่าวทำทับภาพบุคคลใด ทราบว่าบุคคลที่ทำสัญลักษณ์เครื่องหมายดอกจันสีแดงเป็นใคร และบุคคลดังกล่าวไม่ได้กระทำการแจกสติ๊กเกอร์และไม่มีสติกเกอร์ติดอยู่ที่บริเวณร่างกายหรือเสื้อผ้า
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า ประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นต่างได้เช่นกัน โดยสามารถแสดงความคิดเห็นร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมีข้อดีข้อเสียอย่างไร
ทนายจำเลยได้นำสติ๊กเกอร์งดเหล้าในวันเข้าพรรษาให้พ.ต.ท.เนรมิตดูพร้อมถามว่า เป็นการปลุกระดมหรือรณรงค์อย่างไร พยานตอบว่า เป็นการรณรงค์ให้ประชาชนทำสิ่งที่ดี หากมีการแจกจ่ายเกิน 50 แผ่นก็ไม่ถือเป็นการปลุกระดมแต่อย่างใด
พ.ต.ท.เนรมิตยืนยันว่า ข้อความที่ปรากฎในสติ๊กเกอร์ในคดีนี้ถือได้ว่าเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งขัดต่อกฎหมาย แต่เมื่อพ.ต.ท.เนรมิตได้ดูกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชาชนมติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า มาตรา 61 วรรคสอง ก็ปรากฎว่ามีข้อความใดปรากฎว่าห้ามรณรงค์และเชิญชวนให้ประชาชนไปลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความยืนยันว่า ข้อความที่ปรากฎในสติ๊กเกอร์โหวตโน ไม่ใช่ข้อความที่รุนแรงก้าวร้าว หรือหยาบคาย และเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง
ทนายจำเลยให้พ.ต.ท.เนรมิตดูภาพถ่ายที่เป็นเอกสารหลักฐานและถามว่า ไม่ปรากฎว่ามีภาพของอนันต์ โลเกตุ จำเลยคดีที่สามในคดีนี้ใช่หรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตดูภาพถ่ายทั้งหมดแล้วตอบว่าใช่
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า ตามภาพถ่ายที่เป็นเอกสารหลักฐาน มีบุคคลสวมเสื้อขาวถือเอกสารอยู่ แต่ไม่ปรากฎว่ามีจำเลยที่สามถือเอกสารอยู่ในภาพทั้งสอง และในภาพถ่ายอีกแผ่นหนึ่งก็ไม่ปรากฎว่ามีภาพจำเลยที่สามเช่นกัน
พ.ต.ท.เนรมิตทราบว่า ประชากรในประเทศไทยมีประมาณ 65 ล้านคน และหากนำจำนวนดังกล่าวมาเทียบกับสติ๊กเกอร์ 50 แผ่น ถือว่าน้อยมาก แต่เมื่อทนายจำเลยที่สามถามว่า ปริมาณสติ๊กเกอร์เท่าใด จึงจะสามารถปลุกระดมคนจำนวน 65 ล้านได้ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าไม่ทราบ
พ.ต.ท.เนรมิตทราบว่า ผลการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ คะแนนเสียงส่วนใหญ่ลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งแตกต่างจากข้อความที่ปรากฎในสติ๊กเกอร์โหวตโน และพื้นที่ที่พ.ต.ท.เนรมิตดูแลไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงใดใดเกิดขึ้น
ทนายจำเลยให้พ.ต.ท.เนรมิตดูภาพถ่ายที่เป็นเอกสารหลักฐาน พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า ไม่มีภาพของอนุชา รุ่งมรกต จำเลยคดีที่สี่ ในคดีนี้ และตามเอกสารหลักฐานหมายอีกแผ่นหนึ่งพ.ต.ท.เนรมิตได้ลงลายมือชือไว้เป็นพยานในบันทึกการจับบกุมจำเลยที่ หนึ่งถึงที่สี่ด้วย แต่ในเอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุว่า จำเลยที่สี่ได้กระทำการแจกจ่ายเอกสารหรือสติ๊กเกอร์แต่อย่างใด
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า เอกสารตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันเผยแพร่ข้อความระบุ "7 สิงหาร่วมกันโหวตโน ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" นั้น พยานไม่เห็นจำเลยที่สี่แจกจ่ายเอกสารหรือสติ๊กเกอร์ แต่สายลับบอกว่ามีการแจกจ่ายเอกสารดังกล่าว ซึ่งพยานไม่สามารถเปิดเผยชื่อและนามสกุลของสายลับได้
ก่อนเกิดเหตุ พ.ต.ท.เนรมิตทราบว่า บริบูรณณ์ ได้เข้าร่วมกิจกรรมที่มีการจัดตั้งเวทีปราศรัยของมวลชนที่แสดงความคิดเห็นต่าง ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และพ.ต.ท.เนรมิตก็ทราบว่า บริบูรณ์เคยไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย
ส่วนบริบูรณ์จะได้สติ๊กเกอร์โหวตโนมาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตไม่ทราบ แต่ตัวเขาได้รับคำสั่งจากผู้บังคับบัญชาว่า ห้ามมิให้ผู้ใดกระทำกิจกรรมรณรงค์รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก่อนวันลงประชามติในเขตพื้นที่ที่เขารับผิดชอบ
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า สาเหตุที่ ภานุวัฒน์ จำเลยที่ห้าในคดีนี้ ถูกดำเนินคดีเนื่องจากมีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า จำเลยที่ห้าได้กระทำการแจกจ่ายเอกสารที่เกี่ยวกับความเห็นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สำหรับพ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าเขาเป็นผู้รายงานว่า มีเหตุการณ์แจกจ่ายเอกสารไปที่ตำรวจภูธรจังหวัดราชบุรีและร่วมกันเข้าจับกุม จำเลยที่หนึ่งถึงที่สี่เท่านั้น
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความต่อว่า ก่อนที่เขาจะร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมจำเลยทีหนึ่งถึงที่สี่ พ.ต.ท.เนรมิตเคยอ่าน พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญแล้ว แต่ไม่ได้อ่านละเอียด และไม่ได้อ่านมาตรา 7 ของกฎหมาย
ในขณะที่จับกุมจำเลยทีหนึ่งถึงที่สี่ไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดแจ้งสิทธิแก่จำเลย ในมาตรา 7 ของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ
ทนายจำเลยให้พ.ต.ท.เนรมิตอ่านข้อความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีใจความสำคัญว่า ให้บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเผยแพร่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกเสียงโดยสุจริตและไม่ขัดต่อกฎหมาย
ทนายจำเลยถามพ.ต.ท.เนรมิตว่า รู้จักแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี หรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าไม่รู้จัก แต่เคยได้ยิน ส่วนยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะปรากฎอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญหรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตไม่ทราบ
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าเขาไม่กังวลที่สมาชิกวุฒิสภาจะเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งเข้ามาเพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเขา เชื่อว่าสมาชิกวุฒิสภาที่ได้มาจะได้คนดีเข้ามา แต่ในประเด็นนี้ประชาชนสามารถเห็นต่างได้
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า หากมีการรณรงค์ไปในทางในดีจะไม่ใช่การปลุกระดม แต่หากมีการรณรงค์ให้ประชาชนไปทำในสิ่งที่ไม่ดี ก็เป็นการปลุกระดม
เมื่อทนายจำเลยถามว่าการรณรงค์ให้คนไปรับร่างรัฐธรรมนูญ หรือรณรงค์ให้ไม่รับร่างเป็นความผิดหรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าการรณรงค์ทั้งสองถือว่าขัดต่อกฎหมาย
ทนายจำเลยถามว่า กรณีที่นายกรัฐมนตรีแถลงว่าจะไปรับร่างรัฐธรรมนูญซึ่งมีจำนวนคนที่รับฟังมาก มีผลต่อการปลุกระดมหรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่ามีผล เวลาที่นายกรัฐมนตรี พูดผ่านโทรทัศน์มีจำนวนคนฟังมากกว่า 50 คน แต่นายกรัฐมนตรีให้เหตุผลในการพูดทุกครั้ง ส่วนการรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญของผู้คนที่เคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรม ตัวเขาเห็นว่าเป็นการกระทำที่ไม่มีเหตุผล
พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่า มาตรา 61 วรรค 2 พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีข้อความว่าจูงใจ
ตอบอัยการถามติง
อัยการให้พ.ต.ท.เนรมิตอ่านข้อความในมาตรา 61 วรรคสองของพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ แล้วถามพ.ต.ท.เนรมิตว่า หากมีการกระทำดังกล่าวตามถ้อยคำว่าโหวตโน หรือโนโหวตก็เป็นความผิดใช่หรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่า ใช่
พ.ต.ท.เนรมิตยืนยันว่าสติ๊กเกอร์สีน้ำเงินเขียนข้อความโหวตโนเป็นสติ๊กเกอร์แบบเดียวกันที่มีข้อความว่า "7 สิงหา ร่วมกันโหวตโน ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" ส่วนทรัพย์สินรายการอื่นที่อยู่นอกเหนือจากบัญชีของกลาง ผู้ใดมีไว้ครอบครองก็ไม่เป็นความผิด นอกเสียจากจะไปแจกจ่ายข้อความหรือสิ่งของดังกล่าว โดยมุ่งหวังเพื่อเป็นการแผนแพร่จึงจะเป็นความผิด
ส่วนที่พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ในส่วนที่นักวิชาการ นักการเมือง ที่มาให้ความคิดเห็นหรือความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ผิดต่อกฎหมายนั้น พ.ต.ท.เนรมิตเบิกความว่าเป็นเพราะบุคคลดังกล่าวยังไม่ได้กระทำการแจกจ่ายหรือเผยแพร่เอกสาร ซึ่งจะเป็นการขัดต่อกฎหมาย
พ.ต.ท.เนรมิตเห็นว่าการแสดงความคิดเห็นโดยส่วนตัวเกี่ยวกับการลงประชามติไม่ผิด แต่เหากมีการจูงใจให้รับหรือไม่รับร่างรัฐูรรมนูญ การกระทำดังกล่าวก็จะเป็นความผิด
ทนายจำเลยขออนุญาตศาลถามคำถามเพิ่มเติม ศาลอนุญาต ทนายจำเลยถามพ.ต.ท.เนรมิตว่า ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแถลงข่าวและมีการเผยแพร่ทางโทรทัศน์ว่าจะไปลงมติรับร่างรัฐธรรมนูญ เป็นความผิดหรือไม่ พ.ต.ท.เนรมิตตอบว่าไม่ผิด เนื่องจากเป็นการแสดงความคิดเห็นส่วนตัว
ร.ท.คเณศได้รับแจ้งว่ามีผู้ต้องหาจำนวน 4 คน ซึ่งพนักงานตำรวจได้เชิญขึ้นไปให้ปากคำที่สถานีตำรวจภูธร แต่พยานไม่ได้เข้าร่วมการสอบสวน แต่ร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจตรวจค้นรถยนต์กระบะโดยมีผู้ต้องหาเดินทางไปตรวจค้นด้วย แต่ก่อนจะไปตรวจค้นรถ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เปิดภาพวิดีโอให้พยานดู ซึ่งมีจำเลยที่ 5 ภานุวัฒน์ อยู่ด้วย โดยจำเลยที่ 5 ได้นำเอกสารจำนวนหนึ่งให้แก่หญิงคนหนึ่ง โดยเอกสารดังกล่าวเป็นสติ๊กเกอร์โหวตโน และตอนนั้นมีจำเลยที่ 4 อยู่ด้วย
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่สาม พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิระ ผู้จับกุมจำเลย
เมื่อได้รับแจ้งเหตุจึงตรวจสอบว่ามีรถกระบะลักษณะตรงกับที่ได้รับแจ้งจอดอยู่ที่ลานจอดรถสภ.บ้านโป่ง จึงแจ้งผู้บังคับบัญชาพร้อมทั้งประสานเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายปกครองเข้าตรวจสอบ เหตุที่ต้องประสานเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายปกครองมาร่วมตรวจสอบด้วยเป็นเพราะคดีนี้เป็นคดีความมั่นคง
พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความต่อว่า เมื่อมาถึงที่รถต้องสงสัยพบว่ามีลำโพง ไมคโครโฟน และเอกสารอยู่ที่บริเวณท้ายรถโดยมีแผ่นไวนิลคลุมทับสิ่งของดังกล่าวไว้
พ.ต.ท.สรายุทธและพวกจึงเฝ้าสังเกตการณ์อยู่บริเวณนั้นเพื่อดูว่าจะมีบุคคลใดมาที่รถคันดังกล่าว หลังจากนั้นประมาณห้านาที ปกรณ์ ทวีศักดิ์ อนันต์และอนุชา ซึ่งเป็นจำเลยที่หนึ่งถึงที่สี่ในคดีนี้เดินมาเข้าที่รถ เมื่อเข้าไปสอบถามจึงทราบว่า ปกรณ์เป็นเจ้าของรถ ส่วนจำเลยอีกสามคนร่วมเดินทางมากับรถคันดังกล่าว
เกี่ยวกับจุดประสงค์ในการเดินทางมาที่สภ.บ้านโป่งของจำเลยทั้งสี่ พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความว่าปกรณ์ อนันต์และอนุชาอ้างว่ามาที่สภ.บ้านโป่งเพื่อให้กำลังใจบริบูรณ์กับพวกซึ่งมีกำหนดเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเพื่อรับทราบข้อกล่าวหาในคดีชุมนุมทางการเมืองในวันนั้น ส่วนทวีศักดิ์อ้างว่า มาที่สภ.บ้านโป่งเพื่อทำข่าวการมารายงานตัวของบริบูรณ์กับพวก
พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความต่อว่า หลังพบเจ้าของรถและสอบถามเบื้องต้นแล้วจึงดำเนินการตรวจสอบสิ่งของบนรถกระบะคันดังกล่าวพบสิ่งของหลายรายการ เช่น แผ่นป้ายไวนิลมีข้อความทางการเมืองซึ่งใช้คลุมสิ่งของที่อยู่บนรถเพื่อกันฝน ที่คั่นหนังสือเขียนข้อความโหวตโน ตู้ไมค์ ลำโพง ธงเขียนข้อความว่า "7 สิงหาร่วมกันโหวต ไม่รับกับอนาคตที่ไม่ได้เลือก" และเอกสารอื่นๆ
ระหว่างการเบิกความ พ.ต.ท.สรายุทธ ได้เดินออกจากคอกพยานมาบริเวณที่นั่งประชาชน ซึ่งพ.ต.ท.สรายุทธวางธงและเอกสารอื่นๆ ที่ยึดจากจำเลยมาก่อนหน้านี้เอาไว้ เพื่อจะนำไปแสดงให้ศาลดู แต่เนื่องจากของกลางดังกล่าวไม่ได้ถูกส่งเข้ามาในสำนวนตั้งแต่ต้น ทนายจำเลยจึงค้านต่อศาลว่า หลักฐานดังกล่าวไม่อาจรับฟังในชั้นศาลได้ ศาลจึงขอให้พ.ต.ท.สรายุทธกลับมาเบิกความต่อโดยไม่บันทึกเกี่ยวกับของกลางที่พ.ต.ท.สรายุทธนำมาแสดงต่อศาลเพิ่มเติม
พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความว่า ได้สอบถามไปยังเจ้าหน้าที่ทหารและฝ่ายความมั่นคงเกี่ยวกับการเดินทางมาในพื้นที่ของจำเลยทั้งสี่หรือไม่ ซึ่งทหารและสันติบาลทราบว่า ทั้งสี่เดินทางมาในพื้นที่เพื่อแจกจ่ายเอกสารให้กับกลุ่มของบริบูรณ์
ในเวลาต่อมาพ.ต.ท.เนรมิต งามขำ ได้เปิดภาพเคลื่อนไหวจากกล้องวงจรปิดให้ดู ซึ่งปรากฎภาพปกรณ์ อนุชา และภานุวัฒน์ซึ่งเป็นจำเลยที่ห้าในคดีนี้ขนเอกสารจากท้ายรถกระบะต้องสงสัยไปยังรถเก๋งอีกคันหนึ่ง
อัยการแถลงหมดคำถาม
จำเลยคดีประชามติบ้านโป่งและทีมทนายถ่ายภาพร่วมกันหลังการสืบพยานวันที่ 24 มีนาคม 2560
1 พฤษภาคม 2560
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลจังหวัดราชบุรีนัดสืบพยานโจทก์ต่อในเวลา 13.30 น. ตามกำหนดการเดิมคู่ความมีกำหนดสืบพยานโจทก์โดยจะเป็นการถามค้านพยานโจทก์ปากที่สาม อัยการแถลงต่อศาลว่าพยานโจทก์ที่มีกำหนดมาเบิกความในวันนี้ติดราชการด่วน ไม่สามารถมาศาลได้จึงขอให้ศาลเลื่อนการสืบพยานออกไปก่อน ทนายจำเลยไม่คัดค้านแต่ขอให้ศาลกำชับให้พยานมาศาลในนัดหน้า
ศาลเห็นว่าคดีนี้มีจำเลยห้าคน แต่ละคนต่างมีทนายของตัวเอง และคดีนี้เป็นคดีที่อยู่ในความสนใจ เพื่อให้โอกาสจำเลยซักค้านต่อสู้คดีอย่างเต็มที่จึงอนุญาตให้เลื่อนการสืบพยานนัดนี้ออกไปก่อนและให้คู่ความไปนัดวันเพื่อพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่อง ในภายหลังคู่ความตกลงนัดสืบพยานโจทก์ในวันที่ 26 - 27 กันยายน 2560 และนัดสืบพยานจำเลยวันที่ 3 - 5 ตุลาคม 2560
26 กันยายน 2560
เมื่อทนายจำเลยให้พ.ต.ท.สรายุทธดูรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวและถามว่าในมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ยังมีการรับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งเป็นไปตามประเพณีการปกครองของไทยและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ไทยได้ลงนามเอาไว้
นอกจากนั้นตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ข้อ 9 ก็ยังได้บัญญัติเรื่องการจับกุมควบคุมตัวจะทำโดยอำเภอใจไม่ได้และในข้อ 19 บุคคลทุกคนมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง เอาไว้ด้วยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความยืนยันว่ามีการระบุเอาไว้ตามเอกสารของทนายความ
ทนายจำเลยถามพ.ต.ท.สรายุทธต่อว่าพ.ต.ท.สรายุทธเข้าใจใช่หรือไม่ว่าการที่ประเทศไทยได้ลงนามในพันธกรณีระหว่างประเทศต่างๆ เอาไว้ ประเทศไทยก็จะต้องมีการอนุวัติกฎหมายไทยให้เข้ากับพํนธกรณีเหล่านั้นด้วย พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าเข้าใจ
พ.ต.ท.สรายุทธเบิกความถึงเหตุการณ์ในช่วงก่อนเกิดเหตุคดีว่า คสช.ได้มีการกำหนดวันลงประชามติไว้ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 และ กกต.ได้มีการกออกจุลสารรณรงค์ให้ประชาชนออกไปใช้สิทธิออกเสียงประชามติเพื่อให้เป็นการให้ความรู้ถึงข้อดีของรัฐธรรมนูญและมีตัวอย่างบัตรออกเสียงประชามติ
ทนายจำเลยถามว่าตามบันทึกตรวจยึดของกลาง จุลสารของ กกต. ดังกล่าวก็เป็นของกลางส่วนหนึ่งที่ตรวจยึดมาได้ในวันเกิดเหตุใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธยืนยันว่าใช่ ทนายจำเลยต่อถามว่า ดังนั้นเอกสารที่ตรวจยึดมาได้ก็เป็นเอกสารที่ไม่ผิดกฎหมายใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าใช่ ไม่ผิดกฎหมายแต่เป็นเอกสารที่เชื่อมโยงแล้วเป็นการชักจูงให้ผู้ออกเสียงอย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งก็คือการ No Vote
ทนายจำเลยถามว่าการให้ความเห็นผ่านสื่อของพล.อ.ประยุทธ์ และอภิสิทธิ์ก็ไม่ถือว่าเป็นการปลุกระดม ทำให้ประชาชนลุกฮือขึ้นหรือเป็นการชี้นำให้ประชาชนออกเสียงทางใดทางหนึ่งใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าไม่เป็น
ทนายจำเลยกล่าวว่าหนึ่งในประเด็นที่จำเลยสู้ในคดีนี้คือเหตุผลที่พวกเขามีความคิดเห็นว่าจะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นไปตามข้อความในสติกเกอร์ว่า “ไม่รับ กับอนาคตที่ไม่ได้เลือก”
ทนายจำเลยถามถึงรายละเอียดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุดว่าตามมาตรา 259 ที่มีประเด็นอยู่ว่าให้ คสช. เป็นผู้เสนอชื่อสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ทั้ง 250 คน ให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งได้ ซึ่งสว.ซึ่งมีหน้าที่กลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร บทบัญญัติดังกล่าวขัดต่อระบอบประชาธิปไตยหรือไม่จากการที่สว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าเป็นไปตามเอกสาร
ทนายจำเลยถามต่อว่า ร่างรัฐธรรมนูญตามมาตรา 269 (1) ให้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหา สว. โดยให้ คสช. เป็นคนตั้งคณะกรรมการดังกล่าวและในมาตราเดียวกันข้อ ค. ก็ยังระบุให้มีผู้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นสว.โดยตำแหน่งด้วยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถามว่าตามมาตรา 272 เรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรี ในกรณีที่ไม่สามารถแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีได้จากรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคการเมืองเสนอมาก็ให้ที่ประชุมร่วมกันของทั้งสองสภาสามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีที่มาจากบัญชีหรือไม่ก็ได้ พ.ต.ท.สรายุทธเข้าใจว่าอย่างไร พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าคือการที่ให้มีการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนนอกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งได้
ทนายจำเลยถามว่าพ.ต.ท.สรายุทธเข้าใจหรือไม่ว่า ข้อความในสติกเกอร์ “อนาคตที่ไม่ได้เลือก” คือการที่ สว.มาจากการแต่งตั้งอีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็อาจจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยประชาชน พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าเข้าใจ หลังจากที่ทนายความอธิบายให้ฟังเมื่อสักครู่ ก่อนหน้านี้ตัวเขาก็ไม่เข้าใจมาก่อนว่าข้อความดังกล่าวมีความหมายว่าอย่างไร
ซึ่งมาตรา 44 ให้อำนาจหัวหน้าคสช.ในการระงับยับยั้งอำนาจของทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และตุลาการได้ ซึ่งมาตราดังกล่าวเป็นสิ่งที่ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้คัดค้านใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยถามต่อว่าในทางวิชาการแล้วถือว่ามาตราดังกล่าวนี้ถือเป็นการให้อำนาจเกินขอบเขตใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าขอไม่ออกความเห็นต่อคำถามนี้
ทนายจำเลยถามต่อว่า การที่ คสช. ใช้มาตรา 44 ปลดผู้ว่าราชการกรุงเทพ การสั่งย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดในหลายจังหวัด แม้แต่การที่สั่งย้ายผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติก็สามารถทำได้ การบัญัติเอาไว้แบบนี้ขัดกับหลักการของระบอบประชาธิปไตยใช่หรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าตามกฎหมายแล้วสามารถทำได้
พ.ต.ท.สรายุทธ เบิกความตอบทนายจำเลยว่า การกรณรงค์ให้ความรู้กับประชาชนเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และการรณรงค์ว่าให้รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ สามารถทำได้ แต่ที่มีการโน้มน้าวชี้นำให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่งไม่สามารถทำได้ ซึ่งก็คือการที่มีคำว่า No อยู่ด้วย
ทนายจำเลยถามต่อว่าในการรณรงค์ของ กกต. ไม่ได้มีการบอกถึงข้อเสียของร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่ให้มีการลงประชามติเลย มีเพียงแต่การพูดถึงข้อดีเท่านั้น ถือว่าเป็นการชี้นำหรือไม่ พ.ต.ท.สรายุทธตอบว่าไม่ได้เป็นการชี้นำ
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบอัยการว่า ในวันเกิดเหตุวันที่ 10 กรกฎาคม 2559 เวลา 10.00น. ตัวเขาปฏิบัติหน้าที่พนักงานสอบสวนอยู่ที่สภ.บ้านโป่ง ชุดสืบสวนและทหาร ได้นำจำเลยที่ที่หนึ่งถึงที่สี่มาส่งให้ และภายในหลังมีการจับกุมจำเลยที่ห้ามาส่งเพิ่มอีกหนึ่งคน โดยมีการส่งของกลางเป็นสติกเกอร์ No Vote และเอกสารอื่นๆ โดยชุดสืบสวนได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยในข้อหาตามที่ฟ้องเป็นคดีนี้ จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ
เกี่ยวกับเอกสารในสำนวนคดีนี้ พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่า เอกสารในสำนวนคดีบางส่วนเป็นการจัดทำของตัวเขา โดยมีบางส่วนเป็นของตำรวจชุดจับกุมทำส่งมาให้ในส่วนนี้จะเป็นภาพถ่ายต่างๆ หลังสอบคำปากคำเสร็จตัวเขาจะดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือแต่จำเลยทั้งสี่ไม่ยอมพิมพ์จึงมีการแจ้งข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงานเพิ่ม ส่วนจำเลยที่ห้ายอมพิมพ์จึงไม่มีการแจ้งข้อหานี้กับจำเลยที่ห้า
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความต่อว่าในเวลาต่อมาตัวเขาได้รับหลักฐานเพิ่มเติมคือภาพจากกล้องวงจรปิดของสภ.บ้านโป่ง ซึ่งเป็นภาพที่ลานจอดรถของสถานี ปรากฎภาพจำเลยที่ห้ากำลังขนย้ายของกลางจากรถกระบะไปใส่ที่รถเก๋งของผู้หญิงคนหนึ่ง โดยของที่อยู่ในภาพเป็นสติกเกอร์ที่เป็นของกลางและกล่อง
จากนั้นสันติบาลได้นำภาพถ่ายของบริบูรณ์ (หนึ่งในผู้มารับทราบข้อกล่าวหาคดีขัดคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 จากการเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่อำเภอบ้านโป่ง) สวมเสื้อสีขาวตอนที่บนหน้าอกยังไม่มีสติกเกอร์ และภาพบริบูรณ์หลังจากที่มีสติกเกอร์ No Vote ติดอยู่บนอกมาให้กับเขา
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความด้วยว่าได้เรียกบริบูรณ์มาให้การในคดีนี้ด้วย โดยมีการส่งหมายไปที่บ้านพักในจังหวัดสมุทรสงคราม ซึ่งบริบูรณ์ได้มาให้ปากคำตามที่เรียก
ระหว่างที่พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบคำถามอัยการ ทนายจำเลยแถลงค้านไม่ให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารภาพถ่ายต่างๆ ของอัยการที่ส่งต่อศาลในการสืบพยานครั้งนี้ เนื่องจากเอกสารดังกล่าวอยู่นอกบัญชีพยานหลักฐานที่ไม่ได้มีการส่งในวันตรวจพยานหลักฐาน ทำให้ฝ่ายจำเลยเสียเปรียบในการต่อสู้คดี ศาลบันทึกคำโต้แย้งของทนายจำเลยไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาคดีในภายหลัง
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความต่อว่าจากการสอบสวนของเขาสรุปได้ว่าในวันเกิดเหตุ พนักงานสอบสวนในอีกคดีหนึ่งเรียกผู้ต้องหามารายงานตัวที่ สภ.บ้านโป่ง มีประชาชนมามอบดอกไม้ให้กำลังใจแก่ผู้ต้องหา ซึ่งจำเลยทั้งห้าได้มาในที่เกิดเหตุด้วยและมีการรณรงค์ให้คนไม่ไปออกเสียงประชามติ โดยใช้สติกเกอร์ No Vote โดยเห็นจากภาพว่าตอนที่บริบูรณ์ (หนึ่งในผู้ต้องหาอีกคดีหนึ่ง) ตอนที่มาถึงสถานีตำรวจยังไม่มีสติกเกอร์ติดอยู่ แต่หลังจากจำเลยทั้งห้ามาแล้วจึงมีสติกเกอร์ติด
พ.ต.ต.ยุทธนาทราบจากเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวนว่ามีการเข้าตรวจค้นรถกระบะด้วยเนื่องจากมีพลเมืองดีแจ้งแบะแสกับเจ้าหน้าที่ชุดสืบสวน จึงทำการตรวจค้นแล้วพบสติกเกอร์และเอกสารของกลางในคดีนี้
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบทนายจำเลยว่า คดีนี้ไม่มีประะจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ขณะที่จำเลยทั้งห้าทำการจ่ายแจกสติกเกอร์หรือเอกสารของกลางใดๆ อยู่เลย และจากคำให้การของพยานที่ตัวเขาได้ทำการสอบเอาไว้ก็ให้การว่าน่าจะมีการแจกจ่ายเท่านั้น แล้วก็ไม่มีพยานคนใดที่เห็นว่าจำเลยทั้งห้าได้นำสติกเกอร์ไปมอบให้กับบริบูรณ์ด้วย
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความต่อว่าบริบูรณ์ได้ให้การเอาไว้ว่าสติกเกอร์ที่ติดบนอกเสื้อเป็นสติกเกอร์ที่ได้รับแจกมาจากกิจกรรมที่จัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนำมาติดเพื่อแสดงความออกว่าตัวบริบูรณ์จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้
ในส่วนของกลาง พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบทนายจำเลยว่า เอกสารที่ยึดมาส่วนหนึ่งเป็นจุลสารของ กกต. จำนวนมาก ซึ่งเป็นเอกสารที่ใช้รณรงค์ให้ประชาชนออกไปแสดงความคิดเห็นต่อร่างรัฐธรรมนูญว่าจะรับหรือไม่รับ หรือไม่ออกความเห็น ซึ่งเอกสารเหล่านี้ไม่ได้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
ทนายจำเลยถามต่อว่า ข้อความบนสติกเกอร์เป็นการเชิญชวนคนไปออกเสียง Vote No ไม่ได้เป็นการยั่วยุ ปลุกระดม เป็นเพียงการให้ข้อเท็จจริงใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าข้อความดังกล่าวสามารถตีความได้ว่าเป็นการชี้นำให้ไปออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ไม่ไปออกเสียงก็ได้ แล้วแต่คนอ่านจะตีความ แต่ไม่ได้มีข้อความที่เป็นไปในลักษณะข่มขู่ ทนายจำเลยถามต่อว่าเป็นข้อความที่เข้าข่ายการปลุกระดมหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่เข้าข่าย
ทนายจำเลยถามว่าการที่พล.อ.ประยุทธ์พูดว่าจะไปรับร่างรัฐธรรมนูญถือว่าเป็นการชี้นำหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามว่าเมื่อพ.ต.ต.ยุทธนาได้อ่านข้อความบนสติกเกอร์แล้วรู้สึกอยากไปทำอะไรที่ผิดกฎหมายหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าอ่านแล้วรู้สึกว่าต้องการไม่ให้รับร่างรัฐธรรมนูญ ตอนแรกที่ได้เห็นก็เห็นคำว่า No ผู้ที่ได้เห็นก็จะเข้าใจว่าให้ไปออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วจะรับหรือไม่รับก็ได้
ทนายจำเลยนำรายงานข่าวการให้สัมภาษณ์ของสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้งให้พ.ต.ต.ยุทธนาดูและถามว่าสมชัยเคยให้สัมภาษณ์ว่าการแจกสติกเกอร์อย่างเดียวไม่เป็นความผิดดตามพ.ร.บ.ประชามติฯ ใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าใช่ แต่เสริมว่าเขาไม่เคยเรียกสมชัยมาสอบในฐานะพยาน ได้แต่เคยให้ กกต.ราชบุรีมาให้ความเห็นเรื่องนี้กับพนักงานสอบสวนแต่พยานคนดังกล่าวไม่ได้ให้ความเห็น
ทนายจำเลยถามต่อว่าพยานหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายตอนที่พ.ต.ท.สรายุทธเข้าตรวจยึดของกลางและภาพจากกล้องวงจรปิดที่พิมพ์ออกมา รวมถึงลำดับเหตุการณ์จากกล้องวงจรปิด1 เป็นพยานหลักฐานที่อยู่นอกสำนวนการสอบสวนใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถามพ.ต.ต.ยุทธนาถึงประวัติอาชญากรรมของจำเลยทั้งห้า พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่าจากการสอบปากคำไม่ทราบว่าจำเลยทั้งห้ามีประวัติอาชญากรรมมาก่อนหรือไม่เพราะจำเลยไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ เขาทราบเพียงว่ามีจำเลยหนึ่งคนที่ยังมีสถานภาพนักศึกษาอยู่ในขณะนั้นแต่จำไม่ได้แล้วว่าคนไหน แต่จำเลยทั้งหมดก็ได้ให้ความร่วมมือในการสอบสวนโดยไม่มีการขัดขืน
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความอีกว่าในส่วนของทวีศักดิ์จำเลยที่สองได้ให้การว่าเป็นผู้สื่อข่าว แต่ตัวเขาจำไม่ได้แล้วว่ามีการแสดงบัตรผู้สื่อข่าวให้ดูหรือไม่ และได้มีสอบคำให้การหัวหน้างานของจำเลยที่สองไว้เป็นพยานด้วย ซึ่งได้ให้การยืนยันว่าจำเลยที่สองเป็นผู้สื่อข่าวของประชาไท โดยมีการรายงานข่าวของบริบูรณ์ซึ่งเขาได้นำเข้าสำนวนแล้วและส่งให้อัยการ
ทนายจำเลยถามต่อว่า ตามที่พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่า กกต. ราชบุรีไม่ให้ความเห็นเรื่องเอกสารของกลางเป็นความผิดหรือไม่เพราะอะไร พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าเพราะกกต. ราชบุรีไม่กล้าให้ความเห็น ถ้าจะขอความเห็นต้องไปขอจาก กกต.กลาง
ทนายจำเลยถามว่า พ.ต.ท.สรายุทธไม่เคยส่ง VDO เหตุการณ์ที่บริบูรณ์ติดสติกเกอร์ให้ พ.ต.ต.ยุทธนาใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่า ไม่เคย ตัวเขาเคยเห็นเพียงภาพนิ่งของบริบูรณ์เท่านั้น
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบทนายจำเลยว่าตัวเขาไม่ทราบเรื่องขณะเกิดเหตุในคดีนี้เนื่องจากตัวเขาทำงานอยู่ที่ชั้นบนของสถานี เมื่อทนายจำเลยถามเรื่องลำดับเหตุการณ์ พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่าตัวเขาจำลำดับเหตุการณ์ไม่ได้ว่าจำเลยทั้งห้าเข้าไปให้กำลังใจบริบูรณ์ก่อนแล้วค่อยลงมาที่รถหรือไม่อย่างไร
ทนายจำเลยนำภาพถ่ายของทวีศักดิ์ไปให้พ.ต.ต.ยุทธนาดูและถามว่าเป็นภาพผู้สื่อข่าวกำลังสัมภาษณ์บริบูรณ์ใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าใช่
เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชน พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่าในระบอบประชาธิปไตยประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นได้รวมถึงวิจารณ์ผู้บริหารประเทศได้ แต่ในช่วงที่มีการรัฐประหารเสรีภาพนั้นจะได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวหรือไม่พ.ต.ต.ยุทธนาไม่ทราบ
พ.ต.ต.ยุทธนาตอบคำถามทนายจำเลยเกี่ยวกับภาพถ่ายที่ทนายจำเลยนำมาให้ดูว่า ในภาพถ่ายที่มีการวงด้วยปากกาแดงเป็นภาพถ่ายของอนันต์ขณะที่อนันต์ถูกเชิญตัวไปสอบปากคำ ไม่ใช่ภาพขณะที่มีการขนย้ายของ และส่วนอีกภาพเป็นภาพของอนันต์ขณะที่ถูกตำรวจเรียกตัวไปตรวจสอบของในรถ
ทนายจำเลยถามว่าในวันออกเสียงประชามติมีเหตุวุ่นวายใดๆเกิดขึ้นหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่มี ทนายจำเลยถามต่อว่าแล้วพ.ต.ต.ยุทธนาทราบหรือไม่ว่าประชาชนในจังหวัดราชบุรีออกเสียงรับร่างประชามติถึง 64% และออกเสียงไม่รับเพียง 20% พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามพ.ต.ต.ยุทธนาเกี่ยวกับเอกสารที่เป็นภาพถ่ายว่า หลังจากวันที่ 21 มีนาคม 2560 (วันที่มีการสืบพยานคดีนี้) พ.ต.ท.เนรมิต งามขำ ตำรวจสันติบาล ซึ่งได้ขึ้นเบิกความไปก่อนแล้ว ได้เล่าให้พ.ต.ต.ยุทธนาฟัง เพื่อเตรียมการสอบสวนคดีนี้เพิ่มและนำหลักฐานมาอ้างส่งในคดีใช่หรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าพ.ต.ท.นิรมิต ไม่ได้มาเล่าอะไรให้ฟังและไม่ได้มีการจัดเตรียมเอกสารใดๆ
ทนายจำเลยถามว่าตามเอกสารมีการระบุวันที่พิมพ์เอาไว้ว่าเป็นวันที่ 21และ 22 มีนาคม 2560 พ.ต.ต.ยุทธนาทราบหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าเขาไม่ได้เป็นผู้จัดทำเอกสารดังกล่าว ทนายจำเลยถามต่อว่า การที่มีการสืบพยานไปแล้วฝ่ายสืบสวนยังไปหาพยานหลักฐานมาเพิ่มแล้วนำส่งศาลถือเป็นเรื่องปกติหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่ขอออกความเห็น แต่การทำงานของฝ่ายสืบสวนสามารถทำได้ตั้งแต่ก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ
พ.ต.ต.ยุทธนายืนยันกับทนายจำเลยว่า เอกสารที่มีลายมือชื่อของเขาไม่ได้มีการตัดต่อ แต่เอกสารที่เขาไม่ได้ลงลายมือชื่อเอาไว้นั้น ตัวเขาไม่ยืนยันว่ามีการตัดต่อหรือไม่ ทนายจำเลยถามว่าตามที่พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่ามีตำรวจและทหารมาขอพยานหลักฐานที่เป็นภาพถ่ายไปทำรายงานส่งผู้บังคับบัญชา ได้มีการทำหนังสือแจ้งกับตัวพ.ต.ต.ยุทธนาหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าเป็นการขอด้วยวาจา
ทนายจำเลยถามว่า ที่มีการออกหมายเรียกบริบูรณ์เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2559 เพื่อมาเป็นพยานในคดีนี้ ตัวบริบูรณ์ไม่ได้เป็นผู้รับหมายแต่บริบูรณ์มาให้การในวันที่ 24 สิงหาคม 2559 ถือว่าบริบูรณ์ได้ให้ความร่วมมือด้วยอย่างดีหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าใช่ ทนายจำเลยถามว่าในคำให้การของพ.ต.ท.สรายุทธระบุว่าได้มีการไปกดดันด้วยวิธีต่างๆในการเข้าตรวจค้นบ้านบริบูรณ์หมายถึงอย่างไร พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามต่อว่าพ.ต.ต.ยุทธนาทราบหรือไม่ว่าบริบูรณ์ถูกแจ้งความด้วยข้อหาหมิ่นประมาทจากการโพสต์เฟซบุ๊กเรื่องที่เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารพยายามเข้าตรวจค้นบ้านของเขา พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่ทราบ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
ตอบอัยการถามติง
อัยการถามว่าเหตุใดพ.ต.ต.ยุทธนาจึงมีความเห็นสั่งฟ้องจำเลยทั้งห้าในคดีนี้ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่า ชุดจับกุมได้รับแจ้งจากประชาชนว่ามีการแจกสติกเกอร์ จึงเข้าทำการจับกุมจำเลย และยังปรากฏภาพของบริบูรณ์ที่ติดสติกเกอร์บนอกเสื้อ
พยานซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ที่ให้การกับพ.ต.ต.ยุทธนามาจากคนละหน่วยงานกัน มาให้การกับพ.ต.ต.ยุทธนาคนละเวลาแต่ให้การสอดคล้องกัน โดยพ.ต.ท.เนรมิต งามขำ ให้การว่าได้รับแจ้งจากแอพพลิเคชั่น Line และให้การว่านอกจากบริบูรณ์ที่ติดสติกเกอร์แล้วก็ยังมีคนอื่นๆ อีก โดยมีการส่งภาพกันทาง Line
อัยการถามว่าเอกสารนอกสำนวนที่พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความตอบทนายความไปคืออะไร พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าคือการนำเอกสารเข้ามาในสำนวนโดยไม่มีการเรียงลำดับเลขเท่านั้น ตัวพ.ต.ต.ยุทธนาได้รับเอกสารมาหมดแต่มีการคัดออกอยู่บ้างเนื่องจากซ้ำกัน เอกสารทั้งหมดผ่านการสอบสวนแล้วแต่ไม่ได้นำเข้ามาในสำนวน ส่วนภาพถ่ายระบุวันที่พิมพ์อยู่ในช่วงวันที่ 21-22 มีนาคม 2560 แต่เป็นภาพเหตุการณ์ในวันเกิดเหตุ
พ.ต.ต.ยุทธนายืนยันว่าตัวเขาสามารถมีความเห็นแย้งกับรัฐบาลได้แต่ต้องทำภายใต้กรอบของกฎหมาย
พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่าสติกเกอร์ถ้าไม่ได้เปิดเผยหรือมีการแจกจ่ายก็ไม่เป็นความผิด แต่ถ้านำมาแจกจ่าย มีการชี้นำให้คนเห็นด้วยก็เป็นความผิด เข้าข่ายเป็นการชักชวนชี้นำให้คนไปออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ในประเด็นการส่งเอกสารให้อัยการ พ.ต.ต.ยุทธนาเบิกความว่านอกจากเอกสารที่เขาส่งให้อัยการแล้ว อัยการได้ขอให้ส่งเอกสารซึ่งส่วนนั้นจะไม่มีลายมือชื่อของเขาอยู่ด้วย
ทนายจำเลยแถลงศาลขอถามพ.ต.ต.ยุทธนาอีกหนึ่งคำถาม ศาลอนุญาต ทนายจำเลยถามว่าในคดีนี้อัยการมีการส่งหนังสือสั่งการให้พ.ต.ต.ยุทธนานำส่งหลักฐานหรือสอบสวนเพิ่มเติมหรือไม่ พ.ต.ต.ยุทธนาตอบว่าไม่มี เป็นการสั่งการด้วยวาจาเท่านั้น
หลังเสร็จสิ้นสืบพยานโจทก์ ศาลนัดสืบพยานจำเลย 3-5 ตุลาคม 2560
ที่ห้องพิจารณาคดี 3 ศาลจังหวัดราชบุรี ศาลนัดสืบพยานจำเลยเป็นวันแรก
ปกรณ์ นักกิจกรรมขบวนประชาธิปไตยใหม่ เบิกความว่า ในความเห็นของเขา การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมาฝ่ายรัฐเพียงแต่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อดีในร่างรัฐธรรมนูญโดยละเลยไม่พูดถึงจุดอ่อน ขณะที่การประชาสัมพันธ์ในสื่อก็มีไม่แพร่หลายนัก ปกรณ์เบิกความด้วยว่าการประชาสัมพันธ์เรื่องการลงประชามติที่ไม่ทั่วถึงส่งผลให้ประชาชนบางคนไม่รู้แม้กระทั่งวันที่จะมีการออกเสียงประชามติ
เมื่อทนายถามถึงข้อน่ากังวลของร่างรัฐธรรมนูญ ปกรณ์เบิกความว่ามีหลายข้อได้แก่ เรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้ง และที่มาของนายกรัฐมนตรีที่มีการเปิดช่องให้มีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชนได้ ซึ่งเป็นการขัดกับหลักการประชาธิปไตย ประการต่อมา ร่างรัฐธรรมนูญยังเปิดช่องให้ หัวหน้าคสช. ยังมีอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 ต่อไป แม้ว่าจะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่เปิดให้มีการลงประชามติแล้วก็ตาม นอกจากนี้ตัวร่างยังมีบทบัญญัติที่ตัดสิทธิของประชาชนด้วย เช่น สิทธิในด้านการศึกษา ที่ตัดการเรียนฟรีเหลือเพียงเก้าปี
ปกรณ์เบิกความต่อว่าเหตุผลที่ยกมาข้างต้นคือสาเหตุที่ทำให้ตัวเขาออกมารณรงค์และแสดงความคิดเห็นในเรื่องการออกเสียงประชามติโดยให้ข้อมูลอีกด้านหนึ่งที่ภาครัฐไม่ได้ให้ และตัวเขาก็เห็นว่าการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่ทำได้ เพราะในขณะนั้นมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ก็มีผลบังคับใช้อยู่ ทั้งมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ประชามติฯ ก็รับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเอาเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติเอาไว้ด้วย
เกี่ยวกับข้อความ “ 7 สิงหาร่วมกัน Vote No ไม่รับ กับอนาคตที่ไม่ได้เลือก” บนสติกเกอร์ ปกรณ์เบิกความว่าไม่ได้เป็นข้อความที่มีความก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ สำหรับคำว่า "อนาคตที่ไม่ได้เลือก" มีที่มาจากคำถามพ่วงที่ถามว่าในช่วง 5 ปีนับแต่มีสภาจากการเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ ส.ส. และส.ว. เป็นผู้เลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งๆที่สว.ไม่ได้มีที่มาจากการเลือกตั้ง
สำหรับวันเกิดเหตุ 10 กรกฎาคม 2559 ปกรณ์เบิกความว่าเขาเดินทางไปที่สภ.บ้านโป่ง เนื่องจากทราบข่าวว่าชาวบ้านที่เปิดศูนย์ปราบโกงประชามติที่บ้านโป่ง ถูกพนักงานสอบสวนเรียกรายงานตัวเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา ตัวเขาเห็นว่าประชาชนต้องช่วยกันตรวจสอบกระบวนการการออกเสียงประชามติ ทั้งตัวเขาเองก็รณรงค์เรื่องการออกเสียงประชามติ จึงเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านที่ถูกเรียกรายงานตัว
สำหรับเหตุที่ปกรณ์ถูกดำเนินคดีในข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงานไม่ยอมพิมพ์ลายนิ้วนั้น ปกรณ์เบิกความว่าในวันเกิดเหตุ การจับกุมและการแจ้งข้อกล่าวหาไม่เป็นไปตามขั้นตอน และพ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิร รองผู้กำกับการสืบสวนสอบสวน สภ.บ้านโป่ง ก็เพียงแต่เชิญตัวเขาและพวกไปคุยที่ห้องบนสถานีโดยแจ้งว่าจะมีการทำบันทึกประจำวันเอาไว้เท่านั้น แต่สุดท้ายพวกเขาก็ไม่ได้รับการปล่อยตัวกลับ และมีการแจ้งข้อกล่าวหาตามมาในภายหลัง
ตอบอัยการถามค้าน
ปกรณ์ตอบอัยการว่าเอกสารของกลางในคดีนี้ ตัวเขาไม่ได้นำมาเพื่อแจกที่สภ.บ้านโป่ง และไม่ได้มีการแจกจ่ายในวันนั้น แต่เป็นเอกสารที่ติดรถมาตั้งแต่วันที่มีการแถลงข่าวเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนื่องจากในวันแถลงข่าวมีเพียงตัวเขาเองเท่านั้นที่มีรถกระบะที่สามารถบรรทุกเอกสารได้จึงมาคนนำเอกสารมาฝากไว้
อัยการถามปกรณ์ถึงความหมายบนสติกเกอร์ว่าหมายถึงอะไร และหวังว่าให้คนที่ได้รับสติกเกอร์ ไปออกเสียงไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใช่หรือไม่ ปกรณ์ตอบว่าหวังให้คนที่ได้รับ ได้ใช้ดุลยพินิจของตน ซึ่งบางคนเมื่อได้รับไปแล้ว ก็บอกกับตนว่าจะไปออกเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญ บางคนก็บอกว่าจะไปออกเสียงไม่รับ นอกจากนั้นในการแจกสติกเกอร์ก็ได้มีการแจกเอกสารให้ความรู้ประกอบไปด้วย
สืบพยานจำเลยปากที่ 2 ทวีศักดิ์ จำเลยที่สองเบิกความเป็นพยานให้ตัวเอง
ทวีศักดิ์เบิกความว่าเขาเป็นผู้สื่อข่าวโต๊ะการเมืองของสำนักข่าวประชาไท จึงติดตามประเด็นทางการเมืองมาโดยตลอด โดยเท่าที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการออกเสียงประชามติ พบว่ามีการรายงานข่าวค่อนข้างน้อย และเน้นไปที่ข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากฝ่ายรัฐ ขณะที่สื่อหลักก็ไม่ได้ให้พื้นที่ในการนำเสนอกับกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญมากนัก
เกี่ยวกับวันเกิดเหตุทวีศักดิ์เบิกความว่า ก่อนหน้าที่จะเดินทางมาที่สภ.บ้านโป่ง เขาได้ไปทำข่าวการรณรงค์ซึ่งจัดโดยกลุ่มของปกรณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปกรณ์บอกเขาว่าจะเดินทางมาให้กำลังใจชาวบ้านที่สภ.บ้านโป่ง จึงขอติดรถมาด้วยเพื่อทำข่าว
ทวีศักดิ์เบิกความต่อว่าเมื่อมาถึงสภ.บ้านโป่ง เขาได้ถ่ายภาพที่หน้าสถานีและเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ต้องหา จากนั้นก็ไปสัมภาษณ์ภานุวัฒน์ซึ่งเป็นจำเลยที่ห้าในคดีนี้กับอนันต์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อ เพื่อทำสกู๊ปข่าว ทวีศักดิ์เบิกความยืนยันว่าในวันเกิดเหตุเขาแสดงตัวชัดเจนว่าเป็นผู้สื่อข่าวและได้แสดงบัตรผู้สื่อข่าวให้เจ้าหน้าที่ดูด้วย
หลังจากสัมภาษณ์เสร็จเขาเดินไปที่รถของปกรณ์ เพื่อเตรียมเดินทางกลับ แต่ทาง พ.ต.ท.สรายุทธ บุรีวชิร พร้อมกับตำรวจอีกหลายนาย เข้ามาตรวจค้นรถ ระหว่างนั้น พ.ต.ท.สรายุทธ ได้สอบถามเขาว่าเป็นพวกสนับสนุน Vote No ใช่หรือไม่ และยังพูดกับปกรณ์ในลักษณะว่า Vote No ไม่ได้ ผิดกฎหมาย ต้อง Vote Yes เท่านั้น ซึ่งตัวเขาเห็นว่าเจ้าหน้าที่ไม่สามารถพูดแบบนี้ได้ เพราะเท่ากับเป็นการบังคับให้ต้องออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง
ทวีศักดิ์เบิกความต่อว่าหลังการตรวจค้นรถเจ้าหน้าที่ก็เชิญตัวพวกเขาขึ้นไปบนสถานีตำรวจ โดยไม่ได้บอกว่าเป็นการจับกุม แต่เมื่อขึ้นไปบนสถานีกลับมีการแจ้งข้อกล่าวหาและควบคุมตัว
ทวีศักดิ์เบิกความว่าช่วงแรกที่ถูกควบคุมตัวพวกเขายังสามารถใช้โทรศัพท์ได้ ตัวเขาจึงได้โทรศัพท์ไปสอบถามสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง เพื่อสัมภาษณ์เรื่องสติกเกอร์ สมชัยระบุว่าการมีสติกเกอร์ไม่น่าเป็นความผิดตามกฎหมาย และถ้าไม่ใช่การขึ้นเวทีปราศรัย ไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลเท็จ ไม่ได้เป็นการยุยงปลุกปั่นก็สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตำรวจด้วย จากนั้นเขาจึงส่งสายของสมชัยให้ รองผู้กำกับการสอบสวน สภ.บ้านโป่ง พูดคุยด้วย
ทวีศักดิ์เบิกต่อว่า ตอนที่เขาแสดงตัวว่าเป็นผู้สื่อข่าวของสำนักข่าวประชาไท ตำรวจอาจไม่เชื่อว่าเป็นสำนักข่าวจริงๆ เนื่องจากประชาไทเป็นสำนักข่าวออนไลน์ ไม่ได้มีโรงพิมพ์ของตัวเอง แต่เจ้าหน้าที่ก็อาจจะเข้าใจว่าเอกสารของกลางเป็นของประชาไท เพราะหลังจากเขาถูกควบคุมตัว พ.ต.ท.สรายุทธก็ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจสน.สุทธิสารที่กรุงเทพ เพื่อให้เข้าตรวจค้นที่สำนักงานของประชาไท แต่เนื่องจากในวันนั้นไม่มีใครอยู่ที่สำนักงาน เจ้าหน้าที่จึงไม่ได้ทำการตรวจค้น คนที่สำนักงานประชาไทมาทราบเรื่องการมาของเจ้าหน้าตำรวจในภายหลังจากคำบอกเล่าของสำนักงานอื่นที่อยู่ในอาคารเดียวกับสำนักข่าวประชาไท
ทวีศักดิ์เบิกความด้วยว่าหากเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องการตรวจสอบสถานะของเขาว่าเป็นผู้สื่อข่าวจริงหรือไม่ ก็ควรโทรศัพท์ถึงหัวหน้างานของเขามากกว่า การควบคุมตัวและตั้งข้อกล่าวหาเช่นนี้เป็นการคุกคามการทำงานของสื่อมวลชน
สำหรับจุดยืนของสำนักข่าวประชาไท ทวีศักดิ์เบิกความว่าสำนักข่าวประชาไทมีจุดยืนไม่ยอมรับการรัฐประหาร ทั้งในครั้งปีพ.ศ. 2549 และครั้งนี้ เพราะเห็นว่าการทำรัฐประหารเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน การเป็นสื่อมวลชนย่อมไม่สามารถเห็นด้วยกับรัฐประหารได้ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิเดียวกันกับสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
สำหรับกรณีที่เขาปฏิเสธที่จะพิมพ์ลายนิ้วมือ ทวีศักดิ์เบิกความว่าเป็นเพราะเห็นว่าการควบคุมตัวไม่ชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่ต้น ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหาตั้งแต่ตอนที่มีการเชิญตัว อีกทั้งพ.ต.ท.สรายุทธ ยังแสดงออกอย่างเห็นได้ชัดว่ามีอคติทางการเมืองตั้งแต่ต้น และเมื่อได้อ่านบันทึกจับกุมแล้ว ก็เห็นว่าข้อเท็จจริงตามบันทึกก็ไม่ตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอีกด้วย คือมีการบรรยายพฤติการณ์ว่าน่าเชื่อว่ามีการแจกจ่ายเอกสารบนสถานีตำรวจ แต่ข้อเท็จจริงคือไม่ได้มีการแจกเอกสารใด
นอกจากนั้น ทวีศักดิ์ทราบว่าเขามีสิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การก็ได้ แต่ตลอดเวลาที่ถูกควบคุมตัว เขากลับถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจคอยซักถามตลอดเวลา ผู้กำกับคนเก่าของสภ.บ้านโป่ง ยังได้เข้ามาพูดอีกด้วยว่า “จะไม่เซ็นไม่พูดก็ได้ แต่คอยดูว่ากูจะเอาพวกมึงเข้าคุกได้หรือเปล่า” ซึ่งเขาเห็นว่าเป็นการคุกคาม เขาจึงไม่พิมพ์ลายนิ้วมือ
ทวีศักดิ์เบิกความถึงการโดยสารรถของปกรณ์ด้วยว่า การที่เขาอาศัยรถของปกรณ์ไปทำข่าว ไม่ได้หมายความว่าเขาเห็นด้วยกับปกรณ์ทั้งหมด หรือต้องไปรายงานข่าวในลักษณะเป็นประโยชน์ต่อใคร เขายังคงมีความเป็นอิสระในการรายงานข่าวตามจรรยาบรรณของผู้สื่อข่าว
หลังสืบพยานจำเลยทั้งสองปาก ทนายจำเลยแถลงว่าพยานที่มาสืบในวันนี้หมดแล้ว ศาลจึงให้ไปสืบพยานต่อในวันที่ 4 ตุลาคมตามที่นัดไว้
ชำนาญเบิกความถึงการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2550 ด้วยว่า มีความเปิดกว้างมากกว่า และไม่มีการปิดกั้นการแสดงออกและบรรยากาศสนุกสนานกว่าการออกเสียงประชามติครั้งนี้
สำหรับที่มาของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 และ 2560 ชำนาญเบิกความว่ามีที่มาคล้ายกัน คือถูกร่างขึ้นมาจากคณะรัฐประหาร โดยทั่วไปแล้วเมื่อเกิดการรัฐประหารขึ้น ก็จะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา และการร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ก็ไม่ได้มีประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่าง
ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ตั้งกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา โดยมีบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธานกรรมาธิการร่าง แต่ร่างนี้ก็ถูกสภาปฏิรูปแห่งชาติตีตกไป จากนั้นก็มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาอีก โดยมี มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน และในฉบับหลังนี้ ก็ได้ให้ประชาชนออกเสียงประชามติ แต่เก็มีการออกพ.ร.บ.ประชามติฯ มารปิดกั้นการแสดงออกของประชาชน
ตอบอัยการถามค้าน
อัยการถามคำถามสุดท้ายว่าในการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 การทำประชามติครั้งนั้นมีกฎหมายเกี่ยวกับการทำประชามติเหมือนครั้งนี้หรือไม่ ชำนาญตอบว่ามี แต่จำได้ว่าในกฎหมายฉบับนั้น ไม่ได้มีการกำหนดบทลงโทษแบบใน พ.ร.บ.ประชามติ พ.ศ. 2559 หรือไม่
หลังการสืบพยานปากนี้เสร็จสิ้น ศาลนัดสืบพยานจำเลยสองปากสุดท้ายในวันที่ 5 ตุลาคม 2560
สืบพยานจำเลยปากที่สี่ ธีระ สุธีวรางกูร พยานผู้เชี่ยวชาญ
ที่สำคัญยังมีการกำหนดให้มี ส.ว.โดยตำแหน่ง 6 คน ได้แก่ ปลัดกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
แต่ในทางพฤตินัยแล้ว การที่ศาลมีการพิจารณาใช้ประกาศฉบับนี้มาก่อนแล้ว ก็ถือว่าเป็นกฎหมายที่ใช้ได้ใช่หรือไม่ ธีระตอบว่า หากพิจารณาว่าการขัดคำสั่งเจ้าพนักงานที่เคยมีโทษจำคุกเพียง 10 วัน แต่มีการปรับโทษเพิ่มในประกาศฉบับนี้เป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน การเพิ่มโทษนี้สมควรแก่เหตุหรือไม่ เมื่อเทียบกับกฎหมายที่มีลักษณะเดียวกัน อีกทั้งที่มาของกฎหมายฉบับนี้ ก็เป็นการประกาศใช้โดย คปค. ที่มาจากการรัฐประหาร กฎหมายไม่มีการตรวจสอบจากสภาก่อน จึงเห็นได้ชัดว่าขัดต่อหลักยุติธรรมทางอาญา
ชูวัสเบิกความถึงเป้าหมายการทำงานของสำนักข่าวประชาไทว่า ประชาไทมีจุดประสงค์ในการเป็นปากเสียงให้ผู้ด้อยโอกาสและสร้างพื้นที่ให้แก่เสียงที่แตกต่างหลากหลายซึ่งถูกสื่อกระแสหลักละเลย เช่น ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ประเด็นทรัพยากร แรงงาน โดยเป็นการนำเสนอในอีกมุมหนึ่งเพื่อให้มีการนำเสนอข่าวสารอย่างรอบด้าน
ในการมอบหมายงานจะมีการให้ประเด็นอย่างกว้างตามที่กล่าวไป ซึ่งรวมไปถึงการติดตามนักกิจกรรมที่ถูกละเมิดสิทธิ แล้วแต่หน้างานในขณะนั้นว่าเกิดอะไรขึ้น ก็จะให้ทวีศักดิ์เสนอประเด็นมา เพื่อทำการพิจารณาว่าจะให้มีการติดตามทำข่าวในประเด็นนั้นๆ ต่อหรือไม่
ในวันเกิดเหตุทวีศักดิ์ได้มีการนำเสนอประเด็นมาก่อนแล้ว จากนั้นก็มีการส่งข่าวกลับมาที่กองบรรณาธิการด้วย ซึ่งข่าวดังกล่าวก็ได้มีการนำเสนอสู่สาธารณะ ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ของประชาไท
ชูวัสเห็นว่าการดำเนินคดีครั้งนี้เป็นการคุกคามและละเมิดสิทธิในการทำหน้าที่ของสื่อ แล้วหลังจากที่ทวีศักดิ์ถูกจับกุม ก็มีตำรวจจาก สน.สุทธิสารนำหมายค้นมาตรวจค้นที่สำนักงานอีกด้วย ชูวัสเบิกความด้วยว่าในวันเกิดเหตุไม่มีตำรวจโทรศัพท์มาหาเพื่อสอบถามยืนยันว่าทวีศักดิ์เป็นนักข่าวของประชาไทหรือไม่
ตอบอัยการถามค้าน
ถ้าเป็นการเดินทางในกรุงเทพก็มีการใช้รถประจำทางบ้าง แต่ถ้าเป็นการเดินทางในต่างจังหวัด ผู้สื่อข่าวจะต้องแจ้งหัวหน้างาน ซึ่งก็คือตัวชูวัสเอง เพื่อให้อนุมัติ ซึ่งก็จะมีการเบิกจ่ายค่าเดินทางได้ แต่ถ้าเป็นเดินทางไปกับแหล่งข่าวหรือเดินทางไม่ไกลนัก ก็จะไม่ต้องเบิกค่าเดินทาง
ทนายจำเลยถามติงเกี่ยวกับกรณีที่ผู้สื่อข่าวโดยสารรถแหล่งข่าวว่าจะกระทบต่อการทำข่าวหรือไม่ ชูวัสตอบว่าในวันเกิดเหตุทวีศักดิ์เดินทางไปที่สภ.บ้านโป่งเพื่อทำข่าวตามหน้าที่ ส่วนการที่ผู้สื่อข่าวเดินทางไปกับแหล่งข่าว ก็ไม่ได้ส่งผลต่อการนำเสนอข่าว เพราะนักข่าวก็จะต้องเขียนข่าวส่งมาให้กองบรรณาธิการ โดยจะมีผู้สื่อข่าวอาวุโสตรวจข่าวที่ส่งมาก่อนมีการเผยแพร่ เพื่อตรวจสอบว่าเนื้อหาข่าวถูกต้องหรือไม่ ครอบคลุมรอบด้านหรือยัง
ผู้สื่อข่าวที่ไปติดตามทำข่าวกิจกรรมทางการเมืองอยู่เสมอ ก็อาจจะถูกบุคคลที่พบเห็นหรือเจ้าหน้าที่เข้าใจผิดได้ว่าไปร่วมกิจกรรม เพราะตัวผู้สื่อข่าวอาจไม่ได้แขวนบัตรประจำตัว แต่หากติดตามดูก็จะพบว่าผู้สื่อข่าวจะมีการจดบันทึก อัดเสียง ถ่ายภาพ
แม้ว่าในเวลานี้อาจจะไม่ได้มีการพกกล้องถ่ายรูปแล้ว แต่ก็มีการใช้โทรศัพท์มือถือในการถ่ายภาพแทน และการเกาะติดแหล่งข่าวก็ถือว่าเป็นการทำข่าวที่ดี เพราะยิ่งใกล้ชิดแหล่งข่าวก็ยิ่งได้ข่าวที่ลึกมากขึ้นด้วย
ทั้งถ้อยคำบนสติกเกอร์ก็เป็นเพียงการเชิญชวนให้ประชาชนไปออกเสียงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการกระทำตามกรอบของกฎหมายไม่ได้เป็นการเร้าใจให้ประชาชนลุกฮือหรือฝ่าฝืนกฎหมายบ้านเมือง