- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
อื่นๆ
สถานะผู้ต้องหา
ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (1) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 326 / 328 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
สมชาย หอมลออ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
อัญชนา หีมมิหน๊ะ | ยังไม่มีการจับกุมตัวระหว่างสืบสวนสอบสวน |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สมชาย หอมลออ เป็นที่ปรึกษามูลนิธิผสานวัฒนธรรม เคยจัดตั้งองค์กรที่ทำงานด้านสิทธิมนุษยชนผลักดันกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือคดีสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆแก่ประชาชนทั่วประเทศ
อัญชนา หีมมิหน๊ะ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มด้วยใจเพื่อให้ความช่วยเหลือด้านคำปรึกษากับครอบครัวผู้ต้องขังให้เข้าถึงสิทธิและได้รับความเป็นธรรม
กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคสี่ส่วนหน้า(กอ.รมน. 4 สน.)
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
เว็บไซต์ / บล็อก
-
จังหวัด
ปัตตานี
พรเพ็ญ, สมชาย และอัญชนา ร่วมกันเผยแพร่รายงานสถานการณ์การทรมานและการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรม ปี 2557-2558 จำนวน 126 หน้า ในเว็บไซต์วอยซ์ ฟอร์ม ไทย (Voice from Thais)
กล่าวหาว่าทหารซ้อมผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัยในพื้นที่ภาคใต้โดยไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน เข้าข่ายเป็นความผิดฐานร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาโดยเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (1)
ผู้ต้องหาทั้งสามเข้ารายงานตัวกับพนักงานสอบสวนเองจึงไม่มีการจับกุม
8 มกราคม 2559
เข้าพบและมอบรายงานให้กับพล.ท.อักษรา เกิดผล หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุขและพล.ท.วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคสี่ เพื่อขอให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ได้รวบรวมมาจากการสัมภาษณ์ผู้เสียหายจากการทรมานจำนวน 54 รายซึ่งถูกทรมานระหว่างการควบคุมตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงในปีพ.ศ. 2558 จำนวน 15 รายและในปี 2557 จำนวน 17 ราย และเหตุการณ์ระหว่างปี 2547-2556 จำนวน 22 ราย รวม 54 ราย
วัตถุประสงค์ของการเผยแพร่รายงานคือการย้ำให้ทุกฝ่ายมีความเข้าใจว่าการทรมานหรือการปฏิบัติอย่างไร้มนุษยธรรมในชายแดนใต้นั้นมีอยู่และยังไม่ได้รับการแก้ไข
17 พฤษภาคม 2559
ด้านฮิวแมน ไรท์ วอทช์ (Human rights watch) ออกแถลงการณ์เช่นกันโดยระบุว่า การกระทำของทหารเป็นการคุกคามต่อการเฝ้าระวังและการรายงานเรื่องสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยในห้วงเวลาที่การละเมิดสิทธิเกิดขึ้นอย่างกว้างขวาง โดยทหารไทยกำลังมุ่งเป้าไปที่บรรดานักสิทธิมนุษยชนจากการที่รายงานการทารุณกรรมและออกมาปกป้องเหยื่อ จึงเรียกร้องให้รัฐบาลสั่งเพิกถอนการดำเนินคดีและดำเนินการสืบสวนสอบสวนรายงานการกล่าวหาว่าถูกซ้อมทรมานอย่างจริงจัง

(สมชาย หอมลออเป็นตัวแทนผู้ต้องหาทั้งสามยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมต่ออัยการจังหวัดปัตตานีที่สำนักงานอัยการจังหวัดปัตตานี 21 กุมภาพันธ์ 2560)
1. จะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงร่วมกันในกรณีที่มีการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิฯ
2. จะต้องมีการจัดทำมาตรการร่วมกันเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีการซ้อมทรมานหรือให้มีการเยียวยากรณีที่มีเหตุเกิดขึ้น
3. การทำรายงานสิทธิมนุษยชนในอนาคตจะต้องมีการนำเสนอเรื่องผ่านกลไกต่างๆที่จะจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการร่วมกันในอนาคต เพื่อให้รายงานที่ออกมามีความถูกต้องและไม่กระทบบุคคลอื่น
และเพื่อความสมานฉันท์กอ.รมน. ภาค 4 สน. และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถอนฟ้องคดีที่เคยยื่นฟ้องนักสิทธิฯทั้งสามคน