- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สิรวิชญ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี
ข้อหา / คำสั่ง
อื่นๆ (คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 3/2558)
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
อานนท์ | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
ธเนตร | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
กิตติธัช | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
กรกนก | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
วิจิตร์ | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
ชนกนันท์ | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
กรกช | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
ชลธิชา | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
อภิสิทธิ์ | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
วิศรุต | ถอนฟ้อง / จำหน่ายคดี |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ นายทหารพระธรรมนูญ
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี, มีหมายเรียก
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลทหารกรุงเทพ Bangkok Military Court No: 97/2559
จำเลยทั้งสิบเอ็ดในคดีร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองด้วยการนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ ถือเป็นการชุมนุมทางการเมือง ขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง
เยาวลักษณ์ อนุพันธ์ ทนายจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนเปิดเผยภายหลังว่าในจำนวนผู้ถูกควบคุมตัวทั้ง 38 คน มีทนายและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯรวมอยู่ด้วยสามคน
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ทหารเข้ามาประกบสิรวิชญ์จะทำการจับกุม สิรวิชญ์บอกทหารว่าหากไม่มีหมายจะไม่ให้จับ ในเวลาต่อมามีตำรวจทั้งในและนอกเครื่องแบบนำหมายจับมาแสดง สิรวิชญ์จึงถูกนำตัวไปที่สถานีตำรวจรถไฟ
กรกช หนึ่งในผู้ต้องหาที่ยังไม่ได้เข้ารายงานตัวและถูกออกหมายจับถูกนำตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพไปส่งอัยการทหารเพื่อฟ้องคดี ก่อนหน้านี้ในวันที่ 23 มิถุนายน 2559 กรกชไปร่วมแจกใบปลิวที่จังหวัดสมุทรปราการและถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.3/2558 และความผิดตามพ.ร.บ.ประชามติฯ (ดูรายละเอียดคดี แจกใบปลิวโหวตโน ในฐานข้อมูลของเรา ที่นี่)
เนื่องจากในคดีดังกล่าวกรกชไม่ได้ขอประกันตัวเขาจึงถูกนำไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน 2559 จนถึงวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ที่ศาลมีคำสั่งยกคำร้องฝากขังผลัดที่สอง กรกชมีกำหนดจะได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำในเช้าวันที่ 6 กรกฎาคม 2559 อย่างไรก็ตามเนื่องจากกรกชมีหมายจับในคดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์ เขาจึงถูกอายัดตัวเพื่อส่งอัยการฟ้องที่ศาลทหาร และถูกนำตัวกลับมาที่เรือนจำพิเศษอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม มติชนออนไลน์ รายงานว่าในช่วงค่ำวันเดียวกัน กรกชก็ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพหลังศาลอนุญาตให้ประกันตัวระหว่างสู้คดีนั่งรถไฟไปอุทยานราชภักดิ์
โทษจำคุกสองเดือนถูกเพิ่มเนื่องจากธเนตรเคยต้องโทษจำคุกในคดีฝ่าฝืนพ.ร.ก.ฉุกเฉินจากการร่วมการชุมนุมทางการเมืองในปี 2553และพ้นโทษมายังไม่ครบห้าปีซึ่งเป็นไปตามบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 92 อย่างไรก็ตามโทษจำคุกของธเนตรถูกลดเหลือสี่เดือนเนื่องจากเขาให้การรับสารภาพ
คดีนี้มีผู้ที่ถูกดำเนินคดีรวมทั้งหมด 11 คน แต่มี 1 คนที่ถูกแยกฟ้องคือธเนตร ซึ่งได้รับสารภาพและศาลพิจารณาพิพากษาไปเมื่อ 25มกราม 2560 ให้จำคุกจำเลย 6 เดือน โดยมีการเพิ่มโทษตาม ม.92 (กระทำผิดซ้ำภายในห้าปี) อีก2 เดือน เป็น 8 เดือน จากการที่จำเลยเคยถูกศาลพิพากษาในคดีชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 2553ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และทำให้เสียทรัพย์ แต่จำเลยให้การรับสารภาพลดเหลือ 4 เดือน