- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
เสาร์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
28 พฤษภาคม 2558 เสาร์ถูกพนักงานสอบสวนนำตัวมาฝากขังต่อศาล หลังครบกำหนดฝากขัง พนักงานสอบสวนก็ยังไม่ได้ส่งสำนวนให้กับพนักงานอัยการเนื่องจากเห็นว่า ให้งดการสอบสวนและส่งเสาร์เข้ารับการรักษาอาการป่วยทางจิตที่สถาบันกัลยาราชนครินทร์ จนกว่าจะหายหรือสามารถต่อสู้คดีได้ ซึ่งผลตรวจต้องรอไม่ต่ำกว่า 45 วัน
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ผู้รับมอบอำนาจจากศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นผู้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนสน.ทุ่งสองห้อง
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
เสาร์ ถูกกล่าวหาว่า เดินทางยื่นคำร้องที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 โดยเขียนคำร้องยื่นฟ้องต่อศาลด้วยลายมือทำนองว่า
เสาร์ไปรายงานตัวที่ สน.ทุ่งสองห้อง ตามหมายเรียก เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2558 เจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112
วันนี้เสาร์และทนายความเดินทางมาศาล แต่พยานไม่มาศาล จึงเลื่อนไปสืบพยานนัดต่อไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561
สมยศตอบว่าทราบว่าเสาร์คุยเรื่องนี้กับเพื่อนบางคนแต่ไม่ทราบว่าเป็นบุคคลใด ส่วนเรื่องการไปยื่นคำร้องทราบว่าเสาร์คุยกับญาติห่างๆชื่อสวานซึ่งทำงานกับกรมป่าไม้ ส่วนบุคคลใดจะพาเสาร์ไปส่งสมยศไม่ทราบ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลในเวลาต่อมาว่าหลังศาลทหารกรุงเทพโอนย้ายคดีนี้ไปให้ศาลอาญาเป็นผู้พิจารณาต่อ ขณะนี้ศาลอาญานัดพร้อมพิจารณาคดีนี้เป็นครั้งแรกแล้วในวันที่ 27 มกราคม 2563 เวลา 9.00 น.
เสาร์เดินทางมาที่ศาลอาญาพร้อมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ตามที่ได้รับหมายเรียก โดยมีเพื่อนของเสาร์เดินทางมาให้กำลังใจด้วย เมื่อศาลขึ้นบัลลังก์เรียกให้ทนายความจำเลยไปพูดคุยที่ใต้บัลลังก์ โดยปรึกษากันเรื่องสัญญาประกันตัวที่โอนมาจากศาลทหาร และศาลขอไปปรึกษากับรองอธิบดีผู้พิาพากษาศาลอาญาก่อนว่า เรื่องสัญญาประกันตัวจะต้องทำอย่างไร
เนื่องจากเสาร์ได้ประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์จากกองทุนยุติธรรม และศาลแจ้งว่า ต้องให้นายประกันมาศาลเพื่อทำสัญญาประกันตัวใหม่ โดยยังคงใช้หลักประกันเดิมที่ได้วางไว้ในศาลทหารได้ แต่ตัวแทนของกองทุนยุติธรรมซึ่งเป็นนายประกันไม่ได้มาศาล จึงยังทำเรื่องขอปล่อยตัวชั่วคราวในศาลนี้ไม่ได้ ทนายจำเลยขอเวลาเพื่อประสานกับทางกองทุนยุติธรรม ศาลเห็นควรก่อนจะสั่งนัดพร้อมเพื่อกำหนดวันนัดสืบพยานอีกครั้งในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 น.
24 กุมภาพันธ์ 2563
นัดทำสัญญาประกันตัวของเสาร์ฉบับใหม่ เนื่องจากย้ายคดีจากศาลทหารมาที่ศาลอาญาไม่สามารถใช้สัญญาประกันตัวฉบับเดิมได้
17 มีนาคม 2563
นัดพร้อม
ห้องพิจารณาคดีที่ 905 ศาลอาญา เวลาประมาณ 09.30 น. เสาร์เดินทางมาพร้อมทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ศาลขึ้นบันลังก์ในคดีก่อนหน้าอยู่แล้ว และเริ่มกระบวนการพิจารณาคดีของเสาร์
ศาลสอบถามคำให้การของเสาร์ อีกครั้งหนึ่งว่ายังยืนยันคำให้การเดิมเหมือนกับที่ให้การไว้ในศาลทหารหรือไม่ เสาร์มีท่าทีนิ่งเฉย ศาลจึงถามเสาร์ซ้ำว่าสามารถตอบสนองศาลได้หรือไม่ เสาร์พนักหน้า จากนั้นทนายจำเลยจึงเดินเข้าไปย้ำคำถามกับเสาร์อีกครั้ง เสาร์ยืนยันคำให้การปฏิเสธในข้อกล่าวหาตามเดิม และอัยการได้ขอให้เพิ่มโทษจากคดีที่เสาร์เคยติดคุกจากคดียาเสพติดที่เรือนจำจังหวัดเชียงใหม่มาก่อนหน้านี้ เสาร์ให้การปฏิเสธในเรื่องเคยถูกจำคุกเนื่องจากคดียาเสพติดเช่นเดียวกัน
จากนั้นศาลถามอัยการว่าจะมีการสืบพยานฝ่ายโจทก์เพิ่มเติมหรือไม่ เนื่องจากจากศาลทหารได้สืบพยานฝ่ายโจทก์เสร็จสิ้นแล้ว อัยการแถลงต่อศาลว่าไม่มีการสืบพยานฝ่ายโจทก์เพิ่มเติม ใช้เท่าที่สืบพยานมาจากศาลทหาร
ศาลถามฝ่ายทนายจำเลยว่าเหลือพยานอีกกี่ปาก แล้วต้องการวันนัดอีกกี่นัด ทนายจำเลยแถลงต่อศาลว่าฝ่ายจำเลยเหลือสืบพยานอีกสามปาก ได้แก่ตัวจำเลยเอง, ญาติของจำเลย และพยานผู้เชี่ยวชาญตำแหน่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา ต้องการวันนัดสืบพยานหนึ่งนัด
หลังจากนั้นศาลได้อ่านรายงานกระบวนพิจารณาคดี และให้คู่ความไปนัดวันสืบพยานที่ศูนย์นัดความ และสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาคดีเวลาประมาณ 09.50 น.
ทนายจำเลยแจ้งว่านัดสืบพยานจำเลยทั้งสามปากในวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 น.
4 พฤศจิกายน 2563
นัดฟังคำพิพากษา
ศาลอาญา นัดอ่านคำพิพากษา โดยศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รเผยแพร่ว่า ศาลพิพากษาให้จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แต่กระทำไปเนื่องจากอาการป่วยทางจิต ตามมาตรา 65 วรรค 2 ให้ลงโทษจำคุก 3 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยเคยถูกจำคุกในคดียาเสพติด ศาลพิจารณาเพิ่มโทษ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 4 เดือน อย่างไรก็ตาม คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1ใน 3 ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ให้จำคุก 2 เดือน 20 วัน โดยไม่รอลงอาญา
คำพิพากษาศาลชั้นต้น
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน สรุปคำพิพากษาของศาลไว้ว่า
เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2558 จำเลยเข้ายื่นคำร้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ระบุว่า ต้องการรื้อฟื้นคดีของอดีตนายกฯ ทักษิณ เพื่อขอเป็นคู่ความในคดี ในคำร้องมีเนื้อหาทำนองว่า จำเลยสามารถติดต่อกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ผ่านสื่อได้ พระองค์ท่านทรงจัดสรรเงินและทรงมอบเงินนี้ให้จำเลยเป็นผู้รับผิดชอบ ผ่านทางบัญชีของทักษิณ ชินวัตร และต่อมาพระองค์ท่านทรงมีรับสั่งให้ทักษิณนำเงินจำนวนดังกล่าวคืนให้จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปสร้างบ้านและทำโครงการปราบปรามยาเสพติดและช่วยเหลือเด็ก
เสาร์ได้ยื่นคำร้องนี้ให้แก่นิติกรชำนาญการประจำศาลฎีกาฯ นาย จุลเดช ละเอียด ซึ่งได้ส่งเรื่องต่อไปยังผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ คำร้องของเสาร์ถูกตีตก เนื่องจากตัวกฎหมายไม่ได้เปิดช่องทางให้ประชาชนยื่นเรื่องได้ในช่องทางนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาศาลฎีกาฯ ยังได้มอบหมายให้ตัวแทนไปแจ้งความดำเนินคดีกับเสาร์ที่ สน.ทุ่งสองห้อง เนื่องจากเห็นว่ามีเนื้อหาเป็นไปในทางที่มิบังควร โดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9 เสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก่อนที่ต่อมาเสาร์จะได้รับหมายเรียกและเริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการดำเนินคดีในศาลทหาร
คดีนี้มีปัญหาต้องวินิจฉัยข้อแรกคือ จำเลยทำผิดตามฟ้องหรือไม่?
ในวันเกิดเหตุ นิติกรฯ คือ นาย จุลเดช ละเอียด ยืนยันว่า เสาร์ได้เดินทางมาที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจริงและได้ทำการยื่นเรื่องจริง เนื่องจากพยานถูกโทรเรียกโดย รปภ. ศาล นาย เปรม กาลสุข ว่ามีชายผู้หนึ่งเดินทางมาขอยื่นคำร้องที่ศาลฯ แต่มีลักษณะแต่งกายไม่สุภาพ ทางนิติกรฯ ได้เสนอคำร้องต่อประธานและองค์คณะผู้พิพากษาฯ ซึ่งองค์คณะมีคำสั่งให้ยกคำร้อง เนื่องจากไม่มีตัวกฎหมายใดให้อำนาจจำเลยยื่นคำร้องในลักษณะนี้ และข้อความในคำร้องเองก็มีลักษณะเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ เลขานุการศาลฎีกาฯ จึงมอบอำนาจให้เจ้าหน้าที่ศาลฎีกาฯ นาง ลัดดาวัลย์ นิยม เข้าแจ้งความ ซึ่งลัดดาวัลย์เบิกความว่า ข้อความดังกล่าวมีการพาดพิงพระมหากษัตริย์ อาจทำให้เสื่อมเสียพระเกียรติ ในการสืบสวน ยังมีการให้ พล.ต.ต.พิษณุ ฟูปลื้ม เป็นผู้ตรวจสอบลายมือของเจ้าเลยว่าเป็นผู้เขียนคำร้องขึ้นเองหรือไม่ พบว่าสอดคล้องกัน เนื่องจากจำเลยยอมรับว่าตนเป็นผู้เขียนคำร้องขึ้นด้วยตัวเอง
ในแง่ของการพิจารณาว่า ถ้อยคำของจำเลยมีลักษณะเข้าข่ายการหมิ่นประมาทฯ หรือไม่ การที่พยานจำเลยมาเบิกความในเรื่องคำนิยามของการหมิ่นประมาทฯ เมื่อพิจารณาจากข้อความประกอบกับที่จำเลยนำสืบ ศาลเห็นว่าเป็นการต่อสู้ลอย ๆ ไม่มีน้ำหนัก เมื่อพิจารณาข้อความเห็นว่า ถ้อยคำของจำเลยทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อพระมหากษัตริย์จริง อาจทำให้คนอื่นเข้าใจผิดต่อพระมหากษัตริย์ ทำให้เสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง การกระทำของจำเลยจึงถือเป็นความผิด
ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยประการที่สอง คือ จำเลยทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่? สามารถบังคับตนเองได้หรือไม่?
ศาลเห็นว่า ขณะเกิดเหตุ นิติกรเบิกความว่า จำเลยได้ไปยื่นคำร้องด้วยตนเอง ภายหลังเกิดเหตุที่จำเลยถูกควบคุมตัวและได้ให้การต่อพนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง คือ ร.ต.ท.วิศรุตภูมิ ชูประยูร เห็นว่า จำเลยพูดไม่รู้เรื่อง จิตไม่ปกติ จึงได้ส่งตรวจรักษาที่สถาบันกัลยาณ์ราชนครินทร์ เนื่องจากเชื่อว่าจำเลยมีความผิดปกติในความคิดและการรับรู้ เพราะมีอาการป่วยทางจิตจึงได้ไปยื่นคำร้อง นับว่าเป็นเรื่องที่ผิดปกติ เป็นการกระทำที่น่าจะทำไปเพราะอาการทางโรคจิตเภท ซึ่งในข้อนี้ได้ความเสริมจาก นพ.อภิชาติ แสงสิงห์ แพทย์ผู้ทำการตรวจรักษาจำเลยว่า ขณะที่เสาร์เข้ายื่นคำร้องนั้นน่าจะอยู่ในระยะขั้นกลางของโรค ยังสามารถดูแลตัวเองได้ แต่ยังไม่สามารถควบคุมตนเองได้
ศาลให้เหตุผลในการรับฟังว่า แพทย์เป็นผู้เชี่ยวชาญ เป็นพยานคนกลาง ไม่ได้มีส่วนได้เสียกับจำเลย มีน้ำหนักน่าเชื่อ และในส่วนของนิติกรที่รับคำร้องยังได้พูดคุยสอบถามจำเลยประมาณ 20 นาที เห็นว่า ขณะกระทำการจำเลยยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้ จึงต้องรับโทษสำหรับการกระทำความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรค 2
จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบ มาตรา 65 วรรค 2 ลงโทษจำคุก 3 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยเคยถูกจำคุกในคดียาเสพติด ศาลพิจารณาเพิ่มโทษ 1 ใน 3 ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 4 เดือน อย่างไรก็ตาม คำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนและในชั้นพิจารณาเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้ 1ใน 3 ตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 ให้จำคุก 2 เดือน 20 วัน โดยไม่รอลงอาญา
จากคำบอกเล่าของเสาร์ที่ว่า สามารถตอบโต้กับในหลวงได้โดย “แทงออกทีวี” เสาร์เล่าว่า กองทุนหมู่บ้าน สินค้าโอทอป การแจกจ่ายที่ดิน ฯลฯ เป็นความคิดของเขาที่สื่อสารถึงทักษิณผ่านสื่อโทรทัศน์ โดยเริ่มสื่อสารได้ตั้งแต่ ปี2540
บล็อกของศูนย์นายความเพื่อสิทธิมนุษยชน, คดี 112 ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้กล่าวโทษ (สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2558)