- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
อภิชาต
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
อื่นๆ(ชำระค่าปรับ)
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา, ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557
เนื้อหาคดีโดยย่อ
อภิชาต ถูกควบคุมตัวด้วยข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมืองเนื่องจากเข้าร่วมกับกลุ่มต่อต้านรัฐประหารที่หน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯสี่แยกปทุมวันเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557
คดีนี้มีการสืบพยานทั้งหมดสามนัด ในวันที่ 11 และ 30 กันยายน 2558 และในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2558 โดยมีการสืบพยานรวมหกปาก เป็นพยานโจทก์สองปากได้แก่เจ้าหน้าที่ทหารผู้ทำการจับกุมและพนักงานสอบสวน ส่วนพยานจำเลยสี่ปากมีตัวจำเลย พยานผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นนักวิชาการด้านนิติปรัชญา อาจารย์ของจำเลยที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเพื่อนร่วมงานของจำเลยจากคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานศาลแขวงปทุมวันนัดฟังคำพิพากษาในเดือนกุมภาพันธ์ 2559
ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ศาลแขวงปทุมวันพิพากษายกฟ้องโดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนจำเลยไม่ถูกต้องเพราะพนักงานสอบสวนจากกองปราบปรามไม่มีอำนาจสอบสวนจำเลย การสอบสวนคดีนี้จึงไม่ชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ หลังศาลมีคำพิพากษาอัยการอุทธรณ์คดี
ในวันที่ 11 ตุลาคม 2559 ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำคำพิพากษาใหม่เพราะเห็นว่าพนักงานสอบสวนกองปราบปรามมีอำนาจสอบสวนคดีจึงถือว่ามีการสอบสวนโดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดี ศาลแขวงปทุมวันนัดฟังคำพิพากษาใหม่วันที่ 19 ธันวาคม 2559
ในวันที่ 19 ธันวาคม 2559 ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าอภิชาตมีความผิดฐานฝ่าฝืนประกาศห้ามชุมนุมของคสช.และความผิดฐานมั่วสุมเกินกว่าสิบคนก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง เพราะจำเลยทราบอยู่แล้วว่ามีการออกประกาศห้ามชุมนุมแต่ยังไปชุมนุม ทั้งพยานโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหารผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาความเรียบร้อยในพื้นที่เกิดเหตุเบิกความยืนยันหนักแน่นว่าจำเลยมีพฤติการณ์ปลุกเร้าให้ผู้ร่วมชุมนุมต่อต้านเจ้าหน้าที่ทหารผู้ปฏิบัตหน้าที่รักษาความสงบ พิพากษาจำคุกสองเดือนปรับเงิน 6,000 บาทแต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษมีกำหนดหนึ่งปี
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สฤษฎิ์ จันทะราช พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีศาลแขวง 6)
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
แขวงปทุมวัน
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: 363/2558ชั้นศาล: ศาลอุทธรณ์ No: 559/2560 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: อ.134/2559 วันที่: 2016-02-11ชั้นศาล: ศาลอุทธรณ์ No: 2247/2561 วันที่: 2018-02-20
อภิชาตถูกจับกุมเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557 เวลาประมาณ 19.30 น.ภายหลังร่วมกิจกรรมต่อต้านรัฐประหาร โดยทหารคุมตัวอภิชาติขึ้นไป ขณะถูกทหารคุมตัวไปที่รถอภิชาตถือป้ายที่เขียนข้อความต้านรัฐประหารพร้อมตะโกนว่า "ไม่ยอมรับอำนาจคณะรัฐประหาร" (ดูคลิปเหตุการณ์ ที่นี่)
ร.ท.พีรพันธ์ เบิกความว่า รับราชการอยู่กองพันทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ตำแหน่งนายทหารสารวัตรสืบสวน มีหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับวินัยทหาร พยานเล่าถึงวันที่ 22 พฤษภาคม ขณะนั้นมีประกาศกฎอัยการศึก พล.อ.ประยุทธ์ หัวหน้า คสช.ประกาศยึดอำนาจการปกครอง จากรัฐบาลยิ่งลักษณ์ พอประกาศยึดอำนาจเสร็จก็ออกประกาศ
ศาลบอกด้วยว่าจะไม่บันทึกคำถามของทนายที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น คำถามที่ว่าการประกาศกฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรต้องประกาศเป็นพระบรมราชโองการหรือไม่ คำถามที่ว่า การที่จำเลยออกมาต่อต้านการรัฐประหาร เป็นการใช้สิทธิเสรีภาพตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวหรือไม่ รวมทั้งคำถามที่ว่า พันธกรณีหรือสนธิสัญญาระหว่างประเทศยังคงให้การรับรองการใช้สิทธิในการแสดงออกของจำเลย ระหว่างที่รัฐธรรมนูญฉบับปี2550ถูกยกเลิก และรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 ยังไม่ประกาศใช้ ใช่หรือไม่
อัยการถามว่า เหตุใด ร.ท.พีรพันธ์จึงคิดว่าจำเลยมีพฤติการณ์ปลุกเร้าประชาชน ร.ท.พีรพันธ์ตอบว่า ในขณะที่ถูกจับ จำเลยพูดเรื่อง สิทธิการชุมนุม ความไม่ชอบธรรม และการยึดอำนาจของทหาร
ศาลขึ้นบัลลังก์ในเวลาประมาณ 09.40 น. ก่อนจะเริ่มอ่านคำพิพากษายกฟ้องอภิชาตโดยให้เหตุผลว่ากระบวนการสอบสวนไม่ถูกต้อง เพราะพนักงานสอบสวนจะมีเขตอำนาจเหนือคดีในกรณีท้องที่ที่รับผิดชอบ เป็นที่เหตุเกิดหรือภูมิลำเนาหรือท้องที่ที่จำเลยถูกจับกุม
คดีนี้เหตุเกิดและจำเลยถูกจับกุมในท้องที่สน.ปทุมวัน แต่พนักงานสอบสวนจากกองปราบเป็นผู้สอบ ซึ่งโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ศาลเห็นถึงเขตอำนาจสอบสวนของร.ต.ท.ชลิต จึงถือว่าไม่มีการสอบสวนอย่างถูกต้อง พิพากษายกฟ้อง
หลังอ่านคำพิพากษา ศาลเตือนทนายจำเลยถึงกรณีที่ทนายจำเลยเคยคัดค้านให้เปลี่ยนตัวผู้พิพากษา โดยอ้างเหตุว่าผู้พิพากษามีความฝักใฝ่ฝ่ายการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ให้ความเป็นธรรมกับจำเลย และไปบันทึกภาพหน้าเฟซบุ๊กที่ผู้พิพากษาไปกดไลค์เพจการเมืองเพจหนึ่ง มาใช้ประกอบคำร้องถอดถอนว่า ตัวผู้พิพากษาไม่มีเหตุติดใจอะไร แต่อยากเตือนไม่ให้ทนายจำเลยคิดเอาเองว่าผู้พิพากษาไม่ให้ความเป็นธรรม เพราะตัวผู้พิพากษาได้เคยถวายสัตย์ต่อพระเจ้าอยู่หัว ทั้งยังตัดสินคดีภายใต้พระปรมาภิไธย จึงต้องทำงานอย่างเที่ยงธรรมโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคู่ความอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้การเข้าไปดูหน้าเฟซบุ๊กลักษณะนี้ก็ถือเป็นการละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้พิพากษา
การแถลงข่าวที่บริเวณด้านนอกกำแพงศาลของจำเลยและทนาย ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากเจ้าหน้าที่ทั้งในและนอกเครื่องแบบที่คอยบันทึกภาพการแถลงข่าวโดยตลอด
ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2557 ที่ใช้ดำเนินคดีกับจำเลยออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึกที่ประกาศใช้โดยไม่ชอบ จึงไม่อาจบังคับใช้กับจำเลยได้
นอกจากนี้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2557 ก็ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 26 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นวันหลังจากวันเกิดเหตุ จึงไม่อาจบังคับใช้กับจำเลยได้
จำเลยเป็นนักกฎหมาย ทราบดีถึงความไม่ชอบด้วยกฎหมายของประกาศฉบับที่ 7/2557 จึงออกไปคัดค้านการรัฐประหารอย่างสันติวิธี เพราะเชื่อโดยสุจริตว่าประกาศดังกล่าวนั้นยังไม่มีผลบังคับใช้ และจำเลยมีสิทธิที่จะพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามความในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550
เจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ยังสอบถามด้วยว่าผู้ที่มาคดีอภิชาตมีความสัมพันธ์กับจำเลยอย่างไร ทั้งนี้นอกจากอภิชาตและทนายของเขาแล้วยังมีตัวแทนจากสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือทางคดีกับอภิชาต และมีฐิตารีย์ อดีตจำเลยที่เคยถูกดำเนินคดีพรบ.ความสะอาดฯ จากการร่วมกิจกรรมปะโพสต์อิทที่สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสช่องนนทรีย์มาร่วมฟังการพิจารณาคดีด้วย
ในเวลา 10.00 น. ศาลขึ้นบัลลังก์และแจ้งว่า ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนติดภารกิจ จึงให้ผู้พิพากษาท่านอื่นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แทน จากนั้นศาลแจ้งว่าในวันที่ 26 มกราคม 2561 ศาลอุทธรณ์มีหนังสือมาถึงศาลแขวงปทุมวันว่า คดีของอภิชาตมีความซับซ้อน ศาลอุทธรณ์ยังพิจารณาคดีไม่แล้วเสร็จ ขอเลื่อนการอ่านคำพิพากษาออกไปเป็นวันที่ 31 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.00 น.
ทนายของอภิชาตแถลงต่อศาลว่าในนัดหน้าหากมีการเลื่อนนัดอีกขอให้แจ้งทางทนายจำเลยคนใดคนหนึ่งล่วงหน้าด้วย เพราะครั้งนี้ไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ทนายจำเลยต้องยกเลิกภารกิจอื่นเพื่อมาศาลในนัดนี้แต่ปรากฎว่ามีการเลื่อนนัด ศาลจึงสั่งเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์ว่าให้เขียนที่หน้าสำนวนคดีนี้ว่า หากมีการเลื่อนนัดอีกให้แจ้งทนายจำเลยทราบล่วงหน้า ทั้งนี้การเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ครั้งนี้ถือเป็นการเลื่อนนัดครั้งที่สามแล้ว
มีรายงานภายหลังด้วยว่าก่อนพิจารณาคดีนี้มีผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวประชาไทแจ้งกับเจ้าหน้าที่รปภ.ขณะแลกบัตรว่าจะมาฟังคำพิพากษาคดีอภิชาต เจ้าหน้าที่รปภ.ของศาลแจ้งว่าต้องทำหนังสือมาขออนุญาตก่อน เมื่อผู้สื่อข่าวคนนั้นแสดงตัวว่าเป็นสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่รปภ.ก็บอกว่าจะไปแจ้งผู้พิพากษาหัวหน้าศาลก่อน แต่ก็ไม่ได้กลับมาให้คำตอบอะไร ผู้สื่อข่าวประชาไทจึงไม่ได้ขึ้นมาที่ห้องพิจารณาคดี ผู้สื่อข่าวคนเดียวกันยังระบุด้วยว่ามีผู้สื่อข่าวจากไทยโพสต์และไทยรัฐที่มีความประสงค์จะขึ้นมาที่ห้องพิจารณาคดีแต่ก็ไม่สามารถขึ้นมาได้
โจทก์มีร.ต.ท.ชลิต มณีพราว พนักงานสอบสวน กองกำกับการหนึ่ง กองบังคับการปราบปราม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เบิกความเป็นพยานได้ความว่า เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่เป็นร้อยเวรสอบสวนอยู่ที่กองกำกับการหนึ่ง กองบังคับปราบปราม มีร.ท.พีรพันธ์ สรรเสริญ กับเจ้าหน้าที่ทหารอีกหลายคนควบคุมจำเลยมาส่งมอบให้กับร.ต.ท.ชลิต โดยมีหนังสือของกองพลทหารม้าที่สอง รักษาพระองค์ มาประกอบการส่งตัว ร.ต.ท.ชลิต จึงรับตัวจำเลยไว้
จึงฟังไม่ได้ว่า มีการสอบสวนความผิดตามข้อกล่าวหาในคดีนี้โดยชอบ เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่ามีการสอบสวนความผิดตามข้อกล่าวหานี้โดยชอบแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พิพากษายกฟ้อง และคดีไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยประการอื่นอีก
ร.ท.พีรพันธ์เห็นว่าจำเลยมีลักษณะเป็นแกนนำ จึงนำตัวไปควบคุมที่กองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ก่อนจะพาไปควบคุมตัวต่อที่กองบังคับการปราบปรามในวันที่ 24 พฤษภาคม 2557
เมื่อครบกำหนดการควบคุมตัวตามกฎอัยการศึกในวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 ร.ท.พีรพันธ์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลยกับร.ต.ท.ชลิตในข้อหาชุมนุมฝ่าฝืนประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 ข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานที่ปฏิบัติตามหน้าที่ รวมทั้งได้มอบภาพถ่ายจำเลยในที่เกิดเหตุไว้ด้วย ร.ต.ท.ชลิตได้ทำการสอบปากคำจำเลยและร.ท.พีรพันธ์ผู้กล่าวหา พร้อมทั้งรวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม ก่อนมีความเห็นสั่งฟ้อง
พล.อ.ประยุทธ์จึงสามารถอาศัยอำนาจตามกฎอัยการศึก ออกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นกฎหมายสั่งบังคับใช้กับประชาชนเพื่อรักษาความสงบและทำให้สถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ ประกาศฉบับที่ 7/2557 ซึ่งออกมาภายหลังประกาศฉบับที่ 2/2557 จึงถือว่าออกมาโดยชอบและผู้ที่ฝ่าฝืนต้องรับโทษตามที่มีประกาศกำหนดโทษไว้
ทั้งนี้ภายหลังจากที่จำเลยกระทำความผิด มีการออกคำสั่งหัวหน้า คสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของชาติ ซึ่งข้อ 12 มีการกำหนดห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคนซึ่งมีองค์ประกอบความผิดเดียวกับประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 แต่มีอัตราโทษที่ต่ำกว่า จึงต้องลงโทษจำเลยตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ซึ่งเป็นคุณกับจำเลย
ศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้ว เห็นว่า
ศาลอุทธรณ์โดยมติที่ประชุมใหญ่เห็นว่าสถานการณ์ก่อนการเข้าควบคุมอำนาจของคสช.มีความแตกแยก และความรุนแรง แม้องค์กรที่ไม่ได้เป็นคู่กรณีในความขัดแย้งเช่น องค์กรตามรัฐธรรมนูญ พรรคการเมือง กองทัพ และวุฒิสภาจะพยายามประสานให้มีการเจรจาและมีการบังคับใช้กฎหมายแต่ก็ไม่เป็นผล คสช.จึงจำเป็นต้องเข้าควบคุมอำนาจ แม้การเข้าควบคุมอำนาจของคสช.จะไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางรัฐธรรมนูญ แต่เมื่อคสช.ควบคุมอำนาจสำเร็จก็มีการออกประกาศคสช.ฉบับที่ 1/2557 ขอให้ประชาชนอยู่ในความสงบและให้ข้าราชการปฏิบัติตามระเบียบดังที่เคยปฏิบัติมาต่อไปเว้นแต่ได้รับคำสั่งจากหัวหน้าคสช. หลังจากนั้นสถานการณ์ในประเทศก็คลี่คลายและสงบเรียบร้อย
ส่วนที่จำเลยต่อสู้ว่า ประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 เรื่องการห้ามชุมนุมทางการเมืองยังไม่ถูกประกาศในราชกิจจานุเบกษาในขณะเกิดเหตุ เห็นว่าประกาศคสช.ออกมาโดยไม่มีการระบุวันบังคับใช้ย่อมถือว่าประกาศดังกล่าวมีผลในทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา ประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 จึงถือเป็นกฎหมายโดยชอบ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น
แม้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะให้การรับรองเสรีภาพในการชุมนุมดังที่จำเลยกล่าวอ้าง แต่มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวก็รับรองบรรดาประกาศคำสั่งคสช.ว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุดไว้ด้วยเช่นกัน ประกาศฉบับที่ 7/2557 จึงมีผลบังคับใช้ต่อไป การที่จำเลยอ้างบทบัญญัติที่รับรองสิทธิในรัฐธรรมนูญโดยไม่พิจารณาหลักการที่เกี่ยวเนื่องกับมาตราอื่นๆด้วยจึงไม่ถูกต้อง
ในกติกาดังกล่าวมีข้อกำหนดให้รัฐภาคีสามารถจำกัดสิทธิตามกติกาดังกล่าวได้เท่าที่จำเป็นเพื่อประโยชน์แห่งการรักษาความสงบเรียบร้อย ซึ่งสถานการณ์ในประเทศก่อนการทำรัฐประหารของคสช. ก็อยู่ในสภาวะไม่เรียบร้อยตามที่ได้วินิจฉัยไว้ข้างต้น จึงนับว่ามีความจำเป็นที่คสช.จำต้องออกประกาศคำสั่งที่มีเนื้อหาจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนบางประการเพื่อให้ประเทศกลับสู่สภาวะปกติ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น
คดีนี้มีการนำสืบพยานทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลยจนมีข้อยุติแล้ว คดีไม่มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าจำเลยกระทำการตามโจทก์ฟ้องหรือไม่ คงต้องวินิจฉัยเพียงว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นหรือไม่ ปัญหาว่าคำเบิกความพยานโจทก์ปากร.ท.พีรพันธ์มีน้ำหนักแก่การรับฟังหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดี อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้จึงฟังไม่ขึ้น
โจทก์มีเพียงพยานปากร.ท.พีรพันธ์มาเบิกความว่าจำเลยมีพฤติการณ์ดังกล่าว ในการถามค้านพยานโจทก์ปากเดียวกันก็เบิกความตอบทนายจำเลยว่าจำเลยชูป้ายและพูดข้อความว่า "แค่กระดาษแผ่นเดียวทำไมถึงต้องจับ" ซึ่งการกระทำดังกล่าวตามความเห็นของร.ท.พีรพันธ์เป็นการปลุกเร้า แต่เป็นเพียงความเห็นของร.ท.พีรพันธ์
พิพากษาแก้เป็นไม่ลงโทษจำคุกจำเลยและยกฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 วรรคแรก คงลงโทษปรับจำเลยเป็นเงิน 6,000 บาท
สรุปคำพิพากษาศาลฎีกา (ออกหลังจำเลยยื่นคำร้องว่าคำสั่
โจทก์ฎีกาคัดค้านเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงว่าพยานหลักฐานของโจทก์สามารถรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.215 วรรคแรก เห็นว่าข้อนี้เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามฎีกาตามประมวลวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 219 ที่กำหนดว่า ในคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าศาลอุทธรณ์ยังคงลงโทษจำเลยไม่เกินกำหนดที่ว่ามานี้ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่รับฎีกาโจทก์ในข้อนี้
จำเลยฎีกาในประเด็นแรกว่า ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 7/2557 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นประกาศซึ่งออกโดยกลุ่มบุคคลซึ่งเข้ายึดอำนาจปกครองประเทศโดยไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ซึ่งใช้บังคับขณะเกิดเหตุ และแม้มาตรา 47 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 และ มาตรา 279 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 จะรับรองความชอบด้วยกฎหมายของประกาศคสช. แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นเพียงบทเฉพาะกาลซึ่งขัดกับมาตรา 4 รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2557 ที่บัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและพันธกรณีของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ซึ่งรับรองเสรีภาพในการชุมนุม
บทบัญญัติทั้งสองจึงมีค่าบังคับเหนือกว่าบทเฉพาะกาล และจำเลยใช้สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญตาม ม. 69 และ ม.70 รัฐธรรมนูญชั่วคราวแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวได้หมดสภาพบังคับเนื่องจากประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติฉบับที่ 5/2557 และที่ 11/2557 ทำให้รัฐธรรมนูญสิ้นสุดลงและไม่มีสภาพบังคับแล้ว จะทำให้บทบัญญัติดังกล่าวไม่มีที่ให้บังคับใช้เลย เพราะการพิทักษ์รัฐธรรมนูญย่อมเกิดขึ้นในห้วงเวลาการยึดอำนาจเช่นเดียวกับวันเกิดเหตุ
และจำเลยฎีกาในประเด็นที่สองว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คสช. ยึดอำนาจการปกครองและการบริหารราชการแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ ไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่คู่ความยกขึ้นกล่าวอ้างและไม่ใช่ข้อเท็จจริงที่รับรู้ทั่วไป การนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวินิจฉัยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายและขาดความเป็นธรรมต่อจำเลย
เห็นว่า การที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาที่จำเลยฎีกาดังกล่าง ศาลฎีกาต้องวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงก่อนว่าเป็นไปดังที่จำเลยหรือศาลอุทธรณ์กล่าวมาจริงหรือไม่ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 219 ศาลฎีกาจึงไม่อาจรับวินิจฉัยฎีกาทั้งสองประเด็นของจำลัย
คงมีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยในประเด็นที่สามว่า “โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง” เนื่องจากการสอบสวนคดีนี้ไม่ชอบด้วยกฎหมายเห็นว่า
ปัญหาเรื่องอำนาจสอบสวนและอำนาจฟ้องของโจทก์นั้นศาลอุทธรณ์เคยวินิจฉัยปัญหานี้มาแล้วในชั้นที่ศาลชั้นต้นพิพากษาครั้งแรกให้ยกฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามมีอำนาจสอบสวนและโจทก์มีอำนาจฟ้องและได้พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
ซึ่งในขณะนั้นจำเลยไม่ได้ฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ดังกล่าวว่าไม่ถูกต้อง ปัญหานี้จึงยุติไปจำเลยไม่อาจยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ฎีกาได้อีก ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาในครั้งหลังไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยโดยเห็นว่าเป็นการดำเนินกระบวนการพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144 ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยประเด็นนี้ฟังไม่ขึ้น
ในประเด็นที่สี่จำเลยฎีกาว่า ประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง สิ้นผลบังคับไปเนื่องจากมี พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 สิงหาคม 2558 เป็นกรณีที่กฎหมายใหม่บัญญัติว่าการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน ขึ้นไป ไม่เป็นความผิด จำเลยจึงไม่มีความผิดอีกต่อไป
เห็นว่า พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 มาตรา .3(6) บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การชุมนุมสาธารณะในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก และการชุมนุมสาธารณะที่จัดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการหาเสียงเลือกตั้งในช่วงเวลาที่มีการเลือกตั้ง แต่ต้อง ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
เมื่อปรากฏว่าขณะเกิดเหตุคดีนี้มีประกาศคสช. ฉบับที่ 2/2557 เรื่องการประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 22 พฤษพาคม 2557 เวลา 6.30 น. เป็นต้นไปประกาศคสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องการห้ามชุมนุม ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.กฎอัยการศึกพุทธศักราช 2547 ม.8 และ ม.11 เป็นการประกาศห้ามชุมนุมทางการเมืองในระหว่างที่มีประกาศใช้กฎอัยการศึก การที่จำเลยกับพวกชุมนุมทางการเมืองในระหว่างที่มีการประกาศกฎอัยการศึก จึงเป็นเรื่องนอกเหนือไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.ดังกล่าว ม.3 (6) ไม่สามารถอ้างได้ว่า ประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ได้ถูกยกเลิกไปโดยพ.ร.บ.ดังกล่าว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
ที่จำเลยอ้างว่า เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2561 คสช.ได้อาศัยอำนาจตามความในม.265 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ออกคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยให้ยกเลิกความผิดฐานมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป และเป็นการยกเลิกความผิดฐานมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตามประกาศคสช. ฉบับที่ 7/2557 ที่โจทก์ฟ้องจำเลย การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามกฎหมายที่ขอให้ลงโทษอีกต่อไป ตามประมวลกฎหมายอาญา ม.2 ที่บัญญัติว่าให้จำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดเนื่องจากกฎหมายที่บัญญัติภายหลังกำหนดให้การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิด ประกอบกับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ม.29 บัญญัติว่า บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระความผิดแล้วกำหนดโทษไว้
เห็นว่า ในประกาศคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 22/2561 เรื่องการให้ประชาชนและพรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมทางการเมือง นอกจากกำหนดให้ยกเลิกความผิดฐานมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ยังกำหนดอีกว่าการยกเลิกประกาศดังกล่าวไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดี การดำเนินการ หรือการปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งที่ได้กระทำไปก่อนการยกเลิกโดยคำสั่งนี้ ดังนั้น ประกาศดังกล่าวจึงไม่กระทบกระเทือนถึงการดำเนินคดีแก่จำเลยในคดีนี้ ซึ่งเป็นกรณีที่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นอย่างอื่น ตามม.17 ประมวลกฎหมายอาญา จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายอาญาม.2 มาใช้บังคับกับคดีนี้ได้ การลงโทษจำเลยในคดีนี้จึงเป็นการลงโทษตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่การกระทำของจำเลยบัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้แล้ว ตาม ม. 29 ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 กรณีไม่ได้เป็นอย่างที่จำเลยยื่นคำร้อง ให้ยกคำร้องของจำเลย
พิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ให้ลงโทษปรับจำเลยในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามการชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน เป็นเงิน 6000 บาท
ดูรายละเอียดคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ของอภิชาตได้ที่ http://freedom.ilaw.or.th/case/576#detail