- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา, ฝ่าฝืนประกาศคสช. 7/2557
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ในวันที่ 26 กรกฎาคม 2562 ศาลทหารมีคำสั่งย้ายคดีของพันธ์ศักดิ์ไปให้ศาลพลเรือนพิจารณาหลังพล.อ.ประยุทธ์มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 9/2562 ให้ย้ายคดีพลเรือนจากศาลทหารไปให้ศาลพลเรือนพิจารณา
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อกล่าวหา
สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ, ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
-
หมายจับ
ก.45/2558 เมื่อวันที่ 2015-03-17
เฟซบุ๊กของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า เวลาประมาณ 00.30 น. ของวันที่ 26 มีนาคม บริเวณลานจอดรถในวัดละหาร ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ขณะที่พันธ์ศักดิ์จอดรถเตรียมเข้าบ้าน เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พ.ต.ท.ทวีวงศ์ ดิษฐแย้ม สารวัตรกองกำกับการสืบสวน 4 กองบังคับการสืบสวนสอบสวน ตำรวจนครบาล ควบคุมตัว พันธ์ศักดิ์ ไปที่ สน.ชนะสงคราม โดยมีหมายจับศาลทหารลงวันที่ 17 มีนาคม กรณีพันธ์ศักดิ์จัดการเดินเท้า "พลเมืองรุกเดิน" จากบ้านที่ อ.บางบัวทอง มาที่ศาลทหารกรุงเทพฯ
14 กุมภาพันธ์ 2558
นัดฟังคำสั่งอัยการ
20 มิถุนายน 2560
พยานให้การว่า ในวันที่ 14 มีนาคม 2558 พันธ์ศักดิ์เดินทางจากบ้านน้องเฌอ ซึ่งเป็นบุตรชายที่เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมปี 2553 แต่ระหว่างเดินทางถูกเชิญตัวไป สน.ปทุมวัน โดย พ.ต.อ.สถิตย์ ไม่ทราบว่าถูกดำเนินคดีหรือไม่ ก่อนวันที่ 15 มีนาคม 2558 จำเลยจะเริ่มกิจกรรมที่ “หมุดเฌอ” ซึ่งเป็นจุดที่บุตรชายของพันธ์ศักดิ์ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมปี 2553 ในซอยรางน้ำ ไปยังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ระหว่างทางมีผู้เข้ามาร่วมเดินเพิ่มอีก 6 คน ในจำนวน 6 คนนี้ หนึ่งในนั้นคือปรีชา ซึ่งรับสารภาพ และศาลมีคำพิพากษาจำคุก 6 เดือน ปรับ 8 พันบาท จำเลยรับสารภาพลดโทษกึ่งหนึ่ง โทษจำคุกรอลงอาญา 1 ปี
อย่างไรก็ตาม การสืบพยานปากนี้ยังไม่เสร็จสิ้น ทนายความจำเลยจะถามค้าน พ.ต.อ.สถิตย์ สังข์ประไพ ต่อในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เวลา 08.30 น.
13 กรกฎาคม 2561
นัดสืบพยาน
สืบพยานโจทก์ปากที่ 4 พ.อ.บุรินทร์ ทองประไพ
ที่ศาลทหารกรุงเทพ เวลาประมาณ 10.00 น. ศาลขึ้นบัลลังก์แต่หลังจากเริ่มสืบพยานไม่ถึง 10 นาทีศาลสั่งห้ามผู้เข้าฟังในห้องพิจารณาจดบันทึก ทั้งๆที่การพิจารณานัดก่อนๆไม่ได้มีการสั่งห้ามเช่นนี้ ขณะเดียวกันแม้ว่าทนายจำเลยขออนุญาตให้เสมียนที่มาด้วยเป็นผู้จดบันทึกก็ตาม ศาลกลับอนุญาตแค่ให้ทนายจดบันทึกเท่านั้น และกระทั่งหลังออกจากห้องพิจารณาก็มีเจ้าหน้าที่ศาลมาถามผู้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาบางท่านเพื่อทำการยึดสมุดและฉีกหน้ากระดาษที่มีการบันทึกเกี่ยวกับการสืบพยานครั้งนี้ ซึ่งส่วนมากเป็นข้อมูลในช่วง 10 นาทีแรกหลังจากการเริ่มสืบพยานก่อนที่จะมีการสั่งห้ามไม่อนุญาตให้จดบันทึกเท่านั้น
จากนั้นทนายเริ่มถามค้านในหลายคำถาม พยานตอบสรุปใจความได้ว่า ผู้บังคับบัญชาของตนคือพลเอกสมโภชน์ วังแก้ว ผู้บังคับบัญชากองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ผู้บังคับบัญชากองกำลังสังกัดกระทรวงกลาโหม และตนสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยดำรงตำแหน่งในกรมพระธรรมนูญ มีความรู้ด้านกฎหมายอาญาและกฎหมายทหารพอสมควร
ทนายถามว่า จากความรู้รวมทั้งความคิดเห็นของพยาน พยานว่าประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 นั้นอาศัยอำนาจจากกฎอัยการศึกหรือไม่
พยานตอบว่า ไม่ได้ใช้ แต่อาศัยอำนาจรัฎฐาธิปัตย์
ทนายนำเอกสารประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ให้พยานดูประโยคบนประกาศมีใจความประมาณว่า "ประกาศนี้อาศัยอำนาจจากกฎอัยการศึก" และถามต่อว่าพยานยืนยันข้อความนี้ในเอกสารฉบับนี้หรือไม่
พยานตอบว่า ยืนยันครับ
ทนายถามต่อว่า ถ้าตามที่พยานเบิกความเบื้องต้นว่าประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557 ใช้อำนาจจากรัฎฐาธิปัตย์ ดังนั้นข้อความในเอกสารดังกล่าวที่ระบุว่าประกาศอาศัยอำนาจจากกฎอัยการศึกเป็นเท็จหรือไม่
พยานตอบว่า ไม่เป็นเท็จครับ
ทนายถามต่อว่า ถ้าอย่างนั้นด้วยความรู้ของพยาน รัฎฐาธิปัตย์คืออะไร คสช.ถือเป็นรัฎฐาธิปัตย์หรือไม่
พยานตอบว่า รัฎฐาธิปัตย์คือบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีอำนาจสูงสุดในประเทศขณะนั้น คสช.ถือเป็นรฎฐาธิปัตย์หลังจากการยึดอำนาจสำเร็จในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และคสช. ไม่ได้เข้ามาบริหารแบบหลักประชาธิปไตย สำหรับประเทศไทย พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเช่นเดิมแต่ตนไม่ขอตอบว่าเป็นประมุขในระบอบอะไร
ทนายถามว่า ประชาชนไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยตามคสช.ใช่หรือไม่ พยานตอบว่า ไม่จำเป็น
ทนายถามต่อว่า หากประชาชนเห็นต่างกับรัฐบาลคสช.ถือเป็นการทำผิดกฎหมายหรือไม่ พยานตอบว่า ไม่
ทนายถามต่อว่า มีประชาชนออกมาต่อต้านการรัฐประหารและถูกดำเนินคดีหรือไม่ พยานตอบว่า มี บางกลุ่มเท่านั้นส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา
ทนายถามว่า พยานเห็นด้วยกับประกาศคสช.หรือไม่ พยานตอบว่า ตนเห็นด้วยเป็นบางฉบับ
ทนายถามต่อว่า พยานเห็นว่าประกาศคสช.ถือว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่ พยานตอบว่า เป็นบางฉบับ
ทนายถามต่ออีกว่า พยานมีความคิดเห็นอย่างไรกับประกาศคสช.ที่นำพลเรือนขึ้นรับการพิจารณาคดีจากศาลทหาร ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิของพลเรือนหรือไม่
พยานตอบว่า ไม่ถือเป็นการละเมิดครับ ยกเว้นเป็นช่วงที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกเพราะไม่อนุญาตให้มีการอุธทรณ์และฎีกา
ทนายขอให้พยานเขียนคำว่า "รัฎฐาธิปัตย์" เหตุเพราะเจ้าหน้าที่ศาลพิมพ์คำนี้ผิด
พยานมีการโวยวายเสียงดังเล็กน้อยว่าเหตุใดตนต้องเขียน อีกทั้งศาลยังตำหนิทนายพร้อมตักเตือนว่าอย่าเล่นแง่
ทนายจึงเปลี่ยนเป็นขอให้พยานสะกดแทน โดยถามว่าคำว่ารัฎฐาธิปัตย์ มี ราษ'ฎ'ร หรือไม่
พยานตอบว่า ไม่มี
ทนายบอกว่า รัฎฐาธิปัตย์ มี ราษ'ฎ'ร และขอให้เจ้าหน้าที่ศาลแก้ไขบันทึกศาล
ทนายถามว่า พยานทราบหรือไม่ว่ามาตรา 116 นั้นมีข้อยกเว้น
พยานตอบว่า ไม่แน่ใจ และถามว่ามาตราที่ใช้ยกเว้นคือมาตราอะไร
ทนายนำบทกฎหมายมาตรา 116 เพื่อให้พยานอ่านเรื่องการยกเว้นแต่พยานบอกให้ทนายบอกตนเลย ตนเห็นแล้วว่าแต่บทกฎหมายจริง
ทนายจึงบอกว่า มาตรา 116 นั้นมีข้อยกเว้นในตัวมาตราเองครับ เพราะในมาตรานี้ระบุไว้ว่าหากจำเลยปฏิบัติตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญและสุจริตจะไม่ถือว่าการกระทำของจำเลยนั้นเป็นการปลุกปั่น เป็นการอ่านตีความกลับหลังของมาตรา 116 ครับ
พยานตอบว่า ก็ตามที่ทนายกล่าวมาแหละครับ ผมก็นึกว่ามีมาตรายกเว้น
ทนายถามว่า พยานเห็นว่าเหตุผลของการให้พลเรือนขึ้นพิจารณาคดีที่ศาลทหารคืออะไร
พยานตอบว่า เพื่อความรวดเร็วที่มีมากกว่า เพราะในขณะนั้นได้ทีการประกาศกฎอัยการศึก ทำให้มีการพิจารณาคดีแค่ศาลเดียว จบภายในศาลเดียวจึงรวดเร็วกว่ากระบวนการยุติธรรมตามปกติ
ทนายถามว่า จากเหตุผลที่พยานยกมาข้างต้น พยานทราบหรือไม่ว่าในความเป็นจริงแล้วศาลทหารมีการพิจารณาคดีที่ช้ากว่าศาลพลเรือนทั่วไปอย่างมาก
พยานตอบว่า ไม่ทราบ
ทนายถามต่อว่า พยานทราบหรือไม่ว่าการล่าช้าชองศาลทหารนั้นเป็นหนึ่งในเหตุผลของจำเลยที่ปฏิเสธการขึ้นพิจารณาคดีที่ศาลทหาร
พยานตอบว่า ไม่ทราบ (พร้อมกับเสียงที่เริ่มดังขึ้น)
ศาลตักเตือนทนายว่าคำถามเหล่านี้อาจเป็นการดูหมิ่นศาลและกระทบศาลมากเกินไป พร้อมอธิบายว่าศาลทหารมีคดีของทหารมาก เพราะบุคลากรไม่เพียงพอจึงเป็นการยากที่จะรองรับคดีพลเรือนจึงเป็นเหตุของความล่าช้าดั่งที่ทนายกล่าวมา
ทนายชี้แจงต่อศาลว่าตนและจำเลยไม่ได้มีเจตนาดูหมิ่นหรือกล่าววาจากระทบกระทั่งต่อศาลทหารแต่อย่างใด เพียงแต่ตนกล่าวตามความเป็นจริงเพื่อพิสูจน์ว่าจำเลยนั้นมีเหตุผลสุจริตตามข้อยกเว้นในมาตรา 116
ทนายถามว่า พยานทราบหรือไม่ว่าศาลพลเรือนมีการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องและพิจารณาเสร็จภายในเวลาไม่กี่เดือนซึ่งแตกต่างจากศาลทหารที่ทำการนัดพิจารณาคดีเดือนครั้งหรือสองเดือนครั้ง
พยานตอบว่า ไม่ทราบว่าศาลพลเรือนพิจารณาคดีอย่างไร แต่ตนทราบว่าศาลทหารก็มีการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่องเป็นบางคดีเช่นกัน
ทนายถามว่า พยานเห็นว่าเหตุผลของจำเลยนั้นถือว่าเป็นเหตุผลที่สุจริตและไม่ขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญหรือไม่
พยานตอบด้วยน้ำเสียงที่ไม่พอใจและเสียงดังว่า ผมไม่ทราบ! ที่คุณกล่าวมาเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของจำเลย จะมาถามผมทำไมผมไม่ทราบ!
ทนายจึงทวนคำถามข้างตนเพื่อสรุปคำเบิกความของพยานเพื่อที่ยืนยันว่าตนและพยานเข้าใจตรงกัน หากแต่พยานนั้นมีอารมณ์โมโหและตะคอกใส่ทนายว่า ผมไม่ทราบ! คุณจะย้ำทำไมก็ผมบอกว่าผมไม่ทราบมันเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของจำเลย!
ถามผมเรื่องเหตุการแจ้งความสิ อันนั้นผมตอบได้แต่คุณดันถามผมเรื่องความคิดเห็นส่วนตัวของจำเลยแล้วคุณยังถามผมเรื่องสถาบันอีก ผมไม่สามารถตอบได้!
พยานเบิกความข้างต้นด้วยเสียงดังพร้อมทั้งผายมือไปทางทนายและตบโต๊ะพยานเล็กน้อย
ทนายกล่าวกับศาลว่า ท่านจะให้พยานขึ้นเสียงใส่ผมแบบนี้เหรอครับ จากนั้นทนายจึงขอพักการพิจารณาคดีเป็นเวลา 5 นาทีเพราะพยานไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้
ด้วยความที่ขณะนั้นเป็นเวลา 11.00 น. จวนจะ 12.00 น.แล้ว ศาลจึงถามว่าถ้าหากเปลี่ยนจากการพักพิจารณาคดีเป็นเลิกศาลและพิจารณาคดีต่อในนัดต่อไปจะดีกว่าไหม ทนายตอบตกลงตามที่ศาลเสนอ หากแต่พยานปฏิเสธที่จะพิจารณาคดีต่อในนัดครั้งหน้าพร้อมบอกว่า เอาให้เสร็จวันนี้แหละมันเสียเวลาผม
ทนายจึงแย้งขึ้นมาว่า พยานควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้แล้วนะครับ แต่พยานยืนยันที่จะทำการสืบพยานต่อให้เสร็จภายในวันนี้ ทนายยินยอมและขอให้พยานสงบอารมณ์ลงก่อนแล้วจึงเริ่มทำการสืบพยานต่อ
ทนายมีการย้ำคำถามและคำตอบก่อนหน้านี้โดยสรุปว่า พยานไม่ทราบเพราะเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของจำเลยถูกต้องไหมครับ พยานตอบว่า ใช่
ทนายถามว่า พยานมีเฟซบุ๊กหรือไม่ หากมีชื่อเฟซบุ๊กของพยานคืออะไร
พยานตอบว่า มีแต่ไม่บอกชื่อเฟซบุ๊ก
ทนายจึงแซวว่า พยานเป็นเพื่อนกับตนบนเฟซบุ๊กหรือไม่ เพื่อให้บรรยากาศในการพิจารณาคดีนั้นลดความตึงเครียดลง
ทนายถามต่อว่า พยานทราบหรือไม่ว่าจำเลยมีเฟซบุ๊กเช่นกัน หากทราบพยานเคยได้อ่านบทความของจำเลยที่เขียนลงให้เฟซบุ๊กของจำเลยเองหรือไม่
พยานตอบว่า ไม่ทราบว่าจำเลยมีเฟซบุ๊กและไม่เคยอ่านบทความที่เขียนโดยจำเลย
ทนายถามว่า พยานทราบหรือไม่ว่าจำเลยเป็นอดีตนักฟุตบอลและเป็นบิดาของน้องเฌอ
พยานตอบว่า ไม่ทราบ แต่มาทราบหลังจากแจ้งความ
ทนายถามต่อว่า พยานทราบหรือไม่ว่าน้องเฌอ ลูกสาวของพยานได้เสียชีวิตระหว่างการสลายชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงในปี 53 โดยทำการสลายชุมนุมโดยเจ้าหน้าที่ทหาร
พยานตอบว่า ไม่ทราบ
ทนายถามว่า พยานคิดว่าการที่ลูกสาวของจำเลยเสียชีวิตจากปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ทหาร ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมนั้นเป็นเหตุผลเพียงพอหรือไม่ที่จำเลยจะต่อต้านการให้พลเรือนขึ้นศาลทหาร
พยานตอบว่า ไม่ทราบ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของจำเลย ผมไม่ทราบ
ทนายถามว่า พยานเคยเห็นโพสต์ของจำเลยที่ระบุว่า "อย่ามาเกินสี่คนนะ เดี๋ยวเกินห้าคน" หรือไม่พร้อมนำรูปภาพข้อความที่จำเลยโพสต์ให้พยานดู แล้วถามต่อว่า หากพยานเห็นแล้ว พยานคิดว่าเจตนาของจำเลยในโพสต์นี้คืออะไร
พยานตอบว่า เคยเห็นครับ ผมคิดว่าเจตนาของจำเลยคือการหลีกเลี่ยงการกระทำผิดกฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการชุมนุมเกินห้าคน
ทนายถามว่า การที่มีผู้มาให้กำลังใจและให้ดอกไม้แก่จำเลยในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ อีกทั้งเดินเว้นระยะห่างจากจำเลย 5 - 10 เมตร เท็จจริงถูกต้องหรือไม่ครับ
พยานตอบว่า ถูกต้อง
ทนายถามต่อว่า ในที่ 14 กุมภาพันธ์จำเลยมีการปราศรัยเรื่องการเมืองระหว่างการเดินหรือไม่ครับ
พยานตอบว่า ไม่มี หากแต่การกระทำของจำเลยถือเป็นการปลุกปั่นอารมณ์ต่อกลุ่มอื่นบางกลุ่ม
ทนายถามว่า แล้วการที่ชาวบ้านเกินห้าคนเดินทางมาให้กำลังใจและดอกไม้กับนายกรัฐมนตรีในเวทีปราศรัยนโยบายต่างๆถือว่าเป็นการชุมนุมเกินห้าคนหรือเป็นการปลุกระดมไหมครับ
พยานถามทนายว่า ปราศรัยอะไรครับ ทนายขยายความว่า เวลามีการชี้แจงเรื่องนโยบายต่างๆครับ
พยานตอบว่า การชี้แจงหรอครับ ไม่ครับ พยานเบิกความเพิ่มเติมว่า ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมเพื่อต่อต้านหรือสนับสนุนรัฐบาลก็โดนหมดครับ ชุมนุมให้กำลังใจท่านประวิตรก็โดนดำเนินคดีครับ
ทนายถามว่า พยานคิดว่านอกจากเจตนาของจำเลยที่โพสต์ข้อความก่อนหน้านี้ลงเฟสบุ๊คเพื่อเป็นการเลี่ยงข้อกฎหมาย จำเลยมีเจตนาอื่นอีกหรือไม่
พยานตอบว่า ตนคิดว่าเป็นการปลุกระดมบุคคลอื่นบางกลุ่ม อาจก่อให้เกิดความวุ่นวายได้
ทนายถามว่า พยานสนิทสนมกับจำเลยจนสามารถรับรู้เจตนาของจำเลยได้หรือไม่
พยานตอบว่า ไม่
ทนายถามว่า การยึดอำนาจของรัฐบาลคสช.นั้นได้รับการยอมรับจากนานาประเทศหรือไม่
พยานตอบว่า ได้รับการยอมรับ เป็นระบอบที่สากลยอมรับ
ทนายถามต่อว่า การที่ต่างประเทศหลายประเทศไม่อนุญาตให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเข้าประเทศถือเป็นการได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเหรอครับ
พยานตอบว่า ไม่ทราบเรื่องที่หลายประเทศไม่อนุญาตให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเข้าประเทศ หากแต่รัฐบาลและพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้รับการยอมรับจากนานาประเทศเพราะเป็นระบอบสากล ใครๆก็ใช้กัน เช่นเดียวกับการยึดอำนาจในปี 2475 ที่ได้รับการยอมรับจากนานาชาติ
ตอบอัยการถามติง
เหตุใดพยานจึงคิดว่าข้อความโพสต์โดยจำเลยมีเจตนาเป็นการปลุกระดม
พยานตอบว่า เพราะจำเลยเคยมีพฤติการณ์ทำให้คิดเช่นนั้น
อัยการถามต่อว่า พฤติการณ์เช่นอะไรคะ
พยานตอบว่า การเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองประมาณนั้น
หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานปากนี้ ศาลนัดสืบพยานปากต่อไป 14 กันยายน 2561
14 กันยายน 2561
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่สาม พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ รองผู้กำกับการสน.ชนะสงคราม
พ.ต.อ.สมยศเบิกความต่ออัยการทหารว่า ขณะเกิดเหตุเขารับราชการที่สน.ชนะสงครามมีหน้าที่สืบสวนสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและทำตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาที่ชอบด้วยกฎหมาย เกี่ยวกับคดีนี้ในวันที่ 14 มีนาคม 2558 เขาได้รับการประสานจากพ.ต.อ.สถิตย์ สังข์ประไพ กองกำกับการสืบสวน กองบังคับการนครบาล 1 ว่าจะมีมวลชนกลุ่มพลเมืองโต้กลับมาทำกิจกรรมพลเมืองรุกเดิน เรียกร้องให้ยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ภายใต้แนวคิด เมื่อความยุติธรรมไม่มา เราจะเดินไปหามัน
พ.ต.อ.สมยศเห็นว่าเป็นการชุมนุมทางการเมืองเพราะมีการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กเชิญชวนคนที่ไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายของคสช.มาร่วมเดินเท้า พ.ต.อ.สมยศเห็นว่าการกระทำดังกล่าว กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงสั่งการให้ตรวจสอบ ในวันที่ 15 มีนาคม 2558 มอบหมายให้พ.ต.ท.ปิติพันธ์ กฤดากร ณ อยุธยา นำกำลังไปประจำการบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยฝั่งบริษัทรถเบนซ์ซึ่งเป็นจุดที่ผู้ชุมนุมจะเข้าท้องที่ของสน. ส่วนตัวของเขาประจำการอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เกี่ยวกับกิจกรรมในวันที่ 15 มีนาคม 2558 พ.ต.อ.สมยศเบิกความว่าพันธ์ศักดิ์เริ่มเดินจากซอยรางน้ำเพื่อวางดอกไม้บริเวณจุดที่บุตรชายของพันธ์ศักดิ์ถูกยิงเสียชีวิตในปี 2553 ซึ่งมีหมุดที่ระลึกฝังไว้ หลังจากนั้นพันธ์ศักดิ์และมวลชนเดินเท้าจากผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสรณ์สถานซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหมายทางการเมืองก่อนจะเดินมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีพันธ์ศักดิ์และมวลชนรวมเจ็ดคน ที่เหลือเป็นฝ่ายข่าวเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาล ฝ่ายข่าวทหาร และหน่วยข่าวกรอง ที่แยกออกจากมวลชนเพราะจะคอยถ่ายภาพและรายงานผู้บังคับบัญชา
พ.ต.อ.สมยศเบิกความต่อว่า มวลชนที่เดินมาร่วมกับพันธ์ศักดิ์มีทั้งหมดเจ็ดคน คนที่ทราบชื่อมีพันธ์ศักดิ์และปรีชา ส่วนผู้ต้องหาคนอื่นอีกสี่คนตามภาพที่อัยการทหารนำมาให้ดู พ.ต.อ.สมยศไม่ทราบชื่อและมีหนึ่งคนที่ไม่แน่ใจอยู่ในที่เกิดเหตุหรือไม่ เมื่อพันธ์ศักดิ์และมวลชนเดินมาถึง พ.ต.อ.สมยศเชิญพันธ์ศักดิ์ไปพูดคุยกับผู้ช่วยอธิการบดีของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่ ที่ห้องประชุมตึกโดมโดยตัวพ.ต.อ.สมยศร่วมพูดคุยด้วย
สำหรับเนื้อหาการพูดคุยพ.ต.อ.สมยศเบิกความว่า สอบถามพันธ์ศักดิ์ว่าจะมาทำกิจกรรมอะไร จากนั้นผู้ช่วยอธิการบดีชี้แจงกับพันธ์ศักดิ์ว่าหากบุคคลภายนอกต้องการจัดกิจกรรมในมหาวิทยาลัยจะต้องทำหนังสือแจ้งล่วงหน้า และเมื่อทราบการทำกิจกรรมของพันธ์ศักดิ์จะมีการนอนค้างคืน ตัวแทนมหาวิทยาลัยก็ชี้แจงว่าทางมหาวิทยาลัยมีระเบียบห้ามบุคคลภายนอกนอนค้างคืนในมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ตัวพ.ต.อ.สมยศก็แจ้งกับพันธ์ศักดิ์ว่าการทำกิจกรรมของพันธ์ศักดิ์อาจเข้าข่ายความผิดตามคำสั่งคสช. ฉบับที่ 7/2557 (พยานเบิกความว่าคำสั่งไม่ใช่ประกาศ) สำหรับผลการพูดคุยพันธ์ศักดิ์บอกว่าจะไม่ทำกิจกรรม ไม่ใช้เครื่องเสียง แต่จะไปนั่งพักผ่อนพูดคุยกับคนที่มาให้กำลังใจที่บริเวณลานปรีดีซึ่งมีที่นั่งที่ประชาชนทั่วไปสามารถนั่งพักผ่อนได้และจะไม่มีการพักค้างคืนในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
หลังการพูดคุยแล้วเสร็จ พันธ์ศักดิ์และมวลชนประมาณ 20 คน เดินไปนั่งจับกลุ่มคุยกันที่บริเวณลานปรีดี บางกลุ่มนั่งกันห้าคน บางกลุ่มนั่งรวมกันสิบคน พ.ต.อ.สมยศไม่ทราบว่าพันธ์ศักดิ์กับมวลชนที่มาพูดคุยอะไรกัน นอกจากการพูดคุยก็มีมวลชนนำสติกเกอร์แผ่นละ 15 - 20 บาทมาจำหน่ายด้วย สำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ พ.ต.อ.สมยศเบิกความว่าเจ้าหน้าที่ถ่ายภาพเหตุการณ์การพูดคุยของพันธ์ศักดิ์และมวลชนที่มาให้กำลังใจ และรายงานสถานการณ์ให้ผู้บังคับบัญชาทราบ กลุ่มดังกล่าวนั่งคุยถึงประมาณ 19.00 จึงได้สลายตัวกลับบ้าน
หลังจากนั้นวันที่ 16 มีนาคม 2558 มีคำสั่งกองบัญชาการตำรวจนครบาล แต่งตั้งพ.ต.อ.สมยศเป็นคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน ร่วมกับตำรวจท้องที่อื่นที่พันธ์ศักดิ์เดินผ่าน รวบรวมพยานหลักฐาน และทำรายงานสถานการณ์ความมั่นคงเสนอต่อผู้บังคับบัญชา พ.ต.อ.สมยศ ทำรายงานพร้อมส่งภาพถ่ายที่อัยการทหารอ้างส่งศาลระหว่างการสืบพยานวันนี้ให้ผู้บังคับบัญชาพร้อมทั้งเบิกความว่าเขา
ไม่เคยรู้จักหรือมีเหตุโกรธเคืองกับพันธ์ศักดิ์มาก่อน
อัยการแถลงหมดคำถาม ทนายจำเลยแถลงขอเลื่อน สืบพยานถามค้าน ออกไปก่อนเพราะมีคำถามที่ต้องถามค้านพยานปากนี้จำนวนมากจะขอให้ศาลออกหมายเรียกบันทึกคำให้การชั้นสอบสวนของพยานปากนี้มาเพื่อเตรียมถามค้าน อัยการทหารแถลงต่อศาลว่าไม่คัดค้านการขอเลื่อนนัด ศาลนัดสืบพยานปากนี้ต่อในวันที่ 29 ตุลาคม 2561 ซึ่งเป็นวันที่คู่ความนัดกันไว้แล้ว อัยการทหารยังแถลงขอให้ศาลส่งหมายเรียกไปให้พ.ต.อ.สมยศ ที่สน.ดุสิตซึ่งเป็นต้นสังกัดปัจจุบันของพยานด้วย
29 ตุลาคม 2561
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลทหารเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ออกไปเป็นวันที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เนื่องจากพยานโจทก์ไม่มาศาลเพราะติดราชการ
12 พฤศจิกายน 2561
นัดสืบพยานโจทก์
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนให้ข้อมูลว่าการสืบพยานปาก พ.ต.อ.สมยศ อุดมรักษาทรัพย์ เสร็จสิ้นแล้ว ศาลทหารกรุงเทพนัดสืบพยานปากต่อไปวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562
25 กุมภาพันธ์ 2562
นัดสืบพยานโจทก์
อัยการทหารแถลงหมดคำถาม
ศาลแจ้งให้คู่ความมาสืบพยานปากต่อไปในวันที่ 19 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คู่ความนัดกันไว้แล้ว
อัยการทหารแถลงว่า วันนี้ ร.ต.อ.พิเชษฐ์ พุ่มแก้ว พยานโจทก์ที่นัดไว้ไม่มาศาลเนื่องจากติดราชการเร่งด่วน
ศาลจึงอธิบายว่าคดีของพลเรือนที่ถูกพิจารณาในศาลนี้จะถูกโอนไปที่ศาลยุติธรรมพร้อมกันในช่วงปลายเดือนสิงหาคม 2562 ลักษณะการโอน คือ โอนไปทั้งหมดที่ศาลยุติธรรมและศาลยุติธรรมจะพิจารณาจ่ายคดีไปยังศาลต่างๆ เอง คาดว่า เดือนกันยายนศาลยุติธรรมจะมีการนัดพร้อมคดีอีกครั้ง
ศาลถามจำเลยว่าวันนี้นายประกันมาศาลด้วยใช่หรือไม่ ไอดาซึ่งเป็นนายประกันแสดงตัวต่อศาล ศาลจึงแจ้งว่า นายประกันไม่ต้องยื่นคำร้องขอประกันตัวใหม่ เนื่องจากสัญญาประกันเดิมยังคงมีผลต่อไป
จึงให้งดการสืบพยานจำเลยในวันนี้และงดการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้โอนคดีไปศาลยุติธรรมกับจำหน่ายคดีจากสารบบความในศาลนี้ ให้มีหนังสือไปสำนักงานศาลยุติธรรม สัญญาประกันให้มีผลต่อไป
สืบพยานโจทก์ปาก ร.ต.ท.ประเสริฐ ทิณะรัตน์ พนักงานสอบสวนในคดี
ร.ต.ท.ประเสริฐ เบิกความต่อว่า หมุดเฌอที่เบิกความถึงเป็นจุดที่บุตรของพันธ์ศักดิ์ถูกยิงเสียชีวิตในช่วงเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553
หลังทำกิจกรรมที่หมุดเฌอซึ่งอยู่บนถนนราชปรารภใกล้ซอยรางน้ำเสร็จ พันธ์ศักดิ์กับพวกเดินเท้าต่อผ่านซอยรางน้ำ เมื่อเดินมาถึงบริเวณกรมวิทยาศาสตร์มีประชาชนจำนวนหนึ่งเดินมาสมทบ และมีคนนำดอกไม้มามอบให้จำเลย จากนั้นจำเลยกับพวกพร้อมทั้งประชาชนที่ตามมาสมทบก็ร่วมกันเดินเท้าต่อไปที่หมุดคณะราษฎร
เมื่อไปถึงที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยก็มีประชาชนอีกคนหนึ่งนำดอกไม้มามอบให้จำเลย จากนั้นจำเลยกับพวกก็เดินต่อไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อัยการขอศาลส่งเอกสารหลักฐานได้แก่บันทึกข้อความรายงานการสอบสวนต่อศาล อัยการถาม ร.ต.ท.ประเสริฐ ต่อว่านอกจากจำเลยแล้วทราบหรือไม่ว่ามีบุคคลถูกดำเนินคดีจากเหตุการณ์นี้และทราบหรือไม่ว่าผลของคดีเป็นอย่างไร ร.ต.ท.ประเสริฐ ตอบว่า เขาทราบว่ามีการดำเนินคดีกับบุคคลชื่อปรีชาที่ศาลทหารกรุงเทพและทราบว่าปรีชารับสารภาพ แต่ศาลจะพิพากษาคดีของปรีชาอย่างไรเขาไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามต่อว่าและตัว ร.ต.ท.ประเสริฐ ก็แยกไม่ออกใช่หรือไม่ว่าคนที่นั่งๆ กันจะมีใครบ้างใครเป็นผู้ชุมนุม นักข่าว หรือเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ ร.ต.ท.ประเสริฐ ตอบว่าไม่ทราบ
ทนายจำเลยถามว่าตัว ร.ต.ท.ประเสริฐ เชื่อมั่นในการอำนวยความยุติธรรมของศาลใดมากกว่ากันระหว่างศาลทหารกับศาลยุติธรรม ร.ต.ท.ประเสริฐ ตอบว่าศาลยุติธรรมเพราะสามารถอุทธรณ์ฎีกาคดีได้
เนื่องจากก่อนหน้านี้พันธ์ศักดิ์โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่าเขาจะเบิกความเป็นพยานในวันนี้จึงปรากฎว่ามีประชาชนอีกสองคนมาร่วมสังเกตการณ์การพิจารณาคดีในวันนี้ ศาลเริ่มการสืบพยานคดีนี้ในเวลา 9.35 น.
พูนสุขเบิกความว่าศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายกับผู้ได้รับผลกระทบจากการใช้อำนาจของคสช. นอกจากนั้นก็มีหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อสังคม
หนึ่ง ความเป็น อิสระเพราะแม้ตุลาการศาลทหารจะพิจารณาคดีได้อย่างอิสระแต่งานธุรการซึ่งรวมถึงการขึ้นเงินเดือนและชั้นยศอยู่ภายใต้กำกับกระทรวงกลาโหม
ข้อสองด้านความสามารถ ตุลาการศาลทหารในหนึ่งองค์คณะซึ่งมีสามคน จะมีเพียงคนเดียวที่ต้องจบนิติศาสตร์ ส่วนอีกสองคนไม่จำเป็นต้องจบนิติศาสตร์แต่ขอให้เป็นทหารชั้นสัญญาบัตร เบิกความถึงตรงนี้ศาลบอกพยานว่าไม่ต้องลงรายละเอียดจนเกินไปให้เบิกความในส่วนที่เกี่ยวกับประเด็นของคดีนี้
แม้ตำรวจจะเป็นผู้ทำสำนวนคดีตามปกติแต่คนที่ฟ้องคดีต่อศาลจะเป็นอัยการทหารและทหารโดยตุลาการทหารก็เป็นผู้พิจารณาคดี เท่ากับว่าอำนาจอธิปไตยทั้งหมดรวมทั้งกระบวนการยุติธรรมอยู่ภายใต้ทหาร และการใช้ศาลทหารดำเนินคดีพลเรือนก็ถือเป็นการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมโดยคสช.
พูนสุขเริ่มเบิกความในรายละเอียดแต่ศาลบอกว่าศาลสามารถไปอ่านเอกสารหลักฐานส่วนนี้เองได้ แต่ขอให้บอกเลขข้อของกติกาให้ชัดเจน พูนสุขจึงเบิกความย้ำเลขข้อของกติกาซึ่งศาลบันทึกไว้
จากนั้นทนายจำเลยถามถึงกรณีที่สหประชาชาติ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติมีความเห็นต่อสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในไทยในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ศาลทหารดำเนินคดีพลเรือนว่าเป็นอย่างไร
พูนสุขเบิกความว่าคณะกรรมการดังกล่าวเคยมีความเห็นตอบกลับ ต่อรายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนไทย (ฉบับที่สอง) (รายงานที่รัฐบาลไทยนำเสนอต่อสหประชาชาติ ตามกลไกกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง)
และแนะนำให้โอนคดีของพลเรือนทั้งหมดในศาลทหารไปให้ศาลยุติธรรมพิจารณาตามปกติ จากนั้นทนายจำเลยอ้างส่งเอกสารความเห็นตอบกลับของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่อศาล
ครั้งสุดท้ายทางกรมพระธรรมนูญส่งเอกสารสถิติมาให้ว่า ระหว่าง 25 พฤษภาคม 2557 ถึง 31 พฤษภาคม 2562 มีพลเรือนถูกฟ้องคดีในศาลทหารทั้งหมด 2204 คน และมีคดีบุคคลพลเรือนรวม 1769 คดี
โดยในขณะเกิดเหตุพื้นที่ดังกล่าวมีแต่ทหารติดอาวุธ หลังเกิดเหตุเขาร่วมกับกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมจัดตั้งกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตเพื่อติดตามและทวงถามความยุติธรรมให้ผู้ตาย
คำสัมภาษณ์ของพล.อ.ประวิตรทำให้เขาและกลุ่มญาติกังวลว่าจะมีการแทรกแซงกระบวนการของศาลเพราะบุคคลที่เคยอยู่ในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุสลายการชุมนุม
ทั้งพล.อ.ประยุทธ์และพล.อ.ประวิตร (ศาลบันทึกโดยใช้คำว่าเจ้าหน้าที่ระดับสูง) ต่างอยู่ในคสช. เขาจึงทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ในประเด็นดังกล่าวเป็นระยะ เช่น ไปโปรยใบปลิวที่สวนจตุจักร จนถูกคสช.ดำเนินคดีจากกรณีดังกล่าว
แผนที่การเดินจะผ่านสถานที่ที่มีความสำคัญและเป็นสัญลักษณ์การต่อต้านรัฐประหาร เช่น สดมภ์นวมทองซึ่งสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึง นวมทอง ไพรวัลย์ คนขับรถแท็กซี่ที่ขับรถแท็กซี่ไปชนรถถังเพื่อประท้วงการรัฐประหาร สำหรับเส้นทางเดินจะปรากฎรายละเอียดตามเฟซบุ๊กของพลเมืองโต้กลับซึ่งเป็นเอกสารหลักฐานที่โจทก์นำมาใช้ฟ้องคดี
การถูกจับกุมทำให้ในวันที่ 14 มีนาคม เขาไม่ได้เดินเท้าตามที่ตั้งใจ จากนั้นวันที่ 15 มีนาคม 2558 เขาเริ่มเดินเท้าอีกครั้งโดยตั้งต้นที่หมุดเฌอ ซอยรางน้ำ ซึ่งเป็นจุดที่ลูกชายเขาถูกยิงเสียชีวิต
ระหว่างเหตุการณ์สลายการชุมนุม เมื่อเดินเท้ามาถึงกรมวิทยาศาสตร์ทหารบกก็มีคนนำดอกไม้มามอบให้ เขาไม่รู้จักบุคคลทั้งสามที่มาแต่ดูจากการแต่งตัวเข้าใจว่าน่าจะเป็นนักศึกษา เขายังบอกให้บุคคลดังกล่าวเดินตามห่างๆหากประสงค์จะร่วมเดินเพราะในที่นั้นมีสื่อและเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอยู่ด้วยหลายคน
พันธ์ศักดิ์ระบุด้วยว่าเขารับประทานอาหารที่นี่ ไม่ใช่ที่ร้านเมธาวลัยศรแดงดังที่พยานโจทก์เบิกความ หลังจากนั้นเขาก็เดินทางต่อไปที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยเมื่อเดินผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่ร้านเมธาวลัยศรแดงมีชายคนหนึ่งทราบภายหลังจากเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบว่าชื่อปรีชานำนมถั่วเหลืองและดอกไม้มามอบให้
เขาไม่มีความประสงค์จะจัดกิจกรรม แค่จะนั่งพักเหนื่อยและพูดคุยกับคนรู้จักซึ่งโดยปกติมหาวิทยาลัยก็เปิดให้ประชาชนทั่วไปผ่านไปมาหรือใช้บริการได้อยู่แล้ว เจ้าหน้าที่ฝ่ายอาคารสถานที่ก็บอกว่าให้แยกย้ายกันกลับช่วงค่ำเพราะกังวลด้านความปลอดภัยจากนั้นเขากับคนรู้จักก็นั่งคุยกันที่ลานปรีดี พนมยงค์
ส่วนที่เดินก็เป็นสัญลักษณ์ว่าเข้าพร้อมสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ และการเดินก็มีจุดหมายปลายทางเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหากับพนักงานสอบสวน ซึ่งกำหนดการและสถานที่เดินก็มีการประกาศบนเพจพลเมืองโต้กลับแต่ปรากฎว่าเขาถูกจับระหว่างทางเสียก่อน
นอกจากนั้นการดำเนินคดีในศาลทหารก็อุทธรณ์ฎีกาไม่ได้ ตัวเขาเคยไปศาลทหารราว 20 ครั้ง ระหว่างการต่อสู้คดี ก็เห็นว่าอาคารกรมพระธรรมนูญอยู่ในพื้นที่กระทรวงกลาโหม และในอาคารศาลก็มีภาพตุลาการศาลทหารและสายบังคับบัญชาต่างๆติดไว้ และขณะที่เขาถูกดำเนินคดีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคือพล.อ.ประวิตรเขาจึงไม่มั่นใจในความเป็นอิสระของศาลทหาร
นอกจากนั้น ในแต่ละองค์คณะตุลาการศาลทหารก็มีเพียงหนึ่งคนที่ต้องจบนิติศาสตร์ส่วนที่เหลือไม่ต้องจบก็ได้เขาจึงไม่มั่นใจในความรู้ความสามารถด้านกฎหมายของตุลาการทหาร และที่ผ่านมาการดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีของเขาในศาลทหารก็ล่าช้ามาก
พันธศักดิ์เบิกความด้วยว่าเขารู้สึกกลัวเมื่ออยู่ในศาลทหาร เพราะเป็นพื้นที่ความมั่นคงที่มีทหารอยู่เยอะมาก ทนายจำเลยถามว่าในความเห็นของพันธ์ศักดิ์ เหตุใดจึงมีการดำเนินคดีพลเรือนในศาลทหาร พันธ์ศักดิ์ตอบว่าน่าจะเป็นเพราะคสช.ต้องการควบคุมสถานการณ์ให้เรียบร้อยในความหมายคือไม่มีใครคัดค้านหรือต่อต้าน ศาลทหารจึงถูกใช้เป็นเครื่องมือเพื่อยุติความเคลื่อนไหว
สำหรับการให้การ พันธ์ศักดิ์ยืนยันว่าเขาให้การปฏิเสธมาโดยตลอดตั้งแต่ชั้นสอบสวน
เมื่อพนักงานสอบสวนสน.ปทุมวันไม่รับตัวเขา เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับกุมก็ไม่ได้แจ้งข้อกล่าวหาเขาแต่อย่างใด เขาจึงดำเนินการต่อ
บางคนก็เป็นเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ อาจจะมีคนเห็นต่างมาเพื่อให้คนเกินห้าคนจนครบองค์ประกอบความผิดหรือเปล่าเขาก็ไม่ทราบ
แต่ตลอดระยะเวลาการเดินเขาก็ไม่ได้พูดคุยกับใคร ส่วนที่นั่งคุยที่ลานปรีดีก็เป็นคนรู้จักนั่งคุยกันเท่านั้น อัยการแถลงหมดคำถาม
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คณะรักษาความสงบแห่งชาติออกประกาศฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองตั้งแต่ห้าคน และต่อมามีการออกประกาศให้คดีของบุคคลพลเรือนในความผิดบางประเภท อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลทหาร
ดูรายละเอียดการตั้งข้อหาและดำเนินคดีอื่นของพันธ์ศักดิ์
ข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.บ.รักษาความสะอาดฯ จากการจัดกิจกรรมร่วมกับญาติผู้เสียชีวิตจากการชุมนุมปี 2553 โปรยใบปลิวเรียกร้องความเป็นธรรมกับศาลประชาชน
ข้อหาฝ่าฝืนประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่อง การห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน จากการจัดกิจกรรม "เลือกตั้งที่ (รัก) ลัก".