- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ปิยะ
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
ต้องโทษจำคุก
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 14 (5) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ปิยะ ถูกตำรวจจับกุมเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 และถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ “นายพงศธร บันทอน” ซึ่งมีการโพสข้อความหมิ่นประมาทพระกษัตริย์ฯ ปิยะยอมรับว่ารูปที่ปรากฏบนเฟซบุ๊คคือรูปของเขา แต่ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นผู้ใช้เฟซบุ๊กนี้
หลักฐานในคดีนี้ คือ ภาพคล้ายถูกถ่ายจากเฟซบุ๊กซึ่งถูกแชร์ต่อกันบนอินเทอร์เน็ต ผู้พบเห็นภาพที่ถูกแชร์ต่อกันนำเรื่องไปกล่าวโทษต่อตำรวจในหลายท้องที่ การดำเนินคดีนี้โจทก์ไม่มีหลักฐานที่เป็นหมายเลขไอพีแอดเดรส และไม่พบร่องรอยการเข้าใช้งานเฟซบุ๊กดังกล่าวในเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลย
ต่อมาศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำคุก 9 ปี ลดเหลือ 6 ปี จำเลยอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ปิยะไม่สนใจเรื่องการเมือง ไม่เคยทำกิจกรรมทางการเมืองและไม่เคยเข้าร่วมการชุมนุมกับกลุ่มใดมาก่อน เคยมีอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่การตลาดหลักทรัพย์ ทำหน้าที่เป็นโบรกเกอร์ซื้อขายหุ้น
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญารัชดาภิเษก
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลอาญา No: อ.747/2558 วันที่: 2015-03-06 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
ชั้นศาล: ศาลอาญา No: อ.157/2559 -
หมายจับ
1114/2557 เมื่อวันที่ 2014-06-30
11 ธันวาคม 2557
เวลาประมาณ 11.00 น. ขณะที่ปิยะกำลังเดินออกจากบ้านพัก ย่านลาดพร้าว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบแสดงตัวและถามเขาว่าชื่อปิยะ ใช่หรือไม่ เมื่อปิยะตอบว่าใช่ ก็มีเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบอีกประมาณ 30 คน ค่อยๆ แสดงตัวออกมาและแสดงเอกสารให้ดู แต่ไม่ใช่หมายจับ ขณะจับกุมปิยะรับว่าชื่อปิยะจริง
หลังถูกจับกุม ปิยะถูกพาตัวไปที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และพาไปที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ถนนแจ้งวัฒนะ เพื่อสอบสวน เจ้าหน้าที่ปอท.ให้ปิยะเปลี่ยนเสื้อจากตัวที่ใส่อยู่ซึ่งเป็นสีแดง เป็นเสื้อสีดำ และพยายามนำตัวปิยะไปแถลงข่าวการจับกุม แต่ปิยะปฏิเสธ เพราะไม่ต้องการออกข่าว
ในชั้นจับกุมปิยะถูกยึดเครื่องคอมพิวเตอร์แม็คบุ๊ค และโทรศัพท์ยี่ห้อซัมซุง โน้ต ไปเพื่อการตรวจสอบ ระหว่างการควบคุมตัวเจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตให้ปิยะได้ติดต่อญาติหรือทนายความ
อัยการถามถึงข้อความที่ปิยะส่งไปหากูเกิล เรื่องให้ลบภาพและข้อความตามฟ้อง ปิยะจำไม่ได้แน่ชัดว่าส่งไปเมื่อใด แต่จำได้ว่าส่งไปภายใน 1 สัปดาห์หลังเห็นข้อความและภาพดังกล่าว อัยการให้ปิยะดูภาพตามเอกสารที่ส่งให้กูเกิ้ลเพื่อยืนยัน ปิยะตอบอัยการว่า เอกสารดังกล่าวเป็นอีเมล์ที่กูเกิ้ลตอบกลับมา แต่ไม่มีอีเมล์ที่ตนส่งให้กูเกิ้ลรวมอยู่ด้วย
ศาลขึ้นบัลลังก์เวลาประมาณ 11.00 น. อ่านคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) (5) ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ในฐานกฎหมายที่มีโทษหนักสุด กำหนดโทษ 9 ปี เนื่องจากการให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อทางพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 6 ปี
ปิยะรับโทษในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ และได้โอกาสลดโทษและอภัยโทษตามวาระโอกาสต่างๆ ก่อนได้ปล่อยตัวประมาณเดือนตุลาคม 2563 รวมระยะเวลาที่ถูกคุมขังในเรือนจำสองคดี ประมาณ 5 ปี 10 เดือน
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์