- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
ออด
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
รอลงอาญา
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
ถนอมศรี | รอลงอาญา |
สุขสยาม | รอลงอาญา |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
ภูมิหลังผู้ต้องหา
พนักงานอัยการจังหวัดเชียงราย
ข้อกล่าวหา
สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
เชียงราย
-
ศาล
ศาลจังหวัดเชียงราย
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลชั้นต้น No: 4215/2557 วันที่: 2014-06-13
14 พฤษภาคม 2558
ขณะที่พยานอีกปากเป็น ทนายความ ที่เป็นสหวิชาชีพในขั้นสืบสวนของตำรวจ โดยพยานปากนี้ให้การว่า ข้อความในแผ่นป้าย ที่ว่า "ประเทศนี้ไม่มีความยุติธรรม กูขอแยกเป็นประเทศล้านนานั้น " อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อความสงบในหมู่ประชาชนได้
ทนายความของทั้งสาม เห็นว่า พนักงานสอบสวนที่มาให้ปากคำในวันนี้ ต่างมียศที่เป็นตำรวจชั้นผู้ใหญ่กว่า พยานที่เป็นพนักงานสอบสวนที่ผ่านๆมา จึงพยายามถามถึงบริบทการเมืองไทย ช่วงกลางปี 2556- ต้นปี 2557 ที่มีกลุ่ม กปปส.ออกมาเคลื่อนไหว เพื่อต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ จนนำไปสู่การยุบสภา เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 และกำหนดให้มีวันเลือกตั้งใหม่คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 แต่แล้วการเลือกตั้งก็ไม่สามารถดำเนินไปได้อย่างเรียบร้อย เพราะมีหน่วยเลือกตั้งถูกปิดไปหลายหน่วย และมีเหตุการณ์ขัดขวางผู้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในหลายๆพื้นที่ โดยเฉพาะ กรุงเทพมหานคร และหลายๆจังหวัดทางภาคใต้ อันอาจทำให้กลุ่มที่สนับสนุนรัฐบาลรักษาการในขณะนั้น เกิดความคับแค้นใจ ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2557 ที่ศาลอาญายกคำร้อง กรณีดีเอสไปสั่งฟ้องกลุ่มแกนนำ กปปส. ทนายความถามพยานว่า รู้เห็นเหตุการณ์การเมืองไทยในช่วงนี้หรือไม่
พยานแรกบอกว่า พอรู้เห็นเหตุการณ์แต่จำวันที่ไม่ได้แน่ชัด พยานต่อมาตอบว่า ทราบว่ามีเหตุการณ์ แต่ไม่ค่อยได้ติดตามการเมืองเท่าไหร่นัก และพยานปากสุดท้ายของวันนี้ตอบว่า ทราบว่ามีการยุบสภา และต่อมามีการขัดขวางการเลือกตั้งขึ้น แต่ก็จำไม่ได้เช่นกันว่าวันไหน ปีอะไร
ก่อนจะเสร็จสิ้นการสืบพยานวันนี้ อัยการขอให้มีพยานอีก 1 ปากเป็นพนักงานสืบสวน จากจ.พะเยา เนื่องมาจากที่ จ.พะเยาก็มีผู้นำป้ายมาติดข้อความลักษณะเดียวกันบนสะพานลอย ทนายความของทั้งสามให้การว่า ทราบว่าที่ จ.พะเยาก็มีผู้นำป้ายมาติดเช่นกัน แต่ก็ไม่มีความรุนแรงหรือเหตุจลาจลอะไรเกิดขึ้นหลังจากการติดป้าย ซึ่งอัยการก็เห็นตรงกัน ขณะเดียวกันศาลใช้ดุลพินิจที่จะงดสืบปากพยานนี้เพราะเห็นว่า ทั้งอัยการและทนายความของทั้งสาม เห็นตรงกันว่า มีการติดป้ายจริง แต่ก็ไม่มีเหตุการณ์รุนแรงเกิดขึ้น
22 กรกฎาคม 2558
สรุปคำพิพากษาศาลขั้นต้น
การติดป้ายแยกประเทศ ในขณะที่ประเทศกำลังอยู่ในความวุ่นวาย ประชาชนแบ่งออกเป็นหลายฝ่ายและมีความแตกแยกทางการเมือง อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย นอกจากนี้ข้อความบนป้ายก็มีลักษณะเป็นการต่อต้านอำนาจรัฐ