- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สิรภพ
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลอุทธรณ์
สถานะผู้ต้องหา
ครบกำหนดโทษ
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 14 (5) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
หลังจากพิจารณาคดีในศาลปกติ ศาลอาญาพิพากษาว่า สิรภพมีความผิดตามมาตรา 112 สองกรรม ยกฟ้องหนึ่งกรรม โดยให้ลงโทษจำคุก กรรมละ 3 ปี แต่เนื่องจากการสืบพยานเป็นประโยชน์ลดโทษให้หนึ่งในสี่ เหลือกรรมละ 2 ปี 3 เดือน รวมแล้วจำเลยต้องรับโทษจำคุก 4 ปี 6 เดือน แต่เนื่องจากจำเลยจำคุกมาเกินกว่าโทษจึงไม่ต้องขังอีก
ภูมิหลังผู้ต้องหา
สิรภพ อายุ 52 ปี เป็นนักกิจกรรมเสื้อแดงที่เน้นทำการณรงค์ผ่านอินเทอร์เน็ตผ่าน โดยใช้นามแฝง “รุ่งศิลา”หรือ “Rungsira” ก่อนถูกจับกุมประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างอยู่ในจังหวัดสงขลา
รู้จัก 'สิรภพ' ให้มากขึ้น อ่าน สิรภพ: บทกวีที่ถูกตามล่า [112 The Series]
พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.)
ข้อกล่าวหา
หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี, การคุกคามโดยตำรวจ/ทหาร
-
ประเภทสื่อ
เว็บไซต์ / บล็อก
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ, ศาลอาญา
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
No: 83 ก./2557 วันที่: 2014-09-25
สิรภพ ถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของนามปากกา "รุ่งศิลา" เป็นเจ้าของเว็บบล็อก เขียนบทความต่อต้านรัฐบาลตั้งแต่ปี 2553 และนำเสนอข้อมูลโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ในเว็บบอร์ของประชาไทเรื่อยมาตั้งแต่ปี 2552 และยังเป็นเจ้าของเฟซบุ๊คชื่อ "รุ่งศิลา" เขาถูกกล่าวหาว่าโพสต์เนื้อหาที่เข้าข่ายเป็นการหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ทั้งสิ้น 3 ชิ้น
สิรภพถูกควบคุมตัวโดยทหารขณะกำลังเดินทางผ่านจังหวัดกาฬสินธุ์ไปยังจังหวัดอุดรธานี โดยขณะเดินทางด้วยรถตู้อยู่บนถนนกำลังจะเข้าเมืองกาฬสินธุ์มีรถฟอร์จูนเนอร์ปาดหน้าและมีทหารไม่แต่งเครื่องแบบอย่างน้อย 5 พร้อมอาวุธครบมือลงมาจากรถ และมีทหารจากรถอีกคันจอดประกบอยู่ด้านหลังพร้อมอาวุธครบมือเข้าล้อมรถ
ทหารบังคับให้ทุกคนหมอบลงบนพื้นที่เปียกด้วยฝน ต่อมาจึงควบคุมตัวคนขับรถ และสิรภพ ไปที่หน่วยราชการในจังหวัดกาฬสินธุ์หนึ่งคืน หลังจากนั้นจึงนำไปคุมตัวที่ค่ายสีหราชเดโชชัย จังหวัดขอนแก่น 1 วัน ก่อนจะส่งตัวมาควบคุมต่อที่กรุงเทพฯ จนครบ 7 วัน
นัดสอบคำให้การ
ศาลทหารกรุงเทพนัดสอบคำให้การในเวลา 9.00 น. แต่ศาลขึ้นบังลังก์ในเวลาประมาณ 10.30 น. โดยศาลให้เหตุผลว่า กรมราชทัณฑ์ส่งตัวจำเลยมาที่ศาลช้า กระบวนการพิจารณาจึงเริ่มต้นล่าช้าไปด้วย
อัยการศาลทหารกรุงเทพแถลงขอให้ศาลพิจารณาคดีนี้เป็นการลับทั้งกระบวนการ เนื่องจากเป็นคดีที่เกี่ยวข้องกับสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งอาจกระทบต่อความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยภายในราชอาณาจักร หากพิจารณาโดยเปิดเผยเกรงว่าจะมีการเผยแพร่ข้อความที่ไม่ถูกต้องออกไป
ทนายจำเลยแถลงคัดค้าน โดยให้เหตุผลว่า การพิจารณาคดีเป็นการลับตลอดทั้งกระบวนการ ขัดกับกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มาตรา 14 ซึ่งจำเลยมีสิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเปิดเผย นอกจากนี้ ยังไม่ปรากฏว่ามีถ้อยคำใดที่แสดงความก้าวร้าว หยาบคาย ทนายจำเลยขอให้พิจารณาคดีโดยเปิดเผยเฉพาะเท่าที่เปิดเผยได้ หากเนื้อหาส่วนใดที่ศาลเห็นว่าไม่เหมาะสมก็ให้สั่งพิจารณาลับเป็นกรณีไป
อย่างไรก็ตาม ศาลก็มีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับโดยตลอด พร้อมกับขอให้ผู้สังเกตการณ์จากสำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวมทั้งลูกของจำเลยออกจากห้องพิจารณาคดี
ในวันเดียวกัน ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอให้วินิจฉัยเขตอำนาจศาลต่อศาลทหารกรุงเทพ เพื่อโต้แย้งว่าการดำเนินคดีต่อพลเรือนในศาลทหารละเมิดมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ชั่วคราว) พ.ศ. 2557 นอกจากนี้ ยังได้ยื่นคำร้องขอให้ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37/2557 เรื่องให้คดีพลเรือนอยู่ในอำนาจศาลทหาร ขัดต่อมาตรา 4 ในรัฐธรรมนูญ 2557(ชั่วคราว) และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองหรือไม่ ซึ่งศาลทหารได้ยกคำร้องโดยวินิจฉัยว่า ประกาศ คสช.ฉบับที่ 37 ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ เพราะแม้ศาลทหารจะสังกัดกระทรวงกลาโหม แต่ก็มีความเป็นอิสระ ส่วนการพิจารณาและตัดสินคดี ผู้พิพากษามีอำนาจตัดสินคดีอย่างเป็นอิสระ ทั้งย้งไม่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจศาลทหารส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ภายหลังกระบวนการพิจารณาคดี ทนายจำเลยกล่าวว่า ตนได้แถลงต่อศาลเพื่อขอเลื่อนการตรวจพยานหลักฐานออกไปก่อน โดยศาลได้นัดตรวจพยานหลักฐานใหม่ในวันที่ 21 มกราคม 2558
ในวันดังกล่าวศาลสั่งพิจารณาคดีลับ แต่การสืบพยานยังไม่เสร็จสิ้น ศาลนัดสืบพยานต่อ 4 กรกฎาคม 2559
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่สอง ภรภัทร อธิเกษมสุข ศาลสั่งพิจารณาลับ พยานมาศาลแต่ยังการสืบพยานยังไม่เสร็จสิ้น ศาลนัดสืบพยานต่อ 15 พฤศจิกายน 2560
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่สอง ภรภัทร อธิเกษมสุข ศาลสั่งพิจารณาลับ พยานมาศาลแต่ยังการสืบพยานยังไม่เสร็จสิ้น ศาลนัดสืบพยานต่อ 28 พฤศจิกายน 2560
นัดสืบพยานโจทก์
ในวันเดียวกัน ครอบครัวของสิรภพยังได้ยื่นขอปล่อยตัวชั่วคราวจำเลยต่อศาลทหาร โดยยื่นหลักทรัพย์เป็นเงิน 500,000 บาท แต่ศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัวเช่นเดิม ซึ่งเป็นการไม่ให้ประกันตัวเป็นครั้งที่ 6 ในคดีนี้
นัดสืบพยานโจทก์
สืบพยานโจทก์ปากที่ 3 ภัทรมาศ ชำนิบริบาล เกี่ยวข้องกับคดีในฐานะพยานบุคคลทั่วไปเพื่อมาให้ความเห็นเกี่ยวกับบทกลอนและภาพการ์ตูนล้อเลียนตามที่จำเลยถูกฟ้อง
สืบพยานโจทก์ปากที่ 8 ร้อยตำรวจโท อนุชิต ทวีพร้อม เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. เกี่ยวข้องกับคดีในฐานะพนักงานสอบสวน
สืบพยานโจทก์ปากที่ 9 พันตำรวจโท สัณห์เพ็ชร หนูทอง เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. เกี่ยวข้องกับคดีในฐานะพนักงานสอบสวน
สืบพยานโจทก์ปากที่ 10 พลตำรวจตรี ชัยชนะ ลิ้มประเสริฐ เจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปอท. เป็นกรรมการและเลขานุกการคณะกรรมการคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
26 พฤศจิกายน 2563
นัดสืบพยานจำเลย
สีบพยานจำเลยเพียงปากเดียว คือ สิรภพ จำเลยในคดี หลังเสร็จสิ้นการสืบพยาน ศาลนัดฟังคำพิพากษาในวันที่
สรุปคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ดูรายละเอียด คดีฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว