- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
สมบัติ บุญงามอนงค์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ชั้นศาลชั้นต้น
สถานะผู้ต้องหา
ได้รับการประกันตัว
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา
เนื้อหาคดีโดยย่อ
สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือหนูหริ่ง หรือ บ.ก.ลายจุด ได้ถูกตั้งข้อหา ป.อาญา ม.116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ หลังถูกจับกุมเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2557 หลังฝ่าฝืนไม่เข้ารายงานตัวคามคำสั่ง คสช. มีความผิดตามคำสั่ง 41/2557
ภูมิหลังผู้ต้องหา
ข้อกล่าวหา
กระทบต่อความมั่นคง, สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี, การคุกคามโดยตำรวจ/ทหาร
-
ประเภทสื่อ
โซเชียลเน็ตเวิร์ค
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลทหารกรุงเทพ No: 24 ก./2557 วันที่: 2014-07-29
ภายหลังการเข้าควบคุมอำนาจการปกครองประเทศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 ได้ประกาศและออกคำสั่งห้ามบุคคลชุมนุม เผยแพร่ข่าวสารหรือส่งข้อความทางสื่อออนไลน์ หรือกระทำการใดๆ ที่จะก่อให้เกิดความปั่นป่วน วุ่นวายถึงขนาดก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้น
โดยระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 5 มิถุนายน 2557 สมบัติได้โพสต์ข้อความในเว็บไซต์ Twitter และ Facebook ส่วนตัวว่า "นัดใหญ่ 3 นิ้ว วันอาทิตย์ที่ 8 มิย เที่ยงตรง เห็นชอบกด Like ไปร่วมกด Share" "มีรุ่นใหญ่บอกผมว่าเราล้ม คสช ไม่ได้ผมไม่อยากฟันธง หลุดจากอาทิตย์ ผมจะเสนอกิจกรรม ล้ม คสช" และอีกหลายข้อความซึ่งอาจเป็นการทำให้เกิดความปั่นป่วนกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนและยุยงส่งเสริมให้ประชาชนทำผิดกฎหมายถึงขนาดก่อให้เกิดความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
ช่วงกลางคืนวันที่ 5 มิถุนายน 2557 สมบัติถูก ผบก.ปอท. ร่วมกับ ร.21 เข้าจับกุมตัวที่บ้านพักที่ อ.พานทอง จ.ชลบุรี หลังจากสำนักข่าวกรองแห่งชาติตรวจสอบหมายเลขไอพีที่ใช้โพสต์ข้อความผ่านอินเทอร์เน็ต จากนั้นจึงนำตัวไปสอบสวนที่ค่ายกรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ จ.ชลบุรี (ร.21 รอ.) ก่อนนำตัวขึ้นศาลทหารเพื่อดำเนินคดีต่อไป
ภายหลังถูกจับกุมตัวสมบัติได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า "ผมโดนจับแล้ว" จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวสมบัติไปสอบสวนต่อที่ค่ายทหารแห่งหนึ่ง
ศาลออกนั่งพิจารณาคดีเวลา 10.00 น. วันนี้เป็นการสืบพยานโจทย์ต่อจากวันที่ 24 สิงหาคม 2558 พยานคือ พ.ต.ท.วันพิชิต วัฒนศักดิ์มณฑา เป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นและพบตัวสมบัติที่บ้านพัก
ทนายจำเลยให้พยานว่าดูรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) พ.ศ.2557 มาตรา 47 ที่นิรโทษกรรมให้การทำรัฐประหาร พยานรับทราบ ทนายจำเลยถามว่า ก่อนที่คสช.จะประกาศให้การแสดงออกเป็นการกระทที่ำผิดกฎหมาย ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีตามช่องทางต่างๆ รวมถึงในโลกออนไลน์ โดยที่ผู้รับสารก็มีวิจารณญาณที่จะไม่ถูกโน้มน้าวชักจูงได้โดยง่ายใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่
ทนายจำเลยถามอีกว่า เท่าที่พยานทราบ สมบัติเป็นผู้ที่เคยทำงานเพื่อประโยชน์สังคม เช่น มูลนิธิกระจกเงา ตามหาคนสูญหาย และไม่เคยใช้ความรุนแรงใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่
ทนายจำเลยให้พยานดูข้อความตามฟ้อง แล้วถามว่าพยานรู้สึกว่าข้อความดังกล่าวจะกระทบต่อความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติหรือไม่ พยานตอบว่า ข้อความของจำเลยไม่ก่อให้เกิดความไม่สงบ แต่อาจทำให้ผู้ที่มีความคิดเห็นเหมือนกันออกมารวมตัวกันมากขึ้นในการวมตัวครั้งต่อไป
ทนายจำเลยให้พยานดูเอกสารและถามต่อไปว่า ประกาศ คสช. ฉบับที่ 7/2557 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 แต่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2557 ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากมีประกาศฉบับที่ 7 ใช่หรือไม่ พยานตอบว่าใช่ ทนายจำเลยแถลงหมดคำถาม
อัยการถามติงว่า เหตุใดพยานไม่มีหมายค้นก่อนเข้าค้นที่พักของจำเลย พยานตอบว่า เจ้าหน้าที่ทหารใช้อำนาจตามกฎอัยการศึกเข้าตรวจค้น โดยพยานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งมีหน้าที่ช่วยทหารในการตรวจค้นเท่านั้น
นัดสืบพยานโจทก์ปากต่อไปวันที่ 26 พฤศจิกายน 2558
นัดสืบพยานโจทก์
เกี่ยวกับการทำกิจกรรมทางการเมือง สมบัติเบิกความว่าเขาลาออกจากงานประจำเพื่อเคลื่อนไหวทางการเมืองตั้งแต่ ปี 2534 และทำกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมานับตั้งแต่บัดนั้น เช่นในปี 2540 เขามีส่วนนร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
สำหรับการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ส่วนตัวซึ่งเป็นเหตุแห่งคดีนี้ สมบัติให้เหตุผลว่าเป็นการแสดงจุดยืน และเป็นการแสดงออกโดยสุจริตเพื่อประโยชน์สาธารณะ ส่วนถ้อยคำที่โพสต์ก็เป็นถ้อยคำทั่วไปที่ใช้ในสังคมออนไลน์ ไม่ได้มีคำที่แสดงถึงความรุนแรงและยั่วยุ ซึ่งการแสดงความคิดเห็นดังกล่าวเป็นสิทธิที่ทำได้ที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 และรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ฉบับปี 2557 ก็ได้ระบุไว้เช่นกัน
เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม2562 ได้มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 9/2562 การยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ บางฉบับที่หมดความจำเป็น
ตามข้อ 2 ให้ยกเลิกประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเกี่ยวกับการกำหนดให้คดีอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ตามที่ระบุในบัญชีสองท้ายคำสั่งนี้ กำหนดให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทหารตามประกาศและคำสั่งดังกล่าวไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทหารตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม 2562 เป็นต้นไป แต่ให้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรม
จึงให้งดการสืบพยานจำเลยในวันนี้และงดการพิจารณาไว้ชั่วคราวและให้โอนคดีไปศาลยุติธรรมกับจำหน่ายคดีจากสารบบความในศาลนี้ ให้มีหนังสือไปสำนักงานศาลยุติธรรม ให้จ่าศาลคัดถ่ายสำนวนคดีเก็บไว้ที่ศาลนี้ด้วย และสัญญาประกันให้มีผลต่อไป
แต่ในช่วงวันที่ 15 กันยายน 2562 สมบัติจะเดินทางไปเยี่ยมลูกที่ไม่ได้พบกันมา 5 ปี ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่การโอนย้ายคดีจากศาลทหารไปศาลยุติธรรมจะมีช่องว่างของเวลาซึ่งเกรงว่าจะมาขออนุญาตศาลไม่ทันต่อการเดินทางไปต่างประเทศ จึงขอให้ศาลพิจารณาให้อนุญาตเดินทางออกนอกประเทศได้ และบันทึกไว้ในกระบวนพิจารณาคดี ก่อนจะส่งสำนวนไปศาลยุติธรรม
โดยศาลทหารจะทำการส่งคดีทั้งหมดสู่ศาลยุติธรรมประมาณวันที่ 24 สิงหาคม 2562 น่าจะเสร็จสิ้นทั้งหมด หลังจากนั้นศาลยุติธรรมน่าจะมีวันนัดหมายคดีออกมา ซึ่งคดีนี้ต้องไปพิจารณาคดีที่ศาลอาญา ทนาย และจำเลยสามารถไปขออนุญาตที่ศาลอาญาได้หลังจากศาลทหารโอนคดีไป
19 มิถุนายน 2563
นัดสืบพยานจำเลย
สืบพยานจำเลยปากที่สี่ (ปากสุดท้าย) ชำนาญ จันทร์เรือง พยานผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์
ศาลนัดพิพากษาคดีนี้วันที่ 30 กรกฎาคม 2563
ดูรายละเอียดคดีอื่นๆ ของสมบัติ บุญงามอนงค์