- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
Stared

ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
จาตุรนต์ ฉายแสง
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ศาลไม่รับฟ้อง
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 14 (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ , มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา, ฝ่าฝืนประกาศคสช. 41/2557
เนื้อหาคดีโดยย่อ
เมื่อคสช.ยึดอำนาจในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 คสช.ออกคำสั่ง คสช.ฉบับที่ 1/2557 เรียกจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยเข้ารายงานตัว จาตุรนต์ไม่เข้ารายงานตัวตามกำหนดพร้อมทั้งโพสต์เฟซบุ๊กว่า เขาไม่ยอมรับการรัฐประหาร ต่อมาจาตุรนต์นัดหมายแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 หลังเขาแถลงข่าวไปได้ครู่หนึ่งก็ถูกทหารจับกุมตัว
จาตุรนต์ถูกควบคุมตัวในค่ายทหารสองคืน หลังจากนั้นในวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เขาถูกนำตัวไปที่กองบังคับการปราบปรามเพื่อตั้งข้อกล่าวหาในความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของ คสช. ข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 และความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จาตุรนต์ถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพเป็นเวลา 9 วัน จึงได้รับการประกันตัว
ในวันที่ 15 ตุลาคม 2557 เมื่อขึ้นศาลทหารจาตุรนต์ยื่นคำร้องคัดค้านว่าศาลทหารไม่มีอำนาจพิจารณาคดีของเขา คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจระหว่างศาล ซึ่งมีสั่งว่า ข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัวของคสช.ให้อยู่ในอำนาจศาลปกติ ส่วนความผิดข้อหามาตรา 116 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ให้อยู่ในอำนาจศาลทหาร คดีที่ศาลทหารพิจารณาไปอย่างช้าๆ เริ่มสืบพยานนัดแรก 24 มกราคม 256024 มกราคม 2560 ส่วนคดีฐานไม่รายงานตัวเมื่อจำหน่ายแล้วก็ไม่มีความคืบหน้า
หลังการเลือกตั้งและมีรัฐบาลใหม่ ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 คสช. สั่งให้ย้ายคดีไปอยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกติ ศาลอาญาจึงนัดสืบพยานต่อเนื่อง และมีคำพิพากษาในวันที่ 22 ธันวาคม 2563 สรุปได้ว่าการแถลงข่าวเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ไม่ผิดมาตรา 116 การจับกุมดำเนินคดีก่อนแสวงหาพยานหลักฐานครั้งนี้ขัดต่อหลักนิติธรรม และโจทก์พิสูจน์ไม่ได้ว่าจาตุรนต์โพสเฟซบุ๊กเอง จึงยกฟ้องทุกข้อกล่าวหา
ภูมิหลังผู้ต้องหา
จาตุรนต์ จบมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น สอบเข้าเรียนต่อที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมทั้งทำกิจกรรมนักศึกษาไปด้วยจนได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อกล่าวหา
สร้างความปั่นป่วน กระด้างกระเดื่อง ก่อความไม่สงบ, อื่นๆ (ชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน)
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
การพูด / ปราศรัย, การชุมนุมสาธารณะ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลทหารกรุงเทพ, ศาลอาญา
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
ชั้นศาล: ศาลอาญา No: อ.3055/2562 -
หมายเลขคดีแดง
คำอธิบายดคีแดง ภาษาไทย
ชั้นศาล: ศาลอาญา No: อ.2877/2563 วันที่: 2020-12-22
ตามคำฟ้องระบุว่า จำเลยเป็นบุคคลพลเรือน ได้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และตามความผิดตามประกาศ และคำสั่งคสช.อันเป็นความผิดที่ประกาศให้เป็นคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของศาลทหาร เพื่อให้การรักษาความสงบและแก้ไขปัญหาบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 อันเป็นวันและเวลาที่อยู่ในระหว่างประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร และในระหว่างที่ประกาศคสช. ที่ 37/2557 เรื่องความผิดที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลทหาร ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2557 ทั้งอยู่ในระหว่างวันเวลาที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติควบคุมอำนาจการปกครองประเทศ เนื่องจาก สถานการณ์สถานการณ์ในขณะนั้นเกิดเกิดความรุนแรงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขตปริมณฑล และพื้นที่ต่างๆ ของประเทศหลายๆพื้นที่ เป็นผลให้ผู้บริสุทธิ์เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และเกิดความเสียหายต่อทรัพย์สินอย่างต่อเนื่อง จนอาจเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงที่จะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงชองชาติ และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของปราชนโดยรวม ซึ่งคสช.ได้ออกประกาศและคำสั่งให้บุคคลมารายงานตัวและรายงานตัวเพิ่มเติม โดยกำหนดโทษทางอาญาแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนฯ การที่จำเลยจัดแถลงข่าวด้วยถ้วยคำดังกล่าวให้กับผู้สื่อข่าว ทั้งผู้สื่อข่าวสำนักข่าวในประเทศไทยและผู้สื่อข่าวสำนักข่าวต่างประเทศ รวมทั้งการพิมพ์แล้วส่งข้อความของจำเลยเป็นการกระทำให้ปรากฏแก่ประชานด้วยตัวหนังสือโดยการนำข้อความดังกล่าวซึ่งเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร โดยจำเลยมีเจตนาให้มีการเผยแพร่ถ้อยคำของจำเลยดังกล่าวให้ประชาชนทั่วไปได้รับฟัง ทั้งนี้จำเลยซึ่งเป็นนักการเมืองสังกัดพรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคการเมืองขนาดใหญ่ อีกทั้งเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคการเมือง และเป็นอดีตรัฐมนตรีหลายสมัย ย่อมเป็นที่สนใจของนักการเมืองและประชาชนทั่วไป คำแถลงดังกล่าวของจำเลยย่อมมีผู้คล้อยตามจำเลยต้องการให้ประชาชนรับรู้ถึงการที่จำเลยต่อต้านการเข้าควบคุมอำนาจของคสช. โดยให้ประชาชนเห็นว่าการเข้าควบคุมอำนาจของคสช.เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องและคำสั่งหรือประกาศที่ออกโดยคสช.ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำให้ปรากกฎแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด เพื่อต่อต้านการควบคุมอำนาจการปกครองประเทศของคสช. อันเป็นการยุยงปลุกปั่นทำลายความน่าเชื่อถือของคสช. เพื่อให้เกิดการปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร และให้เพื่อให้ประชาชนฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศหรือคำสั่งของคสช. อันเป็นการล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดินซึ่งมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริตอันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร ขอให้ลงโทษความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ 368 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (3)
27 พฤษภาคม 2557
ข่าวสดอนไลน์ รายงานว่า เวลาประมาณ 14.15 น. จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นบุคคลที่มีชื่อในคำสั่งเรียกบุคคลรายงานตัวของคสช. แต่ไม่ได้ไปรายงานตัว เดินทางไปเป็นวิทยากร พูดเรื่องผลกระทบของการรัฐประหาร ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย
ต่อมาในเวลาประมาณ 15.40 น. เจ้าหน้าที่ทหารเข้าจับกุมตัวจาตุรนต์ ที่สมาคมผู้สื่อข่าวระหว่างประเทศ ท่ามกลางผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมาก ที่บันทึกภาพการจับกุม และเผยแพร่เหตุการณ์ไปทั่วโลก จาตุรนต์ตะโกนบอกผู้ที่มาร่วมงานแถลงข่าวเป็นคำสุดท้ายว่า "ไม่ต้องห่วงผมครับ"
จาตุรนต์ถูกควบคุมตัวในสถานที่ปิดลับซึ่งน่าจะเป็นค่ายทหารเป็นเวลาสองคืน เขาปรากฎตัวอีกครั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม 2557 เมื่อเจ้าหน้าที่ทหารควบคุมตัวเขามาตั้งข้อกล่าวหาที่กองบังคับการปราบปราม
"ความเห็นต่อการยึดอำนาจ และการรายงานตัว
เมื่อตรวจสอบจากเฟซบุ๊กชื่อ 'Chaturon Chaisang' ซึ่งเป็นชื่อของจำเลยและมีภาพของจำเลยโพสต์ข้อความว่าจะไม่เข้ารายงานตัว จึงทำการตรวจสอบและบันทึกหน้าจอไว้ รวมทั้งยังได้รับแผ่นบันทึกภาพเคลื่อนไหวที่จำเลยไปแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยมาเป็นหลักฐานด้วย จึงมีการร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีจำเลยเพิ่มเติม
ทนายจำเลยถามต่อว่าการบันทึกภาพหน้าจอหน้าจอนั้นทำก่อนหรือหลังไปให้ปากคำครั้งแรก พ.ต.วิทยาตอบว่าจำไม่ได้
ทนายจำเลยถามต่อว่าผู้ใดเป็นผู้แจ้งให้พ.ต.วิทยานำเอกสารหลักฐานดังกล่าวไปมอบให้พนักงานสอบสวนเพิ่มเติม พ.ต.วิทยาตอบว่าเป็นพนักงานสอบสวนติดต่อมา
ทนายจำเลยถามว่า ที่มีการดำเนินคดีกับจาตุรนต์ พ.ต.วิทยาทราบหรือไม่ว่าเป็นเพราะเหตุใด พ.ต.วิทยาตอบว่าทราบแต่เพียงเหตุผลที่ปรากฎตามเอกสารที่มอบหมายให้ตนไปกล่าวโทษจาตุรนต์แต่ไม่ทราบเหตุผลนอกเหนือจากนั้น
|
ทนายจำเลยถามต่อว่าหากไม่มีเท่ากับว่าในช่วงเวลานั้นหากมีเหตุการณ์ที่ทำให้การรัฐประหารไม่สำเร็จคสช.อาจมีความผิดฐานกบฎตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ใช่หรือไม่ อัยการแถลงค้านว่าคำถามนี้เป็นการตีความกฎหมายซึ่งเป็นหน้าที่ของศาล ขณะศาลก็แสดงความกังวลว่าการถามความของทนายจำเลยอาจเป็นการพาดพิงบุคคลอื่น
ทนายจำเลยแถลงว่าจำเป็นต้องถามคำถามนี้เนื่องจากเกี่ยวข้องกับข้อหาที่จาตุรนต์ถูกกล่าวหาว่าไม่เข้ารายงานตัว เนื่องจากขณะนั้นสถานการณ์ยังมีความไม่แน่นอน ศาลแย้งว่าคดีไม่รายงานตัวไม่อยู่ในอำนาจของศาลทหารแล้ว ให้ทนายจำเลยถามความประเด็นอื่น
ทนายจำเลยถามว่าทราบหรือไม่ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 มีบทบัญญัติว่าประชาชนชาวไทยมีหน้าที่ปกป้องรัฐธรรมนูญและมีสิทธิต่อต้านโดยสันติต่อการเข้าสู่อำนาจที่ไม่เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญปี 2550 พ.ต.วิทยาตอบว่าข้อนี้ทราบ
ทนายจำเลยชี้แจงด้วยว่าข้อความที่นำมาฟ้องเป็นข้อความที่ยาวและคงไม่ใช่ทั้งหมดที่เข้าข่ายความผิด จึงขอให้พ.ต.วิทยาช่วยระบุให้ชัดเจนเพื่อที่ทนายจำเลยจะได้นำไปเตรียมการสู้คดี ทนายจำเลยชี้แจงด้วยว่าหากจะไม่ให้ถามค้านประเด็นนี้ตัวพ.ต.วิทยาต้องแถลงว่าข้อความทั้งหมดเป็นความผิด ทนายจำเลยจึงจะไม่ถามต่อ ศาลแจ้งกับคู่ความว่าเนื่องจากข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่ตัวพ.ต.วิทยาเป็นผู้ทำการบันทึกภาพหน้าจอและพ.ต.วิทยาก็เป็นผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษจึงอนุญาตให้ทนายจำเลยถามคำถามข้อนี้
ศาลแจ้งกับคู่ความว่าเนื่องจากการสืบพยานคดีนี้ล่าช้ามามากแล้วอยากจะให้พยายามนัดวันต่อเนื่องกัน แต่เมื่อทำการนัดหมายคู่ความและศาลมีวันว่างไม่ตรงกันที่จะนัดสืบพยานต่อเนื่องแต่ก็ได้ตกลงนัดวันสืบไว้ล่วงหน้าสามนัดในวันที่ 22 ธันวาคม 2560 วันที่ 25 มกราคม 2561 และวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561
22 ธันวาคม 2560
ทนายจำเลยไม่คัดค้านพร้อมแถลงว่าวันนัดที่นัดไว้เดิมอีกนัดหนึ่งในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ฝ่ายจำเลยติดภารกิจจึงขอยกเลิกนัดและกำหนดวันนัดใหม่ ศาลอนุญาต จากนั้นคู่ความกำหนดวันนัดใหม่ร่วมกันสองนัดวันที่ 3 พฤษภาคม 2561และวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 อัยการยังแถลงขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานใหม่ไปที่กรมทหารปืนใหญ่ที่ 2 รักษาพระองค์ ค่ายพรหมโยธี จังหวัดปราจีนบุรี
พ.ต.ป้องรัฐเบิกความว่าขณะเกิดเหตุเขารับราชการอยู่ที่กองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ในตำแหน่งผู้บังคับการกองร้อยอาวุธเบา มีหน้าที่ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาและปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา
อัยการทหารขออนุญาตศาลให้พ.ต.ป้องรัฐดูประกาศคสช.เรื่องฉบับที่หนึ่งเรื่องการเข้าควบคุมอำนาจ และคำสั่งหัวหน้าคสช.เรื่องให้บุคคลรายงานตัวซึ่งมีชื่อของจาตุรนต์ปรากฎอยู่ด้วย พ.ต.ป้องรัฐรับรองเอกสารทั้งสองฉบับและเบิกความตอบอัยการทหารว่าจาตุรนต์ไม่ได้มารายงานตัวตามคำสั่งฉบับดังกล่าว อัยการทหารถามว่าพ.ต.ป้องรัฐจำจำเลยได้หรือไม่และจำเลยอยู่ในห้องพิจารณาคดีหรือไม่ พ.ต.ป้องรัฐหันไปชี้ตัวจาตุรนต์
อัยการทหารถามว่าพ.ต.ป้องรัฐทราบหรือไม่ว่าเนื้อหาการแถลงข่าวของจาตุรนต์เป็นเรื่องใด พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าไม่ทราบ อัยการทหารถามว่าในที่เกิดเหตุมีคนอยู่ประมาณกี่คนและเป็นใคร พ.ต.ป้องรัฐตอบว่ามีคนอยู่ประมาณ 80 คน เป็นผู้สื่อข่าวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
อัยการทหารแถลงหมดคำถาม
ทนายจำเลยถามว่า พ.ต.ป้องรัฐจบการศึกษาจากที่ใด พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าเขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ทนายจำเลยถามต่อว่าระหว่างที่พ.ต.ป้องรัฐกำลังศึกษามีการสอนเรื่องระบอบการปกครองและระบบกฎหมายไทยหรือไม่ พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าส่วนใหญ่เรียนเรื่องกฎระเบียบทหาร แต่มีการสอนเรื่องการปกครองคร่าวๆ ทราบว่าประเทศไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ศาลท้วงทนายจำเลยอีกครั้งว่า คำถามนี้ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับคดีนี้ ทนายจำเลยตอบศาลว่าที่ต้องถามคำถามนี้เพราะต้องการทราบถึงต้นทางและระยะเวลาที่พ.ต.ป้องรัฐเดินทางมาเชิญตัวจำเลย พ.ต.ป้องรัฐตอบทนายจำเลยว่า ไม่ทราบว่ากองพลใดเป็นกำลังหลักในการยึดอำนาจของคสช. สำหรับกำลังพลของต้นสังกัดของเขามีบางส่วนที่เข้ามาประจำการในกรุงเทพแต่ไม่ได้มาทั้งหมด
ทนายจำเลยถามว่าพ.ต.ป้องรัฐจำได้หรือไม่ว่าสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศอยู่ชั้นใดของอาคาร พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าจำไม่ได้ทราบแต่ว่าอยู่ชั้นบนต้องขึ้นลิฟท์ไป ทนายจำเลยถามว่านอกจากลิฟท์แล้วทางขึ้นไปที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศมีบันไดด้วยใช่หรือไม่ พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าน่าจะมี
ทนายจำเลยถามต่อว่า ในการเชิญตัวจำเลยนั้นมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบร่วมด้วยหรือไม่ มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบอยู่ในบริเวณนั้นด้วยหรือไม่ และพ.ต.ป้องรัฐนำตัวจำเลยไปสน.ลุมพินีอย่างไร พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าขณะที่ไปเชิญตัวจำเลยไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบอยู่บริเวณนั้น ส่วนจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบอยู่ด้วยหรือไม่ไม่ทราบ สำหรับการเชิญตัวจำเลยได้นำตัวจำเลยขึ้นรถคันเดียวกับทีเขาและกำลังพลเดินทางมา
ทนายจำเลยถามว่า ขณะที่พ.ต.ป้องรัฐเข้าควบคุมตัว จาตุรนต์มีการขัดขืนการปฏิบัติการณ์ของเจ้าหน้าที่หรือไม่ มีการตะโกนปลุกระดมหรือส่งสัญญาณใดๆให้กับคนที่อยู่ในบริเวณนั้นหรือไม่ และปฏิกริยาของคนที่อยู่บริเวณนั้นเป็นอย่างไรมีการแสดงความโกรธเกรี้ยวหรือไม่ พ.ต.ป้องรัฐตอบว่าจาตุรนต์ไม่ขัดขืนเจ้าหน้าที่แต่อย่างไรและไม่ได้ตะโกนปลุกระดมคนที่อยู่แถวนั้น ส่วนผู้สื่อข่าวที่อยู่บริเวณนั้นก็ไม่ได้แสดงท่าทีใดๆได้แต่ถ่ายภาพเหตุการณ์
จาตุรนต์ระบุว่าการต่อสู้คดีไม่ได้มีผลกระทบใดๆไม่ว่าจะด้านภารกิจหรือด้านกำลังใจและเขาก็จะเตรียมตัวลงสนามเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นอย่างเต็มที่
นัดสืบพยานโจทก์
ศาลเริ่มการพิจารณาคดีที่ห้อง 813 ศาลอาญา ในเวลาประมาณ 9.30 น.
หนึ่ง ขอให้ศาลคืนหลักทรัพย์ประกันในคดีนี้ และให้ปล่อยตัวชั่วคราวโดยไม่ใช้หลักทรัพย์ประกัน ทนายจำเลยชี้แจงต่อศาลว่า ที่ศาลทหาร คดีอาญาทุกคดีจะต้องวางหลักทรัพย์ประกันตัว แต่ในศาลยุติธรรม คดี 116 คดีอื่นๆ ก็ไม่มีการให้วางหลักทรัพย์ประกัน จึงอยากจะให้ศาลพิจารณาคำร้องในเรื่องนี้เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
ในส่วนของการโพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก จำเลยจะสู้ว่าไม่ใช่การโพสต์ของจำเลยเอง ศาลถามต่อว่าข้อเท็จจริงในการแถลงข่าวจำเลยไม่คัดค้านใช่หรือไม่ ทนายจำเลยแถลงว่าในส่วนของข้อเท็จจริงในวันแถลงข่าวมีโต้แย้งกับฝ่ายโจทก์เล็กน้อยซึ่งได้ถามค้านพยานไปแล้วในศาลทหาร ศาลแจ้งว่าศาลไม่คุ้นชินกับเอกสารของศาลทหาร
การสืบพยานในช่วงแรกเอกสารบันทึกด้วยลายมือ ศาลอาจจะอ่านแล้วข้อเท็จจริงตกหล่นบ้าง อยากจะให้เริ่มกระบวนการแบบนับหนึ่งใหม่ตามกระบวนการ และวิธีการของศาลนี้
สำหรับการพิจารณาคดีในนัดถัดไปมีรายละเอียดดังนี้ สืบพยานโจทก์วันที่ 5-6, 12-13, 19-20, 24-26 พฤศจิกายน 2563 และ วันที่ 1 ธันวาคม 2563 สืบพยานจำเลยวันที่ 2-3, 8-9, 15-16 ธันวาคม 2563 และ 19-20, 26-27 มกราคม 2564
สิรินทร์ นิสิจจุฬาจากกลุ่ม Spring Movement ซึ่งถูกดำเนินคดีจากการจัดแฟลชม็อบที่สามย่านมิดทาวน์ได้มาร่วมสังเกตการณ์ในวันนี้ด้วย อย่างไรก็ตามผู้สังเกตการณ์กลุ่มนี้เดินทางกลับไปก่อนที่การพิจารณาคดีจะแล้วเสร็จในช่วงเที่ยง