- เว็บไซต์ไอลอว์
- ศูนย์ข้อมูลฯ
ฐานข้อมูลคดี
ชื่อคดี
ผู้ต้องหา
บุญรอด สายวงศ์
สถานะคดี
คำอธิบายสถานะคดี ภาษาไทย
ตัดสินแล้ว / คดีถึงที่สุด
สถานะผู้ต้องหา
ยกฟ้อง
ข้อหา / คำสั่ง
มาตรา 215 ประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ต้องหา | สถานะผู้ต้องหา |
---|---|
สุนทร บุญยอด | ยกฟ้อง |
จิตรา คชเดช | ยกฟ้อง |
เนื้อหาคดีโดยย่อ
27 สิงหาคม 2552 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์ชุมนุมหน้ารัฐสภาขอให้นายกรัฐมนตรีช่วยแก้ไขปัญหาถูกเลิกจ้าง นอกจากไม่ได้รับการตอบรับแล้วยังถูกสลายการชุมนุมด้วยเครื่องส่งเสียงรบกวน (LRAD) ต่อมาแกนนำสามคนถูกแจ้งข้อหามั่วสุมก่อความวุ่นวายตามมาตรา 215, 216
ภูมิหลังผู้ต้องหา
จำเลยที่ 1 บุญรอด สายวงศ์ เป็นเลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ณ วันฟ้องคดี อายุ 34 ปี
ชูเกียรติ ชโลธร พนักงานอัยการสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดีอาญา ๑๐
ข้อกล่าวหา
ชุมนุม มั่วสุม ก่อความวุ่นวาย
-
รูปแบบการจำกัดเสรีภาพ
การดำเนินคดี
-
ประเภทสื่อ
อื่นๆ
-
จังหวัด
กรุงเทพมหานคร
-
ศาล
ศาลอาญา
-
หมายเลขคดีดำ
เลขคดีดำคือเลขที่ศาลออกเมื่อประทับรับฟ้องคดี
No: อ.620/2554 วันที่: 2011-01-27 -
หมายจับ
2494/2552 และ 2495/2552
วันที่ 27 สิงหาคม 2552 สหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงานอิเล็กทรอนิกส์และแม็คคานิคส์ ในเครือบริษัทเอนี่ออน อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด และคนงานบริษัท เวิลด์เวลล์การ์เม้นท์ พร้อมองค์กรแรงงานและประชาชน ไปยังทำเนียบรัฐบาลและรัฐสภา เพื่อติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการเลิกจ้างพนักงานของบริษัท บอดี้ แฟชั่น ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชุดชั้นในไทรอัมพ์ หลังจากที่เคยยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มาก่อนหน้านั้น แต่ในวันดังกล่าวไม่มีตัวแทนของรัฐบาลออกมารับข้อเรียกร้อง ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความเรียบร้อยบริเวณหน้ารัฐสภาใช้เครื่องขยายเสียงรบกวนระยะไกล หรือ LRAD (Long Range Acoustic Device) กับผู้ชุมนุม เป็นเหตุให้ผู้ชุมนุมหลายคนได้รับบาดเจ็บทางโสตประสาท
18 พฤศจิกายน 2552
บุญรอด สายวงศ์ เลขาธิการสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย และจิตรา คชเดช ที่ปรึกษาสหภาพฯ พร้อมด้วยสมพร มูสิกะ ทนายความจากสภาทนายความ เข้ามอบตัวตามหมายจับกับ พล.ต.ต.วิชัย สังข์ประไพ ผบก.น.1 และ พ.ต.อ.วีรวิทย์ จันทร์จำเริญ รอง ผบก.น.1 ที่สถานีตำรวจนครบาลดุสิต
เบื้องต้นทั้งสองคนให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา พร้อมขอประกันตัวโดยมี ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ และ ดร.สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้ตำแหน่งราชการยื่นประกันตัวให้ โดยมีสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ฯ ประมาณ 100 คน เดินทางมาให้กำลังใจกับแกนนำที่เข้ามอบตัว
29 มิถุนายน 2552
29 สิงหาคม 2555
สืบพยานโจทก์
28 พฤษภาคม 2556
สืบพยานจำเลย น.ส.จิตรา คชเดช จำเลยที่ 3 และ น.ส.บุญรอด สายวงษ์ จำเลยที่ 1
29 พฤษภาคม 2556
สืบพยานจำเลย นายสุนทร บุญยอด จำเลยที่ 2 และ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย พยานผู้เห็นเหตุการณ์
30 พฤษภาคม 2556
สืบพยานจำเลย นายบรรจง บุญรัตน์ ประธานสภาองค์การลูกจ้าสภาศูนย์กลางแรงงานแห่งประเทศไทย และ นายปกป้อง เลาวัณย์ศิริ เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน พยานผู้เห็นเหตุการณ์
"ข่าวดี!!
1. การชุมนุมของจำเลยเป็นไปโดยไม่สงบ และสร้างความเดือดร้อนกับทั้งเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนทั่วไป
- ผู้ชุมนุมแม้มีจำนวนเพียง 300-400 คน แต่ก็ปิดถนน ทำให้การจราจรติดขัด ประชาชนที่จำเป็นต้องสัญจรไปมาเดือดร้อน สถานที่ราชการหลายแห่งตั้งอยู่บนเส้นทางเคลื่อนขบวนของผู้ชุมนุมและระหว่างการชุมนุม ผู้ชุมนุมก็ปิดทางเข้าออกของรัฐสภาและทำเนียบรัฐบาล เจ้าหน้าที่รัฐเดือดร้อนไม่สามารถเดินทางเข้าทำงานได้ตามปกติ
- การชุมนุมเกิดขึ้นโดยไม่สงบ เพราะผู้ชุมนุมใช้เครื่องเสียงก่อให้เกิดความรำคาญกับทั้งเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในสถานที่ราชการและประชาชนที่บริเวณใกล้เคียง
2. การชุมนุมมีลักษณะข่มขู่หรือขืนใจเจ้าพนักงานของรัฐ โดยระดมคนจำนวนมากมากดดันให้นายกรัฐมนตรีต้องลงมารับข้อเรียกร้องหรือปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของตน เมื่อทราบว่านายกรัฐมนตรีไม่อยู่ที่ทำเนียบรัฐบาลก็เคลื่อนขบวนไปกดดันต่อที่หน้ารัฐสภา เมื่อนายกรัฐมนตรีไม่ลงมารับข้อเรียกร้องก็กดดันด้วยการชุมนุมต่อไปไม่ยอมเลิก
3. จำเลยทั้งสามเป็นผู้นำและผู้มีอำนาจสั่งการในการชุมนุม เห็นได้จากการขึ้นเวทีปราศรัยชักนำให้ผู้ชุมนุมปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด การที่จำเลยมีชื่ออยู่ในใบปลิวที่แจกจ่ายระหว่างการชุมนุม รวมทั้งเป็นผู้เจรจาติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่รัฐ
- จำเลยไม่มีเจตนาปิดถนน แต่เนื่องจากผู้ชุมนุมมีจำนวนถึงหลักพัน จึงล้นลงมาบนผิวจราจร
- ผู้ที่ปิดเส้นทางการจราจรและนำแผงเหล็กมากั้นถนนคือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- แม้การสัญจรทางถนนในบริเวณที่ชุมนุมจะไม่สะดวก แต่ผู้ใช้ถนนก็ยังใช้เส้นทางอื่นโดยรอบได้ การชุมนุมของจำเลยเริ่มขึ้นหลังเวลาเข้างานจึงไม่น่ากระทบกับการเข้าทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐในสถานที่ราชการต่างๆ เป้าหมายของการชุมนุมคือมายื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีและมีความพยายามที่จะจำกัดระยะเวลาการชุมนุมให้สั้นที่สุด เมื่อไม่สามารถยื่นหนังสือกับนายกรัฐมนตรีโดยตรงก็มีความพยายามที่จะประสานบุคคลอื่นเพื่อยื่นหนังสือแทน หลังบรรลุเป้าหมายก็เดินทางกลับทันทีโดยไม่มีการชุมนุมยืดเยื้อ
- จำเลยมาชุมนุมเพราะต้องการร้องขอความเป็นธรรมและขอให้รัฐบาลช่วยเหลือ เพราะนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ไม่มีเจตนาจะข่มขู่หรือคุกคามนายกรัฐมนตรีหรือเจ้าหน้าที่รัฐ การปราศรัยก็ไม่มีการพูดปลุกระดมมีแต่การร้องขอความเป็นธรรม และไม่มีการกำหนดเส้นตายใดๆ
2 แกนนำไทรอัมพ์ ได้ประกันตัว อ.รัฐศาสตร์ จุฬาฯ ใช้ตำแหน่งประกัน. ประชาไท วันที่ 19 พฤศจิกายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
เทวฤทธิ์ มณีฉาย. เลิกจ้างไทรอัมพ์ 1,959 คน “แรงงานไม่ Sensitive... ไม่เข้าใจความเป็นนายจ้างจริงหรือ?”. ประชาไท วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
นักข่าวพลเมือง: คนงานไทรอัมพ์ฯ จี้แรงงานจังหวัดฯ ให้ บ.ไทรอัมพ์ฯ ใช้มาตรฐานแรงงานไทย และเคารพกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ ปี 18. ประชาไท วันที่ 9 กรกฎาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
นักข่าวพลเมืองรายงาน : สหภาพไทรอัมพ์ฯ ยื่นหนังสือถึง EU ตรวจสอบการละเมิดสิทธิแรงงาน. ประชาไท วันที่ 22 สิงหาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
นักข่าวพลเมือง: อภิสิทธิ์เมินคนงานไทรอัมพ์-เอนี่ออน-เวิล์ลเวลล์ฯ ชุมนุมทวงสัญญา ตำรวจประเดิมใช้เครื่องเสียงความถี่สูงไล่ . ประชาไท วันที่ 29 สิงหาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
ตร.ออกหมายจับ 3 แกนนำคนงานไทรอัมพ์ฯ ฐานชุมนุมปิดถนนหน้าทำเนียบฯ ก่อความวุ่นวาย ทำปชช.เดือดร้อน. ประชาไท วันที่ 28 สิงหาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
“สนนท.” ชี้ “รัฐบาล” ละเมิดสิทธิ์ สลายการชุมนุมคนงาน แถมออกหมายจับข้อหา “ก่อความวุ่นวาย”. ประชาไท วันที่ 3 กันยายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
ร้องถอนหมายจับผู้นำสหภาพแรงงาน- กก.สิทธิ ตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของ ตร.. ประชาไท วันที่ 5 กันยายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
เครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนเรียกร้องถอนหมายจับแกนนำสหภาพแรงงาน 3 คน พร้อมเรียกร้องตำรวจและรัฐบาลตรวจสอบการใช้ LRAD. (ผ่านประชาไท) วันที่ 16 กันยายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
ศาลยกคำร้องขอเพิกถอนหมายจับแรงงานไทรอัมพ์ กรณีชุมนุมร้อง รบ.แก้ปัญหาเลิกจ้าง. ประชาไท วันที่ 22 กันยายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
อัยการสั่งฟ้อง 3 แกนนำคนงาน ชุมนุมเกินสิบคนก่อความวุ่นวาย. ประชาไท วันที่ 27 มกราคม 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2555)
2 แกนนำไทรอัมพ์ขอเลื่อนส่งฟ้องคดีชุมนุมฯ เกิน10คน. ประชาไท วันที่ 15 มีนาคม 2553 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
อัยการนัดสั่งคดีคนงานไทรอัมพ์ฯ "ชุมนุมเกิน 10 คน ก่อความวุ่นวาย" 23 ก.พ.. ประชาไท วันที่ 25 มกราคม 2553 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
อัยการเตรียมส่งฟ้อง 2 แกนนำไทรอัมพ์ฯ ชุมนุมมั่วสุม. ประชาไท วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2553 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
3 นักสหภาพแรงงาน ขึ้นศาลนัดตรวจพยานหลักฐาน คดีก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง. ประชาไท วันที่ 29 มีนาคม 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
เครือข่ายแรงงานเรียกร้องถอนหมายจับ 3 แกนนำแรงงาน. ประชาไท วันที่ 3 กันยายน 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
สิทธิในการแสดงความคิดเห็น - ความรู้สึกประชาชาติ - ความมั่นคงของรัฐ : กรณีศึกษาคุณจิตรา คชเดช. lerners.in.th สร้าง: 24 มีนาคม 2552 18:18 · แก้ไข: 11 พฤษภาคม 2552 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
100 วันสหภาพฯ ไทรอัมพ์เรียกร้องความเป็นธรรมที่กระทรวงแรงงาน. ประชาไท วันที่ 21 มกราคม 2553 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
จิตรา คชเดช: เบื้องหลังป้าย “ดีแต่พูด” ผ่ากลางวง ‘อภิสิทธิ์’.ประชาไท วันที่ 7 มีนาคม 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)
จิตรา คชเดช ต้นตำรับป้าย"ดีแต่พูด" มติชนออนไลน์ วันที่ 15 มิถุนายน 2554 (เข้าถึงเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2555)