1548 1471 1799 1113 1135 1556 1706 1459 1252 1938 1440 1011 1246 1234 1978 1486 1196 1930 1303 1677 1090 1677 1071 1940 1587 1051 1343 1963 1155 1440 1838 1658 1883 1028 1631 1625 1939 1517 1439 1335 1334 1051 1448 1266 1211 1736 1633 1082 1983 1702 1818 1335 1629 1767 1309 1093 1487 1320 1159 1538 1293 1420 1669 1441 1614 1265 1470 1188 1452 1166 1056 1405 1404 1479 1311 1935 1292 1529 1857 1613 1113 1903 1478 1683 1045 1692 1109 1646 1822 1077 1142 1737 1367 1396 1236 1696 1887 1935 1689 สรุปการตั้งข้อกล่าวหาและสถานะของนักกิจกรรมที่ถูกจับกุม ช่วง 23-24 มิถุนายน 2559 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สรุปการตั้งข้อกล่าวหาและสถานะของนักกิจกรรมที่ถูกจับกุม ช่วง 23-24 มิถุนายน 2559

ช่วงวันที่ 23 และ 24 มิถุนายน 2559 มีผู้ถูกจับกุมตัวจากการทำกิจกรรมทางการเมืองถึง 20 คน 13 คน ถูกจับตัวในช่วงค่ำวันที่ 23 เมื่อไปแจกใบปลิวรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญที่จังหวัดสมุทรปราการ ขณะที่อีกเจ็ดคนถูกจับตัวในเช้าวันที่ 24 ระหว่างทำกิจกรรมรำลึกวันอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475 ด้วยการเดินเท้าจากวัดพระศรีมหาธาตุไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ วงเวียนหลักสี่ 
 
จุดร่วมของทั้ง 20 คน คือ ทุกคนถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง แต่ก็มีจุดต่างคือแต่ละคนถูกตั้งข้อหาพ่วงเป็นของแถมหนักเบาแตกต่างกันไป กฎหมายที่นำมาใช้มีทั้งพ.ร.บ.ประชามติฯ พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ พ.ร.บ.บัตรประชาชน และพประกาศคปค. ชะตากรรมแต่ละคนก็ต่างกัน 7 คนได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไข 6 คนต้องวางเงินประกัน และอีก 7 คน ยังอยู่ในเรือนจำ
 
 
495
 
 
คดีแจกใบปลิวรณรงค์โหวตโนที่สมุทรปราการ 
 
คืนวันที่ 23 มิถุนายน 2559 นักกิจกรรมรวม 13 คนได้แก่ รังสิมันต์ โรม, กรกช, นันทพงศ์, อนันต์, ธีรยุทธ , ยุทธนา, สมสกุล, วรวุฒิ, เตือนใจ, ปีใหม่, พรรณทิพย์, รักษ์ชาติ และ กรชนก ถูกทหารและตำรวจจับกุมตัวหลังไปแจกเอกสารรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารชี้แจงวิธีการลงทะเบียนขอใช้สิทธิลงประชามตินอกเขต ในพื้นที่ชุมชนเคหะบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 
 
นักกิจกรรมสิบสามคนซึ่งมีทั้งนักกิจกรรมกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ และสมาชิกสหภาพแรงงานไทร์อัมพ์ ถูกนำตัวไปส.น.บางเสาธงเพื่อสอบสวนและตั้งข้อกล่าวหาหนัก 2 ข้อหาได้แก่
 
1.รวมตัวกันแจกใบปลิว เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
2.รวมตัวกันตั้งแต่ห้าคนขึ้นไป แจกใบปลิวรณรงค์ให้คนลงคะแนนไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ (Vote NO) เข้าข่ายความผิดฐานร่วมกันก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อยโดยการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกสหรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61 (1) วรรคสองและสาม ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ปรับตั้งแต่สองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และศาลอาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งมีกำหนดห้าปี 
 
นอกจากนี้ รังสิมันต์, กรกช, นันทพงศ์, อนันต์, ธีรยุทธ , ยุทธนา, สมสกุล, วรวุฒิ ซึ่งปฎิเสธที่จะให้เจ้าหน้าที่พิมพ์ลายนิ้วมือ ถูกตั้งข้อหาไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งพนักงานสอบสวน ตามประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 25 เรื่องการดำเนินการเกี่ยวกับการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเพิ่มเติม
 
ขณะที่รังสิมันต์, กรกช, นันทพงศ์, เตือนใจ, ปีใหม่ และพรรณทิพย์ ซึ่งปฏิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการพิมพ์ลายนิ้วมือที่สถานีตำรวจถูกตั้งข้อหาไม่แสดงบัตรหรือใบรับแทนเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ ตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 ซึ่งมีโทษปรับ 200 บาท 
 
ในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ช่วงเย็น พนักงานสอบสวนสน.บางเสาธงยื่นคำร้องต่อศาลทหารขอฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 13 คน โดยระบุเหตุผลว่า ต้องสอบพยานบุคคลอีกสิบปากและรอผลการตรวจสอบลายนิ้วมือและประวัติการต้องโทษของผู้ต้องหา และขอคัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเกรงผู้ต้องหาจะกระทำผิดซ้ำอีก และจะเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวน 
 
ศาลทหารอนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาทั้ง 13 คน ผู้ต้องหาหกคนได้แก่ วรวุฒิ, เตือนใจ, ปีใหม่, พรรณทิพย์, รักษ์ชาติ และกรชนก ยื่นขอประกันตัวซึ่งศาลตีราคาประกันคนละ 50,000 บาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามกระทำการใดๆอันเป็นการยุยงปลุกปั่นให้เกิดความวุ่นวายหรือให้คนละเมิดกฎหมายบ้านเมือง ทั้งหกได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพและทัณฑสถานหญิงกลางในคืนวันเดียวกัน
 
ผู้ต้องหาอีกเจ็ดคนได้แก่ รังสิมันต์ โรม, กรกช, นันทพงศ์, อนันต์, ธีรยุทธ , ยุทธนา, สมสกุล ไม่ประสงค์จะยื่นขอประกันตัว เพราะพวกเขาเห็นว่าสิ่งที่พวกตนทำนั้นไม่ผิดกฎหมาย เจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจควบคุมตัวตั้งแต่แรก และพวกเขาไม่มีหน้าที่ต้องขอประกันตัว จึงถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพกรุงเทพตั้งแต่คืนวันที่ 24 มิถุนายน โดยการฝากขังผลัดแรกจะสิ้นสุดลงในวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 ซึ่งทั้งเจ็ดจะถุกนำตัวไปที่ศาลทหารเพื่อฟังคำสั่งว่าศาลทหารจะให้ฝากขังต่อเป็นผลัดที่สองหรือไม่ 
 
 
คดีทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ
 
เช้าวันที่ 24 มิถุนายน นักกิจกรรมเจ็ดคนได้แก่ คุณภัทร,อุทัย,เกษมชาติ,กานต์,สุธิดา,อรัญญิกา และ ชนกนันท์ รวมทรัพย์ เดินเท้าจากวัดพระศรีมหาธาตุไปทำความสะอาดอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญที่วงเวียนหลักสี่เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 เมื่อเดินไปถึงบริเวณวงเวียนหลักสี่ ทั้งเจ็ดถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมตัวโดยรถตู้ไปที่สน.บางเขนและถูกตั้งข้อกล่าวหารวมสองข้อ ได้แก่
 
1.รวมตัวกันแจกใบปลิว เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้าคนโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
2. ไม่แจ้งการชุมนุมให้เจ้าหน้าที่ทราบล่วงหน้า 24 ชั่วโมง เข้าข่ายความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 มาตรา 10 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
 
หลังทำการจับกุมในช่วงเช้า พนักงานสอบสวนสน.บางเขนก็นำตัวผู้ต้องหาทั้งเจ็ดไปฝากขังกับศาลทหารกรุงเทพในช่วงบ่าย ผู้ต้องหาและทนายความยื่นคำร้องและแถลงคัดค้านการฝากขัง ศาลทหารให้ยกคำร้องฝากขังนักกิจกรรมทั้งเจ็ดโดยระบุว่าผู้ต้องหายังเป็นนักศึกษาและมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง นักกิจกรรมทั้งเจ็ดได้รับการปล่อยตัวจากศาลทหารในช่วงค่ำวันเดียวกัน