1944 1431 1382 1268 1653 1675 1397 1210 1171 1197 1530 1453 1379 1111 1657 1461 1947 1995 1632 1144 1699 1027 1053 1260 1820 1436 1812 1581 1893 1016 1438 1149 1369 1714 1406 1285 1676 1200 1551 1954 1919 1721 1280 1921 1994 1722 1414 1817 1014 1783 1388 1526 1381 1794 1186 1303 1137 1835 1325 1589 1692 1751 1181 1888 1097 1616 1739 1549 1868 1051 1089 1159 1378 1644 1750 1021 1544 1547 1339 1921 1105 1922 1679 1964 1813 1601 1369 1128 1756 1450 1005 1947 1244 1275 1928 1020 1733 1877 1412 5 อันดับ คดีประชาชนที่ไม่ต้องขึ้นศาลทหาร แต่ถูกยัดให้ขึ้นศาลทหาร | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

5 อันดับ คดีประชาชนที่ไม่ต้องขึ้นศาลทหาร แต่ถูกยัดให้ขึ้นศาลทหาร

 
 
543
 
ในยุครัฐบาลคสช. มีประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 ที่กำหนดให้ประชาชนที่ถูกกล่าวหาในคดีความมั่นคงต้องถูกพิจารณาคดีที่ศาลทหาร ประกาศฉบับนี้ใช้มาเป็นเวลากว่าสองปี และถูกยกเลิกโดย คสช. เองเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2559 โดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 55/2559
 
ตลอดระยะเวลากว่าสองปี คดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ตามมาตรา 112, คดียุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116, คดีชุมนุมทางการเมือง, คดีฝ่าฝืนคำสั่ง คสช., คดีครอบครองอาวุธปืน และคดีอีกจำนวนมากที่พลเรือนถูกกล่าวหา ถูกส่งไปขึ้นศาลทหาร รวมถึงคดีที่พลเรือนไม่ได้กระทำความผิดตามข้อหาเหล่านี้ แต่ก็ถูกตั้งข้อหาเพื่อให้เป็นคดีที่ต้องขึ้นศาลทหารด้วย ข้อมูลจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่ามีประชาชนต้องขึ้นศาลทหารอย่างน้อย 1,546 คน ซึ่งบางส่วนเป็นคดีเกี่ยวกับการเมืองบางส่วนไม่เกี่ยว
 
ในยุคของ คสช. เมื่อทหารเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง ทหารมีอำนาจจับกุม คุมขัง สอบสวน เป็นอัยการฟ้องคดี และเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีเอง ระบบแบบนี้ย่อมสะดวกรวดเร็วและถูกใจทหารซึ่งกำลังถืออำนาจเบ็ดเสร็จในประเทศ จึงมีการพยายามใช้เทคนิควิธีต่างๆ ตีความให้คดีจำนวนมากที่ไม่ต้องขึ้นศาลทหารมาขึ้นศาลทหารจนได้
 
ไอลอว์ลองจัด 5 อันดับ คดีในความทรงจำในช่วงเวลาสองปีกว่า ที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 37/2557 แต่ก็ถูกยัดเยียดการตีความให้ขึ้นศาลทหารจนได้
 
 
5. คดีก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย
 
ผู้ต้องหา 15 คน ถูกจับหลังเหตุการณ์ระเบิดใน 7 จังหวัดภาคใต้ โดยตอนแรกกระแสข่าวออกมาว่าเป็นการจับกุมผู้ต้องหาเกี่ยวกับการวางระเบิด แต่ต่อมาตำรวจบอกว่า ผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุระเบิด แต่ถูกจับจากการร่วมกันก่อตั้งพรรคแนวร่วมปฏิวัติเพื่อประชาธิปไตย ที่มีแนวคิดต่อต้านรัฐบาล
 
ในคำร้องขอฝากขังผู้ต้องหาที่ยื่นต่อศาลทหารในคดีนี้ ระบุว่า การกระทำของผู้ต้องหา คือ มีบางคนนัดคุยกันที่บ้าน บางคนนัดคุยกันที่ร้านอาหาร โดยมีแนวคิดเดียวกัน ทั้งหมดถูกตั้งข้อหาอั้งยี่ หรือการเข้าเป็นสมาชิกของคณะบุคคลซึ่งปกปิดวิธีดำเนินการ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 209 และยังถูกตั้งข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ฉบับที่ 3/2558 ด้วย ทั้งที่ผู้ต้องหาทั้ง 15 คน ไม่เคยมารวมตัวทำกิจกรรมทางการเมืองด้วยกัน และไม่ได้ชุมนุมเพื่อแสดงออกให้ปรากฏต่อสาธารณะ
 
ตาม พ.ร.บ.การชุมนุมสาธารณะ กำหนดนิยามไว้ว่า “การชุมนุมสาธารณะ” หมายความว่า การชุมนุมของบุคคลในที่สาธารณะเพื่อเรียกร้อง สนับสนุน คัดค้าน หรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยแสดงออกต่อประชาชนทั่วไป และบุคคลอื่นสามารถร่วมการชุมนุมนั้นได้ แต่ในคดีนี้คำว่า "ชุมนุมทางการเมือง" ถูกตีความขยายให้รวมถึงการนัดมาพูดคุยกันตามสถานที่ส่วนตัวด้วย ซึ่งเพราะข้อหาชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เป็นข้อหาที่ทำให้ผู้ต้องหากลุ่มนี้ต้องขึ้นศาลทหาร
 
 
 
ผู้ต้องหา 14 คน ที่ประกอบด้วยนักการเมืองท้องถิ่นและอดีตส.ส.พรรคเพื่อไทย ถูกจับกุมและดำเนินคดี จากกรณีที่ตรวจพบจดหมายจำนวนมากส่งไปยังบ้านเรือนประชาชนในจังหวัดลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ มีเนื้อหาวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติ
 
ทุกคนถูกตั้งข้อหาว่า เผยแพร่ข้อความที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงเพื่อให้การออกเสียงประชามติไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตามพ.ร.บ.ประชามติ มาตรา 61 วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ต้องขึ้นศาลพลเรือน แต่ 13 คน กลับถูกตั้งข้อหาฐานยุยงปลุกปั่น ตามมาตรา 116 ของประมวลกฎหมายอาญาด้วย ทั้งที่ตามเนื้อความในจดหมายนั้น ชัดเจนว่า เป็นการวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ และชวนให้คนไปลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 ไม่ใช่การปลุกปั่นให้ประชาชนต่อต้านอำนาจรัฐ เพราะการตั้งข้อหามาตรา 116 เป็นเหตุให้ผู้ต้องหากลุ่มนี้ต้องขึ้นศาลทหาร และเมื่อถูกส่งตัวไปขึ้นศาลทหาร ผู้ต้องหาไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัวและต้องถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำถึง 24 วัน
 
 
544
 
 
 
รินดา ถูกจับกุมเมื่อวันที่  8 กรกฎาคม 2558 จากการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว เป็นข้อความกล่าวหาว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยา จะโอนเงินที่ได้มาโดยมิชอบหลายหมื่นล้านบาทไปยังประเทศสิงคโปร์ การกระทำของเธอเป็นการกล่าวหาตัวบุคคล ไม่ใช่การยุยงปลุกปั่นให้ประชาชนต่อต้านอำนาจรัฐ แต่รินดาถูกตั้งข้อหายุยงปลุกปั่นตามมาตรา 116 ทำให้เธอต้องขึ้นศาลทหาร
 
เมื่อขึ้นศาลทหาร เบื้องต้นศาลทหารไม่อนุญาตให้ประกันตัว โดยอ้างเหตุผลว่า ผู้ต้องหาถูกจับกุมในคดีความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร มีเหตุอันควรเชื่อว่า หากให้ประกันตัวอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่การสอบสวน ทำให้รินดาต้องเข้าเรือนจำ 3 วัน ก่อนจะให้ประกันตัวในเวลาต่อมา
 
ต่อมาศาลทหารกลับสั่งว่า คดีนี้เป็นการหมิ่นประมาทพล.อ.ประยุทธ์ เป็นการส่วนตัว ไม่ใช่ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ตามมาตรา 116 ให้จำหน่ายคดีออกจากศาลทหารไปดำเนินคดีฐานหมิ่นประมาทที่ศาลพลเรือนแทน
 
 
 
พัฒน์นรี แม่ของสิรวิชญ์หรือ "จ่านิว" นักกิจกรรมจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ถูกออกหมายจับเมื่อ 6 พฤษภาคม 2559 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 และเธอเข้ามอบตัวตามหมายจับ ในบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุว่า การกระทำที่เธอถูกกล่าวหาคือการแชทคุยกับผู้ต้องหาอีกคนหนึ่งซึ่งแชทข้อความเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ แต่เธอไม่ห้ามปราม กลับตอบรับว่า "จ้า"
 
การไม่ห้ามปรามผู้กระทำผิดนั้น ไม่ใช่ความผิดตามกฎหมาย แต่การตั้งข้อหามาตรา 112 กับเธอก็เพื่อให้คดีนี้ขึ้นสู่ศาลทหาร ซึ่งช่วงนั้นเป็นช่วงเวลาที่ "จ่านิว" กำลังเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเด็นเรียกร้องให้ปล่อยตัวแอดมินเพจล้อพล.อ.ประยุทธ์ การนำตัวแม่ของนักกิจกรรมขึ้นศาลทหารในช่วงเวลาดังกล่าว จึงทำให้กิจกรรมของจ่านิวลดความร้อนแรงลงได้บ้าง
 
 
 
ธานัท หรือ "ทอม ดันดี" ถูกจับเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2557 ข้อกล่าวหาของเขา คือ การปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 มีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 ซึ่งการปราศรัยของเขาเกิดขึ้นก่อนการประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร ตามปกติแล้วคดีของเขาต้องขึ้นศาลพลเรือน
 
แต่ธานัทถูกฟ้องที่ศาลทหาร เพราะมีการพยายามตีความว่า มีผู้นำคลิปปราศรัยของเขาโพสต์ไว้บนยูทูปที่ยังสามารถเข้าไปรับชมจนถึงปัจจุบัน จึงเป็นการกระทำความผิดต่อเนื่องมาจนถึงหลังการประกาศให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร การนำคลิปโพสต์บนยูทูปแม้ธานัทจะไม่ได้ทำเอง แต่เมื่อธานัทเป็นผู้ปราศรัยถือว่าร่วมทำเป็นขบวนการเดียวกับการโพสต์ด้วย แม้ว่าการปราศรัยจะเกิดขึ้นและจบลงตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2556 แล้วก็ตาม ธานัทต้องรับผิดชอบการที่มีคลิปอยู่บนยูทูปด้วย และคดีของธานัทก็ต้องขึ้นศาลทหาร
 
นอกจากนี้ธานัท ยังถูกฟ้องเป็นอีกคดีหนึ่งต่อศาลอาญาจากการปราศรัยในเวลาไล่เลี่ยกันและมีคลิปอยู่บนยูทูป แต่คดีที่สองธานัทถูกฟ้องที่ศาลอาญา (ศาลพลเรือน) และศาลก็มีคำพิพากษาแล้วด้วย ซึ่งโดยหลักแล้วคดีลักษณะเดียวกันควรอยู่ในเขตอำนาจศาลเดียว ไม่ควรอยู่ในเขตอำนาจศาลสองแห่งพร้อมกัน
 
 
 
ชนิดบทความ: