1410 1337 1840 1832 1662 1323 1067 1369 1853 1775 1429 1251 1633 1747 1038 1482 1402 1085 1381 1908 1511 1562 1872 1328 1802 1088 1503 1269 1187 1641 1932 1676 1942 1576 1679 1366 1716 1770 1859 1313 1200 1891 1740 1840 1176 1154 1604 1442 1592 1869 1502 1461 1162 1806 1328 1681 1519 1233 1731 1187 1555 1016 1172 1705 1476 1034 1808 1196 1727 1990 1120 1585 1241 1900 1893 1881 1428 1606 1355 1364 1884 1810 1896 1661 1008 1678 1321 1769 1081 1535 1755 1421 1312 1784 1338 1499 1546 1914 1315 ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับศาลทหารในยุค คสช. | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ข้อมูลเบื้องต้น เกี่ยวกับศาลทหารในยุค คสช.

ก่อนการรัฐประหารปี 2557 จำเลยที่เป็นทหารเท่านั้นต้องขึ้นศาลทหาร แต่ประกาศคสช.ฉบับที่ 37/2557, 38/2557 และ 50/2557 กำหนดให้พลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีความต่อไปนี้
 
>> คดีความผิดต่อพระมหากษัตริย์ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 107-112
>> คดีความผิดต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร มาตรา 113-118
>> คดีความผิดตามประกาศ และคำสั่ง คสช. ทุกฉบับ
>> ความผิดฐานมีหรือใช้อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด ที่ใช้เฉพาะแต่การสงครามที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พุทธศักราช 2490
>> คดีความผิดที่เกี่ยวโยงกับความผิดที่ต้องขึ้นศาลทหาร
 
โดยหลักแล้ว วิธีการพิจารณาคดีในศาลทหารให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้โดยอนุโลม แต่ในรายละเอียดศาลทหารก็มีวิธีการพิจารณาคดี และเงื่อนไขการอำนวยความยุติธรรมต่างกับศาลพลเรือน เช่น
 
++ ศาลทหารภายใต้กฎอัยการศึกมีชั้นเดียว ไม่มีการอุทธรณ์ฎีกา
++ ตุลาการตัดสินคดีเป็นทหารทั้งหมด คดีหนึ่งมีอย่างน้อย 3 คน 2ใน3 คน เป็นนายทหารระดับสูงที่ไม่ต้องเรียนจบนิติศาสตร์
++ อัยการที่ทำหน้าที่ฟ้องคดีเป็นอัยการทหาร ไม่ต้องสอบผ่านเนติบัณฑิตก่อน
++ การพิจารณาและสืบพยานในศาลทหาร ถ้าจำเลยรับสารภาพหรือไม่ติดใจฟัง ไม่ทำต่อหน้าจำเลยก็ได้
++ การสืบพยานในศาลทหาร ไม่ใช้วิธีนัดต่อเนื่องกัน ทำให้การถามพยานขาดช่วง มีโอกาสให้พยานเตรียมตัวล่วงหน้าได้
++ ศาลทหารไม่มีกระบวนการสืบเสาะ เพื่อตรวจสอบประวัติและความประพฤติของจำเลย เพราะกระบวนการสืบเสาะเป็นภารกิจของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม แต่ศาลทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม
++ ศาลทหารเคยสั่งไม่อนุญาตให้ทนายความจำเลยคัดถ่ายสำเนาคำฟ้อง และเอกสารที่เกี่ยวข้องในคดี โดยศาลให้เหตุผลว่าศาลจะจัดส่งให้จำเลยเองอยู่แล้ว
++ วันที่อัยการส่งฟ้องต่อศาลทหาร ไม่ต้องพาตัวจำเลยมาศาลด้วย แต่เมื่ออัยการส่งฟ้องแล้วศาลจะกำหนดวันนัดสอบคำให้การหลังจากนั้นเพื่อพาจำเลยมารับทราบข้อกล่าวหา จากการสังเกตพบว่าแต่ละคดีศาลทหารใช้เวลาไม่เท่ากันในการกำหนดวันนัดสอบคำให้การ บางคดีใช้เวลาหลายเดือนกว่าที่ศาลจะนัดสอบคำให้การครั้งแรก ทำให้จำเลยที่ถูกคุมขังอยู่ไม่อาจทราบอนาคตของตัวเองได้
++ ทางปฏิบัติของศาลทหาร เมื่อศาลรับฝากขังจำเลย ศาลทหารจะถือว่าจำเลยอยู่ในอำนาจการควบคุมของกรมราชทัณฑ์และต้องถูกส่งตัวไปเรือนจำทันที ไม่ว่าจำเลยจะยื่นขอประกันตัวหรือไม่ก็ตาม และแม้จำเลยยื่นขอประกันตัวและได้ประกันตัวในวันเดียวกันกับที่ศาลอนุญาตให้ฝากขัง จำเลยก็ยังคงต้องเข้าไปผ่านการทำประวัติและตรวจร่างกายในเรือนจำ ก่อนถูกปล่อยเวลาประมาณ 20.00 น.
++ ปกติศาลทหารมีคดีที่ต้องพิจารณาไม่มาก ทั้งตุลาการและเจ้าหน้าที่ไม่เคยมีประสบการณ์แบกรับคดีที่มีปริมาณเยอะ และคดีที่มีความซับซ้อนทางพยานหลักฐานและการตีความกฎหมาย
 
 
 
341
 
 
สถิติคดีการเมืองที่พลเรือนต้องขึ้นศาลทหาร
นับตั้งแต่หลังการรัฐประหารถึงสิ้นเดือนกันยายน 2558 มีพลเรือนต้องขึ้นศาลทหารในคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองอย่างน้อย 145 คน แบ่งเป็น 
(1) คดีฝ่าฝืนประกาศคสช.ฉบับที่ 7/2557 ห้ามชุมนุมทางการเมือง 62 คน
(2) คดีฝ่าฝืนประกาศคสช.ฉบับที่ 41/2557 ไม่มารายงานตัวตามกำหนด 10 คน
(3) คดีมาตรา 112 ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ 39 คน
(4) คดีมาตรา 116 ฐานปลุกปั่นยั่วยุฯ 20 คน
(5) คดีเกี่ยวกับอาวุธปืนที่เกี่ยวข้องกับการเมือง 59 คน 
บางคนถูกดำเนินคดีหลายข้อหา บางคนมีมากกว่าหนึ่งคดี
[ดูข้อมูลคนถูกตั้งข้อหาทางการเมืองหลังการรัฐประหารได้คลิกที่ http://freedom.ilaw.or.th/politically-charged]
 
ตัวเลขชุดนี้เป็นการนับจากข้อมูลของ iLaw เท่านั้น เป็นที่ทราบกันว่า นอกจากคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแล้วยังมีพลเรือนที่ถูกตั้งข้อหาครอบครองอาวุธปืนและข้อหาอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับการเมืองอีกจำนวนหนึ่งที่ต้องขึ้นศาลทหารด้วย โดยองค์กร Human Rights Watch เคยอ้างถึงจำนวนรวมของพลเรือนที่ต้องขึ้นศาลทหารในยุคคสช. ว่ามีสูงถึงอย่างน้อย 700 คน
.
ข้อสังเกตเกี่ยวกับศาลทหารในปี 2557-2558
++ คดีฝ่าฝืนคำสั่งและประกาศคสช.ศาลทหารมีแนวโน้มกำหนดโทษเหมือนกันทุกคดี และให้จำเลยได้รอลงอาญา [ดูรายละเอียดที่ http://freedom.ilaw.or.th/politically-charged
++ ศาลทหารพิพากษาคดีมาตรา 112 มีแนวโน้มกำหนดโทษสูง ซึ่งหลายคดีกำหนดโทษจำคุก 10 ปี ต่อการกระทำ 1 กรรม ขณะที่คดีมาตรา 112 หลายคดีศาลพลเรือนกำหนดโทษจำคุก 5 ปี ต่อ 1 กรรม และศาลทหารมีแนวโน้มสั่งพิจารณาคดีลับ [ดูรายละเอียดต่อในบทความ]
++ มีคดีมาตรา 112 อย่างน้อย 4 คดี ที่การกระทำเกิดขึ้นก่อนการรัฐประหาร แต่เนื่องจากข้อความยังปรากฏอยู่บนอินเทอร์เน็ต จึงถูกตีความว่าเป็นความผิดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน และถูกให้ไปพิจารณาที่ศาลทหาร [ดูรายละเอียดที่ http://ilaw.or.th/node/3213]
++ การพิจารณาคดีส่วนใหญ่ ศาลทหารไม่อนุญาตให้ผู้เข้าสังเกตการณ์จดบันทึกในห้องพิจารณาคดี [ดูรายละเอียดที่ http://prachatai.com/journal/2014/10/56236]
++ จำเลยที่เป็นพลเรือนอย่างน้อย 4 คน เคยยื่นคำร้องคัดค้านอำนาจของศาลทหาร แต่ศาลทหารปฏิเสธที่จะส่งคำร้องเรื่องเขตอำนาจให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย [ดูรายละเอียดที่ http://freedom.ilaw.or.th/blog/MilitaryCourtJurisdiction]
++ วันที่ 26 มิถุนายน 2558 ศาลทหารกรุงเทพเคยเปิดทำการถึงเวลาประมาณเที่ยงคืน เพื่อรอออกคำสั่งให้ฝากขัง 14 ผู้ต้องหากลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนและสื่อมวลชน
 
 
 
 
ชนิดบทความ: