1038 1339 1736 1354 1991 1087 1721 1283 1858 1295 1093 1915 1679 1801 1538 1057 1770 1383 1085 1244 1314 1298 1649 1386 1520 1202 1575 1130 1335 1074 1106 1449 1528 1382 1569 1690 1959 1918 1569 1113 1986 1703 1432 1816 1764 1640 1021 1747 1921 1162 1756 1373 1840 1320 1595 1499 1750 1141 1033 1949 1847 1668 1677 1417 1543 1087 1432 1011 1752 1682 1767 1927 1381 1698 1025 1212 1234 1741 1294 1508 1738 1136 1056 1443 1480 1153 1305 1763 1149 1102 1106 1047 1194 1251 1946 1326 1354 1854 1610 อารยะขัดขืนและข้อเรียกร้องจาก'ไผ่' หลัง 2 ปีเลยผ่าน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

อารยะขัดขืนและข้อเรียกร้องจาก'ไผ่' หลัง 2 ปีเลยผ่าน

530

 

 

ก่อนลงประชามติเพียงหนึ่งวัน ‘จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา’ หรือ ‘ไผ่ ดาวดิน’ ก่อนผันตัวเป็นไผ่เอ็นดีเอ็มอีสาน นักศึกษาหนุ่มวัย 25 ปี จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวศิน ในวัย 20 ปี นักศึกษาจากสาขาวิชาวิศวกรรมธรณี ชั้นปี 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ถูกจับกุมและดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ จากการแจกเอกสารวิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ  เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559

 

หลังศาลจังหวัดภูเขียวอนุญาตให้ประกันตัว วศินประกันตัวด้วยหลักทรัพย์ 150,000 บาท ตามคำแนะนำของไผ่เพราะเห็นว่ายังต้องกลับไปเรียน ส่วน ‘การสู้ยกใหม่ของไผ่ ดาวดิน’ ก็เริ่มต้นอีกครั้ง ด้วยการยืนยันไม่ขอประกันตัวเพราะเห็นว่าข้อกล่าวหาที่ถูกจับกุมนั้นเป็นความอยุติธรรม สิ่งที่เขาทำนั้นควรเป็นสิทธิที่จะรณรงค์ได้ตามกฎหมาย และประชาชนย่อมมีสิทธิที่จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญก่อนการลงประชามติ  สิ่งที่เขาทำเป็นเพียงการแจกเอกสาร ซึ่งไม่ใช่เอกสารปลอมหรือบิดเบือน ไม่ได้ใช้เครื่องขยายเสียง การจับกุมคุมขังจึงเป็นความอยุติธรรม ซึ่งศาลก็ให้ฝากขังเป็นเวลา 12 วัน โดยให้เหตุผลเรื่องความสะดวกในการสอบสวนเพิ่มเติม

 

ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2559  ไผ่อดอาหารประท้วง จากคำบอกเล่าของวิบูลย์ บุญภัทรรักษา พ่อของไผ่ระบุว่า “ที่ทำไม่ได้มาเรียกร้องอะไร ทำเพื่อให้สังคม รวมถึงผู้ใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องฉุกคิดดูบ้างว่าเรื่องอย่างนี้มันใช่หรือไม่ และถ้าสังคมปล่อยให้เป็นไปอยู่อย่างนี้แล้วบ้านเมืองจะอยู่กันอย่างไร” ระหว่างการอดอาหารประท้วง ร่างกายของเขาเริ่มอ่อนแอลง กระทั่งวันที่ 15 สิงหาคม 2559 เขามีอาการวูบ ทำให้มีเสียงเรียกร้องอย่างมากมายด้วยความห่วงใยให้เขาประกันตัวออกมาสู้คดีแทน อย่างไรก็ตามเขาเลือกที่จะเดินหน้าสู้ตามความเชื่อของเขา ซึ่งถ้าหัวใจเราไม่แคบจนเกินไป ย่อมเห็นได้ว่าแม้ร่างกายจะอ่อนแรงลงได้จากการขาดอาหาร แต่หัวใจที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมของไผ่กลับถูกหล่อเลี้ยงด้วยความหวังและกำลังใจอย่างมากมายซึ่งเป็นของหายากอย่างน่าใจหายในบางสังคม

531

 

แม้เสรีภาพถูกจำกัด แต่นักกิจกรรมและคนที่ห่วงใยมากมายต่างร่วมกันรณรงค์ทั้งผ่านกิจกรรมออนไลน์ ‘จดหมายลูกโซ่ ถึงคุณไผ่ จตุภัทร์’ ด้วยการแท็กเพื่อนเพื่อชวนให้เขียนเรื่องราวและความรู้สึกเมื่อครั้งพบเจอเขา ซึ่งได้รับการสนับสนุนไม่แพ้กิจกรรมเขียนโปสการ์ดถึงนักกิจกรรมคนเดียวกันนี้  และไอลอว์ก็มีเรื่องราวมาร่วมแบ่งปันเช่นกัน

 

ไอลอว์มีโอกาสพบและสัมภาษณ์ จตุภัทร์  หรือ ไผ่ ดาวดิน  ครั้งแรกเมื่อมิถุนายน 2558  ขณะนั้นเขาทำกิจกรรมชุมนุมครบรอบหนึ่งปีการรัฐประหาร  

 

บ้านอยู่ที่อำเภอ ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ไผ่เติบโตในครอบครัวที่มีแม่เป็นทนายความ ส่วนพ่อก็เป็นทนายความสายสิทธิมนุษยชน ร่วมกับทีมทองใบ ทองเปาว์ ความตื่นตัวทางการเมืองส่วนหนึ่งได้มาจากพ่อ เพราะตั้งแต่เด็กๆ ก็ตามพ่อไปตลอด ไปว่าความให้ชาวบ้าน ไปอบรมสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้สมัยเรียนชั้นมัธยมศึกษาไผ่เคยเป็นนักดนตรีพื้นเมืองสามารถเล่นดนตรีได้หลายชนิดเช่น พิณ โหวต แคน  เคยเข้าร่วมแข่งขันดนตรีได้รางวัลอันดับหนึ่งในระดับภาคอีสานทั้งรุ่นประชาชนและเยาวชนมาเเล้ว 

 

ด้วยบุคลิกเป็นนักกิจกรรมพูดจาฉะฉาน  เมื่อเริ่มบทสนทนา เขาเล่าถึงชีวิตตอนเด็กๆ ที่ได้เห็นพ่อของเขาในบทบาททนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนว่า “ผมเกลียดพ่อด้วยซ้ำ เพราะก่อนหน้านั้นเรามีฐานะ มีรถ มีบ้านหลังใหญ่ แต่พอพ่อทำแบบนี้ รับคดีชาวบ้านคนจนมา รับเขามาหมด เลยต้องขายทุกอย่าง แต่ก็ได้ความรู้สึกว่า เติบโตกับชาวบ้าน” กระทั่งก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เขาเคยดูหนังเรื่องหนึ่ง เป็นหนังเกี่ยวกับนักศึกษาแนวแบ็คแพ็ค ที่ออกไปทำกิจกรรมทางสังคม แต่พอเข้ามาในมหาวิทยาลัยจริงๆ มาเจอการรับน้องแบบเต้น “ไก่ย่างถูกเผา” เลยรู้สึกว่าผิดหวัง มันไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ

532

ไผ่เล่าว่า เขามาเข้าใจพ่อจริงๆ ตอนอยู่ปี 1 เมื่อได้มาทำงานกับชาวบ้าน มาอยู่กลุ่มดาวดิน รู้จักดาวดินเพราะพี่เขาชวนไปที่บ้าน พี่รู้จักพ่อ เพราะพ่อเป็นทนายเกี่ยวกับคดีที่ดิน เหมือนรุ่นพี่เคยได้ยินมาว่า ลูกของทนายอู๊ดนะ เรียนอยู่นิติศาสตร์ มข.  พี่เขาเลยชวนไปสังสรรค์ที่บ้าน

 

“ก่อนหน้านี้รับรู้ทุกอย่าง แต่ไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้  ความรับรู้ตอนเป็นเด็กคือ ช่วยชาวบ้านเเล้วจนไง   ช่วยชาวบ้านเเล้วไม่มีกินไง แต่ตอนนี้ลงรอยกับพ่อเเล้ว ภูมิใจมากเลย คุยกันถูกคอ"

 

ย้อนไปเมื่อช่วงกันยายน 2556  ถ้ายังจำกันได้ ภาพนักศึกษานั่งคุกเข่าตากฝนกันไม่ให้ตำรวจเข้าไปทำร้ายผู้ชุมนุมที่ประท้วงคัดค้านเหมืองแร่ทองคำในจังหวัดเลย  ถูกส่งต่อไปในเว็บบอร์ด และเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ มีคนจำนวนมากเข้ามาคอมเมนท์แสดงความชื่นชมนักศึกษาในภาพ ซึ่งเป็นนักศึกษากลุ่มดาวดาวดิน และหนึ่งในนั้นคือไผ่  

 

กระทั่งหลังรัฐประหาร พฤษภาคม 2557 ปัญหาเรื่องผลกระทบของการขุดเจาะทรัพยากรธรรมชาติที่มีต่อชาวบ้านทวีความตึงเครียดขึ้น บางพื้นที่มีทหารเข้ามาแสดงตัวแสดงบทบาทเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการต่างๆ รวมทั้งจำกัดไม่ให้ชาวบ้านใช้เสรีภาพในการแสดงออกหรือการรวมตัวเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและสิทธิชุมชนในการจัดการพื้นที่

 

533

 

พฤศจิกายนปีเดียวกัน ไผ่และเพื่อนถูกพูดถึงอีกครั้ง หลังแสดงสัญลักษณ์ชู 3 นิ้ว คัดค้านการรัฐประหาร ต่อหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขณะลงพื้นที่ จ.ขอนแก่น หลังการเคลื่อนไหวครั้งนี้เริ่มกระแสวิจารณ์ว่า ดาวดินอาจเป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองขั้วตรงข้ามกับรัฐบาลทหาร แต่เขาและเพื่อนทั้งกลุ่มดาวดินและกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ต่างร่วมกันทำกิจกรรมทางการเมืองเรื่อยมา กระทั่งถูกดำเนินคดีจากการทำกิจกรรมหน้า สน.ปทุมวันเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 จากนั้นวันรุ่งขึ้น  พวกเขาเดินสายและปราศรัยกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจึงถูกแจ้ง 2 ข้อหาคือ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ตามมาตรา 44 ห้ามชุมนุมเกินห้าคน และ มาตรา 116 

 

“ทำก่อน คิดทีหลัง” คือ สไตล์การทำงาน แม้หลายคนอาจไม่เห็นด้วยกับวิธีการนี้ เพราะไม่ยอมคิดก่อนทำจึงทำให้ไม่เห็นผลที่จะตามมาว่ารุนแรงเพียงใด แต่ไผ่บอกว่า "ถ้าคิดก็ไม่ได้ทำ เพราะบางครั้งคิดมากเกินไปจนกลัว ข้อดีของการ 'ทำก่อน คิดทีหลัง' คืออย่างน้อยก็ได้ทำอะไรที่อยากทำ เราให้คุณค่ากับสิ่งที่เราจะทำอะไรก่อนเสมอ"

 

ส่วนเรื่องอารยะขัดขืน เขามองว่า "เราไม่รู้หรอกว่าการที่เราเข้าคุกจะนำไปสู่การเรียกร้องอะไรที่สำเร็จบ้าง เราไม่รู้ เราก็เลยต้องลองดู ตอนนี้เรามีแค่ความเชื่อ ผมเบื่อแล้วกับคำว่ารอให้สถานการณ์สุกงอมก่อน ผมคิดว่าเราต้องทำให้สถานการณ์มันสุกงอมด้วยตัวเอง เราไม่รู้หรอกว่าสิ่งที่เราทำจะทำให้สังคมเรียนรู้ว่าการรัฐประหารนั้นไม่ดีได้หรือไม่ หรือทำให้คนอื่นๆ ในสังคมลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงอะไร เราไม่สามารถคาดหวังตรงนั้นได้ แต่เรารู้สึกว่าเราอยากทำในฐานะที่เราเป็นมนุษย์นี่แหละ ที่เรายอมไม่ได้กับสิ่งเหล่านี้” และไผ่เอง ก็ไม่ลังเลที่จะอธิบายตัวเองว่า “ถ้าสุดท้ายการติดคุกไม่ทำให้อะไรเปลี่ยนแปลงก็ไม่เสียใจ เพราะเราแค่ทำในสิ่งที่ใจเราต้องการ เราเรียนกฎหมายมาเราก็รู้อยู่แล้วว่ากฎหมายนี้มัน ‘ส้นตีน’ ที่สุดแล้วเท่าที่ชีวิตผมเกิดมาเคยเจอ คำว่า ‘ไม่ยุติธรรม’ มันก็เป็นคำใหญ่ไป ใช้คำว่าส้นตีนเนี่ยแหละ”

 

นอกจากนี้เขามีคดีใหม่เป็นหมายเรียกจากกรณีจัดเวทีเสวนาเกี่ยวกับประชามติเมื่อวันที่ 31 กรกรฎาคม 2559 ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเวทีดังกล่าวนับเป็นเวทีสาธารณะเวทีแรกในภาคอีสานที่พูดถึงร่างรัฐธรรมนูญก่อนจะมีการลงประชามติ หมายดังกล่าวระบุข้อหา “ร่วมกันขัดคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ” และให้เขา(ผู้ต้องหาที่ 1) ไปรับทราบข้อกล่าวที่ สภ.เมืองขอนแก่น ในวันที่ 18 สิงหาคม 2559  อย่างไรก็ตาม ทนายความได้ติดต่อไปยังพนักงานสอบสวนเพื่อขอเลื่อนนัดการรายงานตัวแล้ว เนื่องจากไผ่ยังอยู่ในเรือนจำภูเขียว ซึ่งวันนี้ (18 สิงหาคม 2559) ศาลจังหวัดภูเขียว นัดกำหนดฝากขังผัดที่สอง

ชนิดบทความ: