1262 1526 1904 1650 1436 1469 1198 1187 1064 1150 1251 1852 1601 1714 1750 1249 1937 1771 1481 1442 1012 1401 1829 1177 1996 1286 1778 1866 1568 1432 1608 1328 1456 1384 1519 1854 1737 1743 1843 1459 1248 1084 1884 1405 1530 1769 1518 1682 1196 1911 1892 1247 1017 1193 1911 1698 1397 1184 1733 1732 1426 1400 1598 1918 1148 1511 1591 1668 1748 1468 1513 1818 1949 1190 1591 1943 1423 1961 1426 1817 1706 1614 1085 1906 1143 1492 1540 1567 1311 1168 1680 1918 1454 1124 1757 1454 1268 1759 1350 #Attitude adjusted? เพียรรัตน์: ผู้มีอิทธิพลระดับสั่งการแห่งสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้? | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

#Attitude adjusted? เพียรรัตน์: ผู้มีอิทธิพลระดับสั่งการแห่งสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้?

 
"ไม่กลัวหรอกเพราะเลือกเดินทางนี้ก็รู้อยู่แล้วว่าถ้าไม่ติดคุกก็อาจตาย" คือ คำตอบของเพียรรัตน์ บุญฤทธิ์ หรือ "อ้อ" สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ต่อคำถามถึงความรู้สึกเมื่อครั้งถูกเรียกไปปรับทัศนคติในค่ายทหาร 
 
เพียรรัตน์คือหนึ่งใน "บุคคลเป้าหมาย" ที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. เห็นว่า จำเป็นต้องเชิญไปพุดคุยเพื่อ "ปรับทัศนคติ "ให้ถูกต้อง เพื่อให้ คสช. สามารถดำเนินนโยบายเกี่ยวกับที่ดินในพื้นที่จังหวัดสุราษฎรธานีได้โดยไม่ติดขัด จากจำนวนสมาชิก สกต. ประมาณ 500 - 600 คน เพียรรัตน์บอกว่า จนถึงบัดนี้เขาเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวที่ได้รับเกียรติชวนไปพูดคุยในค่ายทหาร โดย คสช. จัดประเภทเขาเป็น "ผู้มีอิทธิพลระดับสั่งการ" ทั้งๆ ที่ตัวเขาไม่ได้มีตำแหน่งหรือมีอำนาจจะไปสั่งอะไรใครได้
 
 
799
 

 

สกต. ยึดแนวทางประชาธิปไตย ฝ่ายความมั่นคงจับตา

 
เพียรรัตน์เล่าว่า สกต. ถูกจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคมปี 2551 หรือประมาณห้าปีเศษก่อน คสช. เข้ายึดอำนาจ แนวทางการต่อสู้ของ สกต. คือ การเข้ายึดที่ดินของบริษัทเอกชนที่หมดสัมปทาน แต่ยังคงใช้ที่ดินต่อแบบผิดกฎหมาย เพื่อเอามาจัดสรรให้กับเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน เพียรรัตน์ระบุว่า ปัจจุบันพื้นที่การทำงานของ สกต. มีอยู่ในสองจังหวัด คือ สุราษฎร์ธานีซึ่งมีชาวบ้าน 300 ครัวเรือนจากห้าชุมชน และนครศรีธรรมราชซึ่งมีประมาณ 100 ครัวเรือนจาก 1 ชุมชน จำนวนสมาชิกถือว่า ลดลงจากช่วงแรกเริ่มเพราะ สกต. มีแนวทางที่ชัดเจน ในระยะหลังผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็แยกย้ายออกไป   
 
เพียรรัตน์เล่าต่อว่า แนวทางการต่อสู้ด้วยการยึดที่ดินทำกิน ทำให้ สกต. ถูกจ้องมองด้วยสายตาที่ไม่เป็นมิตร ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐ และจากนายทุน หรือบริษัทที่ถูกพวกเขายึดที่ดิน รวมทั้งจากผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ที่หวังจะเข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ในที่ดิน อย่างไรก็ตามแนวทางการต่อสู้หรือข้อเรียกร้องของ สกต. ก็ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องที่ดินหรือปากท้องเท่านั้น เพราะ สกต. นอกจากเรื่องการต่อสู้เพื่อที่ดินทำกิน สกต. ก็ยังยึดถือหลักการอีกสามประการ ได้แก่ สิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย และความเป็นธรรมด้วย การบริหารจัดการภายในจึงมีการกำหนดกติกาและวินัยร่วมกันอย่างเป็นกิจลักษณะ ทำให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองมองชุมชนที่เป็นสมาชิกของ สกต. ว่ามีลักษณะเป็นการ "จัดตั้ง" และต้องติดตามอย่างใกล้ชิด    
 

ต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ ให้ชาวบ้านออกจากที่ทำกิน

 
ในวันที่ 30 มกราคม 2558 หรือประมาณ 8 เดือนหลังการยึดอำนาจ เพียรรัตน์ได้รับจดหมายจากจังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ระบุให้เขาเข้ารายงานตัวเพื่อ "ปรับทัศนคติ" ที่จังหวัดทหารบกสุราษฎร์ธานี ค่ายวิภาวดีรังสิตเป็นเวลา 3 วัน 
 
หนังสือเรียกรายงานตัวที่ส่งมาไม่ได้ระบุเหตุผลเป็นการเฉพาะเจาะจงว่า เขาถูกเรียกด้วยเหตุใด บอกเพียงว่า เพื่อสนองนโยบายคืนความสุขให้คนไทย ได้มีนโนบายให้หน่วยทหารรับเรื่องราวร้องทุกข์และขจัดความขัดแย้งกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ท้ายหนังสือเรียกรายงานตัวยังระบุด้วยว่า "จึงเรียนมาเพื่อกรุณาพิจารณา" แต่ดูเหมือนว่าสิ่งเดียวที่เพียรรัตน์จะพิจารณาได้ คือ เลือกระหว่างการไปรายงานตัวแต่โดยดีหรือการถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนคำสั่งรายงานตัว 
 
เมื่อถามว่า เจ้าหน้าที่ที่นำเอกสารมาส่งระบุหรือไม่ว่า การเชิญตัวครั้งนี้ใช้อำนาจตามกฎหมายใด เพียรรัตน์ตอบทีเล่นทีจริงว่า "เขาบอกว่า ใช้อำนาจของทหาร มาดูแลความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ เห็นว่าพวกเราไม่ค่อยเรียบร้อยเลยให้ไปปรับทัศนคติ"
 
ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เพียรรัตน์ให้เพื่อนร่วมงานใน สกต. คนหนึ่งไปส่งที่ค่ายทหาร โดยเข้าใจว่า คงเป็นการคุยแบบเช้าไปเย็นกลับ แต่ความสงสัยในใจของเพียรรัตน์ถึงสาเหตุที่เขาถูกเรียกเข้าค่ายในฐานะ "ผู้มีอิทธิพลระดับสั่งการ" มาคลี่คลายหลังบทสนทนาระหว่างเขากับนายทหารผู้รับผิดชอบการปรับทัศนะคติของเขา นายทหารซึ่งเพียรรัตน์เข้าใจว่า น่าจะเป็นผู้บัญชาการค่าย บอกกับเพียรรัตน์ว่า ให้ไปบอกกับสมาชิก สกต. ที่อยู่ในชุมชนเพิ่มทรัพย์ อำเภอชัยบุรี จ.สุราษฎร์ธานี ให้ออกจากที่ทำกิน เนื่องจากชาวบ้านอยู่โดยผิดกฎหมาย เพียรรัตน์พยายามแย้งว่า ทางบริษัทเจ้าของที่ดินก็หมดสัมปทานไปแล้วแต่ยังใช้ประโยชน์จากที่ดินมาตั้งแต่ปี 2543 จนถึงปี 2555 แต่นายทหารคู่สนทนาก็ตอบว่าบริษัทก็มีความชอบธรรมที่จะใช้ประโยชน์จากที่ดินมากกว่าชาวบ้าน เพราะได้เคยลงทุนไว้แล้ว
 
 
800

ชุมชนเพิ่มทรัพย์ หนึ่งในหกชุมชนของสหพันธ์เกษตรภาคใต้ที่เจ้าหน้าที่ "ขอ" ให้เพียรรัตน์ไปบอกให้ชาวบ้านย้ายออก

 
เพียรรัตน์ตั้งข้อสังเกตว่า เจ้าหน้าที่คงเข้าใจว่า เขาจะสามารถสั่งสมาชิกให้ทำอะไรๆได้ 
 
"จุดที่เขาจะปรับทัศนคติของผม คือ ผมจะต้องเปลี่ยนทัศนคติใหม่ จากให้สมาชิกอยู่ในที่ทำกินเป็นให้ผมไปคุยกับสมาชิกให้ออก" 
 
"เราจะไปทำลายวิถีชีวิตของคนที่มาสร้างที่นี่ เราทำไม่ได้ และเราก็ไม่มีอำนาจด้วยที่จะไปบอกให้ใครออกไปเพราะตอนเข้ามาเขาก็มากันเอง" 
 
เพียรรัตน์ย้ำว่า การทำงานของ สกต. ไม่ใช่ระบบราชการหรือนายกฯ ที่จะมีความคิดแบบเผด็จการ แต่ สกต. ยึดหลักการประชาธิปไตยจะไปใช้วิธีเผด็จการไล่ใครออกไปคงทำไม่ได้ หลังจากนั้นเพียรรัตน์ก็กล่าวถึงบทสรุปของการชี้แจงอันยืดยาวของเขาว่า "เลยได้อยู่สามวัน"

 

"ปฏิบัติการจิตวิทยา" ในค่ายที่ได้เตรียมใจไว้แล้ว

 
เพียรรัตน์เล่าว่า เมื่อเข้าไปในค่ายทหาร โทรศัพท์ของเขาก็ถูกยึดไป โดยผู้บัญชาการค่ายจะเรียกพวกเขาเข้าไปคุยทีละคนในห้องที่มีลักษณะเป็นห้องทำงาน ซึ่งในห้องมีเจ้าหน้าที่ทหารคนอื่นอยู่ด้วยประมาณสามถึงสี่คน เพียรรัตน์ระบุว่าการพูดคุยผู้บังคับการค่ายและการมีปฏิสัมพันธ์กับทหารคนอื่นๆ ระหว่างอยู่ในค่ายเป็นไปด้วยดี แต่ภายใต้คำพูดที่สุภาพและดูเป็นมิตรเพียร์รัตน์ก็รู้สึกว่า มันแฝงนัยยะของปฏิบัติการเชิงจิตวิทยาไว้ด้วย เช่น เจ้าหน้าที่มีการนำอาหารมาให้รับประทานอย่างดีแต่ก็มีการพูดทำนองว่า "พี่ต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่นะ ไม่อย่างงั้นพี่อาจต้องอยู่นาน" 
 
เพียรรัตน์เล่าด้วยว่า ระหว่างที่อยู่ในค่ายเขาก็มีโอกาสไปเห็นบริเวณคุกที่ใช้ควบคุมทหารที่ทำความผิด และได้เห็นการลงโทษทหารที่ทำความผิดด้วย ซึ่งเพียรรัตน์เชื่อว่า การที่เขาได้ไปเห็นสิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการจิตวิทยา  
 
เพียรรัตน์เล่าต่อว่า ในช่วงที่ถูกคุมตัวเจ้าหน้าที่พาเขาไปพักในบ้านพักที่น่าจะเป็นของนายทหารชั้นสัญญาบัตร ซึ่งติดแอร์และดูเหมือนจะสบายกว่าบ้านของเขาเองด้วยซ้ำ โดยเขานอนห้องเดียวกับกำนันและสารวัตรกำนันที่ถูกเรียกปรับทัศนคติในคราวเดียวกัน แม้ความเป็นอยู่จะดูเหมือนสบายและมีอาหารกินครบทุกมื้อ แต่ตลอดเวลาที่อยู่ที่นั่นทหารก็กำชับกับเพียรรัตน์และผู้ร่วมชะตากรรมอีกสองคนว่า ห้ามออกจากบ้าน ตัวของเพียรรัตน์ไม่เห็นว่ามีเจ้าหน้าที่ทหารเฝ้าอยู่หน้าบ้านพักของเขาหรือไม่ แต่ก็คิดว่าน่าจะมีการจัดเจ้าหน้าที่มาเฝ้าติดตามพวกเขาอยู่ ระหว่างที่ถูกควบคุมตัวในค่าย 
 
นอกจากการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ทหารแบบไม่เป็นทางการสั้นๆ ในช่วงเย็นแล้ว สิ่งที่เพียรรัตน์ทำได้ก็มีเพียงการกินหมากและพูดคุยกับเพื่อนร่วมชายคาอีกสองคนเท่านั้น เพียรรัตน์เล่าแบบติดตลกว่า "กำนันแกกินหมากเหมือนจะเป็นลมเลย ไม่รู้จะทำอะไรลิดหมากแล้วก็กิน ลิดหมากแล้วก็กิน" เพียรรัตน์ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การถูกควบคุมตัวโดยไม่มีอะไรทำเช่นนี้ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการจิตวิทยาด้วย 
 
เมื่อถามว่า ตลอดเวลาที่อยู่ในค่ายเพียรรัตน์มีความรู้สึกอย่างไร รู้สึกกลัวหรือไม่มั่นคงบ้างหรือไม่ เพียรรัตน์ตอบว่า เรื่องแบบนี้ชาว สกต. เตรียมใจไว้แล้ว เพราะแนวทางการต่อสู้ของพวกเราต้องไปเจอด่านพวกนี้ คือ มีความเสี่ยงว่าอาจถึงตายหรือติดคุก เลยไม่หนักใจอะไรมาก
 
 

อิสรภาพที่แลกด้วยเงื่อนไข

 
หลังไปนอนอยู่ในกระบวนการ "ปรับทัศนคติ" ได้สามวันเพียรรัตน์ก็ได้รับการปล่อยตัว ก่อนการปล่อยตัวเขาต้องลงชื่อในเอกสารที่ทหารนำมาให้ เบื้องต้นทางทหารขอให้เพียรรัตน์ยุติการเคลื่อนไหวหลังได้รับการปล่อยตัว แต่เพียรรัตน์ก็ตอบว่าเขาไม่สามารถทำได้เนื่องจากมันเป็นเรื่องปากท้องของเขาและของครอบครัว สุดท้ายเพียรรัตน์จึงลงชื่อรับเงื่อนไขว่าเขาจะเคลื่อนไหวอยู่ใน "ขอบเขต" ซึ่งก็ไม่ได้ระบุไว้ว่าขอบเขตที่ว่าคืออะไร และเพียรรัตน์เองก็ไม่รู้ว่าขอบเขตในความเข้าใจของเขากับความเข้าใจของทหารจะตรงกันหรือไม่ แต่เขาก็เชื่อว่าการเคลื่อนไหวของ สกต. ก็เป็นการเคลื่อนไหวเรื่องปากท้อง ไม่น่าจะผิดกฎหมายใด 
 
หลังได้รับการปล่อยตัวเพียรรัตน์กลายเป็น "บุคคลเป้าหมาย" เหมือนกับผู้ที่ถูกเรียกรายงานตัวปรับทัศนคติอีกหลายๆ คน ที่มีเจ้าหน้าที่มาคอยติดตามความเคลื่อนไหว บางครั้งก็มีเจ้าหน้าที่มานั่งฟังการประชุมสหกรณ์ซึ่งใช้บ้านของเพียรรัตน์เป็นที่ทำการ เพียรรัตน์ไม่ได้กังวลอะไรกับเรื่องนี้มากนักเพราะตัวสหกรณ์นั้นทำโดยถูกกฎหมายอยู่แล้ว 
 
ล่าสุดในช่วงเดือนมีนาคม 2560 ทางขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือ P-Move ซึ่ง สกต. เป็นสมาชิกอยู่ด้วยเตรียมเข้ากรุงเทพเพื่อทวงถามถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาหลายๆ ประการที่ทางรัฐบาลได้เคยให้สัญญาไว้ก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจแวะเวียนมาดื่มกาแฟกับเพียรรัตน์ที่บ้านทุกเช้า เมื่อถามว่า คนในครอบครัวรู้สึกอย่างไรที่เห็นมีเจ้าหน้าที่มาคอยติดตามที่บ้าน เพียรรัตน์ตอบว่า คนในครอบครัวของเขาพอจะเข้าใจเรื่องนี้เพราะเขาและครอบครัวก็ต้องต่อสู้ดิ้นรนมาโดยตลอด
 
ชนิดบทความ: