1949 1819 1225 1727 1265 1694 1507 1739 1120 1029 1362 1409 1490 1935 1911 1909 1414 1098 1706 1441 1642 1438 1713 1756 1415 1063 1425 1741 1336 1190 1024 1106 1826 1078 1028 1503 1654 1821 1118 1200 1361 1311 1735 1701 1728 1317 1990 1190 1629 1346 1788 1328 1790 1808 1725 1443 1271 1873 1806 1077 1464 1284 1819 1267 1743 1104 1462 1972 1582 1161 1788 1392 1357 1065 1838 1696 1537 1755 1456 1804 1635 1729 1341 1349 1480 1229 1114 1326 1887 1634 1533 1026 1311 1426 1803 1966 1137 1534 1394 รายงานวิจัย SLAPP คดีการฟ้องปิดปากเพื่อจำกัดเสรีภาพการพูด | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

รายงานวิจัย SLAPP คดีการฟ้องปิดปากเพื่อจำกัดเสรีภาพการพูด

รายงานการวิจัยฉบับใหม่ได้เปิดเผยจำนวนคดีการฟ้องปิดปากที่เพิ่มสูงขึ้นในไทย เป็นแนวโน้มที่น่ากังวลเพราะนี่ไม่ใช่แค่ความพยายามปิดปากเฉพาะประชาชนที่ถูกฟ้องร้องเท่านั้น แต่ยังเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการพูดที่ขยายวงไปทั่วโลก

 
SLAPPs ย่อมาจาก strategic lawsuits against public participation หรือ การดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อปิดกั้นการมีส่วนร่วมสาธารณะ หรือ การฟ้องปิดปาก เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายในหลายๆ ประเทศ เพราะเป็นคดีที่เพิ่มอำนาจอย่างไม่เป็นธรรมให้คนรวยใช้คุกคามคนประชาชนที่ต้องการจะแสดงความคิดเห็นในเรื่องที่เป็นประโยชน์สาธารณะ
 
การฟ้องปิดปากมักจะเป็นคดีที่ไม่มีมูลเหตุ ถูกออกแบบมาให้มีความซับซ้อน กินระยะเวลายาวนาน และเสียค่าใข้จ่ายราคาแพงสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น หากจำเลยไม่มีฐานะทางการเงินเพียงพอที่จะสู้คดีของตน พวกเขาก็ไม่มีทางเลือก และจำต้องยอมรับข้อเรียกร้องของโจทก์ ซึ่งมักจะมาในรูปของ การชดใช้ค่าเสียหาย การขอโทษ หรือ การลบข้อความที่ถือว่าละเมิด
 
 
1255
 
 
การฟ้องคดีปิดปากในประเทศไทย มักจะเป็นคดีหมิ่นประมาท และเป็นที่น่าตกใจว่า คดีหมิ่นประมาทเป็นข้อกล่าวหาทางอาญา มีโทษจำคุกสูงสุดถึง 2 ปี และ ปรับ 200,000 บาท หากถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง
 
 
รายงานวิจัยจัดทำโดย สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน พบว่า ตั้งแต่ปี 2540 มีคดีปิดปากอย่างน้อย 212 คดีที่นำเข้าสู่กระบวนการศาล และบางคดีก็เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเล็กๆน้อยๆ เช่น การโพสท์ข้อความบนโซเชียลมีเดีย นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า หนึ่งในสี่ของคดีปิดปากเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการแสดงความคิดเห็นออนไลน์ ประชาชนถูกฟ้องร้องจากความพยายามที่จะร้องเรียนเรื่องสภาพการทำงานที่ผิดกฎหมาย เรื่องการใช้ความรุนแรงของตำรวจ หรือ เรื่องผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลที่พวกเขาร้องเรียนนั่นเองเป็นโจทก์
 
สถานการณ์นั้นย่ำแย่ลงเรื่องๆ หลังจากการรัฐประหารในปี 2557 เนื่องจากกองทัพสร้างและใช้กฎหมายเพื่อปกป้องกลุ่มผู้มีอำนาจและกดขี่กลุ่มผู้ที่อ่อนแอ รวมถึงให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของบรรษัทและรัฐบาลมากกว่าประโยชน์สาธารณะ
 
1257
 
รายงานวิจัยยังพบว่าร้อยละ 95 ของคดีฟ้องปิดปากในประเทศไทย เป็นคดีอาญา และผู้ที่เป็นจำเลยส่วนใหญ่ คือ ประชาชนทั่วไป นักเคลื่อนไหวทางการเมืองและอาสาสมัคร (39%) ผู้แทนชุมชนและแรงงาน (23%) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (16%) และ นักข่าว (9%) และกิจกรรมหลักที่เป็นสาเหตุสำคัญของการฟ้องร้องคือการแสดงความเห็นออนไลน์ (25%) 
 
ประสบการณ์ความชอกช้ำทางจิตใจที่เกิดจากการถูกฟ้องร้อง และต้องขึ้นศาลสร้างความหวาดกลัวและยับยั้งบรรยากาศการแสดงความคิดเห็น กลายเป็นสังคมที่มีผู้คนเพียงจำนวนน้อยที่พร้อมจะยืนหยัดเพื่อผู้คนที่เปราะบางและไม่มีปากมีเสียง
 
1256
 
นี่คือปัญหาที่น่าเป็นห่วงในไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีช่องว่างด้านความมั่งคั่งมากที่สุดในโลก คนรวยที่สุด 1% ของประชากรครอบครองความมั่งคั่งกว่า 66.9% ของประเทศ ในขณะที่คนจนที่สุดจำนวน 50% ของประชากรมีความมั่งคั่งเพียงแค่ 1.7%
 
แต่การฟ้องคดีปิดปากกำลังเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยมีประเทศไทยเป็นตัวอย่างให้กลุ่มคนรวยและผู้มีอำนาจทั่วโลกที่ต้องการจะปิดปากเสียงวิพากษ์วิจารณ์
 
ในอังกฤษ นักข่าวสืบสวนสอบสวนคารอล แคดวาลหลาด ถูกฟ้องคดีหมิ่นประมาทในเดือนกรฏภาคมจากมหาเศรษฐี นายอารอน แบงค์ ที่ให้การสนับสนุนการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป จากบทบาทของเธอในการรายงานข่าวความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทแคมบริดจ อะนาไลติกา ประธานาธิบดีทรัมป์ รัสเซีย และการลงประชามติแยกตัวออกจากสหภาพยุโรป
 
ทนายความของเธอระบุว่า เป็นคดีที่ไม่มีมูลแต่อย่างใด แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้สถานะทางการเงินของเธอล้มละลายเพื่อให้เธอหยุดการทำข่าวสืบสวนสอบสวน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีของเธออาจสูงถึงหนึ่งล้านปอนด์
 
การฟ้องคดีปิดปากได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกาเช่นกัน หลายบริษัทได้ฟ้องคดีเพื่อบีบให้ประชาชนยุติการแสดงความเห็นด้านลบบนสื่อออนไลน์
 
 
1259
 
ทางสมาคมนักกฎหมายสิทธิฯ ขอเรียกร้องให้ทางการไทยปฏิบัติตามคำมั่นที่จะยึดถือมติของสหประชาชาติว่าด้วยการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งไทยให้การรับรองไว้เมื่อเดือนธันวาคม 2560 และยึดถือพันธกรณีตามกฎหมายภายในประเทศและระหว่างประเทศ ที่จะป้องกันไม่ให้บุคคลใดถูกฟ้องร้องด้วยคดีความที่ไม่จริงและมีจุดประสงค์เพื่อปิดกั้นเสรีภาพการพูด ทางสมาคมฯ ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกโทษทางอาญาของข้อกล่าวหาหมิ่นประมาท และให้การฟ้องร้องคดีปิดปากเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
 
 

To read the full study, click here.

อ่านรายงานฉบับเต็มภาษาไทย ที่นี่

 

เอกสารแนบSize
รายงาน SLAPP คืออะไร และทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญ.pdf6.39 MB