1333 1256 1477 1786 1390 1429 1689 1842 1399 1884 1317 1423 1666 1783 1527 1113 1732 1494 1227 1134 1632 1191 1080 1090 1547 1081 1409 1786 1747 1631 1970 1134 1113 1911 1909 1959 1609 1862 1182 1167 1927 1592 1753 1410 1946 1774 1785 1616 1535 1238 1572 1984 1347 1869 1797 1257 1284 1059 1227 1537 1511 1088 1217 1193 1230 1196 1630 1983 1024 1506 1887 1546 1613 1207 1075 1013 1054 1883 1806 1024 1509 1838 1400 1115 1671 1247 1384 1727 1399 1838 1679 1061 1953 1005 1020 1794 1251 1669 1451 หนึ่งปีหลังถูกจับ กับ เรียม เตือนใจ: เมื่อแรงงานชวนกันใช้ลงประชามตินอกเขต | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

หนึ่งปีหลังถูกจับ กับ เรียม เตือนใจ: เมื่อแรงงานชวนกันใช้ลงประชามตินอกเขต

 
บรรยากาศการรณรงค์ประชามติร่างรัฐธรรมนูญในปี 2559 เป็นไปอย่างเงียบเหงาและยิ่งเงียบเข้าไปอีกเมื่อพูดถึงการรณรงค์ออกเสียงนอกเขตจังหวัด คนที่ทำงานไกลจากบ้านของตนเองหลายคนต้องพลาดโอกาสการตัดสินอนาคตประเทศไป เพราะไม่ได้รับข่าวสารการลงทะเบียนอย่างเพียงพอ เช่นเดียวกับ “เรียม เตือนใจ” พนักงานรายวันของโรงงานแห่งหนึ่งย่านเคหะบางพลีและสมาชิกสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ หนึ่งในแรงงานพลัดถิ่นที่สัมผัสถึงบรรยากาศการรณรงค์ที่เงียบเหงาเช่นเดียวกัน

วันที่ 23 มิถุนายน 2559 เธอได้ร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยแจกเอกสารรณรงค์เรื่องการออกเสียงนอกเขตจังหวัด ด้วยหวังเพียงว่า ไม่อยากให้แรงงานพลัดถิ่นต้องเสียโอกาสการลงคะแนนเสียงไป และไม่ต้องการให้ผู้ใช้แรงงานเหล่านั้นต้องเสียเงิน เสียเวลา เดินทางกลับไปที่บ้านเกิดเพื่อลงคะแนนเพียงไม่กี่นาที เธอจึงช่วยรณรงค์ เสนอทางเลือกที่สะดวก แต่ท้ายที่สุดแล้วเธอกลับต้องถูกดำเนินคดีฐานละเมิดพ.ร.บ.ประชามติฯ ผ่านไปหนึ่งปีเรามีโอกาสได้พูดคุยกับเธอว่า การแสดงออกซึ่งเสรีภาพของเธอต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง
 
725
 
ช่วยเล่าเหตุการณ์วันเกิดเหตุให้ฟังหน่อย
วันนั้นพี่ออกไปทำงานนอกสถานที่ คือ ไปอบรม กลับมาก็นั่งรถเพื่อนมาลงที่เคหะบางพลี มาเห็นเพื่อนแจกเอกสารอยู่ก็เลยเข้าไปช่วย เพราะตอนเย็นเราจะมีการไปทำงานที่สำนักงาน (สหภาพแรงงานไทรอัมพ์) อยู่แล้ว เป็นเรื่องปกติที่เราต้องเข้าไปทำงาน ก่อนที่จะเข้าไปช่วยก็มีการถามแล้วว่า ถามเจ้าหน้าที่หรือยังว่า เขาอนุญาตไหม ซึ่งเราก็ได้รับคำตอบว่า เจ้าหน้าที่อนุญาตแล้วก็เลยช่วยกันแจก น้องๆ เขาจะได้กลับบ้านไว 

จริงๆ แล้วก็ไม่ได้รู้จักกลุ่มนักศึกษาที่มาแจกเอกสาารในวันนั้น แต่ก่อนหน้านี้เคยเชื่อมร้อยกันมาบ้าง ประธานสหภาพแรงงานก็ช่วยกันแจกด้วย เพราะว่าช่วงห้าหกโมงเย็นคนเขาก็เลิกงานแล้วเดินผ่านกันเยอะ ซึ่งในตัวเอกสารจริง จะมีเอกสารของการขอใช้สิทธิออกเสียงนอกเขต อันนั้น เรารู้ว่ามันเป็นผลดีต่อคนงานที่เขาทำงานนอกพื้นที่ที่เรียกว่า คนงานผลัดถิ่น เพื่อที่เขาจะได้ไปใช้สิทธิลงคะแนนประชามติ เราคุ้นเคยเพราะก่อนหน้านี้ ในปี 2556 มีการรณรงค์ให้คนมาใช้สิทธิและทางบริษัทหรือหน่วยงานภาครัฐเองเคยทำเอกสารตัวนี้ออกมาแจกคนที่ทำงานนอกพื้นที่ นอกจังหวัดที่ตนเองอาศัยอยู่ เพื่อให้คนออกไปใช้สิทธิอย่างเต็มที่
 
มีความคิดเห็นกับเรื่องการออกเสียงนอกเขตจังหวัดอย่างไร?
ส่วนตัวเองตอนที่เขารณรงค์ให้ลงทะเบียน ก็ไม่ได้ลงทะเบียนเพื่อใช้สิทธินอกเขตไว้ ก็เลยต้องกลับไปใช้สิทธิที่ต่างจังหวัดมันก็เลยเกิดเป็นความยุ่งยากวุ่นวายไม่ว่าจะเป็นการสัญจรหรือการเดินทางไปต่างจังหวัดมันเสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาด้วย พอมาในปีนี้เห็นว่า การลงทะเบียนใช้สิทธินอกเขตเป็นประโยชน์กับคนงาน คือ มันไม่เสียเวลา ไม่เสียเงินแล้ว เราก็เห็นว่าเรื่องนี้ที่รัฐบาลทำ ไม่ค่อยมีการประชาสัมพันธ์ให้คนออกไปใช้สิทธิออกเสียงอย่างทั่วถึง เราจึงคิดว่า มันน่าจะเป็นผลดีต่อคนทั่วไปเพื่อให้เขาใช้สิทธิของเขาได้เต็มที่ เราก็เลยอยากช่วยตรงนี้
 
ตอนแจกเอกสารได้พูดคุยอะไรกับผู้รับเอกสารไหม?
ตอนแจกเราไปแจกอย่างเดียว บอกเขาว่า ใบขอไปใช้สิทธินอกเขต คือ แจ้งเข้าแค่นั้น แต่อย่างอื่นเราไม่รู้ เลยไม่ได้ประชาสัมพันธ์อะไร แจกเอกสารอย่างเดียว
 
พอแจกเอกสารแล้วถูกจับกุมรู้สึกอย่างไร?
ตอนแรกก็งงเหมือนกันว่า มันเกิดอะไรขึ้น เราก็ตกใจแต่เราก็ไม่รู้ไง หลังจากนั้นเราก็ถามเขาว่า จะพาไปไหน เขาก็บอกว่าจะพาไปอำเภอ ไปพบนายอำเภอ เราก็เลยขึ้นรถไปกับเขาซึ่งเราก็ไม่รู้ว่า อะไรจะเกิดขึ้น หลังจากที่เราไปกับเขาแล้วก็เห็นคนอื่น อย่างกลุ่มน้องนักศึกษา เขาก็เอาขึ้นรถไปหมดแล้ว และก็มีเจ้าหน้าที่ 2 คนมายืนประกบและก็พาขึ้นรถไป เราก็ไม่คิดว่าจะเป็นเรื่องที่มันผิดกฎหมายอะไร เราก็เลยไป
ความคิดส่วนตัวคิดว่า มันน่าจะเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วไปจะได้รู้เรื่องการใช้สิทธิ และเรื่องการออกกฎหมายรัฐธรรมนูญ ความคิดส่วนตัวก็คือ ประชาชนก็น่าจะมีสิทธิ อันนี้คือที่เราคิดว่า มันเป็นหลักของประชาธิปไตย
 
ผลกระทบหลังจากโดนคดีมีอะไรบ้าง?
หลังจากที่โดนคดีอย่างแรกเลย คือ สมาชิกที่บ้าน พ่อแม่พี่น้องก็ตกใจว่า มันจะมีจดหมายมีหมายเรียกไปว่า เราโดนคดีและก็ออกสื่อออกข่าวกันแบบนี้คนที่บ้านเขาดูทีวีเห็น เขาก็ตกใจ แม่ก็งงเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ด้วยความที่เขาไม่รู้ว่าเราไปทำอะไรผิด และเราก็ไม่เคยมีคดีและไม่เคยทำผิดอะไรมาก่อน เราก็เป็นพนักงานคนหนึ่งที่ทำงานในโรงงาน เช้าไปเย็นกลับ 
หลังจากนั้นก็จะเป็นเรื่องของเพื่อนฝูง เขาก็ตกใจเหมือนกันว่ามันเกิดอะไรขึ้น ทำไมอยู่ๆ เราโดนคดีแล้วต้องไปขึ้นศาล ต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการลางานเพราะว่า วันลาพักร้อนมันหมด เราก็ต้องใช้ลากิจใช่ไหม ทีนี้หมายเรียกให้ไปศาลก็จะมาทุกเดือน เราเป็นพนักงานรายวัน คือ ถ้าวันไหนไม่ได้ไปทำงานก็ไม่ได้รับค่าจ้าง กินรายวันไป ผลกระทบก็จะเป็นค่าใช้จ่ายการเดินทาง ค่ารถที่ต้องเสียเวลาไปขึ้นศาล
 
เกี่ยวกับเรื่องคดีได้อธิบายให้เพื่อนๆฟังไหม?
ถ้าเป็นเพื่อนที่สนิทจริงๆ เราก็อธิบายกันก็เข้าใจว่า สิ่งที่เราทำมันไม่ได้ผิดร้ายแรงหรือผิดกฎหมายอะไรมาก จริงๆ แล้วเราก็มองว่า เราไม่ผิดเพราะเราแค่ไปแจกเอกสาร มันไม่ได้เป็นการชุมนุมหรือไปประท้วงทางการเมือง มันไม่ใช่
 
แล้วที่ทำงานมีปัญหาอะไรไหม?
ที่ทำงานก็ไม่มีปัญหา แต่มีอยู่เดือนหนึ่งเจ้าหน้าที่นำหมายเรียกไปให้ที่บริษัทและฝ่ายบุคคลในโรงงาน ก็เลยวุ่นวายกันไปหมด และเขาก็ไม่ทราบว่าตำรวจไปหาถึงที่มันมีคดีอะไรร้ายแรงไหม
 
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้จะไปแจกเอกสารอีกไหม?
ถ้าย้อนเวลากลับไปได้ พูดถึงการแจกเอกสารพี่ไม่ได้มองว่า มันเป็นเรื่องที่ผิด เราคิดว่ามันเป็นผลประโยชน์ของประชาชน เป็นสิทธิของประชาชนที่ควรจะได้รับความรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไรก็แล้วแต่ที่เป็นหลักของประชาธิปไตย ถ้าให้พี่ไปช่วยแจกเอกสารเหมือนเดิมพี่ก็จะไปนะ เพราะพี่คิดว่ามันไม่ใช่เรื่องผิด หรือว่าเรื่องที่ไปทำลายความมั่นคง มันไม่ใช่ ถ้าเป็นการแจกเอกสารที่เป็นการขอใช้สิทธินอกเขตพี่มองว่า มันเป็นเรื่องที่ดี เป็นประโยชน์ของประชาชนทั่วไป 

 

ชนิดบทความ: