1443 1513 1047 1536 1845 1314 1571 1813 1460 1685 1183 1574 2000 1480 1023 1489 1940 1962 1778 1493 1099 1567 1626 1870 1376 1528 1366 1631 1382 1628 1682 1872 1117 1607 1330 1517 1908 1100 1464 1619 1525 1400 1248 1257 1142 1036 1001 1444 1741 1014 1151 1501 1617 1591 1572 1922 1357 1988 1352 1236 1130 1318 1181 1251 1814 1993 1799 1023 1095 1497 1825 1764 1741 1788 1998 1587 1297 1260 1668 1399 1778 1446 1886 1993 1083 1648 1909 1090 1164 1742 1902 1289 1234 1677 1060 1383 1468 1415 1298 คุยยังไม่จบ กด LIKE ผิดกฎหมายหรือไม่? | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

คุยยังไม่จบ กด LIKE ผิดกฎหมายหรือไม่?

ศาลยังไม่ได้ตัดสินว่าสรุปแล้วการกดไลค์ข้อความที่ผิดกฎหมาย เป็นความผิดด้วยหรือไม่? ฝ่ายตำรวจบอกว่าผิดเพราะมีเจตนาเผยแพร่ต่อ ขณะที่นักวิชาการบอกว่า ต้องดูเจตนา และการกดไลค์ไม่ได้หมายความว่าถูกใจเสมอไป ไอลอว์ชวนสำรวจความเห็นฝ่ายต่างๆ ในสังคมเพื่อมองหาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ก่อนฟังศาลตัดสิน
 
หลังกรณีการจับกุมฐนกร หรือเอฟ พนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2558 ด้วยข้อกล่าวหาตอนแรก คือ ส่งแผนภาพแสดงการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ไปยังเพจ “สถาบันคนเสื้อแดงแห่งชาติ” และต่อมาถูกตั้งข้อหาเพิ่มจากการกดไลค์และแชร์ข้อความหรือรูปภาพที่อาจเข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ ทำให้ผู้คนในสังคมตื่นเต้นและหวาดกลัวในการใช้งานโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะกังวลว่าตนเองอาจจะกระทำผิดโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะการกดไลค์ภาพหรือข้อความที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย เช่น การหมิ่นประมาท ภาพลามกอนาจาร ความผิดต่อความมั่นคง หรือความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
 
เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นความผิด ก็ย่อมไม่ผิด
 
เครือข่ายพลเมืองเน็ตได้ออกแถลงการณ์ในเรื่องนี้ว่า แม้การเผยแพร่เนื้อหาที่เข้าข่าย “ยั่วยุปลุกปั่น” ตามมาตรา 116 และ “หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ” ตามมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา จะเป็นความผิด แต่การกดไลค์ไม่ใช่การเผยแพร่หรือสนับสนุน เพราะไม่มีฐานความผิดกำหนดไว้ในกฎหมาย และจะถือว่าเป็นการสนับสนุนไม่ได้เพราะการสนับสนุนต้องเกิดขึ้นก่อนหรือเกิดขึ้นขณะที่กระทำความผิด และผู้สนับสนุนต้องกระทำบางอย่างในการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิด ซึ่งการกดไลค์ไม่เข้าเงื่อนไขใดเลย เพราะการกดไลค์เกิดขึ้นหลังจากผู้โพสต์เนื้อหาผิดกฎหมายโพสต์เสร็จเรียบร้อยแล้ว 
 
ด้านสาวตรี สุขศรี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์กับประชาไทในเรื่องเดียวกันว่า
 
“คุณเชื่อไหมว่า ในทางกฎหมายอาญานั้น ขนาดคุณเห็นคนอื่นกำลังลงมือฆ่าใครสักคนต่อหน้าแล้วคุณนิ่งเฉย แถมแอบเห็นด้วยนิดๆ แต่ไม่ได้ออกแอ๊คชั่นอะไรเลย คุณยังไม่ผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการฆ่านั้นเลยนะ! เต็มที่ก็คือผิดลหุโทษฐานละเว้นเท่านั้น ...ดังนั้น นับประสาอะไรกับการมากดไลค์ความผิดที่สำเร็จไปแล้ว”
 
กดไลค์ = เป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด?
 
ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ที่ปรึกษากฎหมาย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เคยให้สัมภาษณ์กับ ASTVผู้จัดการออนไลน์ ไว้ว่า โดยหลักการกดไลค์เป็นสิทธิเสรีภาพตามกฎหมาย ที่เขาจะแสดงว่าชอบหรือไม่ชอบ สามารถทำได้ ในฐานะคนที่ร่างกฎหมายเก่า โดยหลักการ พ.ร.บ.ฉบับนี้จะไม่ใช้ในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับสถาบัน หรือความมั่นคงของชาติโดยตรง การไปกดไลค์ก็อาจจะเข้าข่ายเป็นผู้สนับสนุนและอาจถูกดำเนินคดีได้  ซึ่งอาจเป็นได้ในฐานะผู้สนับสนุน แต่ถ้าเป็นเรื่องทั่วไปก็เป็นสิทธิในการกดไลค์ได้อยู่แล้ว
 
สาวตรี สุขศรี กล่าวไว้ว่า หลักการเรื่องนี้ จะเป็นผู้สนันสนุนได้ต้องมี action "ช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวก" แก่ผู้กระทำผิด และต้องทำ "ก่อนหรือขณะความผิดเกิด" เท่านั้นด้วย การกดไลค์ไม่ได้ให้ผลเป็นการช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกอะไรให้คนโพสต์นะ ทั้งยังเป็นการกดภายหลังความผิดสำเร็จไปแล้วอีกด้วย จึงผิดไม่ได้
 
กดไลค์ = เจตนาเผยแพร่ต่อ?
 
พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) เคยให้สัมภาษณ์ว่า “การกดไลค์ถือว่ามีเจตนาและเป็นการเผยแพร่ทางหนึ่ง เพราะข้อความหรือรูปภาพที่กดไลค์จะถูกส่งต่อให้เห็นในเฟซบุ๊ก ดังนั้นจึงเข้าข่ายผิดกฎหมาย”
 
พงศกร มาตระกูล หัวหน้าฝ่ายกฏหมาย www.finlawtech.com เคยกล่าวในรายการต่างคนต่างคิดไว้ว่า คนที่กดไลค์บางคนอาจจะไม่ทราบว่าการกดไลค์จะทำให้เพื่อนเห็นข้อความนั้นเยอะขึ้น  ถ้าเป็นการกดไลค์แฟนเพจการอาจจะทำเพื่อติดตามข้อมูลจากเพจนั้นก็ได้ ไม่ได้หมายความว่ามีเจตนาเผยแพร่ข้อความทุกอย่างในเพจนั้นเสมอไป เรื่องนี้กฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด
 
ขณะที่แถลงการณ์ของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ให้ความเห็นว่า การกดไลค์ก็ไม่ใช่การเผยแพร่เนื้อหาซ้ำ แม้จะมีโอกาสที่ระบบซอฟต์แวร์ของเว็บไซต์สื่อสังคมจะเผยแพร่เนื้อหาที่ถูกกดไลค์ต่อไปโดยอัตโนมัติ แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นทุกครั้ง และคนกดไลค์ก็ไม่สามารถคาดหมายได้ว่า การกดไลค์นั้นจะทำให้เนื้อหาไปปรากฏให้ผู้อื่นเห็นหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นผู้กดไลค์ไม่สามารถควบคุมเนื้อหาของข้อความต้นทางได้ เพราะผู้โพสต์ข้อความสามารถแก้ไขข้อความได้ทุกเมื่อ ดังนั้นข้อความที่แสดงในช่วงเวลาหนึ่ง อาจต่างจากข้อความที่กดไลค์ก็ได้
 
กดไลค์ มีความผิดเพราะ "เล็งเห็น" ผลว่าจะช่วยเผยแพร่ข้อความ?
 
อย่างไรก็ตาม กองบังคับการปราบปรามได้ติดประกาศเรื่อง “การกด LIKE หรือ SHARE เป็นความผิดหรือไม่” ระบุว่า การกดไลค์เป็นความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 (1)-(4) ถ้ามีเจตนาโดยประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลว่าการกดไลค์นั้นจะเผยแพร่ข้อมูลแก่ผู้อื่น 
                                                                
373
 
ขณะที่เรื่องการเล็งเห็นผลนั้น ตามคําพิพากษาฎีกาที่ 9805/2554 อธิบายไว้ว่า การกระทำโดยเล็งเห็นผลหมายความว่า “ผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนเท่าที่บุคคลในภาวะเช่นนั้นจะเล็งเห็นได้ มิใช่เพียงเล็งเห็นว่าผลนั้นอาจเกิดขึ้นได้”
 
ซึ่งกรณีการกดไลค์แล้วทำให้ผู้อื่นเห็นข้อความนั้น เป็นเพียงเรื่องที่อาจเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นแน่นอน ดังนั้น การกดไลค์จึงไม่อาจเล็งเห็นผลว่าผู้อื่นจะเห็นข้อความนั้นต่อ
 
ส่วนเรื่องเจตนาในการกระทำผิด คณาธิป ทองรวีวงศ์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น บอกว่ามีสองแบบ แบบแรกคือคนที่มีเจตนา รู้อยู่ว่าเป็นข้อมูลปลอมหรือเท็จ แล้วยังกดไลค์และรู้ด้วยว่าการกดไลค์คืออะไร รู้ว่าการกดไลค์ทำให้ข้อมูลปรากฏบนหน้าแสดงผลของผู้ใช้งานที่เป็นเพื่อนอยู่ ตรงนี้มีความเสี่ยงว่าจะมีความผิด
 
อีกแบบหนี่งคือ กรณีที่ไม่รู้ เช่น ผู้สูงอายุที่ไม่รู้การทำงานของระบบสื่อสังคมออนไลน์ว่า การกดไลค์จะกระจายข้อมูลในหน้าฟีดให้คนอื่นรู้ ตนมองว่าคนกลุ่มนี้ขาดขาดเจตนา 
 
"กดไลค์" มีความหมายหลายอย่าง ไม่ได้แปลว่าชื่นชอบเสมอไป
 
“ลำพัง ‘สามัญสำนึก’ ก็บอกเราได้ว่าการกดไลค์ไม่น่าจะผิดกฎหมายอะไรเลย เพราะมันเป็นเพียงการแสดงความรู้สึกเท่านั้น ซึ่งความรู้สึกนี้บ่อยครั้งก็ไม่ใช่‘ถูกใจ’ ด้วยซ้ำไป หลายคนอาจ ‘ไม่ถูกใจ’ แต่เลือกที่จะกดไลค์เพจหรือข้อความนั้นๆ เพียงเพื่อจะได้กลับมาติดตาม (ทำให้ลิงก์เพจ/ข้อความยังเวียนวนอยู่ในfeed หน้าจอ) หรือเป็นสัญญาณบอกผู้สร้างเพจ/ข้อความว่า ‘ฉันแวะมาแล้วนะ’ บางคนไลค์กดไลค์ดะข้อความของเพื่อนเพียงเพราะอยากให้กำลังใจ ไม่เคยกดเข้าไปอ่านด้วยซ้ำ ไม่นับเหตุผลอื่นๆ อีกร้อยแปดพันเก้า”
 
ความเห็นของสฤณี อาชวานันทกุล ซึ่งเป็นอีกคนหนึ่งที่มองว่าการกดไลค์ไม่น่าจะเป็นการแสดงเจตนาเผยแพร่ 
 
ด้านพงศกร มาตระกูล เคยกล่าวในรายการต่างคนต่างคิดไว้ด้วยว่า การกดไลค์โดยตัวมันไม่เป็นความผิด การกดไลค์ไม่ใช่แปลว่าชอบเสมอไป อาจจะเป็นการกดไลค์เพื่อให้รู้ว่าอ่านแล้ว หรือเพื่อแนะนำให้เพื่อนๆ เข้ามาดูก็ได้ ว่าเพจนี้มีเนื้อหาแบบนี้แล้วเราควรทำอย่างไร? ต้องดูด้วยว่าคนกดไลค์นั้นเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับคนโพสต์อย่างไร
 
นอกจากนั้น หากผู้ใช้เฟซบุ๊กต้องการจะเผยแพร่เนื้อหาก็สามารถใช้ปุ่ม “แชร์” ซึ่งจะทำให้ผู้อื่นเห็นเนื้อหาด้วย ไม่ใช่การกดปุ่ม “ไลค์” ที่เป็นเพียงการแสดงความรู้สึกเท่านั้น ดังนั้นจึงพอจะเห็นได้ว่าการกดไลค์ ไม่ใช่การกระทำที่มีเจตนาจะเผยแพร่เนื้อหาต่อ
ชนิดบทความ: