1712 1094 1461 1427 1749 1859 1642 1873 1373 1707 1565 1920 1001 1208 1739 1795 1046 1700 1129 1864 1576 1925 1499 1927 1214 1968 1977 1785 1208 1125 1069 1397 1808 1623 1224 1816 1209 1017 1537 1580 1577 1531 1435 1530 1308 1591 1575 1494 1085 1320 1604 1109 1877 1521 1070 1164 1650 1201 1011 1729 1387 1698 1307 1345 1308 1702 1802 1726 1938 1091 1348 1656 1952 1082 1589 1282 1129 1939 1172 1830 1951 1393 1341 1431 1365 1286 1779 1710 1800 1694 1602 1365 1957 1169 1588 1609 1530 1291 1120 เลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครบ 1 ปี แต่คดีความยังไม่เคยเลิก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

เลิกใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครบ 1 ปี แต่คดีความยังไม่เคยเลิก

 

29 กันยายน 2566 เป็นวันครบรอบหนึ่งปีเต็มพอดีๆ ที่มีประกาศยกเลิกการใช้ #พรกฉุกเฉิน ที่พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศใช้ โดยตอนแรกบอกเพื่อการควบคุมโรคโควิด19 แต่ในทางปฏิบัติถูกนำมาใช้อย่างหนักกับการควบคุมการชุมนุมทางการเมือง

 

จากกฎหมายที่จะใช้คุมโรค กลายเป็นกฎหมายคุมม็อบ

 

สถิติที่น่าสนใจ คือ พล..ประยุทธ์ ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามชุมนุมไปถึง 12 ฉบับ เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการห้าม การจำกัดจำนวนคนไปตามสถานการณ์โควิดที่ขึ้นๆ ลงๆ และยังให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ออกประกาศในฐานะผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง อีกรวม 15 ฉบับ

 

สำหรับคนที่จะจัดกิจกรรมใดๆ ก็ตามในท้องที่ต่างๆ ก็ยังต้องอยู่ภายใต้คำสั่งตามพ...โรคติดต่อ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เกี่ยวข้องอีกหลายฉบับตามแต่ละท้องที่ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลา ทำให้การจัดกิจกรรม การรวมตัว และการชุมนุมเพื่อแสดงออก เต็มไปด้วยกฎหมายและข้อห้ามมากมาย สวนทางกับสถานการณ์การเมืองที่ประชาชนไม่พอใจรัฐบาลอย่างมาก มีการชุมนุมทางการเมืองเพื่อขับไล่รัฐบาลเกิดขึ้นมากกว่า 2,200 ครั้งในรอบสองปี

 

สถิติจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน พบว่า การควบคุมการชุมนุมด้วยกฎหมายพิเศษส่งผลให้ผู้ที่ออกมาแสดงออกบนท้องถนนต่างถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนพ...ฉุกเฉินฯ ไปอย่างน้อย 1,469 คน ใน 663 คดี ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่จะมีคดีติดตัวกันคนละหลายๆ คดี กลายเป็นยุคสมัยที่มีการดำเนินคดีทางการเมืองสูงที่สุดในประวัติศาสตร์

 

และเมื่อมีข้อห้าม ข้อกำหนดมากมายที่สั่งห้ามการชุมนุมพร้อมจำกัดความรับผิดให้เจ้าหน้าที่แล้ว จึงเหมือนการเปิดไฟเขียวให้ตำรวจสั่งห้ามการชุมนุม โดยอ้างเหตุฝ่าฝืนต่อพ...ฉุกเฉินฯ ได้อย่างเต็มที่ จนนำมาซึ่งการใช้กำลังตำรวจควบคุมฝูงชน ใช้อาวุธ ทั้งโล่ กระบอง รถฉีดน้ำ แก๊สน้ำตา และปืนยิงกระสุนยาง เพื่อสลายการชุมนุมโดยไม่ต้องลังเลอย่างน้อย 60 ครั้ง

 

เมื่อพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา ออกประกาศให้ยุติการใช้พ...ฉุกเฉินฯ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เนื่องจากสถานการณ์โควิดมีแนวโน้มดีขึ้นแล้ว ก็สั่งให้ข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งอื่นๆ สิ้นสุดลงไปด้วยทั้งหมด แต่กลับไม่ได้สั่งให้คดีความภายใต้กฎหมายเหล่านั้นสิ้นสุดลงตามไปด้วย ทำให้คดีความทั้งหมดยังคงต้องเดินหน้าพิจารณาคดีกันต่อไปตามขั้นตอนของการพิจารณาคดีทางอาญา แม้วัตถุประสงค์ที่กฎหมายต้องการจะมุ่งคุ้มครองไม่ได้มีความจำเป็นอีกต่อไปแล้ว และเจตนารมณ์ของกฎหมายเหล่านี้ก็ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้เอาผิดกับการแสดงออกทางการเมือง

 

เป็นเวลาอีกหนึ่งปีเต็ม นับตั้งแต่ไม่มีพ...ฉุกเฉินฯ บังคับใช้ ที่ผู้ชุมนุม นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมทางการเมือง หลักพันคน ยังไม่ได้กลับไปใช้ชีวิตที่เป็นปกติ แต่ต้องมีกิจวัตรหลักในการเดินทางไปรายงานตัว ไปรับทราบข้อกล่าวหา ไปขึ้นศาลพิจารณาคดี หรือถูกควบคุมความประพฤติ ภายใต้ข้อกำหนดที่ออกมาเพื่อดูแลเรื่องโรคระบาด แต่ถูกใช้งานอย่างหนักจนทำให้กระบวนการยุติธรรมกลายเป็นเครื่องมือสร้างภาระให้กับการแสดงออกทางการเมือง ดยยังไม่มีแนวโน้มว่าคดีเหล่านี้จะยุติลงได้ด้วยวิธีการอื่นนอกจากต่อสู้คดีกันในชั้นศาลให้ถึงที่สุดกันไปทุกคดี

 

 

ชวนดูสถิติที่น่าสนใจ

 

นับถึงวันครบรอบการประกาศยกเลิกการใช้พ...ฉุกเฉินฯ จากข้อมูลที่ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนมีอยู่อย่างน้อย 663 คดี มีคดีที่สิ้นสุดแล้ว 196 คดี คดีที่ยังอยู่ในชั้นศาล 188 คดี และยังอยู่ระหว่างชั้นสอบสวน ยังไม่ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอีก 279 คดี

 

สำหรับคดีที่จำเลยถูกฟ้อง แต่เห็นว่าการชุมนุมของตัวเองไม่เป็นความผิดจึงตัดสินใจต่อสู้คดีนั้น ศาลมีคำพิพากษาแล้วอย่างน้อย 184 คดี

ในจำนวนนี้ แบ่งเป็นคดีที่ศาลพิพากษายกฟ้องไป 81 คดี

ศาลพิพากษาลงโทษ 54 คดี

และพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องคดี 49 คดี

โดยบางคดีก็ถึงที่สุดแล้วแต่ส่วนใหญ่ยังต้องต่อสู้คดีในชั้นอุทธรณ์ต่อไป 

 

 

2916

 

 

สำหรับคดีที่ศาลพิพากษาว่ามีความผิด 54 คดี แบ่งออกเป็น

คดีที่ศาลลงโทษปรับเพียงอย่างเดียว จำนวน 30 คดี

คดีที่ศาลให้รอกำหนดโทษ จำนวน 3 คดี

คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 17 คดี

คดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 3 คดี 

และมีคดีที่ศาลกล่าวตักเตือน เป็นคดีที่ศาลเยาวชน 1 คดี

 

ในบรรดาคดีที่มีคำพิพากษาแล้ว ส่วนใหญ่ก็ขึ้นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ต่อ

มีจำนวน 4 คดีที่ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจากยกฟ้องเป็นให้ลงโทษ 

และมีอีก 1 คดี ที่ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นทำคำพิพากษาใหม่

 

 

 

2917

 

 

สำหรับคดีที่ศาลลงโทษปรับอย่างเดียวอย่างน้อย 30 คดี 

มีจำนวนครึ่งหนึ่ง ศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับอยู่ระหว่าง 4,000-6,000 บาท จากอัตราโทษเต็ม คือ โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 40,000 บาท

มีจำนวน 10 คดี ศาลสั่งให้จ่ายค่าปรับอยูระหว่าง 10,000-30,000 บาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นศาลในกรุงเทพฯ

ในต่างจังหวัดมีเพียงแค่ ศาลจังหวัดสุรินทร์ที่ลงโทษปรับ 30,000 บาท จำนวน 2 คดี และศาลจังหวัดนครราชสีมาที่ลงโทษปรับ 10,000 บาท จำนวน 1 คดี

 

 

ส่วนคดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยให้รอลงอาญา จำนวน 17 คดี

มี 10 คดีที่ศาลลงโทษปรับระหว่าง 10,000-20,000 บาท โดยแบ่งเป็นการกำหนดโทษจำคุกไม่สูงมากระหว่าง 1-2 เดือนครึ่งนึง แล้วเป็นการกำหนดโทษจำคุกสูงถึง 1 ปีอีกครึ่งนึง

ส่วนที่เหลือศาลกำหนดโทษระหว่าง 2,000-8,000 บาท และกำหนดโทษจำคุกระหว่าง 20 วัน - 3 เดือน

 

และเนื่องจากคดีส่วนใหญ่มีจำเลยที่เป็นผู้ชุมนุมจำนวนมาก เมื่อศาลพิพากษาให้ลงโทษปรับ จำเลยก็ต้องจ่ายค่าปรับเป็นรายคนทุกคน ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมาจำเลยที่ถูกพิพากษาแล้วต้องรวบรวมเงินส่วนตัวจ่ายเป็นค่าปรับไปแล้วรวมกันไม่น้อยกว่า 1,253,332 บาท 

 

สำหรับคดีที่ศาลลงโทษจำคุก โดยไม่รอลงอาญา จำนวน 3 คดี เป็นคดีที่จำเลยถูกพิพากษาว่า มีความผิดข้อหาอื่นประกอบกัน ได้แก่ ฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ ตามมาตรา 112 สองคดี และความผิดฐานทำร้ายเจ้าพนักงาน ซึ่งศาลไม่ต้องการรอลงอาญาให้

 

มีข้อสังเกตว่า ในคดีจากการชุมนุมประเภท "คาร์ม็อบ" ซึ่งเป็นรูปแบบการใช้รถเคลื่อนไปตามสถานที่ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้ชุมนุมอยู่ในรถและไม่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค แต่ก็ยังคงถูกดำเนินคดีฐานฝ่าฝืนข้อกำหนดเพื่อการควบคุมโรคระบาด และศาลมีคำพิพากษาแล้ว 34 คดี เป็นคำพิพากษายกฟ้อง 20 คดี เป็นคำพิพากษาลงโทษ 14 คดี

 

มีข้อสังเกตด้วยว่า สำหรับคดีที่จำเลยยังเป็นเยาวชนอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งต้องพิจารณาคดีที่ศาลเยาวชนและครอบครัว มีคำพิพากษาจากศาลเยาวชนและครอบครัวแล้วทั้งหมด 12 คดี เป็นคำพิพากษาที่ยกฟ้องเพียง 4 คดี อีก 8 คดี ศาลพิพากษาให้เยาวชนมีความผิด มีการลงโทษปรับ รอลงอาญา และว่ากล่าวตักเตือน สถิติคำพิพากษาจากศาลเยาวชนมีแนวโน้มลงโทษมากกว่ายกฟ้อง ซึ่งแตกต่างจากภาพรวมคดีจากศาลอื่นๆ