1077 1044 1485 1087 1500 1916 1016 1540 1347 1681 1814 1342 1690 1001 1180 1953 1334 1482 1082 1038 1837 1144 1645 1681 1681 1531 1557 1230 1209 1093 1727 1647 1042 1881 1698 1708 1874 1388 1537 1511 1431 1712 1915 1233 1174 1513 1373 1962 1288 1540 1762 1521 1099 1154 1978 1854 1708 1395 1508 1747 1956 1582 1419 1744 1386 1694 1531 1784 1123 1267 1604 1509 1687 1934 1533 1877 1941 1817 1002 1066 1845 1537 1975 1007 1258 1199 1395 1173 1612 1277 1788 1633 1613 1087 1010 1004 1914 1231 1863 ธารา: นักสุขภาพในเรือนจำ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ธารา: นักสุขภาพในเรือนจำ

ผมพบธาราครั้งแรกในศาลทหาร บรรยากาศในห้องพิจารณาคดีวันนั้นอึมครึมขรึมขลัง ในห้องไร้กาลเวลาวันนั้น ทำได้แค่นั่งรอฟังคำให้การต่อศาลของเขา
 
 หากจะย้อนถึงความรู้สึกก่อนจะเจอครั้งนั้น ผมรู้สึกตื่นเต้น ประหม่า ที่จะได้พบธารา หนึ่งในผู้ต้องคดี ม.112 ตัวจริงเสียงจริง เขาจะเป็นคนแบบใดกัน นึกไปเรื่อยเปื่อยว่าเขาอาจะเป็นคนหยาบคาย รุนแรงก้าวร้าว หรือไม่ก็ทำตาขวาง มีทีท่าไม่ไว้ใจใครง่ายๆ
 
 ธารา ปรากฏตัวก่อนที่การพิจารณาคดีจะเริ่มขึ้นประมาณครึ่งชั่วโมง เขาเป็นชายสูงวัย อายุเกือบเกษียณ
ตัดผมสั้นเกรียนและใส่เสื้อที่ทำด้วยผ้าดิบสีน้ำตาลมอซอ ซึ่งเป็นชุดประจำของนักโทษ ธาราเป็นคนตัวเล็ก
แขนขาเล็กดูไร้เรี่ยวแรงจะดิ้นรน เขาเดินมาด้วยเท้าเปล่า ข้อเท้าถูกล่ามโซ่ ข้อมือถูกใส่กุญแจ แววตาและสีหน้ามั่นคง แน่วแน่  แต่ไม่ไว้วางใจบรรยากาศ
 
เขานั่งบนเก้าอี้ม้ายาว ที่นั่งประจำตัวของฝ่ายจำเลย ทนายเข้ามาสรุปย่อว่าวันนี้ธาราต้องพูดว่าอะไร เมื่อคุยเสร็จ
ทนายแนะนำผมและเพื่อนอีกคน ที่เข้ามาทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครเพื่อนรับฟัง ให้รู้จักกันได้ พวกเราแนะนำตัว สถานที่ทำงาน เราบอกวัตถุประสงค์ว่าจะเป็นเพื่อนช่วยคุยช่วยประสานความช่วยเหลือ
 
หัวข้อที่ธาราชวนเราคุยคือ “การดูแลสุขภาพทางเลือก”มันเป็นความสนใจของเขา ชีวิตการงานที่เขาคลุกคลีมาโดยตลอด ผมถามเขาว่าดูแลตัวเองอย่างไรในเรือนจำ เราจึงคุยเรื่องประโยชน์ของสมุนไพรชื่อนั้นชื่อนี้ ธาราเตือนผมว่าห้ามกินของสังเคราะห์เพราะอันตราย เช่น ครีมเทียม นมกล่องหรือแม้แต่น้ำตาล เหมือนเขาเป็นพรีเซนเตอร์นิตยสารหมอชาวบ้านอย่างไรอย่างนั้น
 
 ธาราบอกเคล็ดลับสุขภาพดี นั่นคือการกินไข่ต้มหมักน้ำสมสายชูสูตรที่เขาค้นพบ ก่อนเขาถูกจับเขามีอาชีพหลักเป็นคนดูแลอพาร์ทเม้นต์ และอาชีพเสริมที่เป็นตัวตนของเขาเองและเป็นสิ่งที่เขาสนใจ คือการขายอาหารเสริมสุขภาพทางเลือก ช่วยคนให้ไม่ต้องเจ็บป่วยหลายคนโดยใช้เว็บไซต์เป็นหน้าร้านและแหล่งความรู้ด้านสุขภาพ
 
 เมื่อถามเขาว่า ที่เรือนจำสภาพเป็นอย่างไรบ้าง ธาราบอกว่าไม่ต้องเป็นห่วง เขารู้วิธีดูแลสุขภาพตนเอง เขาแข็งแรง
รู้วิธีที่จะหลีกเลี่ยงอาหารก่อโทษ วิธีออกกำลังกาย วิธีหลบหลีกจากกลุ่มอันธพาลในคุก และคบเพื่อนที่เข้าอกเข้าใจกันรอยยิ้มของเขาทำให้พวกเราโล่งใจไปว่า เขาเอาตัวรอดได้ในชีวิตหลังกำแพงสูงนั้น ก่อนจากกันในวันแรกธารายังส่งยิ้มให้ ขอบคุณและโบกมือให้กัน
 
 
ผมและเพื่อน พยายามไปเยี่ยมธาราที่เรือนจำทุกเดือนตามสัญญา เมื่อพบหน้ากันมากครั้งขึ้น ผมจึงทราบภายหลังว่า
การแสดงความเข้มแข็ง การแสดงความแช่มชื่นเบิกบาน ไม่หวั่นไหว กระทั่งเปิดเผยรอยยิ้มในบางโอกาสคือวิธีหนึ่งในการเอาตัวรอด ปลอบใจให้เข้มแข็งท่ามกลางความกดดัน
 
และการต่อสู้กับคดีอันยาวนาน บางครั้งเราเห็นความหวั่นไหว สะเทือนใจ ความโกรธแค้นความไม่เป็นธรรม
ระหว่างรอพิจารณาคดีอยู่ในเรือนจำธารายังคงสนใจประเด็นการบ้านการเมือง เทคโนโลยีไอที ข่าวสารสุขภาพ
และเรื่องราวสิ่งแวดล้อมที่เคลื่อนไหวอยู่ภายนอก ธาราตั้งใจฟังข่าวสารทันโลกทุกครั้งที่มีโอกาสพบเจอคนจากข้างนอก เพราะการบอกข่าวจากผู้มาเยี่ยมเยี่ยม จึงเป็นช่องทางเดียวที่จะรับรู้ความเป็นไปของโลกภายนอก
 
519
 
 นโยบายของ เรือนจำมีความพยายามจำกัดการรับรู้ข่าวสาร การรับชมข่าวทีวี การอ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือเพื่อความรู้ความบันเทิง การส่งหนังสือให้นักโทษเรือนจำพิเศษกรุงเทพ จำกัดเพียงวันอังคารแรกของเดือน
เฉพาะเวลา 9.00 - 12.00 น.เท่านั้น ความรู้ ข่าวสารในเรือนจำจึงมีอยู่อย่างจำกัด ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นข่าวลืออยู่กลายๆ
 
 เวลาในเรือนจำของธาราเดินไปเรื่อยๆ ระหว่างนี้เราก็พบเจอกันบ่อยครั้งขึ้น การพูดคุยระหว่างเราจึงผ่อนคลายและเป็นกันเองมากขึ้นเรื่อยๆธารากล้าที่จะปลดปล่อยความเครียดและความกังวลให้เราได้รับรู้มากขึ้น เขาเล่าถึงสภาพที่กดดันและบีบคั้นในเรือนจำ อาทิการริบที่นอนที่ญาติซื้อให้ แล้วให้นักโทษแต่ละคนมีผ้าเพียงสามผืนสำหรับห่ม สำหรับปู และหนุนนอน ผ้าคุณภาพต่ำที่แสนคัน ผ้าเก่าเหม็นอับ การซักล้างก็ลำบากเพราะเรือนจำไม่ปล่อยน้ำประปาให้ใช้สอยมากนัก
 
 คำถามที่ เรามักจะถามเป็นคำถามท้ายๆ คือ “วันนี้อยากได้ของกินอะไรไหม” ธารามักบอกว่าไม่ต้องการอะไรมากนักเขาพอใจเพียงรับผลไม้ น้ำพริก ชาและกาแฟ 3 in 1 เป็นหลัก ส่วนของอื่นๆ ธาราคงไม่ต้องการหรือไม่ก็ฝากลูกชายช่วยหาให้
 
 ครั้งหนึ่งผมเห็นธารา แล้วรู้สึกว่าเขาดูซูบผอม แก้มตอบ ตัวเล็กลง จึงลองถามเขาด้วยความเป็นห่วงว่าไม่สบายหรือเปล่าธาราตอบว่า เหตุที่เขาซูบผอมเพราะตัดสินใจที่จะงดอาหารเย็น เพราะหากปล่อยให้อ้วนจะมีโอกาสป่วยมากกว่าคนผอม ส่วนตัวไม่แน่ใจว่าข้อมูลนี้ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์การแพทย์หรือไม่ แต่ธาราก็ไม่ป่วยให้ผมเห็นบ่อยนัก เขายังคงมีสุขภาพแข็งแรง
 
 ทุกครั้งที่ผมถามถึงกำลังใจ ธาราบอกว่าเขาพร้อมที่จะสู้คดีให้ถึงที่สุด ด้วยเขาเชื่อว่าตนเองไม่มีความผิด ดังนั้น
ท่วงท่าการปรากฏกายของธาราในชั้นศาล จึงมีลักษณะยืนหยัดและมั่นคงมาเสมอ ธาราเป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ตาม มาตรา 112 ซึ่งเป็นข้อหาที่ได้ชื่อว่าหนักหนามากในยุคที่การเมืองปั่นป่วนเช่นนี้
 
แถมคดียังต้องขึ้นศาลทหาร เขาถูกกล่าวหาว่า นำลิงก์คลิปเสียง “บรรพต” ไปไว้บนเว็บไซต์ของเขา เขาถูกฟ้องจากคลิป 6 คลิป ทำให้เสี่ยงต่อโทษสูงสุดตามกฎหมาย คือ จำคุก 60 ปี เขาต่อสู้คดีว่า
 
เขาทำเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อหารายได้จากจำนวนคนที่คลิกเข้ามาอ่านเนื้อหาของเว็บไซต์นี้ส่วนใหญ่เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพที่เขาเขียนเองบ้าง ไปเอามาจากที่อื่นบ้าง ส่วนคลิปของ “บรรพต”
 
ก็ชอบพูดเรื่องการดูแลสุขภาพ เขาจึงเอาลิงก์มาไว้บนเว็บไซต์ของเขาด้วย เพื่อให้คนเข้าเว็บไซต์ของเขาเพิ่มขึ้น
โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้ฟังทุกคลิปและไม่ได้สนใจฟังส่วนที่พูดเรื่องการเมือง
 
 
ตลอดเวลาที่ถูกคุมขัง ธาราไม่เคยยื่นขอประกันตัว เพราะเขามีเงินเก็บไม่มากนัก ไม่เพียงพอสำหรับการประกันตัวในยุคที่ผู้ต้องหาคดีเดียวกันเคยยื่นขอประกันตัวด้วยเงินจำนวนเฉียดล้านบาท แต่ศาลก็ไม่อนุญาต
 
ธารายังคงปักหลักต่อสู้กับคดีที่มีลักษณะยืดเยื้อยาวนาน หลังอยู่ในเรือนจำได้หนึ่งปีเศษ การสืบพยานเสร็จไปแค่ปากเดียวจากทั้งหมด 11 ปาก การนัดสืบพยานแต่ละครั้งยาวนาน ห่างกันประมาณ 3-4 เดือน หากอัตราความเร็วในการทำคดียังคงเป็นเช่นนี้ เป็นไปได้ว่าธาราต้องสู้คดียาวนานกว่า 3 ปี
 
แม้ว่ากระบวนการยุติธรรมจะยาวนาน และการต่อสู้ครั้งนี้จะต้องใช้พลังงานและกำลังใจอย่างมหาศาล แต่ธารายังเลือกที่จะสู้
ได้แต่หวังว่าพลังของเขาจะยังไม่หมดไปในเร็วนี้...
ชนิดบทความ: