1990 1564 1301 1691 1414 1326 1793 1640 1031 1570 1426 1702 1910 1081 1694 1302 1650 1252 1745 1708 1918 1190 1700 1155 1090 1883 1112 1732 1189 1877 1735 1567 1045 1336 1762 1950 1077 1390 1970 1509 1270 1576 1976 1406 1122 1048 1462 1242 1435 1297 1622 1877 1387 1476 1812 1417 1376 1465 1301 1517 1153 1281 1181 1122 1101 1814 1667 1422 1957 1411 1882 1850 1822 1609 1185 1548 1692 1954 1352 1490 1496 1176 1995 1217 1495 1720 1458 1634 1885 1404 1369 1408 1780 1935 1438 1585 1729 1098 1358 ศาลทหารพิเศษในชีลี: สถาบันที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายให้การปราบปรามศัตรูทางการเมืองของปิโนเช่ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ศาลทหารพิเศษในชีลี: สถาบันที่รับรองความชอบด้วยกฎหมายให้การปราบปรามศัตรูทางการเมืองของปิโนเช่

รวบรวมและเรียบเรียง โดย เจเชนดร้า คารุนาคาเรน
 
 
รัฐประหารในค.ศ. 1973 ล้มรัฐบาลฝ่ายซ้ายจากการเลือกตั้งของซัลวาเดอร์ อาเลนเด้ ต้นเหตุมาจากการปฎิรูปทางการเมืองแบบสุดโต่งที่มีเป้าหมายจะปฏิรูปสภานิติบัญญัติและโอนอุตสาหกรรมสำคัญมาเป็นของรัฐบาล ศาลทหารดำเนินคดีเอาผิดศัตรูทางการเมืองโดยใช้กฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐ ค.ศ. 1958 และกฎหมายควบคุมอาวุธ ค.ศ. 1972 ซึ่งตลกร้ายตรงที่ว่ากฎหมายสองฉบับนี้ถูกตราขึ้นโดยรัฐบาลของอาเลนเด้เอง 
 
 
599
ที่มาภาพ keepitsurreal
 
ภูมิหลัง: รัฐประหารปี 1973 การยึดอำนาจรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของอาเลนเด้
 
ช่วงปีก่อนการรัฐประหาร ประชาธิปไตยในประเทศชิลีมีความเข็มแข็งและเจริญเติบโต อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารเพิ่มอำนาจให้ฝ่ายตนเองอย่างมากและกองทัพได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น
 
รัฐบาลแนวร่วมฝ่ายซ้าย ของประธานาธิบดีซัลวาเดอร์ อาเลนเด้ (Salvador Allende) ซึ่งได้รับการเลือกตั้งมาด้วยชัยชนะแบบฉิวเฉียด ได้เผชิญการต่อต้านจากฝ่ายตุลาการและกองทัพ รัฐบาลอาเลนเด้ มีความต้องการที่จะเปลี่ยนรัฐสภาจากสภาเดี่ยวให้เป็นสภาคู่ และมีความต้องการให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจแต่งตั้งผู้พิพากษาศาลยุติธรรมสูงสุด โอนธนาคาร เหมืองถ่านหิน และกิจการเอกชนที่สำคัญเข้ามาให้รัฐบริหารเอง ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลนายอาเลนเด้ยังพยายามตั้งศาลประชาชน (popular court) ที่อยู่นอกเหนือโครงสร้างของศาลปกติ เพื่อจัดการปัญหาการบุกรุกที่ดิน แนวคิดนี้มีกลุ่มที่สนับสนุน คือ กลุ่มนักกิจกรรมจากขบวนการปฏิวัติฝ่ายซ้าย (Movimiento de Izquierda Revolucionario หรือ Movement of the Revolutionary Left) 
 
ภายใต้การปกครองของอาเลนเด้ ผู้ใช้แรงงานได้รับสิทธิและการคุ้มครองจากรัฐ ทำให้เกิดการบุกรุกที่ดิน การประท้วงหยุดงานและการเข้ายึดโรงงานที่เพิ่มมากขึ้น ศาลฎีการับมือกับการที่องค์กรแรงงานที่เพิ่มจำนวนขึ้น โดยการล็อบบี้รัฐบาลให้ตัดสินใจใช้นโยบายที่กำหนดขึ้นโดยศาลปกติยภายในขอบเขตของรัฐธรรมนูญ
 
เดือนกันยายน ปี 1973 ศาลยุติธรรมสูงสุดได้ออกมาแถลงว่า ชิลีกำลังเผชิญกับ “ระบบกฎหมายที่ชำรุด” (breakdown of the legal order) อันเป็นสาเหตุมาจาก “การกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐ” หลังจากนั้นก็มีการประท้วงต่อต้านรัฐบาลตามมา ความแตกแยกทางการเมืองก่อให้เกิดการก่อตัวของกลุ่มติดอาวุธทั้งฝ่ายซ้ายและขวาที่ก่อความรุนแรง จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น รัฐสภาจึงแก้ไขกฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐ ค.ศ. 1958 (1958 Law of State Security) เพื่อถ่ายโอนคดีริบอาวุธที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนและการดำเนินคดีผู้พกอาวุธที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนจากศาลพลเรือนให้ไปอยู่ในเขตอำนาจของศาลทหาร การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ทำให้ประชาชนและกลุ่มติดอาวุธข้างต้นไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของอาวุธโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ทหาร ปัจจัยเหล่านี้นำไปสู่การยึดอำนาจรัฐบาลอาเลนเด้ โดยนายพลออกัสโต้ ปิโนเช่ และกองทัพในปี 1973 ซึ่งสหรัฐอเมริกาก็สนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้ด้วย
 
ข้ออ้างของการยึดอำนาจครั้งนี้ ทหารอ้างว่ามาจากการที่รัฐบาลแนวร่วมฝ่ายซ้ายได้ฝ่าฝืนหลักนิติธรรม  ศาลฎีกาสนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้และร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับระบอบของปิโนเช่ โดยจะเห็นได้จากการที่เอนริเก้ อูรูเทีย แมนซาโน่ ประธานศาลฎีกาออกมาประกาศแสดงความยินดีกับกองทัพหลังการยึดอำนาจ และที่สำคัญศาลไม่เคยใช้อำนาจตรวจสอบการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในช่วงระบอบเผด็จการทหาร ทั้งที่ศาลมีอำนาจจะทำได้
 
การบังคับใช้ “ศาลทหารในภาวะสงคราม”
 
ช่วงสองสามวันแรกหลังจากการยึดอำนาจ กองทัพได้ ยกเลิกรัฐสภาและรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น กองทัพยังประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว และการประกาศเรียกบุคคลเข้ารายงานตัวที่กระทรวงกลาโหม ประกาศห้ามชุมนุมในที่สาธารณะ และมีการวิสามัญฆาตกรรมประชาชนโดยไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม (extrajudicial execution) คณะรัฐประหารแก้ไขกฎหมายควบคุมอาวุธและกฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐให้เพิ่มโทษสูงสุดเป็นประหารชีวิต
 
กฎหมายควบคุมอาวุธและกฎหมายความมั่นคงของรัฐที่ถูกบังคับใช้ตั้งแต่รัฐบาล Allende กลับถูกนำมาใช้โดยรัฐบาลทหารที่ยึดอำนาจ รัฐบาลเผด็จการทหารโอนย้ายคดีที่อยู่ภายใต้กฎหมายทั้งสองฉบับนี้จาก “ศาลทหารในภาวะปกติ” ไปเข้าสู่ “ศาลทหารในภาวะสงคราม” การบังคับใช้กฎหมายในศาลของรัฐบาลเผด็จการทหารนั้นมีรากฐานมาจากกรอบกฎหมายสมัยก่อนการยึดอำนาจ และจากการขยายอภิสิทธิ์ของฝ่ายบริหารหลังรัฐประหารด้วย
 
 
597
ภาพนายพลปิโนเช่ ที่มาภาพ maximoberrios
 
ห้ามยื่นอุทธณ์ ห้ามถามค้าน ประหารชีวิตไป 200 คน
 
ระยะเวลา 5 ปีแรกของระบอบเผด็จการ ผู้บัญชาการทหารได้ถูกแต่งตั้งให้ไปอยู่ตามเขตพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศและสถาปนา “ศาลทหารพิเศษในภาวะสงคราม” (wartime military tribunal หรือ Consejos de Guerra) ขึ้นจากการออกพระราชกฤษฎีกาในวันที่ 22 กันยายน 1973 คณะกรรมการพิจารณาคดีนี้ประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร 7 นายที่อยู่ใต้บังคับบัญชาโดยตรงและส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย
 
ในกระบวนการศาล จำเลยแทบไม่มีสิทธิพื้นฐาน จำเลยไม่มีสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ และ เผชิญการตัดสินอย่างรวดเร็ว รวมถึงโทษประหารชีวิต อย่างไรก็ตาม ในปลายปี 1978 นักโทษการเมืองเปลี่ยนไปขึ้นศาลทหารในภาวะปกติ การดำเนินคดีมีความค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าและสิทธิในกระบวนการยุติธรรมได้รับการปกป้องมากขึ้นกว่าเดิม อย่างไรก็ตามศาลทหารที่ตั้งอยู่ภายในค่ายทหาร ยังคงทำงานแยกจากศาลยุติธรรมของพลเรือน
 
จำเลยและทนายจำเลยไม่ได้รับอนุญาตให้ถามค้านพยายานฝ่ายอัยการ อัยการทหารสามารถเก็บหลักฐานสำคัญไว้เป็นความลับได้ นอกจากนั้น ไม่มีระยะเวลาขั้นต่ำกำหนดไว้ให้จำเลยได้เตรียมตัวต่อสู้คดี
 
ศาลทหารชิลีมีเขตอำนาจย้อนหลัง กฎหมายที่สถาปนาศาลทหารพิเศษถูกบังคับใช้เมื่อวันที่ 22 กันยายน 1973 แต่มีคดีที่จำเลยถูกตัดสินว่ามีความผิดจากการกระทำที่เกิดขึ้นก่อนหน้าวันดังกล่าว
 
ศาลฎีกาของพลเรือนที่ปกติควรจะมีอำนาจเหนือศาลทหารกลับยืนหยัดเคียงข้างคำตัดสินที่รวดเร็วผิดปกติของศาลทหาร การพิจารณาคดีของศาลทหารพิเศษนั้นมีความรวดเร็วเกินความจำเป็น (ใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน) ศาลดำเนินคดีประชาชนกว่า 6,000 คนในห้าปีแรกภายใต้รัฐบาลทหาร ประมาณ 200 คนที่ถูกตัดสินประหารชีวิต
 
ข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลของกลุ่มวิคาริเอท ออฟ โซลิดาริตี้ (Vicaria de la Solidaridad หรือ Vicariate of Solidarity) ซึ่งเป็นองค์กรจัดตั้งโดยกลุ่มผู้นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิคและโปรเตสแตนท์ระบุว่า 43% ของคดีทั้งหมดเป็นคดีที่เกี่ยวกับการละเมิดกฎหมายควบคุมอาวุธ ค.ศ. 1972 คดีละเมิดกฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐ ค.ศ. 1958 ทั้งหมด 55% และคดีที่ละเมิดกฎหมายทหารหรือกฎหมายอาญาทั่วไป 2% 
 
ข้อมูลของแอนโทนี่ เปไรร่า มาจากกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ (จำเลยกว่า 2,000 คน) ในคดีศาลทหารของชิลี จากปี 1973 – 1978 อัตราการยกฟ้องโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.42% ศาลทหารท้องถิ่น 6 แห่งที่พิจารณาคดีนักโทษการเมืองรวม 165 คน ไม่มีการยกฟ้องเลยแม้แต่คดีเดียว
 
การตัดสินโทษรุนแรงไม่ได้สัดส่วนในคดีอาชญากรรมทางความคิด
 
คดีตัวอย่าง 4 คดีนี้แสดงให้เห็นว่าศาลจงใจลงโทษและใช้อำนาจไม่เหมาะสม ศาลทหารระดับภูมิภาคได้ตัดสินลงโทษให้การแสดงออกต่อต้านอย่างสันติเป็นความผิด
 
- จำเลยถูกพูดถึงว่าเป็น “ผู้ที่มีแนวคิดฝ่ายซ้าย เป็นนักรบของพรรคสังคมนิยม เป็นมาร์กซิสที่ยั่วยุให้เกิดความไม่สงบโดยการแสดงออกในที่สาธารณะและการประชุมทางการเมือง ตะโกนคำขวัญที่ยุยงให้เกิดความรุนแรงและความหวาดกลัว” เป็นที่เห็นชัดเจนว่า คดีนี้เป็นอาชญากรรมทางความคิดและการแสดงออก แต่จำเลยก็ถูกตัดสินจำคุก 3 ปีข้อหาทำผิดกฎหมายความมั่นคงแห่งรัฐ
 
- คนขับแท็กซี่ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 540 วัน (ประมาณปีครึ่ง) ข้อหาหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะเมาสุรา (ผิดประมวลกฎหมายทหารมาตรา 417) ศาลตัดสินให้จำเลยมีความผิดเนื่องจากอ้างว่าจำเลยเป็น “นักรบติดอาวุธฝ่ายสังคมนิยม”
 
- จำเลยอีกคนหนึ่งได้รับโทษเท่ากันจากข้อหาเดียวกันกับคนขับแท็กซี่หลังจากพูดกับตำรวจว่า “ทหารที่ฆ่าประธานาธิบดีก็คือฆาตกร” 
 
- จำเลย 9 คนถูกตัดสินให้ได้รับโทษจำคุกเป็นเวลา 400 – 1,000 วัน พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นสมาชิกพรรคสังคมนิยมแห่งอัลการาโบ (Algarrobo) สร้างกลุ่มเช เกวรา (Che Guavara) ที่ส่งเสริมสั่งสอน “ลัทธิที่มีแนวโน้มทำลายระเบียบทางสังคม” และซ่องสุมกลุ่มติดอาวุธที่มี “เป้าหมายในการฝึกป้องกันตัวเองและการโจมตี” จำเลยถูกตัดสินว่ากระทำผิดข้อข้อหาละเมิดกฎหมายควบคุมอาวุธและกฎหมายความั่นคงของรัฐ
 
- ห้าวันหลังการรัฐประหาร ตำรวจจับกุมกลุ่มชายพกอาวุธ 6 คนที่ต้องสงสัยว่าวางแผนก่อเหตุรุนแรงที่สถานีตำรวจแห่งหนึ่ง ทั้ง 6 คนถูกตัดสินว่าทำผิดมาตรา 8 ของกฎหมายควบคุมอาวุธ จำเลย 2 จาก 6 คนถูกตัดสินประหารชีวิตทันทีในวันรุ่งขึ้นด้วยการยิงเป้า ส่วนจำเลยอีก 4 คนถูกตัดสินจำคุก 3 – 4 ปี หลักฐานชิ้นเดียวที่ระบุว่าชาย 6 คนนั้นวางแผนก่อเหตุร้ายที่สถานีตำรวจ คือคำสารภาพที่มีความเป็นไปได้สูงว่ามาจากการซ้อมทรมาน
 
การวิเคราะห์ความแตกต่างของอัตราการยกฟ้องในแต่ละพื้นที่มีความสำคัญในการระบุความเสมอต้นเสมอปลายของระบบยุติธรรมทหาร ในประเทศชิลี ศาลทหารแต่ละแห่งมีอัตราการยกฟ้องที่ไม่เหมือนกัน ภาคใต้และใต้สุด (south และ far south region) มีการตัดสินลงโทษมากกว่า โดยมีอัตราการยกฟ้องเพียง 2.89% และ 5.56% ตามลำดับ ซึ่งมีความแตกต่างกับอัตราการยกฟ้อง 14.16% ที่เป็นค่าเฉลี่ยของภูมิภาคอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในชิลีมีอัตราการยกฟ้องสูงที่สุดในขณะที่ภูมิภาครอบนอกมีอัตราการยกฟ้องที่ต่ำกว่า ดูได้จากสถิติตามตารางด้านล่าง
595
 
ความโปร่งใสของการดำเนินคดีและการทำงานของภาคประชาสังคม
 
เสียงวิพากษ์วิจารณ์คำตัดสินของศาลโดยปกติแล้วจะไม่ได้รับการออกอากาศผ่านสื่อ กลุ่มวิคาริเอท ออฟ โซลิดาริตี้ ซึ่งมีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนสำหรับว่าความให้จำเลย องค์กรนี้เป็นองค์กรเดียวที่ช่วยจัดหานักกฎหมายให้นักโทษทางการเมือง อย่างไรก็ตาม ความพยายามที่จะปกป้องจำเลยถูกจำกัดโดยศาลฎีกาพลเรือนซึ่งอนุมัติรับพิจารณาคำร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกคุมขังโดยมิชอบ (habeas corpus) เพียง 30 จากเกือบ 9,000 คำร้อง ถึงอย่างไรเสีย การต่อสู้ทางกฎหมายของทนายเหล่านั้นก็ได้ทำให้ข้อเรียกร้องของจำเลยถูกบันทึกไว้
 
ในปี 1979 ผู้พิพากษาซัลแวนโด้ จอร์แดน (Servando Jordan) ได้ให้นายมานูเอล คอนเทราส (Manuel Contreras) และสมาชิกของกลุ่มข่าวกรอง DINA ให้การต่อศาลในคดีที่เกี่ยวข้องกับศพจำนวนหนึ่งที่ถูกพบในปากแม่น้ำมานิป แต่คดีก็ถูกปิดไปเพราะไม่มีหลักฐานเพียงพอ
 
ในปี 1983 ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ คาร์ลอส เซอร์ด้า (Carlos Cerda) สืบสวนการหายตัวไปของสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ 12 คนในปี 1976 และตั้งข้อหาฆาตกรรมกับนายตำรวจและทหารอากาศจำนวน 38 แต่ว่าศาลฎีกายุติคดีด้วยเหตุผลว่า จำเลยได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายนิรโทษกรรมในปี 1978 และกลับตำหนิเซอร์ด้าที่เขาพยายามยืนกรานทำการสืบสวน
 
การยกฟ้องคดีดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าฝ่ายตุลาการที่รวมศูนย์อำนาจตามลำดับชั้น (ตุลาการถูกควบคุมโดยศาลฎีกา) เป็นเสาหลักของการปกครองแบบเบ็ดเสร็จในยุคของปิโนเช่ ระบอบนี้แทรกแซงผู้พิพากษาที่สืบสวนเรื่องสิทธิมนุษยชน
 
 
............................................
หมายเหตุ ข้อมูล และ ตารางในบทความนี้นำมาจาก หนังสือ ความ(อ)ยุติธรรมทางการเมือง: ระบบอำนาจเบ็ดเสร็จและหลักนิติธรรมในบราซิล, ชิลี และอาร์เจนติน่า เขียนโดยแอนโทนี่ เปไรร่า
(N.B.: The information, data sets and tables are obtained from Anthony W. Pereira’s book Political (in) justice: authoritarianism and the rule of law in Brazil, Chile, and Argentina). 
 
 
 
ชนิดบทความ: