1506 1526 1571 1954 1871 1179 1669 1333 1566 1524 1952 1292 1545 1373 1922 1165 1536 1237 1731 1974 1852 1309 1517 1877 1821 1665 1314 1336 1173 1799 1796 1522 1655 1438 1950 1987 1565 1322 1938 1165 1601 1532 1788 1774 1578 1054 1536 1705 1336 1577 1555 1087 1859 1202 1609 1555 1198 1124 1955 1946 1471 1906 1577 1197 1753 1198 1337 1427 1697 1993 1998 1515 1635 1181 1538 1121 1127 1016 1638 1617 1988 1699 1102 1521 1756 1104 1062 1950 1259 1286 1257 1807 1435 1088 1036 1465 1521 1349 1289 นัดชี้สองสถานคดีไผ่-จตุภัทร์ ฟ้อง NSO Group ฐานละเมิดใช้เพกาซัส สปายแวร์ปี 2564 | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

นัดชี้สองสถานคดีไผ่-จตุภัทร์ ฟ้อง NSO Group ฐานละเมิดใช้เพกาซัส สปายแวร์ปี 2564


6 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.30 น. ศาลแพ่งนัดชี้สองสถานในคดีที่ไผ่-จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา เป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อบริษัท NSO Group บริษัทผู้พัฒนาและส่งออกเพกาซัส สปายแวร์ สัญชาติอิสราเอล ฐานละเมิดจากการใช้เทคโนโลยีขโมยข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ โดยเรียกค่าเสียหาย 2,500,000 บาท ถือเป็นครั้งแรกที่โจทก์และจำเลยจะได้มาพบหน้าต่อหน้ากระบวนการยุติธรรม และเป็นครั้งแรกที่บริษัท NSO Group แต่งตั้งตัวแทนเข้ามาพูดคุยอย่างเป็นทางการในประเทศไทย

เวลา 13.34 น. ศาลขึ้นนั่งบัลลังก์ ทนายโจทก์แถลงต่อศาลว่า หนังสือมอบอำนาจจาก NSO Group ให้แก่สำนักกฎหมายและส่งช่วงต่อให้ทนายจำเลยไม่ชอบตามมาตรา 47 ของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง (วิแพ่ง) ดังนั้นจึงไม่ถือว่า จำเลยมีผู้รับมอบอำนาจโดยชอบ และส่งเอกสารในการต่อสู้คดีเช่น คำให้การและบัญชีพยาน ทนายจำเลยชี้แจงว่า เหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากภาวะสงครามในประเทศอิสราเอล ทำให้ต้องเลื่อนนัดไปจนกว่าจะสามารถติดต่อหน่วยงานราชการ เป็นผู้รับรองการมอบอำนาจตามมาตรา 47 ของวิแพ่ง จากนั้นจึงลงบัลลังก์เพื่อปรึกษาเจ้าของสำนวน

เมื่อกลับขึ้นนั่งบัลลังก์อีกครั้ง ศาลเรียกทนายโจทก์และจำเลยมาสอบถาม ทนายจำเลยขอให้เลื่อนคดีออกไปก่อนจนกว่าสถานการณ์สงครามจะดีขึ้นและสามารถหาหน่วยงานราชการรับรองการมอบอำนาจได้ ทนายโจทก์แย้งติดสำนวนว่า การมอบอำนาจของจำเลยเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 21 และ 24 กันยายน 2566 ซึ่งเกิดขึ้นก่อนสงครามอิสราเอลในวันที่ 7 ตุลาคม 2566 อย่างไรก็ตามการหารือได้ข้อสรุปว่า จะให้เลื่อนคดีออกไปก่อนสามเดือนเพื่อให้โอกาสจำเลยในการแก้ไขการมอบอำนาจให้ถูกต้อง นัดหมายอีกครั้งวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นนัดพร้อมเพื่อรอฟังเรื่องการแก้ไขเอกสารการมอบอำนาจ และนัดชี้สองสถาน

สปายแวร์เพกาซัส เป็นเครื่องมือสอดส่องข้อมูลประชาชน ที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคหนึ่ง โดยผู้ผลิตระบุว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยรัฐในการป้องกันการก่อการร้าย การปราบปรามยาเสพติดและปฏิบัติการฟอกเงิน แต่ในความเป็นจริงเพกาซัสถูกรัฐบาลหลายสิบประเทศใช้งานเพื่อแอบดูข้อมูลและปราบปรามผู้เห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัฐเผด็จการอันนำสู่การทำลายหลักการสิทธิมนุษยชน 

สำหรับในประเทศไทย เพกาซัสเป็นที่รู้จักในวงกว้างครั้งแรกในหลังจากเดือนพฤศจิกายน 2564 Apple ส่งอีเมล์แจ้งเตือนนักกิจกรรม นักวิชาการและผู้ทำงานภาคประชาสังคมผู้ใช้งาน iPhone ว่า อาจเป็นเป้าหมายจากการโจมตีของผู้โจมตีที่สนับสนุนโดยรัฐ จึงเกิดความร่วมมือกับ Citizen Lab และ DigitalReach SEA เพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง และสรุปเป็นรายงานเผยแพร่ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีผู้ถูกโจมตีด้วยสปายแวร์นี้อย่างน้อย 35 คน แทบทั้งหมดมีส่วนในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยในปี 2563-2564

จากข้อมูลที่ค้นพบนำไปสู่การฟ้องร้องคดีเพื่อพิสูจน์การละเมิดสิทธิครั้งนี้สามคดี โดยมีคดีที่ยังอยู่ในกระบวนการสองคดี ได้แก่ คดีในศาลแพ่งของไผ่-จตุภัทร์และคดีในศาลปกครองของอานนท์ นำภาและยิ่งชีพ อัชฌานนท์ กรณีของไผ่ ตามรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ระบุว่า เขาถูกโจมตีโดยเพกาซัสสามครั้ง คือ วันที่ 23 และ 28 มิถุนายน และวันที่ 9 กรกฎาคม 2564


โจทก์ระบุ NSO Group รู้เห็นการใช้งานที่ละเมิดสิทธิ ด้านจำเลยอ้างบริษัทขายสิทธิการใช้งานเท่านั้น


คำฟ้องโจทก์กล่าวหาบริษัท NSO Group ว่า หลังจากที่ขายสิทธิการใช้งานให้แก่รัฐบาลต่างๆ แล้ว NSO Group ยังมีหน้าที่ให้การดูแล ควบคุมการใช้งานสปายแวร์ดังกล่าวกับบุคคลเป้าหมาย โดยเมื่อรัฐบาลที่ซื้อสปายแวร์ดังกล่าวระบุตัวเป้าหมายแล้ว NSO Group เป็นผู้ที่ควบคุมเพื่อทำการเจาะระบบ สอดแนมบุคคลเป้าหมาย ทำสำเนาข้อมูลและส่งให้กับหน่วยงานของรัฐอีกทอดหนึ่ง ในประเทศไทย หลังการจัดซื้อแล้ว NSO Group ยังทำหน้าที่อบรมการใช้งานให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในการใช้กับโจทก์ และยังมีหน้าที่ตรวจสอบว่าหน่วยงานรัฐที่เป็นลูกค้านำสปายแวร์ไปใช้ในทางที่ผิดหรือไม่

ต่อมา NSO Group ซึ่งเป็นจำเลยมอบอำนาจให้ผู้แทนกฎหมายในไทยต่อสู้คดี โดยเขียนคำให้การวางข้อต่อสู้ในประเด็นนี้ว่า NSO Group ไม่ได้ดูแล ควบคุม และ/หรือใช้เพกาซัสกับเป้าหมาย แต่เป็นเพียงผู้คิดค้นและพัฒนาสปายแวร์เพื่อจำหน่ายภายใต้การคัดกรองภายในและจะต้องได้รับใบอนุญาตส่งออกที่เข้มงวด และลูกค้าต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในสัญญาที่ทำไว้ว่าาจะใช้งานสปายแวร์ตามวัตถุประสงค์ หากผิดวัตถุประสงค์จะเพิกถอนสิทธิทันที ในส่วนของการใช้งานบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ได้เป็นผู้ควบคุมการใช้งานและไม่รู้ว่า เป้าหมายของลูกค้าคือบุคคลใด

ทั้งนี้ทนายความของ NSO Group ไม่ได้ปฏิเสธว่า ไม่เคยมีการใช้สปายแวร์เพกาซัส เพื่อดำเนินการหาข้อมูลของไผ่ และไม่ได้ปฏิเสธว่าไม่เคยขาย หรือไม่เคยมีการใช้สปายแวร์นี้ในประเทศไทย


คำฟ้องของโจทก์ขาดอายุความ


คดีนี้ไผ่-จตุภัทร์ โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยระบุว่า ทราบว่าถูกโจมตีวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 จำเลยคัดค้านว่า ที่จริงแล้วเขาทราบว่า โดนโจมตีตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่รู้ คดีจึงขาดอายุความ 

อย่างไรก็ดี ศาลอาญามีคำสั่งไม่ให้ประกันตัวไผ่ในคดี “ประติมากรรมต้านอำนาจรัฐ” เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 และทำให้โจทก์ในคดีนี้ต้องอยู่ในเรือนจำเรื่อยมาจนถึงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ขณะที่จากการตรวจสอบพื้นฐานครั้งแรก ไผ่ไม่สามารถเข้าถึงอีเมล์ที่แจ้งเตือนได้จึงยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ถูกโจมตีหรือไม่ ต่อมาในวันที่ 17 กรกฎาคม 2565 จึงได้รับการยืนยันผ่านรายงานของ Citizen Lab เรื่อง “GeckoSpy Pegasus Spyware Used against Thailand’s Pro-Democracy Movement” ว่า ถูกโจมตีจริง ตามมาด้วยการยืนยันในวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 รายงานร่วมของ iLaw และ DigitalReach Asia เรื่อง “ปรสิตติดโทรศัพท์ : รายงานข้อค้นพบการใช้เพกาซัสสปายแวร์ในประเทศไทย” 

นอกจากนี้ยังอ้างว่า จำเลยยังต่อสู้ว่า โจทก์เรียกค่าเสียหายโดยไม่ได้อธิบายว่า ได้รับผลกระทบต่อชีวิตอย่างไร คำนวณอย่างไร และในเรื่องความเสียหายทางจิตใจก็ไม่มีบทบัญญัติตามกฎหมายใดที่ให้โจทก์เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ได้ คดีนี้โจทก์เรียกค่าเสียหายรวม 2,500,000 บาท ทั้งที่ความเป็นจริงความเสียหายในการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว ถูกโจมตีจากสปายแวร์เข้าถึงโทรศัพท์นำข้อมูลทั้งหมด ทั้งที่สัมพันธ์กับการเคลื่อนไหวทางการเมือง เรื่องส่วนตัวและการเงิน เป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ ยังไม่นับรวมความเสียหายทางจิตใจ และในการฟ้องเรียกค่าเสียหายโจทก์จำเป็นต้องวางเงินเป็นค่าธรรมเนียมร้อยละ 2 ของจำนวนที่เรียกค่าเสียหาย โจทก์มีทุนทรัพย์วางเป็นค่าธรรมเนียมศาลเพียงเท่านี้ 


 

ชนิดบทความ: