1247 1011 1624 1925 1051 1005 1045 1010 1003 1495 1832 1541 1525 1611 1011 1707 1775 1248 1635 1380 1450 1768 1269 1866 1835 1430 1294 1114 1052 1897 1641 1322 1322 1813 1744 1643 1579 1690 1189 1121 1916 1690 1523 1028 1529 1638 1529 1584 1530 1808 1589 1468 1862 1016 1713 1075 1690 1838 1569 1788 1791 1267 1386 1170 1248 1190 1428 1005 1815 1341 1161 1155 1181 1063 1859 1848 1276 1969 1967 1579 1116 1052 1426 1834 1080 1769 1591 1092 1917 1522 1006 1425 1485 1946 1532 1667 1293 1192 1778 "ซัลมาน" : คำพิพากษาและการลาจาก | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

"ซัลมาน" : คำพิพากษาและการลาจาก

 

ภาพลักษณ์ของนักโทษคดี112 ที่คนส่วนหนึ่งในสังคมมักจินตนาการถึงคือ "ฮาร์ดคอร์เสื้อแดง" หรือ "ขบวนล้มเจ้า" ภาพลักษณ์เช่นนี้ทำให้หลายคนเลือกมองประเด็นในคดีมาตรา 112 ไปตามแนวความคิดของฝักฝ่ายการเมืองที่ตนเองสังกัด ทั้งที่นักโทษคดี112 ที่กล้ายืนยันว่ารักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์ และไม่ใช่คนที่สนใจหรือเคลื่อนไหวทางการเมือง ไม่ได้มีแค่ "อากง" เพียงคนเดียว 

 
ผมได้พบ "ซัลมาน" ครั้งแรกช่วงเดือนกันยายน 2556 ที่ห้องเยี่ยมของเรือนจำพิเศษกรุงเทพ ขณะนั้น "ซัลมาน" เพิ่งเข้าเรือนจำได้ไม่นาน หลังศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ให้จำคุกเขาด้วยมาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะไปโพสต์ข่าวลือไม่เป็นมงคลในเว็บบอร์ดของบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่ง ครั้งแรกที่พบกัน ผมเห็นหน้า "ซัลมาน" ไม่ชัดนัก เพราะเขาสวมหน้ากากเพราะกำลังป่วยด้วยโรคภูมิแพ้ เท่าที่รู้คือเขาเป็นชายร่างสูง ผิวคล้ำ และตากลมโตสไตล์ชาวอาหรับ ส่วนผมบนศีรษะก็สั้นเกรียนเหมือนผู้ต้องขังคนอื่นๆ 
 
การสนทนาระหว่างเราไม่ราบรื่นนัก เพราะมีพลาสติกแผ่นหนากั้นกลาง แถมยังมีอุปสรรคทางภาษา ไม่ว่าจะภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ "ซัลมาน" ก็พูดกระท่อนกระแท่นพอๆกัน
 
ภรรยาของเขา เล่าให้ผมฟังภายหลังว่า "ซัลมาน" เข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในฐานะนักท่องเที่ยว เขาชอบประเทศไทยจึงเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างประเทศไทยกับซาอุดิอาระเบียหลายครั้ง จนกระทั่งได้พบกับคนที่เขารักและตัดสินใจแต่งงาน เขาจึงลงหลักปักฐานที่จังหวัดหนึ่งในภาคเหนือซึ่งเป็นบ้านของภรรยาจนมีลูกด้วยกันคนหนึ่ง เมื่อตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย เขาเลี้ยงชีพด้วยการซื้อขายหุ้น แม้ว่า "ซัลมาน" จะแต่งงานและอยู่กินกับภรรยาชาวไทย แต่เขายังคงต้องเดินทางไปๆ มาๆ ระหว่างประเทศไทยกับแผ่นดินเกิดเช่นเดิม เพราะต้องไปเยี่ยมแม่ที่ชราและป่วย
 
ภรรยาของเขาเล่าต่อว่า "ซัลมาน" เป็นคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เขาเคยบริจาคเงินจำนวนมากเพื่อสร้างมัสยิด เคยเลี้ยงอาหารคนยากจนหลายครั้ง รวมทั้งเคยสละเวลาไปสอนภาษาอาหรับให้กับชุมชนหรือโรงเรียนที่ต้องการด้วย โดยบอกว่ามาอยู่เมืองไทยก็ต้องทำอะไรเพื่อประเทศไทยบ้าง
 
โดยปกติ "ซัลมาน" ไม่ใช่คนที่สนใจการเมือง และ ไม่เคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองไม่ว่ากับกลุ่มใด อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการเผยแพร่ข่าวลืออันไม่เป็นมงคลในโลกออนไลน์ช่วงปลายปี 2553 ซึ่งร้ายแรงพอที่จะทำให้หุ้นตกกว่า 10% ในวันเดียว "ซัลมาน" ในฐานะนักลงทุนที่เกือบหมดตัว จึงต้องเช็คข่าวจากเว็บไซต์ต่างประเทศรวมทั้งวิกิลีกส์อย่างกระวนกระวายเพราะกลัวการลงทุนผิดพลาด 
 
เมื่อเห็นข่าวลือจากเว็บไซต์ข่าวต่างประเทศที่น่าเชื่อถือ เขาเข้าใจว่าเป็นเรื่องจริง จึงโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดของบริษัทหลักทรัพย์ที่เขาเล่นประจำเป็นภาษาอังกฤษ สะกดแบบผิดๆ ถูกๆ เพื่อเตือนให้เพื่อนนักลงทุนชะลอการลงทุนออกไป เพราะไม่อยากให้ใครต้อง "เจ็บตัว" เหมือนเขา 
 
ตัวเขาและคนในครอบครัวคงไม่คาดคิดว่า ความหวังดีในวันนั้นกลับเป็นเหตุให้ชีวิตของชายชาวต่างชาติ ที่รักประเทศไทย รักคนไทย และรักพระมหากษัตริย์ไทย ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง 
 
ภรรยาของเขาเล่าให้ผมฟังว่า เธอรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องตลกร้ายที่ "ซัลมาน" ผู้ัที่มีความจงรักภักดีต่อสถาบันเบื้องสูงมาโดยตลอด ต้องถูกดำเนินคดีหมิ่นสถาบัน ก่อนหน้านี้ "ซัลมาน" เคยพาภรรยาและลูกน้อยเดินทางจากบ้านในภาคเหนือลงมาถวายพระพรที่โรงพยาบาลศิริราช และเคยส่งโปสการ์ดไปถวายพระพรเนื่องในวันพระราชสมภพด้วย ภรรยาของ "ซัลมาน" ตั้งข้อสังเกตด้วยว่า แม้คนไทยจะรักสถาบัน แต่ก็คงมีคนจำนวนไม่มากนัก ที่จะเดินทางมาถวายพระพรอย่างจริงจัง โดยเฉพาะคนที่อยู่ไกลๆ
 
ในชั้นศาล "ซัลมาน" พยายามต่อสู้ว่า เขาไม่มีเจตนาหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ฯ แต่โพสต์ข้อความดังกล่าวเพื่อเตือนนักลงทุนคนอื่นเท่านั้น เพราะเข้าใจว่านั่นคือข่าวจริง "ซัลมาน" รู้ภาษาไทยไม่มากนัก จึงไม่สามารถยืนยันข่าวของสำนักข่าวต่างประเทศ กับข่าวของทางการไทยได้ "ซัลมาน" ยังชี้แจงต่อศาลด้วยว่า ตัวเขาเป็นผู้จงรักภักดี เคยเดินทางมาถวายพระพรที่โรงพยาบาล และยังบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณะอยู่บ่อยๆ เพื่อทดแทนคุณของแผ่นดินไทย อย่างไรก็ตาม ข้อต่อสู้ของ "ซัลมาน" ก็เป็นเหมือนบูมเมอแรงที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเขาเอง 
 
ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ศาลให้เหตุผลไว้ทำนองว่า จำเลยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย มีภริยาเป็นคนไทย ยกย่องเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาโดยตลอด จำเลยย่อมทราบดีถึงฐานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ การที่จำเลยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อความซึ่งไม่เป็นความจริง และข้อความดังกล่าวเป็นข้อความที่มิบังควร ทั้งเป็นข้อความที่ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท จึงเป็นการลบหลู่พระเกียรติยศชื่อเสียงขององค์พระมหากษัตริย์ ถือเป็นการดูหมิ่น "ซัลมาน" ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 3 ปี แต่ได้รับการลดโทษ 1 ใน 3 เหลือ 2 ปี
 
ช่วงเวลาแรกๆ ในเรือนจำภรรยาของ "ซัลมาน" กระเตงลูกวัย 5 ขวบ จากภาคเหนือมาเช่าบ้านอยู่ใกล้ๆเรือนจำ เบื้องต้น "ซัลมาน" และภรรยาตั้งใจจะสู้คดีต่อในชั้นฎีกา แต่เพราะเขามีปัญหาสุขภาพและไม่ได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างต่อสู้คดีในชั้นฎีกา สุดท้ายครอบครัวจึงตัดสินใจถอนฎีกาและยื่นขอพระราชทานอภัยโทษโดยเร็วที่สุด "ซัลมาน" ได้รับการปล่อยตัวในเดือนมกราคม 2557 รวมระยะเวลาที่อยู่ในเรือนจำ 206 วัน
 
หลังได้รับพระราชทานอภัยโทษ ครอบครัวของ "ซัลมาน" ยังคงต้องเผชิญกับมรสุม เพราะตามกฎหมายคนเข้าเมืองของไทย ชาวต่างชาติที่ต้องโทษจำคุกถือเป็นบุคคลอันตราย จะต้องเดินทางออกนอกประเทศทันทีที่พ้นโทษ "ซัลมาน" จึงต้องถูกสั่งห้ามเข้าประเทศอย่างน้อย 5 ปี "ซัลมาน" ภรรยา และลูกน้อย ต้องเทียวไปเทียวมาระหว่างกรุงเทพกับบ้านที่ภาคเหนือ เพื่อติดต่อขอผ่อนผันการอยู่ต่อในราชอาณาจักรเดือนละครั้ง 
 
ผมพบกับ "ซัลมาน" ครั้งแรกหลังเขาออกมาจากเรือนจำ ประมาณปลายเดือนเมษายน 2557 ระหว่างที่เขามากรุงเทพเพื่อยื่นเรื่องขอผ่อนผัน บทสนทนาโดยไม่มีแผ่นพลาสติกหนากั้นขวางทำให้การสื่อสารด้วยภาษาอันกระท่อนกระแท่นนั้นลื่นไหลกว่าเดิมมาก ระหว่างการสนทนา ผมสัมผัสได้ถึงความรู้สึกยอมรับในโชคชะตาของครอบครัว แต่ก็รู้สึกได้ว่าพวกเขายังแอบมีความหวังอยู่บ้างที่จะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาด้วยกันพ่อแม่ลูกต่อไป แม้จะดูเลือนรางก็ตาม 
 
ในวันนั้นเราสนทนากันนานพอควร หลังอัพเดทเรื่องราวชีวิต คดีความ และสิทธิการเข้าเมืองเรียบร้อย ผมต้องขอตัวกลับบ้านก่อนเพราะภารกิจหน้าที่การงานรุมเร้า ขณะที่เพื่อนร่วมวงสนทนาอีกคนหนึ่งไปรับประทานอาหารค่ำกับ "ซัลมาน" และครอบครัวตามคำเชิญของเขา 
 
ปาฏิหารย์ไม่ลอยมาง่ายๆ เสมอไป การผ่อนผันสิ้นสุดลงในเดือน พฤษภาคม 2557 
จากปากคำของภรรยา ในวันที่ "ซัลมาน" เดินทางออกนอกประเทศ เขาถูกสวมกุญแจมือระหว่างอยู่บนรถของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองราวกับเป็นอาชญากร
 
145
 
ถึงวันนี้ก็เป็นเวลาเกินครึ่งปีแล้วที่ครอบครัว "ซัลมาน" ต้องพลัดพรากจากกัน ผมแอบหวังว่าครอบครัวของเขาจะได้กลับมาอยู่กันพร้อมหน้าในเร็ววัน พร้อมๆกับนึกเสียดายว่าผมน่าจะตอบรับคำเชิญไปทานข้าวกับเขาในการพบกันครั้งสุดท้าย เพราะนั่นคงจะทำให้ผมได้รู้จักกับชายชื่อ "ซัลมาน" มากขึ้น


หากเรื่องนี้ทำให้คุณอยากรู้รายละเอียดของคดี คลิกที่นี่เพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูลของเรา

ชนิดบทความ: