1361 1418 1410 1612 1502 1834 1038 1396 1275 1802 1100 1249 1137 1113 1083 1601 1867 1439 1318 1037 1313 1690 1735 1681 1925 1570 1887 1178 1551 1515 1324 1079 1134 1468 1570 1274 1376 1235 1049 1119 1400 1999 1509 1311 1467 1695 1943 1982 1293 1531 1956 1747 1769 1442 1899 1792 1251 1586 1966 1820 1724 1223 1289 1744 1655 1445 1078 1942 1174 1666 1946 1371 1246 1957 1855 1644 1291 1245 1072 1162 1263 1337 1800 1189 1663 1046 1312 1805 1376 1771 1538 1810 1281 1410 1044 1081 1180 1650 1698 การปิดปากสื่อในพม่า | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

การปิดปากสื่อในพม่า

 
 
นักข่าวท้องถิ่น ส่อ มอ ทุน (Soe Moe Tun) ในรัฐสะกาย (Sagaing) ประเทศพม่า ถูกฆาตกรรมขณะที่เขากำลังรายงานข่าวเรื่องการตัดไม้ผิดกฎหมายและลักลอบขนส่งไม้ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า เขาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหนังสือพิมพ์อิสระเดลี่ อีเลเว่น ของ อีเลเว่นมีเดียกรุ๊ป มาตั้งแต่ต้นปี 2558 เดอะเมียนม่าร์ไทมส์ รายงานว่า นายตำรวจ เตง เสว่ มินท์ (Thein Swe Myint) กล่าวว่า เหยื่อถูกพบเมื่อช่วงเช้าวันที่ 12 ธันวาคม 2559 บริเวณใกล้สนามกอล์ฟและถูกทารุณ มีแผลหลายแผลตรงศีรษะ นอกจากนั้นแล้ว ตำรวจยังสันนิษฐานว่าเขาถูกฆ่าแต่ยังไม่ทราบผู้ต้องสงสัยหรือแรงจูงใจในการฆ่า
 
ในขณะที่ไม่มีอะไรจะบ่งชี้ได้ว่า รัฐมีส่วนเกี่ยวกับกับการใช้วิธีสกปรกครั้งนี้ นักข่าวในพม่ากลับค้นพบว่า สภาพแวดล้อมการทำงานของพวกเขาไม่ปลอดภัยอีกต่อไป
 
ตั้งแต่ปลายปี 2553 การปฏิรูปเสรีประชาธิปไตยซึ่งเริ่มขึ้นโดยรัฐบาลของนายพลเตง เส่ง (Thein Sein) ส่งผลให้มีการยกเลิกกฎหมายเซ็นเซอร์สื่อก่อนตีพิมพ์ ซึ่งก่อนหน้านี้กฎหมายดังกล่าวกำหนดให้นักข่าวแสดงผลงานให้รัฐตรวจสอบก่อน การยกเลิกกฎหมายนี้ถูกกล่าวขานไปอย่างกว้างขวางว่า มีความสำคัญต่อการสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างมากขึ้นต่อการพูด การสื่อสาร และการกระจายข้อมูลข่าวสารในพม่า มากไปกว่านั้น ก่อนหน้านี้ ตัวแทนสื่อต่างๆ ที่ถูกเนรเทศ อย่างเช่น มิซซิมา (Mizzima) เดอะอิระวดี (The Irrawaddy) เดอะบรอดคาส
เตอร์เดมอกคราติกวอยส์ออฟเบอมาร์ (The Broadcaster Democratic Voice of Burma) (ภายหลังตั้งชื่อใหม่เป็นดีวีบี มัลติมีเดียกรุ๊ป) และสื่ออีกจำนวนมากซึ่งรายงานเรื่องของงชนกลุ่มน้อยได้เริ่มต้นกิจการการพิมพ์ อย่างไรก็ตาม ขณะที่พม่าได้รับการสรรเสริญเรื่องการปฏิรูปเชิงบวก รัฐบาลก็ได้เข้าควบคุมสื่ออย่างเป็นระบบ เพื่อสร้างบรรยากาศแห่งความกลัว และส่งผลให้นักข่าวต้องเซ็นเซอร์ตัวเอง
  
ตามรายงานที่ชื่อว่า “เสรีภาพที่ไม่มีวันจบสิ้น: ใบพิมพ์เขียวเพื่ออนาคตการแสดงออกโดยเสรีในพม่า” (Unfinished Freedom: A Blueprint for the Future of Free Expression in Myanmar) โดยเพนอเมริกันเซ็นเตอร์ (PEN American Centre) นักข่าวได้เผชิญกับการคุกคามอย่างเป็นปกติ การฟ้องร้องคดีและการคุมขังโดยรัฐ
 
ที่เป็นเช่นนี้นั้นสืบเนื่องจากบทบัญญัติของยุคทหารหลายฉบับในรัฐธรรมนูญปี 2008 (2551) ซึ่งบรรจุข้อจำกัดบางประการต่อเสรีภาพของการเป็นนักข่าว มาตรา 354 กำหนดให้ “ความมั่นคงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, ความแพร่หลายของกฎหมายและระเบียบ สันติภาพของชุมชนและความสงบเรียบร้อยหรือความเป็นระเบียบของสาธารณะ และศีลธรรม เป็นเหตุผลที่จะใช้จำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการผลิตสิ่งพิมพ์ได้” มาตรา 365 ได้บัญญัติว่า “สิทธิอย่างเสรีในการสร้างสรรค์วรรณกรรม วัฒนธรรม กฎหมาย จารีต และ ขนบธรรมเนียมประเพณี” ตราบเท่าที่ประชาชน “หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันเป็นอันตรายต่อความเป็นปึกแผ่นแห่งรัฐ”  เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งที่เราจะสังเกตว่า รัฐธรรมนูญนั้นไม่ได้รับประกันอย่างชัดเจนถึงสิทธิในการปกป้องเสรีภาพสื่อ
 
นอกจากนั้น กฎหมายฉุกเฉิน ปี 1950 (พ.ศ. 2493) กำหนดให้มีบทลงโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี สำหรับ “ข่าวสารที่เป็นเท็จ” หรือมีผลด้านลบต่อความมั่นคงของรัฐ ศีลธรรม และความเชื่อมั่นสาธารณะต่อเศรษฐกิจ ประมวลกฎหมายอาญา ปี 1957 (พ.ศ. 2500) ให้มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี สำหรับคดีก่อความไม่สงบและการกระทำอื่นๆ ที่สนับสนุน “ความรู้สึกที่เป็นปฏิปักษ์ หรือความเกลียดชัง” การทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและการหมิ่นศาสนา
 
นอกจากนี้ สื่อต่างๆ ยังคงถูกบังคับโดยนโยบายรัฐตามสมควร ให้ส่งสำเนาสื่อสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์พร้อมจำหน่ายไปยังศูนย์จดลิขสิทธิ์และลงทะเบียน และกระทรวงข้อมูลข่าวสาร
 
ศาลได้บังคับใช้ความผิดทางอาญาฐานหมิ่นประมาท และการก่อความไม่สงบเหล่านี้ ในการปิดปากสื่อซึ่งายงานข่าวหรือสืบสวนในเรื่องที่ท้าทายอำนาจรัฐ ข้อมูลด้านล่างคือคดีซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง ตามรายละเอียดที่ได้มาจากเพนอเมริกันเซนเตอร์ (PEN American Centre) 
 
  • ในเดือนมิถุนายน 2557 นักข่าวและบรรณาธิการ 5 คนจากยูนิตี้วีคลี่ (Unity Weekly) ซึ่งได้รายงานข่าวเรื่องข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการผลิตอาวุธเคมีภายใต้ฐานลับของทหาร ถูกจำคุกเป็นเวลา 10 ปี ในแดนนักโทษงานหนัก ต่อมาถูกลดเหลือ 7 ปี
  • ในเดือนตุลาคม 2557 นักข่าวและบรรณาธิการ 4 คน จากบี มอน เท เนย์ ถูกตั้งข้อหาว่าก่อความไม่สงบ และถูกตัดสินลงโทษจำคุก 2 ปี จากการรายางนข่าวว่า กลุ่มนักกิจกรรมอ้างว่า อองซานซูจี และผู้สนับสนุนทางการเมืองได้ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว เพื่อทำหน้าที่แทนที่การทำงานของรัฐบากึ่งพลเรือน พวกเขาถูกปล่อยตัวในฐานะส่วนหนึ่งของการนิรโทษกรรม ก่อนการเลือกตั้ง ในปี 2558 
  • พนักงาน 5 คน ของอีเลเว่นมีเดียกรุ๊ป (Eleven Media Group) ถูกฟ้องร้องค่าเสียหายฐานหมิ่นประมาทในปลายปี 2557 โดยกระทรวงข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากรายงานข่าวเรื่องการใช้เงินงบประมาณสาธารณะในทางที่ผิดของกระทรวงข้อมูลข่าวสาร  
  • เดือนมีนาคม 2558 บรรณาธิการ 2 คนจากเมียนมาร์โพสต์วีคลี่ (Myanmar Post Weekly) ถูกจำคุกเป็นเวลา 2 เดือน ในข้อหาหมิ่นประมาท หลังจากรายงานข่าวว่าสมาชิกสภาซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยทหารได้วิพากษ์วิจารณ์เรื่องการศึกษาต่ำของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรคนอื่นๆ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยทหารเช่นเดียวกัน              
  • เดือนกรกฎาคม 2558 นักข่าวจาก เมียนมาร์เฮราลด์ (Myanmar Herald) ถูกปรับเป็นเงิน 800 ดอลล่าร์สหรัฐฯ (ราว 24,000 บาท) เนื่องจากรายงานข่าว โดยโคว้ทคำพูดของนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลซึ่งพูดถึง เตง เส่ง ซึ่งเป็นประธานาธิบดีในขณะนั้น โดยมีความว่า “พูดไม่รู้เรื่อง ไร้ตรรกะ ไร้ศีลธรรม และทำตัวไม่เป็นไปตามที่พูด เหลวไหล ไร้สาระและวิกลจริต”
 
 
นอกจากนั้น รายงานยังได้ลงรายละเอียดว่า การคุกคามและทำร้ายที่นักข่าวต้องเผชิญอยู่นั้น สะท้อนภาพบรรยากาศของการปล่อยให้ผู้กระทำผิดลอยนวล ข้อมูลด้านล่างเป็นตัวอย่างของคดีที่ได้รับความสนใจอย่างมาก
 
  • นักข่าวอิสระและอดีตนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ออง กยอว นาย (Aung Kyaw Naing) (รู้จักกันในนามพาร์ กยี (Par Gyi)) เสียชีวิตในเดือนตุลาคม 2557 หลังจากถูกคุมขังโดยทหารขณะที่รายงานข่าวในรัฐมอญเรื่องสงครามกลางเมืองระหว่างกองกำลังชาติพันธุ์และทหารรัฐบาล การสืบสวนสอบสวนโดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนพม่า (Myanmar Human Rights Commission) แสดงให้เห็นว่าเขาถูกทรมาน ในเดือนพฤษภาคม 2558 ศาลทหารที่พิจารณาโดยลับยกฟ้องทหาร 2 นายที่ถูกกล่าวหาว่าฆาตกรรม ในเดือนมิถุนายน 2558 คดีที่ยื่นฟ้องทักท้วงเรื่องความตายของเขาถูกเลื่อนออกไปหลังจากที่สมาชิกกองทัพ 2 นายผู้ทำการคุมขัง ไม่มาปรากฎตัวในศาล
  • เดือนมีนาคม 2558 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ใช้กำลังทำร้ายร่างกายนักข่าว 2 คนซึ่งรายงานข่าวเรื่องการประท้วงเรียกร้องการปฏิรูปการศึกษาในเลปาดาน (Letpadan)
  • ในเดือนเดียวกัน นักข่าว 2 คน จากดีวีบี มัลติมีเดีย (DVB Multimedia) และเซเว่นเดย์เดลี่ (7 day daily) ถูกจับและขังคุกเป็นเวลาหลายชั่วโมงเนื่องจากรายงานข่าวเรื่องการประท้วงหยุดงานในโรงงานเสื้อผ้า
  • ในเดือนมิถุนายน 2558 ผู้บริหารสูงสุดของอีเลเว่นมีเดียกรุ๊ป ตาน ทุต อ่อง ( Than Htut Aung) ถูกยิงโดยหนังสติ๊กซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่รถยนต์ของเขา ตานได้รายงานข่าวเรื่องบทบาททางการเมืองของทหารและการก่อกวนรัฐโดยสื่ออยู่บ่อยครั้ง คดีนี้ยังคงไม่ยุติ
 
นอกจากนั้น ทีมเฝ้าระวังข้อมูลข่าวสารแห่งกองทัพ (Armed Forces Accurate Information team) ซึ่งขับเคลื่อนโดยทหารใช้ชื่อว่า “ทีมแนวทางของบรรณาธิการ” ก็ได้รับหน้าที่ให้รับผิดชอบในการบงการสื่อ ได้ปฏิบัติการในฐานะผู้สังเกตการณ์สื่อขับเคลื่อนโดยรัฐ องค์กรดังกล่าวได้วิพากษ์ เมียนมาร์ไทมส์ (Myanmar Times) และอีเลเว่นเดลี่ (Eleven Daily) ในเดือนมีนาคม 2558 เนื่องจากรายงานข่าวเกี่ยวกับปฏิบัติการของทหารในจังหวัดโกก้าง (Kokang) 
          
 
 
 
 
ที่มาภาพ: Kaysse
 
 
ชนิดบทความ: