1058 1832 1117 1227 1515 1233 1069 1516 1231 1041 1458 1627 1804 1133 1468 1587 1797 1385 1640 1556 1057 1978 1042 1449 1916 1792 1597 1557 1290 1336 1304 1285 1341 1014 1283 1136 1360 1467 1608 1677 1406 1897 1887 1403 1145 1936 1662 1550 1892 1985 1135 1514 1235 1900 1897 1365 1045 1305 1716 1108 1448 1309 1265 1112 1424 1330 1218 1055 1826 1295 1531 1025 1923 1508 1039 1499 1661 1597 1668 1081 1806 1652 1257 1476 1663 1806 1432 1771 1161 1994 1896 1688 1300 1481 1994 1060 1975 1823 1421 ผู้มีอำนาจออกคำสั่งเซ็นเซอร์เนื้อหาในสื่อ | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ผู้มีอำนาจออกคำสั่งเซ็นเซอร์เนื้อหาในสื่อ

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมสื่อ ให้อำนาจแก่องค์กรหลายรูปแบบเป็นผู้พิจารณาและออกคำสั่งเพื่อปิดกั้นหรือ เซ็นเซอร์สื่อ กฎหมายแต่ละฉบับต่างให้อำนาจในการใช้วิจารณญาณแก่องค์กรที่แตกต่างกัน แสดงถึงความหลากหลายของลักษณะของผู้ถืออำนาจและความอ่อนไหวในการปิดกั้นสื่อ

21 Media Censorship Authorities

 

วิทยุ และโทรทัศน์

พระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 มาตรา 37 วรรคสอง กำหนดว่า

 

“ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่ตรวจสอบและให้ระงับการออกอากาศรายการที่มีลักษณะตามวรรคหนึ่ง หากผู้รับใบอนุญาตไม่ดำเนินการ ให้กรรมการซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจสั่งด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือให้ระงับการออกอากาศรายการนั้นได้ทันที และให้คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าวโดยพลัน”

 

ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่มีอำนาจและหน้าที่ตรวจสอบและเซ็นเซอร์เนื้อหาของรายการที่จะออกอากาศ คือ ผู้รับใบอนุญาต หรือ ผู้ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือ ผู้บริหารสถานีวิทยุและโทรทัศน์นั้นๆ

 

ทุกสถานีจึงต้องมีเจ้าหน้าที่และระบบสำหรับทำหน้าที่กลั่นกรองเนื้อหา และหากเจ้าของสถานีไม่ดำเนินการ ก็ให้มีคณะกรรมการทำหน้าที่กำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งคณะกรรมการในที่นี้หมายถึง คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือที่เรียกว่า “กสทช.”               กล่าวคือ องค์กรที่เซ็นเซอร์เนื้อหาของรายการวิทยุและโทรทัศน์ มีอยู่สองระดับ คือ เจ้าของสถานีในฐานะสื่อที่ต้องรับผิดชอบกันเอง และมีรัฐกำกับดูแลอีกชั้นหนึ่ง

 

สิ่งพิมพ์

พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 10 กำหนดว่า

 

“มาตรา 10 ให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมีอำนาจออกคำสั่งโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาห้ามสั่งเข้าหรือนำเข้าเพื่อเผยแพร่ในราชอาณาจักร ซึ่งสิ่งพิมพ์ใด ๆ ที่เป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทหรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หรือจะกระทบต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยจะกำหนดเวลาห้ามไว้ในคำสั่งดังกล่าวด้วยก็ได้”

 

กล่าวคือ กฎหมายให้เป็นอำนาจของผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติผู้เดียวในการออกคำสั่งห้ามสั่งเข้า หรือ นำเข้าซึ่งสิ่งพิมพ์

 

ภาพยนตร์

พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๑ กำหนดให้ภาพยนตร์ทั้งไทยและเทศทุกเรื่องต้องผ่านการอนุญาตและจัดเรทติ้งโดยคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ตรวจพิจารณาก่อนนำออกฉายในประเทศไทย และมาตรา ๑๖ วรรคสอง กำหนดว่า

 

“มาตรา ๑๖ วรรคสอง คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๑) ให้มีจำนวนไม่เกินเก้าคน โดยแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการต่างประเทศ ภาพยนตร์ ศิลปวัฒนธรรม สื่อสารมวลชน หรือสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการภาพยนตร์”

 

อินเทอร์เน็ต

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๒๐ กำหนดว่า

 

“มาตรา ๒๐ ในกรณีที่การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ในภาคสองลักษณะ 1 หรือลักษณะ 1/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หรือที่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน พนักงานเจ้าหน้าที่โดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีอาจยื่นคำร้องพร้อมแสดงพยานหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจขอให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นได้”

 

พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งมีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์เป็นผู้ยื่นคำร้องขอปิดเว็บ โดยต้องให้รัฐมนตรีกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารลงนามให้ความยินยอม ก่อนจะยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อพิจารณาและออกคำสั่งให้ปิดกั้นเนื้อหาได้              

 

กล่าวคือ ผู้เกี่ยวข้องกับการบล็อคเว็บ มีทั้งเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ โดยได้รับความยินยอมจากฝ่ายบริหาร คือรัฐมนตรี และสุดท้ายผู้ที่มีอำนาจใช้วิจารณญาณและออกคำสั่งคือศาลซึ่งเป็นอำนาจตุลาการ

ชนิดบทความ: