1064 1740 1156 1043 1152 1465 1731 1917 1383 1540 1875 1124 1620 1687 1363 1743 1532 1450 1148 1147 1364 1765 1837 1534 1516 1369 1933 1496 1652 1930 1610 1443 1153 1831 1386 1602 1589 1846 1047 1644 1453 1954 1506 1939 1633 1172 1540 1385 1508 1995 1192 1645 1963 1206 1870 1573 1863 1709 1977 1527 1515 1853 1315 1748 1452 1717 1339 1425 1853 1312 1482 1045 1412 1714 1401 1998 1940 1971 1086 1076 1461 1183 1155 1102 1240 1731 1300 1067 1530 1099 1020 1847 1947 1213 1537 1572 1084 1799 1365 สนทนากับนักกิจกรรมม.อุบลฯ ในเหตุแห่งการออกมาวิ่งไล่ใครบางคน | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สนทนากับนักกิจกรรมม.อุบลฯ ในเหตุแห่งการออกมาวิ่งไล่ใครบางคน



สนทนากับนักกิจกรรมม.อุบลฯ ในเหตุแห่งการออกมาวิ่งไล่ใครบางคน

 

เอ็มมี่ นัฐพงษ์ ป้องแสง วัย 22 ปี  บัณฑิตคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และนักกิจกรรมจากกลุ่มดินอีสาน ตัดสินใจรื้อชุดนักเรียนสมัยมัธยม ออกมาสวมใส่ เพื่อประกอบกิจกรรม #วิ่งไล่ลุง  ที่ทุ่งศรีเมืองจังหวัดอุบลราชธานี

 

"ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะใส่ชุดอะไรดี ชุดทหารไหม ก็กลัวตำรวจบอกว่า แต่งกายเลียนแบบทหารอีก อาจจะผิดอีก   ก็เลยใส่ชุดนักเรียน และตอนนี้อยู่ในสัปดาห์วันเด็ก เพราะวันเด็กเพิ่งผ่านมา และอยากให้เห็นว่า แม้เด็กยังออกมาแสดงออกว่าเขาไม่ทน "  เขาบอกอย่างภาคภูมิในเครื่องแต่งกายอันสะดุดสายตาผู้คน

 

วันนั้นช่วงเวลา 6.10 น. หลังทีมงานจัดวิ่งปล่อยตัวนักวิ่งร่วมพันคน ออกจากทุ่งศรีเมืองเพื่อวิ่งไปตามถนนชยางกูรโดยมีหมุดหมายที่สี่แยกหอนาฬิกา  3 กิโลเมตรกว่าๆไม่ทำให้เด็กหนุ่มสูญเสียเรี่ยวแรงมากนัก หากแต่มีพลังล้นเหลือพอที่มาพูดคุยถึงปรากฎการณ์การแสดงออกทางการเมืองและการวิ่งไล่ใครบางคนได้

 

 



iLaw:  รู้จักกิจกรรมวิ่งไล่ลุงตอนไหน ?

 

นัฐพงษ์:    ตอนแรกเห็นข่าววิ่งไล่ลุง  ก็คืออยากเข้าร่วมแล้ว ไม่ได้คิดอะไรเลย เพราะว่าใจเรา ตั้งแต่เห็นนายกประยุทธ์เข้ามา ก็เริ่มเห็นกระแสต่อต้านแล้ว จากหลายปัจจัยของเขาแหละ  และอยากให้มีที่อุบลราชธานีอยู่แล้วด้วย ถ้าไม่มีใครจัดที่นี่ เราก็อยากจัดเอง ก็คิดอยู่  ทีนี้พอเห็นว่ามีในอุบลฯ ด้วย ก็เลยเหมาะเจาะ เข้าร่วมด้วย ตอนแรกคิดว่าจะชวนเพื่อนๆจัดกันเล็กๆแถว ม.อุบลฯ นี่ด้วยซ้ำ

 

iLaw: เท่าที่เจอวันนี้เป็นคนรุ่นเดียวกันมาน้อยแค่ไหน ?

 

นัฐพงษ์:   ผมแบ่งเป็นสองเรื่อง คนรุ่นใหม่เขาสนนะการเมือง เขาก็บอกว่าสนใจไปมันก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะเราไม่มีอำนาจ  และอำนาจมันใหญ่เกินไป ทำให้วัยรุ่นท้อ   แต่เอาละ คนรุ่นใหม่ๆทุกวันนี้ที่สนใจการเมือง ก็เพราะว่าสื่อโซเชียลก็เป็นปัจจัยหลักอยู่แล้วด้วย และด้วยการมาของพรรคอนาคตใหม่ ที่เข้าถึงกลุ่มวัยรุ่นมากกว่าด้วย

 

 

เท่าที่เจอวันนี้ คือเป็นวัยกลางคนมากกว่า วัยรุ่นก็มี เด็กๆก็มี  ได้คุยกันเขาก็เหมือนสุดโต่งกันนะ เขาอาจจะมีเหตุผลของเขา แต่ในมุมมองผมเขาอาจจะพูดแรงๆไปหน่อย บางอย่างลุงก็อาจจะถูก บางอย่างลุงก็อาจจะไม่ถูก แต่เขาก็อาจจะพูดแรงๆไปหน่อย

 

แต่วันนี้ตกใจตรงที่มีเสื้อแดงมา เขาใส่เสื้อแดงเป็นเชิงสัญลักษณ์ เพราะเราไม่ได้เห็นภาพนี้มานาน และไม่คิดเลยว่าจะมีภาพนี้วันนี้ 

 

iLaw: คำว่า ‘ลุง’ ในความหมายของคุณคือยังไง ?

 

นัฐพงษ์:  คำว่าลุงเนี่ย เอาจริงๆนะ คิดถึงนายกประยุทธ์อย่างเดียวเลย 'ลุง ' นิยามอาจจะมองไปอีกคือ เป็นกลุ่มคนเจเนอเรชั่น ที่อาจจะไม่ทันโลก เมื่อไม่ทันโลก การเป็นลุงที่จะเข้ามาพัฒนาประเทศก็อาจจะล้าหลังไปบ้าง นี่คือความเป็น ‘ลุง’    นอกจากนี้ก็มีลุงป้อม ลุงป๊อก ลุงวิษณุ  สำหรับผมลุงมันเหมือนหลายๆลุงที่ทำให้บ้านเมืองอยู่ในยุคที่ไม่ค่อยเจริญเท่าไหร่  ทั้งๆที่เรามีความพร้อมหลายๆด้าน มันอาจจะติดที่ลุงนี่แหละมันเลยยังรั้งความเจริญของประเทศ

 

iLaw: เป็นคนออกกำลังกายอยู่แล้ว ?

 

นัฐพงษ์:   ปกติผมเป็นคนวิ่งบ่อย เป็นคนชอบออกกำลังกายอยู่แล้ว สัปดาห์หนึ่งน่าจะประมาณสักสามครั้ง  การวิ่งวันนี้พิเศษอย่างหนึ่งคือ เราเห็นคนที่แม้อายุหรือร่างกายเขาไม่พร้อม แต่เขายังอยากจะมาวิ่ง  ปกติงานวิ่งทุกคนถ้าไม่พร้อมเขาก็จะไม่มาวิ่ง กลัวอย่างโน้นอย่างนี้เกี่ยวกับร่างกายเขา

 

วันนี้วิ่งไป-กลับ ทุ่งศรีเมือง-สี่แยกหอนาฬิกา  น่าจะไม่เกินสามกิโล ใช้เวลาประมาณ 40 นาที    จุดเป้าหมายในการวิ่งวันนี้น่าจะคล้ายๆกันคือเขามาแสดงออกว่าไม่ทนกับ ‘ลุง’ 

 

 

iLaw: ชุดนักเรียนวันนี้แรงบันดาลใจมาจากไหน  ?

 

  นัฐพงษ์:   ที่ใส่ชุดนักเรียน ตอนแรกก็คิดอยู่ว่าจะใส่ชุดอะไรดี ชุดทหารไหม ? ก็กลัวตำรวจบอกว่า แต่งกายเลียนแบบทหารอีก อาจจะผิดอีก   ก็เลยใส่ชุดนักเรียน เพราะเรามีอยู่ เราหาได้ และตอนนี้อยู่ในสัปดาห์วันเด็ก เพราะวันเด็กเพิ่งผ่านมา และอยากให้เห็นว่า แม้เด็กยังออกมาแสดงออกว่าเขาไม่ทน และมีคนหลากหลายเจเนอเรชั่นมาร่วมวิ่งในวันนี้

กิจกรรมนี้นอกจากช่วยไล่เผด็จการแล้ว อันที่สองเป็นเรื่องสุขภาพ  อันที่สามคือมันมีกลุ่มคนที่เขาอยากพบปะเพื่อน กิจกรรมนี้ก็เลยสำคัญ ทำให้กลุ่มคนได้ออกมาพูดคุย เหมือนมาผ่อนคลาย และลดความโดดเดี่ยวลงไป น่าจะมีผลดีเยอะอยู่

 

ตอนแรกตำรวจก็ทักถามอยู่ประมาณาสองคน เราก็เดินเข้าไป เขาถามว่า ไอ้หนูๆ ทำไมใส่ชุดนักเรียนมา มาทำไม ?   อ๋อมาในธีมนี้ฮะ คุณตำรวจอย่าไปซีเรียสเลยผมใส่มาเฉยๆ  เลยบอกเขาไปงั้น เราก็ไม่แสดงความกลัวให้เขาเห็น เขาถามเราก็ตอบไปแบบหนักแน่น  ถ้ากลัวนี่เขาจะข่มเรา นี่คือตำรวจไทย

 

 

คำว่า ค.ว.ย. ตรงป้ายชื่อ อยากนำเสนอให้คนที่อ่าน ให้เห็นอีกมุมหนึ่ง  บางคนมองว่าเราด่าเขาหรือเปล่า แต่ลึกๆคืออยากให้ลุงนั่นแหละอ่าน และควรจะคิด คิดให้มากเรื่องที่ทำอยู่ทุกวันนี้ วิเคราะห์ ก็ลองวิเคราะห์แต่ละฝ่ายสิว่าเขาคุย เขาเถียงเรื่องอะไร ประเด็นหลักคืออะไร  แล้วไปแยกแยะทำเพราะลุงก็โตแล้ว ไม่ใช่เด็กๆ ก็จะสื่อประมาณนี้

 

นอกจากนี้ป้ายวลีเด็ดๆวันนี้ที่เห็น ก็จะมี ไล่นายกฯ500  อีกอันก็เขียนว่า วิ่งไล่หมา เห็นเขาวงเล็บอีกว่า 'หมาข้างบ้าน' มีบางคนก็บอกว่าขนาดหมายังวิ่งไล่ง่ายกว่า นี่คนไล่ยาก  ผมชอบมากเลยนะ

 

iLaw : นอกจากผู้มาวิ่งที่เป็นประชาชน ก็มีคนจากหน่วยงานรัฐไม่น้อยเลยวันนี้ ?

 

  นัฐพงษ์: เท่าที่เห็นตำรวจน่าจะมาทั้งจังหวัด(หัวเราะ) น่าจะไม่ต่ำกว่า 300-400 คน เผลอๆน่าจะเยอะกว่าคนมาวิ่ง เพราะรวมนอกเครื่องแบบที่เข้าไปแทรกซึมอีก วิธีการดูเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบคือดูจากบุคลิกลักษณะ เขาจะทะมัดทะแมง อย่างที่สองทรงผม  อย่างที่สามทำหน้าขรึมๆ มีอารมณ์รุนแรง กว่าคนปกติ  มันพอจับพิรุธได้  ก็เป็นสีสันของงานวิ่งอย่างหนึ่ง

 

 

และนี่เป็นงานที่ประเดิมเลย  ใส่ปีใหม่ และไล่ลุงเลย ถ้ามีกิจกรรมแบบนี้อีกก็อยากที่จะเข้าร่วม มีเพื่อนบางคนที่มาวันนี้ไม่ได้เขาก็ส่งใจมา  ผมว่าที่อุบลค่อนข้างราบรื่น และโอเคที่ไม่ได้ถูกห้ามปรามหนักเหมือนพื้นที่อื่นๆ

 

iLaw: เรียนกฎหมายมา คิดยังไงกับ พ.ร.บ.ชุมนุม ฯ

 

  นัฐพงษ์:   มันจำกัดสิทธิเกินไป มันไม่ได้ออกมาเพื่อให้การชุมนุมราบรื่นหรอก น่าจะออกมาเพื่อลดข้อกังวลของรัฐมากกว่า คือทำยังไงก็ได้ให้การชุมนุมเกิดปัญหา เกิดขั้นตอนมากที่สุด และมันจะนำไปสู่ที่ว่า คนไม่อยากจัดกัน เพราะขั้นตอนมันเยอะรัฐธรรมนูญก็ให้สิทธิไว้นะครับ แต่พอกฎหมายลูกเช่น พ.ร.บ. นี้ออกมาก็จำกัดสิทธิซะอย่างนั้น และเป็นอุปสรรคมาเกินไป ในทางปฏิบัติก็ต่างออกไป เพราะตามที่กฎหมายเขียนไว้เจ้าหน้าที่ต้องอำนวยความสะดวก แต่นี่เหมือนบังคับว่าต้องแจ้งกับตำรวจเพื่อขออนุญาต ทั้งๆที่ไม่ต้องทำก็ได้ และเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจมาห้ามโน่น ห้ามนี่

 

 

iLaw: คิดว่าเจ้าหน้าที่เขากลัวอะไรกับคำว่าวิ่งไล่ลุง  ?

 

นัฐพงษ์:   ที่เขากลัวคำว่าวิ่งไล่ลุงเพราะคิดว่า จะมีการเมืองแอบแฝง และคิดว่าจะมาพบปะเครือข่ายการเมือง ซึ่งผมมองว่าไม่ใช่นะ มันเป็นกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นรัฐที่เสรี  ทำอะไรทำได้  แต่รัฐเขาก็กลัวอำนาจที่จะมาสั่นคลอนเขา

 

iLaw: ส่วนคนที่เดินเชียร์ลุงละ ?

 นัฐพงษ์:  คิดว่าเขาก็มีสิทธิทำได้นะ  แต่อย่างว่า ภาพที่สื่อเสนอออกไปพวกเขาก็ทำกิจกรรมได้ปกติ ไม่ได้ถูกคุกคามหรือห้ามในส่วนไหนเลย ต่างกับกลุ่มวิ่งไล่ลุง

 
 

iLaw: ถ้าวิ่งแข่งกับพวกเขาคิดว่าใครจะชนะ ?

  นัฐพงษ์:  ดูแล้ว อย่าว่าวิ่งเลยครับ แค่เดินผมก็ชนะแล้ว ไม่จำเป็นต้องไปแข่งวิ่งฮะ