1146 1045 1782 1974 1511 1996 1948 1103 1041 1522 1792 1954 1920 1412 1334 1403 1860 1039 1495 1846 1710 1395 1800 1333 1180 1763 1356 1151 1300 1016 1262 1114 1868 1763 1166 1369 1448 1533 1264 1088 1721 1417 1567 1352 1131 1500 1788 1516 1769 1018 1886 1811 1153 1582 1210 1863 1521 1007 1848 1954 1728 1373 1069 1171 1166 1774 1579 1386 1930 1149 1638 1070 1291 1246 1436 1117 1654 1680 1379 1562 1041 1597 1922 1351 1951 1991 1513 1746 1137 1944 1192 1739 1551 1570 1269 1475 1469 1930 1054 สถานการณ์ปี 2559 4/5: ความเงียบภายใต้อำนาจเด็ดขาด | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

สถานการณ์ปี 2559 4/5: ความเงียบภายใต้อำนาจเด็ดขาด

ตลอดเวลากว่าสองปีเจ็ดเดือนที่ผ่านมา การบังคับใช้กฎหมาย ทั้งกฎหมายอาญา ประกาศ/คำสั่งคสช. รวมทั้งกฎหมายที่ออกใหม่ในปี 2559 อย่างพ.ร.บ.ประชามติฯ เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ที่ทำให้การแสดงออกของประชาชน โดยเฉพาะในประเด็นการเมือง และประเด็นทางสังคมค่อยๆ เงียบลง
 
ประชามติในความเงียบงัน
บรรยากาศก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 เป็นไปอย่างเงียบงัน ฝ่ายรัฐใช้ช่องทางหลากหลายให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ แต่ฝ่ายที่เห็นต่างกลับถูกทำให้เงียบด้วยกฎหมายหลายๆ ฉบับคำสั่งหัวหน้าคสช.ฉบับที่ 3/2558 เรื่องห้ามชุมนุมทางการเมือง ถูกนำมาใช้อย่างหนักในช่วงก่อนลงประชามติ มีคนอย่างน้อย 114 คนถูกดำเนินคดี ส่วนใหญ่ถูกดำเนินคดีจากการร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติในหลายจังหวัด มีอย่างน้อย 11 คนที่ถูกตั้งข้อหาเพราะจัดเสวนาเรื่องร่างรัฐธรรมนูญ มีอย่างน้อย 20 คนถูกตั้งข้อหาเพราะแจกใบปลิวรณรงค์โหวตโน
มาตรา 61 วรรค 2 ของพ.ร.บ.ประชามติฯ ซึ่งกำหนดว่า ผู้ใดเผยแพร่ภาพหรือเนื้อหาในช่องทางต่างๆ ในลักษณะผิดจากข้อเท็จจริง รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ เพื่อหวังให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไปทางใดทางหนึ่งหรือไม่ไปออกเสียงมีโทษจำคุกสูงสุดสิบปี
เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ถูกใช้ดำเนินคดีกับผู้แสดงออกเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ อย่างน้อย 38 คน โดยพฤติการณ์ที่ทำให้ถูกดำเนินคดีมีทั้งการแจกใบปลิวโหวตโน การประกาศไม่รับร่างรัฐธรรมนูญบนเฟซบุ๊ก เป็นต้น นอกจากนี้กิจกรรมรณรงค์เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ ยังถูกปิดกั้น-แทรกแซงอย่างน้อย 19 ครั้ง 
 
578
 
กลุ่มประชาชนซึ่งถูกดำเนินคดีจากการร่วมถ่ายภาพป้ายศูนย์ปราบโกงประชามติที่อำเภอบ้านโป่ง เข้ารายงานตัวรับทราบข้อกล่าวหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558 ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกินห้านคนที่สภ.บ้านโป่ง 10 กรฎาคม 2559 (ภาพจากประชาไท)
 
 
ปิดกั้น แทรกแซง ดำเนินคดี กระชับพื้นที่ทำกิจกรรมของประชาชน
การจัดกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ก็ยังถูกปิดกั้น-แทรกแซงต่อเนื่องมาจากปีก่อนๆในปี2559 มีการปิดกั้นกิจกรรมทั้งกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และกิจกรรมเสวนาอย่างน้อย 34 ครั้ง หลากหลายประเด็น เช่น
กิจกรรมสันติสุขชายแดนใต้ที่มัสยิดกรือเซะถูกห้ามจัดเพราะไม่ได้ประสานงานกับกอ.รมน. กิจกรรมร้องเพลงรำลึกสิบปีรัฐประหาร 2549ถูกเจ้าหน้าที่สั่งให้เลิกโดยอ้างคำสั่งหัวหน้าคสช. 3/2558 และพ.ร.บ.ชุมนุมฯสน.ลุมพินีสั่งยกเลิกงานแถลงข้อเสนอแนะการแก้ปัญหาโรฮิงญาต่ออองซานซูจีที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ อำนาจหรือวิธีการที่ใช้ปิดกั้น พัฒนาตัวขึ้นอีกหลายรูปแบบ
ทหารพยายามจะออกหน้าให้น้อยลง และอ้างอิงอำนาจตามกฎหมายอื่นๆ เช่นงานแถลงข่าวสถานการณ์การซ้อมทรมานในประเทศไทย ของแอมเนสตี อินเทอร์เนชันแนล ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานว่า หากผู้เชี่ยวชาญขึ้นพูดจะถูกจับเพราะไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือการห้าม โจชัว หว่อง นักกิจกรรมชาวฮ่องกงเข้าประเทศเพื่อมาร่วมงานรำลึกเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เป็นต้น
 
การดำเนินคดีและการปิดกั้นแทรกแซงที่ต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่สาม
ทำให้คนไม่กล้าคิดริเริ่ม หรือลงมือจัดกิจกรรม ยิ่งหลักเกณฑ์และวิธีการในการปิดกั้นไม่ชัดเจน ยิ่งสร้างความกลัวในการพูดถึงปัญหาสังคมการเมืองทำได้ยากและมีต้นทุนสูงขึ้น คดีมาตรา 112 กับความเงียบช่วงปลายปีในปี 2559 ก่อนถึงวันที่ 13 ตุลาคม 2559 เท่าที่ยืนยันได้มีผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา112 เพิ่มอีกอย่างน้อย 7 คน อาจกล่าวได้ว่า ลดลงกว่าปี 2557-2558 ซึ่งนับรวมได้อย่างน้อย 64 คน ในปีนี้สถิติที่ศาลให้ประกันตัวยังเพิ่มสูงขึ้น โดย ก่อนวันที่ 13 ตุลาคม 2559 บุคคลเจ็ดคนที่ถูกตั้งข้อหาได้รับการประกันตัวระหว่างสู้คดีรวมหกคน และยังมีนักโทษอย่างน้อยเก้าคนได้รับการปล่อยตัว เพราะได้รับการลดโทษตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษที่ออกในเดือน สิงหาคม 2559 สถานการณ์มาตรา 112 ดูจะผ่อนคลายลงบ้าง จนกระทั่งสำนักพระราชวังประกาศการสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 บรรยากาศแห่งความโศกเศร้ากลับเร่งเร้าให้การดำเนินคดีมาตรา 112 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การแสดงความเห็นของคนบางส่วนกลับเปลี่ยนความเศร้าให้เป็นความโกรธและนำไปสู่ความรุนแรง เช่น กรณีร้านน้ำเต้าหู้ถูกล้อม ที่จังหวัดภูเก็ต กรณีหนุ่มโรงงานถูกรุมทำร้ายร่างกาย ที่จังหวัดชลบุรี เป็นต้นจากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ หลังวันที่ 13 ตุลาคม 2559
มีการตรวจพบผู้กระทำความผิดคดี 112 ใหม่ 25 คนและจับกุมได้แล้วสิบคน แต่ไม่มีการเปิดเผยรายชื่อ  สถานการณ์ช่วงท้ายปีแถมด้วยปรากฏการณ์ที่เจ้าหน้าที่เรียกตัวบุคคลจำนวนมาก
ไปปรับทัศนคติ เพราะกดไลค์เฟซบุ๊กที่มีเนื้อหาอ่อนไหว ทำให้ทุกอย่างกลับไป “เงียบสนิท” และแนวโน้มสถานการณ์ในปีหน้าอาจจะรุนแรงขึ้นกว่าเดิมได้อีก
 
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เครื่องดูดเสียงนักปกป้องสิทธิ
 
579
 
อานดี้ ฮอลล์ จำเลยคดีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ถูกพิพากษาจำคุกเป็นเวลาสามปีปรับเป็นเงิน 150,000 จากการเผยแพร่รายงานเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในโรงงานเนเชอรัลฟรุต
 
ในปี 2559 มีคดีใหม่ๆ ที่น่าสนใจ เช่นนักสิทธิมนุษยชนสามคนถูกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในแจ้งความดำเนินคดีจากการเผยแพร่รายงานการซ้อมทรมานในประเทศไทย,
ญาติของทหารเกณฑ์ซึ่งเสียชีวิต ก็ถูกทหารแจ้งความดำเนินคดี จากการแชร์ข่าวบนเฟซบุ๊กและแสดงความเห็นพาดพิงนายทหารบางนายว่าอาจมีส่วนรับผิดชอบ,บริษัทเจ้าของเหมืองทองคำในจังหวัดพิจิตรยื่นฟ้องสมลักษณ์ นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมจากการโพสต์เฟซบุ๊ก แยกเป็น 3คดี โดยศาลยกฟ้องไปแล้ว 2 คดี เหลืออีก1คดีที่ศาลจังหวัดพิจิตรสั่งรับฟ้อง ขณะที่บริษัท
เจ้าของเหมืองทองคำในจังหวัดเลย ยื่นฟ้องสำนักข่าวไทยพีบีเอส จากการรายงานข่าวเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง กรณีที่ฮือฮาในปี 2559 คือ คำพิพากษาในคดีของ อานดี้ ฮอลล์
ที่ถูกโรงงานสับปะรดฟ้องจากการเผยแพร่งานวิจัยว่ามีการละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติชาวพม่าในโรงงาน ศาลสั่งให้จำคุกจำเลยเป็นเวลาสามปีและปรับเป็นเงิน 150,000 บาท รอลงอาญา
และยังมีคดีความที่นักกิจกรรมทางสังคมถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ เพื่อ ปิดปาก การเคลื่อนไหวแทบจะเกิดขึ้นทั่วๆ ไปในทุกพื้นที่ที่มีความขัดแย้ง
ประเภทรายงาน: